DESIGN ACTION HERO: 8 FINALISTS

Photo: Worarat Patumnakul

สำรวจผลงานของ 8 ทีมสุดท้ายในโครงการ Design Action Hero: ดีไซน์ดีมีแต่ได้ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ art4d ซึ่งเป็นการประกวดไอเดียธุรกิจ start up ภายใต้โจทย์ทั้ง 4 คือ creative playground,  green business, technotopia และ soft power

TEXT: PRATARN TEERATADA
PHOTO COURTESY OF THE DESIGNERS EXCEPT AS NOTED

(For English, press here

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ art4d จัดรายการประกวดไอเดีย Design Hero ขึ้นมาอีกครั้ง โดยครั้งนี้เน้นไปที่แนวคิดธุรกิจ start up โดยมีโจทย์ให้เลือกสี่ฉากทัศน์คือ creative playground,  green business, technotopia และ soft power โครงการที่น่าสนใจได้รับคัดเลือกให้ร่วม workshop โดยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพหลายคน จนคัดเหลือแปดทีมสุดท้าย ที่เพิ่งนำเสนอ model ธุรกิจกันจบไปเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ ดังต่อไปนี้

1. GACHA THANI: นำแรงบันดาลใจจากการไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นและเห็นกาชาปอง ตู้หยอดเหรียญสำหรับของที่ระลึกชิ้นเล็กๆ น่าสะสม เลยคิดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านคาแร็กเตอร์ที่นำมาจากของดีเมืองสุราษฎร์ เช่น ไข่เค็ม เงาะ เป็นต้น นอกจากนี้ทางทีมยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปเป็น application และเกมส์ต่อไปในอนาคต

Photo: Worarat Patumnakul

Photo: Worarat Patumnakul

2. GASTROFILM: ทีมนักสร้างสรรค์ที่สนใจงานถ่ายสารคดีและยังสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารในเขตทรงวาด แต่ผลงานที่ทำเลือกทำร้าน POTONG มาร้านเดียว เป็นร้าน fine dining ที่สวยงามทั้งตัวอาคารและอาหารที่ดูมีศิลปะ ซึ่ง content แบบนี้เราคิดว่ามีสื่ออื่นสนใจทำแบบคล้ายๆ กันอยู่พอสมควร ถ้าเลือกทำความหลากหลายของวัฒนธรรมทรงวาด / เยาวราช น่าจะมีสีสันมากกว่านี้ได้อีก

Photo: Worarat Patumnakul

3. F PROJECT: สมาชิกในทีมสนใจเรื่องแฟชั่น และเฟอร์นิเจอร์ เลยเอาความชอบทั้งสองด้านมารวมกัน ไอเดียหลักคือ นำเสื้อผ้าเก่าของคนที่รักหรือมีความทรงจำดีๆ ด้วยมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบ made to order โดยใช้เทคนิคทั้งด้านแฟชั่นและการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ออกมาเป็นงานที่มีคอนเซ็ปท์น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่ง

Photo: Worarat Patumnakul

Photo: Worarat Patumnakul

4. GLISTEN: ทีมนี้มีความสนใจเรื่องวัสดุ upcycling จากอุตสาหกรรมรถยนต์กลับมาใช้ใหม่โดยพัฒนาออกมาเป็นทั้งผลิตภัณฑ์แฟชั่น และวัสดุใช้ตกแต่งงานออกแบบภายใน มีความเป็น industrial craft และยัง eco friendly ด้วย มีศักยภาพสูงที่จะขยายงานเป็นผู้ประกอบการส่งออก

Photo: Worarat Patumnakul

Photo: Worarat Patumnakul

5. ใต้โต๊ะดราฟ: ทีมจากมหาวิทยาลัยศิลปากรทีมนี้เริ่มต้นจากปัญหาในตรอกเล็กๆ ข้างมหาวิทยาลัย ที่มักจะมีคนมาใช้ปลดทุกข์ จนมีชื่อรู้จักกันทั่วไปว่าซอยเยี่ยว ทีมได้ไปศึกษาวิจัยคนรอบบริเวณนั้นและพบกว่าคนพื้นที่เองก็พยายามแก้ปัญหากันอยู่แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ค่อยชัดเจนว่าควรจะเดินหน้าแก้ไขเรื่องนี้จริงจัง หรือว่าปล่อยให้คนในพื้นที่แก้ไขกันเองต่อไปดี

Photo: Worarat Patumnakul

6. EARTHRISE (BIO-CASE): แนวคิดของน้องๆ ต้องการพัฒนาฟางข้าวไปผลิตเป็นวัตถุที่ใช้งานได้ โดยมีการทำงานกับ lab ของแผนกเทคโนโลยีชีวภาพของมหาวิทยาลัย ABAC ผลลัพธ์เบื้องต้นคือใช้ฟางข้าว 10 % ผสมผสานกับพลาสติก ซึ่งดูเหมือนยังใช้ฟางน้อยเกินไป แต่นับเป็น step แรกของการพัฒนาโครงการนี้ต่อไป

Photo: Worarat Patumnakul

7. DOMESTIC + CITY UNIT: กลุ่มนี้สนใจโครงการด้านสังคมโดยสร้างพื้นที่กิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบท และกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันทีมได้เริ่มทำโครงการจริงกับทาง อนันดา ดิเวลลอปเมนท์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Photo: Worarat Patumnakul

8. HATYAI CONNEXT: ตั้งใจทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อการฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ด้วยการสร้างอัตลักษณ์ โดยจัดโปรแกรมแนะนำจุดน่าสนใจของเมือง โดยเริ่มจากอาหาร และชุมชน แสงสี ทางกลุ่มได้ทดลองจัด กิจกรรมเดินดูเมืองพร้อมกับแวะทำงานคราฟท์และแวะชิมอาหารท้องถิ่น

Photo: Worarat Patumnakul

ผลการตัดสินรางวัลผู้ชนะจะประกาศในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 ช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ ส่วน Design Hero ครั้งต่อไปคิดว่าจะกระจายให้ถึงนักคิดทั่วประเทศให้กว้างออกไปอีก รอติดตามข่าวได้จาก art4d และ สสส.

Photo: Worarat Patumnakul

facebook.com/artculture4h

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *