HALL OF FAME AT KAMPONG GELAM

Under the Same Sun by ZERO

STREET ARTISTS FROM SOUTHEAST ASIA CO-CREATE A NEW LANDMARK IN KAMPONG GELAM BY TRANSFORMING A 200-METER LENGTH OF SOUND PROOFING WALL INTO A CANVAS FOR GRAFFITI

TEXT: WEE VIRAPORN
PHOTO COURTESY OF ONE KAMPONG GELAM

(For English, press here)

ตั้งแต่โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของชีวิตคน ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ จึงต้องพัฒนา “มุมถ่ายรูป” มากเป็นพิเศษ และคำว่า “Instagrammable” ก็ถูกบัญญัติขึ้น และใช้กันแพร่หลายใน design brief (ไม่ว่านักออกแบบจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม) และหนึ่งในสิ่งที่เรียกความสนใจได้ไม่แพ้สถาปัตยกรรมในพื้นที่เมือง คือ กราฟฟิตี้

เมื่อการพ่นกราฟฟิตี้และศิลปะสตรีตอาร์ตได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่กิจกรรมที่ต้องแอบทำอีกต่อไป เราจึงได้เห็นผลงานของศิลปินชื่อดังมีขนาดใหญ่ขึ้น ได้ตำแหน่งที่เป็นแลนด์มาร์คของเมืองบ่อยขึ้น จนศิลปะประเภทนี้กลายเป็นเครื่องมือหนึ่งของการพัฒนาเมืองในที่สุด

Kampong Gelam หนึ่งในย่านอนุรักษ์ที่เป็นจุดรวมศิลปวัฒนธรรมอันหลากหลายของสิงคโปร์ มีความหลากหลายของอาหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม และเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางหลายแห่ง ได้เลือกพลิกวิกฤตเป็นโอกาสโดยเปลี่ยนกำแพงกันเสียงที่สูง 5 เมตร และมีความยาวรวมกว่า 200 เมตร เป็นผืนผ้าใบให้ศิลปินสตรีตอาร์ตทั้งระดับแนวหน้าและดาวรุ่งรวม 17 คน มาร่วมกันสร้างผลงานใน “Hall of Fame” แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Local Graffiti Monsters by Noez23 & AshD

โครงการนี้สำเร็จลงได้ด้วยความร่วมมือระหว่างองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ และยังมีความร่วมมือในระดับภูมิภาคจากศิลปินชาวอินโดนีเซีย และศิลปินชาวฟิลิปปินส์ที่ทำงานในสิงคโปร์ด้วย และทางผู้จัดหวังว่ากำแพงนี้จะกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ได้ต้อนรับผลงานของศิลปินชั้นนำจากทั่วโลกในอนาคต Hall of Fame นี้ เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา และจะมีกิจกรรมอื่นๆ จัดขึ้นในย่านตามมาอีกมากมาย รวมถึงเวิร์คช็อปการพ่นกำแพงกับศิลปินด้วย

Constant Elevation by ANTZ, Jaba & Hegira

เมื่อกลับมามองในประเทศไทย เราก็เคยได้เห็นการรวมตัวของศิลปินสตรีตอาร์ตชื่อดังทั้งไทยและเทศ ในเทศกาลศิลปะ การท่องเที่ยว และโครงการสร้างสีสันให้กับเมืองมาแล้วหลายครั้ง แต่สิ่งที่ยังไม่เห็นคือพื้นที่ถาวรอย่างเป็นทางการที่เปิดให้ศิลปินชั้นนำมาสร้างงานหมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นแลนด์มาร์ค คงต้องรอดูว่า Hall of Fame ที่สิงคโปร์นี้จะเติบโตไปในรูปแบบใด และหวังว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในบ้านเราจะได้เรียนรู้เพื่อมาพัฒนาโครงการลักษณะเดียวกันในบ้านเราบ้าง เพราะประเทศไทยก็มีศิลปินสตรีตอาร์ตเก่งๆ อยู่ไม่น้อย

Betta Fish by Slacsatu

The Journey: Child of Many Cultures by Studio Moonchild

สามารถเข้าชมผลงานทุกชิ้นพร้อมคำอธิบายแนวคิด และประวัติของศิลปิน ที่ร่วมอยู่ใน Hall of Fame ได้จากเว็บไซต์ https://hof.visitkamponggelam.com.sg

facebook.com/visitkkg

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *