KAENG KRACHAN LIBRARY

STANDING IN THE MIDDLE OF PHETCHABURI PROVINCE’S KAENG KRACHAN DISTRICT’S RICH NATURAL SURROUNDING OF FOREST AND FLORA IS ‘KAENG KRACHAN LIBRARY’ THAT HAS JUNSEKINO ARCHITECT AND DESIGN OVERSEEING THE ARCHITECTURAL DESIGN

TEXT: KITA THAPANAPHANNITIKUL
PHOTO COURTESY OF JUNSEKINO ARCHITECT AND DESIGN

(For English, please scroll down)

ท่ามกลางธรรมชาติในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ที่รายล้อมไปด้วยป่าไม้และพืชสวนนานาพันธุ์ ‘Kaeng Krachan Library’ โดย Junsekino Architect and Design นั้นเกิดขึ้นจากความประสงค์ของเจ้าของโครงการ ที่ต้องการสร้างห้องสมุดสาธารณะสำหรับชุมชนและเหล่านักท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการอ่านหนังสือและพื้นที่กลางที่ทุกคนสามารถมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันได้

โจทย์หลักของการออกแบบคือการสร้างพื้นที่ที่กระทัดรัด ให้บรรณารักษ์ที่มีอยู่เพียงคนเดียวสามารถดูแลห้องสมุดได้อย่างทั่วถึง สถาปนิกจึงออกแบบพื้นให้เรียบง่ายที่สุด โดยแบ่งสเปซต่างๆ ออกเป็น กล่องขนาด 3×3 เมตร 4 กล่อง ให้เป็นพื้นที่สำหรับใช้เก็บหนังสือ และเชื่อมต่อพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกันด้วยพื้นที่ทำงานของบรรณารักษ์บริเวณกึ่งกลาง และพื้นที่กึ่งภายใน – ภายนอกระหว่างห้องเก็บหนังสือที่ถูกจัดไว้เป็นพื้นที่นั่ง วัสดุที่นำมาใช้ในโครงการนี้ล้วนเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ทั้งหมด เช่น เหล็ก ไม้ อิฐ โดยเฉพาะแผ่นโปร่งใสที่ถูกนำมาใช้ทั้งในส่วนผนังและหลังคาของอาคารซึ่งนอกจากจะทำให้อาคารมีคุณภาพแสงสว่างที่ดี ยังทำให้เกิดบรรยากาศภายในที่น่าสนใจ แปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวันอีกด้วย

สถาปนิกออกแบบชายคาทั้งสี่ด้านให้ยื่นเลยบริเวณนอกชานออกมาพอสมควร เพื่อให้อาคารสามารถใช้งานได้แม้ในวันที่ฝนตกหนัก ถ้าใครเคยผ่านไปแถวนั้น แวบแรกหลายๆ คนอาจจะมองไม่ออกว่าเป็นห้องสมุดสักเท่าไหร่ เพราะมันเหมือนกับศาลาญี่ปุ่นกลางป่ามากกว่า อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลยที่จะมองแบบนั้น เพราะด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานทุกกลุ่มและพื้นที่ที่ถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นต่อกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้ตัวอาคารนั้นกลายเป็นศาลาชุมชนไปโดยปริยาย คงไม่เลวนักหากในบ่ายวันอาทิตย์ เราได้นั่งทอดขาตรงชายคาพร้อมกับอ่านหนังสือสักหนึ่งเล่ม พร้อมกับได้มองไปที่ทิวทัศน์ธรรมชาติที่รายล้อมไปทั่วทุกทิศทาง

Standing in the middle of Phetchaburi province’s Kaeng Krachan district’s rich natural surrounding of forest and flora is ‘Kaeng Krachan Library’ that has Junsekino Architect and Design overseeing the architectural design. Initiated from the owner’s wish to build a public library for members of local community and tourists, the library is expected to serve as both a reading and communal space where conversations take place and knowledge is shared.

The main challenge of the project is to design a rather compact functional space in order for the space to be easily manageable for there is only one librarian superintending the place. The functional program is realized to be the simplest possible with the architect dividing the spaces into 4 different units of 3×3 cubical mass, housing all the bookshelves. All the functional spaces are linked with the librarian’s working space situated in the middle of the program. The semi-outdoor area between each book storage unit is designed into seating area. The design uses simple locally available construction materials such as steel, wood, bricks, including the translucent corrugated sheets for the walls and roof. The translucent property grants an ample amount of natural light into the functional space and results in the program’s interesting ambience where the presence of light and shadow varies throughout the day. 

The four sides of the eaves are designed to extend a considerable range from the terrace, allowing the spaces to be usable even during heavy rain. One can easily mistaken the structure to something else rather than a library, mainly for its physical appearance that looks more like a Japanese pavilion. With the functionality that is friendly to all groups of users, and the flexible functional program designed to accommodate various types of activities, the project has gradually turned into an unofficial community center. Imagining sitting comfortably out at the terrace, enjoying a nice book while being embraced by the presence of nature—a perfect Sunday afternoon well-spent.

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *