A CONVERSATION BETWEEN THE ARCHITECTS FROM DIFFERENT GENERATIONS THAT REFLECTS THE LEGACY OF DESIGN COMPETITIONS FROM NIPPON PAINT
TEXT: NAPAT CHARITBUTRA
PORTRAIT: KETSIREE WONGWAN
(For English, press here)
Patsakorn Yana: อยากให้พี่ๆ ช่วยเล่าถึงประสบการณ์การส่งงานประกวดแบบ Nippon Paint Young Architect Award ตอนปี 2003 สักหน่อยครับ
Jeravej Hongsakul: ทุกคนตื่นเต้นมาก เพราะรางวัลของ Nippon Paint คือชนะแล้วได้ไปดูงานที่ญี่ปุ่น (หัวเราะ) ซึ่ง 17 ปีก่อน มันเป็นเรื่องที่ยากมาก ไม่เหมือนตอนนี้ที่จะไปก็บินไปง่ายๆ เรียกได้ว่าสายประกวดงานออกแบบในตอนนั้นร่วมส่งงานไปประกวดทุกคน
Woranol Sattayavinij: โจทย์ตอนนั้นคือ CDC Color Design Center โดยเราต้องนำเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโปรเจ็คต์ที่เขากำหนดโปรแกรมมาแล้ว ซึ่งโจทย์นั้นไม่ได้เปิดกว้างเหมือนในปัจจุบันที่ให้เริ่มต้นทำโปรเจ็คต์ตั้งแต่การรีเสิร์ช
ในโลกการทำงานจริงมันมีเงื่อนไขของการทำงานจริง มีกรอบมากมาย ผมคิดว่าทุกคนตอนนั้นคิดคล้ายๆ กันว่า การทำงานจริงมันปล่อยไอเดียได้ไม่สุด งานประกวดมันได้ลองทำสิ่งที่เราสนุกได้เต็มที่ ได้แชร์ความคิดกัน — จีรเวช หงสกุล
JH: ในบริบทเมื่อ 17 ปีที่แล้วอาจจะไม่ได้เปิดกว้างเหมือนกับสมัยนี้ จำได้ว่าผมเรียนจบและทำงานแล้วตอนที่ส่งงานประกวด ซึ่งในโลกการทำงานจริงมันมีเงื่อนไขของการทำงานจริง มีกรอบมากมาย ผมคิดว่าทุกคนตอนนั้นคิดคล้ายๆ กันว่า การทำงานจริงมันปล่อยไอเดียได้ไม่สุด งานประกวดมันได้ลองทำสิ่งที่เราสนุกได้เต็มที่ ได้แชร์ความคิดกัน มันเลยมีบางอย่างสปาร์คขึ้นมาว่าอยากส่งงาน มันเลยมีบางอย่างจุดประกายขึ้นมาทำให้เราอยากส่งงานประกวดและทำออกมาอย่างเต็มที่
WS: มันไม่เหมือนงานเรียนด้วยนะ เพราะแต่ละสถาบันเขาก็เน้นไม่เหมือนกัน ผมอยู่ในสถาบันที่เขาเน้นเรื่องความเป็นไปได้ในการใช้งานของการออกแบบ practical ตอนทำงานในห้องเรียนมันเลยปล่อยไม่ได้สุด เหมือนกับงานประกวดแบบครั้งนี้ที่เปิดกว้างให้เราคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ที่เราอยากทำจริงๆ
JH: ชอบประกวดแบบไหมครับ? ประกวดมาเยอะไหม?
PY: พอสมควรครับ แต่ไม่ได้ประสบความสำเร็จตลอด จนกระทั่งมาได้รางวัลกับงาน Asia Young Designer Awards 2019
JH: ความสนุกของงานประกวดแบบคือตอนไหน ตอนที่ชนะรางวัลหรือตอนทำงาน
PY: ที่ออกมาทำงานประกวดแบบ ก็เพราะอยากมาเจอโจทย์ใหม่ๆ ที่ในมหาวิทยาลัยไม่มี อยากโชว์ไอเดียของตัวเอง ผมไม่เสียใจเลยถ้าไม่ได้รางวัล เพราะประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมามันคือการเรียนรู้ ผมคิดว่าการทำงานประกวดแบบช่วยให้เราได้พัฒนาตัวเองได้เร็วมากขึ้น ทั้งด้านการดีไซน์หรือการพรีเซนต์ ผมเริ่มทำประกวดแบบตั้งแต่ขึ้นปี 3 นับรวมๆ แล้วก็ประมาณ 9 รายการครับ
ผมไม่เสียใจเลยถ้าไม่ได้รางวัล เพราะประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมามันคือการเรียนรู้ — พัสกร ยะนา
JH: ได้เรียนบ้างไหมครับ (หัวเราะ) แสดงว่าสมัยนี้งานประกวดเยอะมากเลยใช่ไหมครับ
PY: ปกติผมใช้วิธีเสิร์ชในเว็บไซต์ Contest War หนึ่งปีมีเป็นสิบๆ แมทช์ ทั้งในไทยและเมืองนอก พอฟังอย่างนี้แล้วรู้สึกว่าเมื่อ 17 ปีก่อน งานประกวดแต่ละงานคงสำคัญจริงๆ
JH: เราเห็นด้วยว่าการทำงานประกวดแบบมันช่วยฝึกฝนตัวเอง คือเราจะได้บางอย่างกลับมาแน่ๆ ไม่ต้องสนใจหรอกว่าจะชนะหรือไม่ชนะ และในแง่ของผู้ประกอบการ เราก็จะชอบเด็กที่ผ่านงานประกวดแบบ เพราะว่ามันซนดี ไม่อยู่ในกรอบอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องได้รางวัลนะ เราเชื่อว่ามันสะท้อนความเป็นตัวตนของเขาได้เป็นอย่างดี คือถ้าเขามีเวลาว่างแล้วยังอุตส่าห์หาเวลาไปประกวดแบบนี่แสดงว่าคนนี้มี passion เยอะ
ผมอยู่ในสถาบันที่เขาเน้นเรื่องความเป็นไปได้ในการใช้งานของการออกแบบ practical ตอนทำงานในห้องเรียนมันเลยปล่อยไม่ได้สุด เหมือนกับงานประกวดแบบครั้งนี้ที่เปิดกว้างให้เราคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ที่เราอยากทำจริงๆ — วรนล สัตยวินิจ
PY: สำหรับพี่ๆ โจทย์ประกวดแบบที่ดีต้องเป็นอย่างไร
JH: มันต้องกว้างพอที่จะให้คนได้ทดลองบางอย่าง ให้เห็นความเป็นไปได้ แต่ก็ต้องแคบพอเพื่อที่จะโฟกัส ให้ได้สิ่งที่คนจัดต้องการ ส่วนตัวเราไม่คิดว่าโจทย์จำเป็นต้องมาจากพื้นฐานของงานวิจัย (research base) หรือมีข้อกำหนดชัดเจนในแง่ของประเภทอาคาร (building type) แต่มันควรต้องสนุก และไหลไปได้หลายๆ ทิศทาง คือมีกรอบชัดเจนแต่สามารถเขย่าได้ ให้ผู้ส่งสามารถนำเสนอไอเดียที่น่าสนใจได้เต็มที่
WS: คือตอนที่เราส่ง Nippon Paint Young Architect Award 2003 เราก็นอกกฎของโจทย์ไปนิดหนึ่ง คือเราไปเอาบางอย่างที่เขาไม่ได้กำหนดให้มาใช้ในงานออกแบบให้งานออกแบบมันดีขึ้น ในประเด็นว่าโจทย์ที่ดีควรเป็นอย่างไร เราคิดว่ามันต้องเห็นประโยชน์ของการประกวดแบบนั้นอย่างชัดเจน งานประกวดแบบก็เหมือนกับสื่อ ถ้าหากไอเดียหนึ่งชนะประกวดแบบขึ้นมา มันก็จะเป็นการสื่อสารออกไปว่าไอเดียนั้นเป็นไอเดียที่ดี เพราะฉะนั้นคนที่กำหนดโจทย์การประกวดแบบจึงต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและวงการออกแบบ เพื่อรักษามาตรฐานด้านคุณภาพของคำว่า “งานออกแบบคุณภาพ”
JH: เห็นด้วยครับโจทย์ที่ดีจะสร้างงานที่ดี และเราควรที่จะนำสังคมไปสู่หนทางที่ดีกว่าเดิม
ASIA YOUNG DESIGNER AWARDS 2020 FORWARD: HUMAN-CENTRED DESIGN
ทรัพยากรธรรมชาติมีแนวโน้มจะขาดแคลนในไม่ช้า ความแปรปรวนของสภาพอากาศและฝุ่นละออง ไปจนถึงวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นผลพวงจากพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ที่เร่งอัตราขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และนับตั้งแต่ต้นปี 2020 กับสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 เราทุกคนคงเริ่มตระหนักแล้วว่าไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างที่เคยเป็นมาได้อีกต่อไป
สิ่งสำคัญที่สุด คือการยอมรับว่ามนุษยชาติกำลังอยู่ท่ามกลางวิกฤตครั้งใหม่ และเราเดินทางมาถึงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สถานการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุม ในบริบทการออกแบบจากที่เคยเป็นเพียงเครื่องมือชั้นดีในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ครั้งนี้งานออกแบบถูกคาดหวังให้เป็นอีกหนึ่งทางแก้ปัญหาเช่นกัน โดยรอบสิบปีที่ผ่านมาได้มีแนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งสิ่งที่เรียกว่า Design Thinking หรือ Human-Centred Design ซึ่งมีหลักใหญ่ใจความคือการนำเอาผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เป็นศูนย์กลางของการออกแบบ
Human-Centred Design คือกระบวนการออกแบบที่ไม่ได้ตั้งต้นจากรูปทรง (form) แต่เริ่มที่การสำารวจปัญหาที่เกิดขึ้นในบริบทเฉพาะ กล่าวคือ การลงไปใช้ชีวิตอยู่ในปัญหานั้นๆ เพื่อทำาความเข้าใจความ ต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวบรวมแนวทางแก้ปัญหา เพื่อสร้างต้นแบบ (prototype) ทดลองใช้งานในพื้นที่จริงก่อนที่จะพัฒนาในขั้นสุดท้าย เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่างานออกแบบนั้นจะเป็นประโยชน์และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ได้ในระยะยาว Human-Centred Design คือรูปแบบการทำงานที่เรียกร้องให้นักออกแบบต้องมีมากกว่าสกิลการออกแบบ ดังที่เราได้ยินกันมาว่าต่อจากนี้พวกเขาไม่อาจเป็นเพียงผู้ออกแบบได้อย่างเดียว แต่ต้องเป็นทั้งนักสื่อสารและผู้นำกระบวนการ (facilitator) หรือตัวกลางผู้รับฟังและประสานความร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายไปพร้อมกันด้วย
บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง ผู้พัฒนาและผลิตสีจากประเทศญี่ปุ่นที่มีบทบาทในวงการการออกแบบในเอเชียมาอย่างยาวนานก็เช่นกัน ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของการออกแบบ Asia Young Designer Awards (AYDA) ประจำปี 2020 โดย Nippon Paint จึงมาในหัวข้อ FORWARD: Human-Centred Design ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาด้านการออกแบบ จากทั้งสาขาสถาปัตยกรรม (Architecture) และการออกแบบตกแต่งภายใน (Interior Design) ได้ร่วมส่งผลงานและเสนอไอเดียใหม่ๆ ซึ่งคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
ผลงานที่ Asia Young Designer Awards ในปีที่ 13 กำลังมองหาในครั้งนี้ คืองานออกแบบที่สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่ชุมชนโดยรอบ คำนึงถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมีนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตในปัจจุบันได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นโจทย์การประกวดแบบที่น่าสนใจทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นสนามทดลองให้ได้ค้นหาความสามารถใหม่ๆ ของตัวเอง การประกวดนี้จะเป็นการสื่อสารให้สังคมตระหนักถึงบทบาทของวิชาชีพออกแบบต่อสังคมโดยรวมอีกด้วย
ผู้ชนะของแต่ละสาขาจากเวทีประกวดของประเทศไทย จะได้โอกาสนำผลงานของตัวเองไปแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติอย่าง Asia Young Designer Summit 2021 ที่ประเทศเวียดนาม และโอกาสในการชนะรางวัลใหญ่ ASIA YOUNG DESIGNER OF THE YEAR ซึ่งจะได้มีโอกาสเรียนหลักสูตรระยะสั้น ที่ Graduate School of Design, Harvard University ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ระยะเวลา 6 สัปดาห์
ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดในการส่งผลงานได้ที่ asiayoungdesignerawards-th.com
ABOUT ASIA YOUNG DESIGNER AWARDS 2020
นับตั้งแต่ปี 2003 กับการประกวดในชื่องานประกวด Nippon Paint Young Architect Award มาจนถึงชื่อ Asia Young Designer Awards (AYDA) ในปัจจุบัน Nippon Paint ได้สร้างพื้นที่และโอกาสให้นักเรียนในสาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายในได้พัฒนาทักษะการออกแบบพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ทรงคุณวุฒิในวงการ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนนักเรียนในภูมิภาค มาอย่าง
ต่อเนื่อง
ปัจจุบันนี้ AYDA เป็นงานประกวดแบบที่ได้รับการยอมรับในกว่า 15 ประเทศทั่วเอเชียและได้สร้างเครือข่ายอันเหนียวแน่นของดีไซเนอร์ สถาปนิกและนักออกแบบตกแต่งภายใน ทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งในอนาคต AYDA ก็จะยังคงเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่และส่งเสริมให้พวกเขาได้เรียนรู้และเติบโตในวงการการออกแบบต่อไป
asiayoungdesignerawards-th.com
facebook: Asia Young Designer Awards Thailand