THE SHELLWORKS

AN EXPERIMENTAL PACKAGING DESIGN PROJECT THAT DEVELOPS A NEW MANUFACTURING PROCESS FOR BIOPLASTICS, USING BIODEGRADABLE WASTE LOBSTER SHELLS AS A REPLACEMENT FOR SINGLE-USE PLASTIC MATERIALS

TEXT: SUTEE NAKARAKORNKUL
PHOTO COURTESY OF THE SHELLWORKS

(For English, please scroll down)

สแตนดี้ “พี่ตูน” จากแคมเปญรณรงค์ให้ผู้ใช้บริการไม่รับถุงพลาสติก ที่ตั้งอยู่หน้าร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอยู่ทุกหนแห่ง น่าจะพอบอกอะไรเราได้บ้างเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาดและเทรนด์ของการขายสินค้าแบบ “รับผิดชอบต่อสังคม” ในยุคนี้ ที่มาควบคู่กันกับการสร้างจิตสํานึกและลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก

แน่นอนว่าเทรนด์ที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างลอยๆ ข้อมูลล่าสุดจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ประมาณการว่าในแต่ละปี ทั่วทั้งโลกมีขยะพลาสติกมากกว่า 8 ล้านตันจมอยู่ในมหาสมุทร และจํานวนหนึ่งนั้นก็ไปอยู่ในท้องของวาฬเกยตื้นอย่างที่เราเห็นกันในข่าว อย่างไรก็ตาม พลาสติกในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ก็ช่วยให้เราเข้าถึงอาหารและยาที่ปลอดภัย เพราะฉะนั้นแล้ว สิ่งที่เราต้องการอาจไม่ใช่โลกที่ปราศจากพลาสติก แต่คือความจําเป็นในการตระหนักถึงปัญหาการจัดการขยะ และการนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้กับการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (single-use) อย่างยั่งยืน


The five machines created by the design team for processing waste shells, including (from left to right) Shelly, Sheety, Vaccy, Dippy, and Drippy

The Shellworks เป็นโปรเจ็คต์ทดลองการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดย Ed Jones, Insiya Jafferjee, Amir Afshar และ Andrew Edwards กลุ่มนักศึกษาวิศวกรรมนวัตกรรมการออกแบบ (Innovation Design Engineering) จาก Royal College of Art และ Imperial College London ที่ตั้งใจจะพัฒนากระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ (bioplastic) จากเปลือกกุ้งล็อบเสตอร์ ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติ (biodegradable) ทดแทนการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ปัจจุบันในระบบอุตสาหกรรมได้นํา “ไคโตซาน” (chitosan) สารพอลิเมอร์ธรรมชาติที่พบในเปลือกแข็งของสัตว์ทะเลอย่างกุ้งและปูมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการแพทย์ เครื่องสําอาง อาหาร และอีกมากมาย ทว่าปัญหาก็คือผงไคโตซานสกัดในตลาดนั้นมีราคาสูง ดังนั้นแล้วทีมออกแบบจึงได้คิดค้นเครื่องมือจํานวน 5 เครื่องที่มีชื่อเรียกน่ารักๆ ว่า Shelly, Sheety, Vaccy, Dippy และ Drippy เพื่อใช้ในการแปรรูปเปลือกกุ้งให้เป็นวัสดุที่มีหน้าตาและคุณสมบัติแตกต่างกัน


Initial sample applications made from Chitosan bioplastic

กระบวนการแปรรูปเริ่มจากการสกัดและคัดแยกไคโตซานออกมาจากเปลือกล็อบเสตอร์ด้วยเครื่อง Shelly เมื่อได้ผงไคโตซานแล้ว จึงนําไปผสมกับน้ําส้มสายชูจนกลายเป็นของเหลวหนืดๆ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปของเหลวให้กลายเป็นวัสดุที่ต่างกันออกไปด้วยเครื่องมือ 4 ชิ้นที่เหลือ Sheety เป็นเครื่องขึ้นรูปวัสดุแผ่นบางใสด้วยวิธีการระเหย ซึ่งทํางานร่วมกับ Vaccy ที่ใช้สําหรับนําแผ่นบางที่ได้ไปขึ้นรูปเป็นซองบรรจุภัณฑ์ด้วยความร้อนแบบสูญญากาศ ส่วน Dippy เป็นเบ้าหล่อร้อนทรงถ้วยแก้ว เมื่อนําไปชุบลงในของเหลวและปล่อยให้แห้งก็จะได้เป็นแก้วใบเล็กๆ และสุดท้ายเครื่อง Drippy ใช้สําหรับรีไซเคิลวัสดุที่ทําออกมาแล้วไม่ได้รูปทรงตามที่ต้องการ เพียงหยดน้ําส้มสายชูลงไปบนผลิตภัณฑ์มันก็จะถูกกัดกร่อนจนกลายเป็นของเหลวที่สามารถนําไปขึ้นรูปได้ใหม่ หรือหากไม่ได้ใช้แล้ว ก็จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีที่เราสามารถนําไปเจือจางด้วยน้ําและรดต้นไม้ได้

พลาสติกชีวภาพที่ได้สามารถนําไปใช้แทนแก้วน้ํา ถุงใส่อาหาร หรือซองบรรจุยาได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากพลาสติกทั่วไป อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆ คนน่าจะคิดเหมือนกันอยู่บ้างว่า ขั้นตอนที่ดูเหมือนจะง่ายนี้ก็ยังมีข้อจํากัดในเรื่องของการผลิต ทั้งกระบวนการแปรรูปและค่าใช้จ่ายในการซื้อหาเปลือกล็อบเสตอร์ว่าคุ้มค่าหรือเปล่า ซึ่งทางทีมออกแบบก็ให้คําตอบว่า “ด้วยการออกแบบขั้นตอนการผลิตที่หลากหลายยืดหยุ่น การใช้งานที่เหมาะกับวัสดุ และขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราเชื่อมั่นว่าเราสามารถแสดงให้เห็นว่าพลาสติกชีวภาพที่ทําจากไคโตซาน สามารถกลายเป็นทางเลือกที่ได้ผลในการทดแทนผลิตภัณฑ์จากพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน” โปรเจ็คต์ทดลองนี้กําลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตในอนาคต ต้องรอดูกันต่อไปว่ามันจะสามารถกลายมาเป็นธุรกิจที่มีส่วนในการทําให้โลกเราดีขึ้นได้หรือไม่ในอนาคต


Samples showing how the material exhibits varying properties due to the different ratios of ingredients

Standees at convenience stores nationwide are all promoting rocker-turned-philanthropist “Toon” Bodyslam’s “Reduce A Plastic Bag A Day. Yes, You Can” campaign, offering a glimpse of the trend in socially responsible marketing strategies, accompanied by the cultivation of awareness about the problems caused by plastic products.

Surely such a trend didn’t just come out of nowhere. The latest statistics from the United Nations estimate that over eight million tons of plastic waste finds its way to the bottom of the ocean annually, causing the death of whales and other marine life, which are washed ashore and reported in the news headlines more frequently than ever. Nevertheless, plastic packaging does offer hygiene advantages that benefit us through the food and medicine products we consume. What we need is not a world without plastic, but the realization of the importance of waste management, and the incorporation of technology in packaging design, which can help develop new alternatives to single-use plastic products. 


The process of Vaccy, a steam heated vacuum former leverages the material’s hydromorphic properties to make moulded packaging

The Shellworks is an experimental packaging design project led by Ed Jones, Insiya Jafferjee, Amir Afshar, and Andrew Edwards – a group of Innovation Design Engineering students from The Imperial College London and The Royal College of Art. Their intention is to develop a new manufacturing process for bioplastics, using biodegradable waste lobster shells as a replacement for single-use plastic materials. Although Chitosan, a natural polymer found in the shells of shrimps and crabs, is increasingly being used in the production of medical products, cosmetics, food, etc., the market price of extracted Chitosan is still extremely high. Therefore, the design team created five machines (named Shelly, Sheety, Vaccy, Dippy, and Drippy) to manipulate the material for varying flexibility, stiffness, thickness, and translucency. 

The process begins with the machine (Shelly) doing the job of extracting Chitosan from the shells. The powdered Chitosan is then mixed with vinegar, resulting in a gooey liquid that is then transformed into materials of different physical qualities using the four other machines. Sheety is an evaporative sheet former, which works alongside Vaccy, a hydro-thermal vacuum former that forms the sheets into a pliable packaging material. Dippy is a heated dip molder. Once the molds have been dipped in the liquid and dried out, two small biodegradable plastic cups are created. Last but not least is Drippy, a hydro-recycler that recycles the material scraps. Vinegar is mixed with the scraps to turn them into a liquid form, allowing them to be used again. If they are no longer needed as a plastic material, the dissolved scraps can be diluted with water and used as a natural, non-polluting fertilizer for plants. 


Initial sample applications made from Chitosan bioplastic

This biodegradable plastic can be used as the material for products such as cups, food and medicine packaging, with a functional efficiency that is equivalent to plastic. The whole thing may have you wondering about the limitations of the manufacturing process, as well as the cost of    using waste lobster shells as a raw material. The design team explains, “By designing scalable manufacturing processes, applications tailored to the material, and eco-positive waste streams, we believe that we can demonstrate how Chitosan bioplastic could become a viable alternative for many of the plastic products we use today.” This experimental project is being developed in the hope of making this material more accessible and widely used in the future. It remains to be seen whether The Shellworks will be able to grow into an actual business with products that can substantially contribute to making the world a better place. 

theshellworks.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *