PLAY AT RISK

DIRECTED BY ERIN DAVIS, THIS DOCUMENTARY FILM WILL BRIEFLY GUIDE US INTO AN ADVENTUROUS PLAYGROUND THAT ALLOWS THE KIDS TO PLAY WITH AND LEARN FROM WHAT WE WOULD CONSIDER TO BE HAZARDS

TEXT: PONGTHORN SANGTHONG
PHOTO COURTESY OF THE LAND

(For English, please scroll down)

The Land เป็นภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นโดย Erin Davis ซึ่งว่าด้วยสนามเด็กเล่นชื่อเดียวกันกับภาพยนตร์ที่ตั้งอยู่ในแคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร ความน่าสนใจของสนามเด็กเล่นแห่งนี้ที่ต่างไปจากสนามเด็กเล่นทั่วไป คือการที่เด็กๆ ต่างได้รับอนุญาตให้ปีนป่ายต้นไม้ จุดไฟ หรือแม้แต่ใช้ค้อนตอกตะปูได้ตามใจชอบผ่านการดูแลของเจ้าหน้าที่ ด้วยความเชื่อที่ว่าเด็กๆ ควรได้รับมือและจัดการกับความเสี่ยงด้วยตัวของพวกเขาเอง

ภาพของเด็กๆ ที่กำลังเลื่อยไม้ ห้อยโหน เล่นเลอะโคลน คงจะดูน่าหวาดเสียวและน่าเป็นห่วงสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองหรือบรรดาอาจารย์อยู่บ้างไม่น้อย แต่ในการเสวนาหลังการจัดฉายหนังเรื่องนี้ที่ Boston Children’s Museum ผู้ร่วมเสวนาบางคนได้ให้ความเห็นว่า กรรมวิธีการเล่นในสนามเด็กเล่น The Land แห่งนี้ ท้าทายมโนสำนึกของพ่อแม่และคุณครูว่าตกลงแล้วเด็กๆ เหล่านั้นกำลังเล่นกับความอันตรายหรือท้าทายกับความเสี่ยงกันแน่ และนอกจากการที่เด็กๆ ควรเรียนรู้ที่จะรับมือความเสี่ยงแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองก็ควรรับมือกับความกังวลของตนเองด้วยหรือไม่

อันที่จริงสารคดีก็ชี้ให้เห็นอยู่เนืองๆ ว่าใน The Land เด็กได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้และเลือกด้วยการท้าทายกับความเสี่ยงด้วยตนเองมากกว่าจะเสี่ยงอันตรายที่หนักหนาสาหัสจริงๆ เพราะในสนามเด็กเล่นจะมีเจ้าหน้าที่ที่เรียกว่า Playworker คอยดูแลการเล่นของเด็กๆ อยู่ห่างๆ ในพื้นที่ที่ถูกจัดเตรียมไว้หลวมๆ จนดูคล้ายกับที่ทิ้งขยะแห่งนี้อาจดูไม่น่าพิสมัยสักเท่าไรเพราะเต็มไปด้วยข้าวของเกะกะ ต้นไม้รกเรื้อ แถมพื้นยังเป็นโคลนเฉอะแฉะ กระนั้นพวกเด็กๆ ก็ยังสามารถใช้จินตนาการประดิษฐ์ของเล่นหรือการละเล่นแปลกใหม่ได้เต็มที่

ข้อติดใจเล็กน้อยคือการที่ตัวผู้กำกับ Erin Davis นั้นมีสายตาแบบชนชั้นกลางมองชนชั้นล่างอยู่เล็กน้อย แต่นั่นไม่ได้ทำให้ประเด็นที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้ด้อยพลังลงไปเลย สิ่งที่ช่วยขับเน้นให้ The Land เป็นสารคดีสั้นที่น่าสนใจคือตอนที่ฟุตเทจของ Lady Marjory Allen ภูมิสถาปนิกชาวอังกฤษปรากฏในหนัง เธอกล่าวว่าเราให้พื้นที่สี่เหลี่ยมกั้นรั้วที่มีเครื่องเล่นติดตายและชิงช้า ซึ่งมันยังไม่ดีพอ สนามเด็กเล่นที่มีจุดประสงค์ให้เด็กได้เรียนรู้จากความเสี่ยงอย่าง The Land จึงถือกำเนิดขึ้น และในความที่เครื่องเล่นทั้งหลายใน The Land ไม่ได้ถูกจัดวางติดตั้งให้เป็นตำแหน่งถาวร นอกจากจินตนาการของเด็กๆ จะถูกขยายขึ้นแล้ว ความเป็นไปได้ของกิจกรรมใหม่ๆ ก็ถูกขยายขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ด้วย เมื่อเปรียบกับสนามเด็กเล่นทั่วไปที่กิจกรรมถูกติดตายแต่แรกตามข้อจำกัดของพื้นที่และเครื่องเล่น กลับกัน พื้นที่ที่ถูกออกแบบแบบหลวมๆ แห่งนี้ช่วยรองรับการออกแบบใหม่ๆ ของเด็กๆ ทุกครั้งที่การเล่นเกิดขึ้น

The Land is a short documentary film by American filmmaker, Erin Davis about a playground which has the same name as the film shot in Wales, the United Kingdom. What makes this particular playground different from others is that the children are allowed to climb on trees, build fires or even play with hammers and nails, all under the supervision of the staff. The place is run with the belief that children should be able to handle and manage risks on their own.

The images of children sawing wood, climbing on or swinging from trees, getting all dirty in the mud are, understandably, concerning sights for parents and teachers. But during the talk, which took place after the screening of the film at Boston Children’s Museum, people who saw the film joined the discussions with some interesting opinions, one being how the way children were playing inside this somewhat conventional playground has challenged the parents and teachers’ conscience over whether their little ‘challenging risks” ‘playing with danger’ or Apart from the fact that children need to learn to deal with risks, should parents learn to cope with ones were their own concerns?

The documentary does constantly point out how The Land enables children to accumulate experiences through learning. They learn to challenge and assess risks themselves rather than actually engaging in seriously dangerous activities, under the supervision of the staff known as the Playworkers whose job is to monitor the children from afar. Within the space of this playground, everything is loosely curated, causing the whole place to look almost like a junkyard. It isn’t the kind of place one expects a playground to look like with stuff lying around, trees growing lusciously and messily over the muddy ground. Even so, the children are given the freedom to invent new toys and play how they want to using their own imagination.

While the film projects Davis’s somewhat patronizing point of view, which gives out the feeling of a bourgeois director documenting on the lives of those who are less fortunate, it doesn’t make the key message of The Land any less powerful. What makes this short documentary even more interesting is the footage of British landscape architect, Lady Marjory Allen, expressing her opinion about the space, “We provide a rectangular space with fixated equipment and swings and all that, which isn’t good enough. The playground whose purpose is for children to learn from risks such as The Land is, therefore, conceived. And the fact that the tools and equipment in The Land are not fixated to certain permanent spots, the children can be broadened, hence, creating a greater possibility for new activities to be expanded in this particular space. In comparison to common playgrounds where activities are designed and curated beforehand and are remain unchanged for most of the time due to the limitations that come with the space and the equipment, a space such as The Land is loosely curated, and as a result, able to freely accommodate new possible activities that the children can design themselves.

vimeo.com/ErinDavis

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *