CAFÉ AMAZON: CONCEPT STORE

Café Amazon Concept Store

ซีรีส์ Café Amazon ดำเนินมาถึงตอนสุดท้ายกับเรื่องราวของ Concept Store สองสาขา ที่มีรายละเอียดงานออกแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่งที่โดดเด่น แตกต่างไปจากสาขาทั่วไป

TEXT: PRATCHAYAPOL LERTWICHA
PHOTO COURTESY OF CAFÉ AMAZON

(For English, press here)

ความท้าทายของตลาดกาแฟในเมืองไทย เป็นที่ทราบกันดีว่าธุรกิจร้านกาแฟในไทยแข่งขันกันอย่างดุเดือด มีร้านที่เกิดใหม่ และร้านที่ล้มหายตายจากไปในทุกวัน ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่หลากหลาย เพื่อให้อยู่รอดในสมรภูมิอันขับเคี่ยว Café Amazon จึงต้องสรรหายุทธวิธีใหม่ๆ ที่จะทำให้แบรนด์ครองใจลูกค้าอยู่ได้ตลอด 

การสร้างสรรค์ร้านกาแฟโดยการเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจ ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบประสบการณ์พิเศษ คืออาวุธที่ Café Amazon เลือกใช้ การพัฒนาร้านกาแฟรูปแบบ Concept Store คือร้านกาแฟของ Café Amazon ที่แตกต่างไปจากร้าน Standard Store ทั่วไป แต่ละร้านมีแนวคิดการออกแบบการตกแต่งเฉพาะตัว ต่อยอดประสบการณ์ของกาแฟโดยการไปจับบนไลฟ์สไตล์ของคน ทำให้ร้านกาแฟเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทั้งในเรื่องของสินค้า คอมมูนิตี้และประสบการณ์ในร้าน หรือเรียกว่าเป็น Coffee x Life ทำให้ลูกค้าได้เข้าถึง ‘New Flavors of Life’ ในปัจจุบันมี Concept Store แล้ว 2 สาขา และกำลังอยู่ในขั้นตอนการออกแบบและขยายตัวต่อไป

เปิดประตูสู่อยุธยา กับ Café Amazon Concept Store สาขาพหลโยธิน กม.56

แนวคิดของการออกแบบ Concept Store อย่างแรกคือ Landmark Concept เป็นการพลิกโฉมร้านกาแฟให้เป็น ‘The Door to the Local’ เชื่อมโยงร้านเข้ากับเอกลักษณ์ท้องถิ่น ผสานแนวคิดการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ร้านสาขาแรกที่ตั้งต้นด้วยแนวคิดนี้คือ Café Amazon Concept Store สาขาพหลโยธิน กม.56 

Amazon Concept Store สาขาพหลโยธิน กม.56

Concept Store สาขานี้ตั้งอยู่ติดถนนพหลโยธิน ในอำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา นอกจากสาขานี้จะแตกต่างไปจากสาขาอื่นด้วยเมนูพิเศษอย่าง Unicorn Cotton Candy Frappe ที่เปิดประตูสู่อยุธยาด้วยรสชาติเครื่องดื่มเมนูปั่นท็อปด้วยสายไหมจากอยุธยา งานดีไซน์สาขานี้จาก P.O.P. Studio ก็แตกต่างด้วยรูปฟอร์ม ที่ดัดแปลงมาจากอาคารสไตล์ Glass House อันยอดนิยมของ Café Amazon

Café Amazon Concept Store สาขาพหลโยธิน กม.56

แทนที่จะเป็นอาคารหลังคาจั่วธรรมดา P.O.P. Studio สร้างผืนผนังหินขึ้นมาอีกผืน เพื่อลดทอนความร้อนที่ส่งผ่านเข้าอาคาร และเปิดโอกาสให้ลมไหลเวียน ช่องว่างที่เกิดขึ้น กลายเป็นพื้นที่กึ่งภายในภายนอกที่ประดับประดาด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เป็นสวนขนาดย่อมที่สร้างความชุ่มชื่น สร้างบรรยากาศสบายๆ แม้การกรุกำแพงด้วยแผ่นหินจะให้ท่าทีอันหนักแน่น แต่สถาปนิกก็วาดลูกเล่นให้อาคารดูโปร่งเบาด้วยการต่อขยายโครงสร้างเหล็กออกจากตัวอาคารหลัก

Café Amazon Concept Store สาขาพหลโยธิน กม.56

Café Amazon Concept Store สาขาพหลโยธิน กม.56

พื้นที่ภายในอันสูงโปร่งตกแต่งด้วยโทนสีเทาดำอันเคร่งขรึม สร้างบรรยากาศคล้ายกับอยู่ในอุโบสถอันเงียบสงบ ภายในสอดแทรกด้วยพืชพันธุ์สีเขียวและวัสดุไม้ตามแนวทาง ‘Taste of Nature’ ของ Café Amazon เอาไว้ เสาต้นสีดำที่แตกกิ่งก้านลอกเลียนต้นไม้ ทำหน้าที่รับบันไดและพื้นที่ชั้นสองที่ร้อยเรียงทางสัญจรอย่างอิสระ เปิดโอกาสให้ผู้คนเดินขึ้นลงได้ในเส้นทางที่แตกต่าง มีกิมมิกเป็นงานดีไซน์เหล็กดัดโค้งที่ครอบสเปซชั้นสอง เหมือนเป็นกรงของ ’น้องซนซน’ นกแก้วมาคอว์สีสวยจากป่าอเมซอน มาสคอตประจำแบรนด์ที่เราคุ้นตา

CAFÉ AMAZON: EP.3 CONCEPT STORECAFÉ AMAZON: EP.3 CONCEPT STORECAFÉ AMAZON: EP.3 CONCEPT STORECAFÉ AMAZON: EP.3 CONCEPT STORE
Café Amazon Concept Store

 

Amazon EP3 Concept StoreAmazon EP3 Concept StoreAmazon EP3 Concept Store

เชื่อมต่อกับผู้คนใน Café Amazon Concept Store สาขาวิภาวดี 62

อีกแนวทางการออกแบบ Concept Store คือ Unique Concept เป็นการนำไลฟ์สไตล์ของคนและสังคมในละแวกร้าน มาเป็นตัวกำหนดกรอบการออกแบบประสบการณ์และงานตกแต่งของร้านกาแฟให้มีความหมาย

สำหรับ Café Amazon Concept Store สาขาวิภาวดี 62 ธีมของงานออกแบบร้านคือ ‘Coffee X People’ ร้านตั้งอยู่ใน PTT Station วิภาวดี 62 ริมถนนวิภาวดีรังสิตที่ผู้คนสัญจรกันอย่างขวักไขว่ จากบริบทที่ตั้งร้าน Concept Store สาขานี้จึง วางตัวเป็นจุดเชื่อมต่อของผู้คน เปิดให้ผู้คนได้มานั่งทำงาน ประชุม หรือจะมานั่งแฮงเอ้าท์ พักผ่อนระหว่างการเดินทางก็ได้ โดยสาขานี้ได้สตูดิโอ SPACEOLOGY เป็นผู้ออกแบบ

พื้นที่ภายในแบ่งออกได้เป็นสามโซนใหญ่ๆ ชั้นแรกคือส่วนรีเทลที่มีทั้งเคาน์เตอร์ขายเครื่องดื่มปกติ และ Concept Bar สำหรับขายกาแฟในรูปแบบ Mini Specialty Coffee ในส่วนนี้จะเน้นใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ bench หรือเก้าอี้พร้อมโต๊ะเล็กๆ ตอบโจทย์กับลูกค้าที่ซื้อเครื่องดื่มแบบ take away สถาปนิกยังสอดแทรกแผง flip-board เพื่อสร้างกิจกรรมระหว่างรอรับเครื่องดื่ม เป็นกิมมิกเล็กๆ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและงานดีไซน์

Café Amazon Concept Store

ส่วนรีเทลชั้น 1

ชั้นสองถูกออกแบบให้รายล้อมด้วยโต๊ะนั่งพร้อมเก้าอี้ lounge chair ที่เหมาะกับการนั่งพักสบายๆ บริเวณตรงกลางสถาปนิกออกแบบให้มีเกาะเคาน์เตอร์นูนต่ำเผื่อเป็นเครื่องเล่นเล็กๆ สำหรับเด็กๆ ที่ติดสอยห้อยตามพ่อแม่มาด้วย อีกฝั่งของชั้นสองคือ Co-Working Area ผืนผนังเส้นสายอิสระที่เหลื่อมซ้อนเป็นชั้นๆ ใช้เทคนิคสีพิเศษ (Special Paint) เป็นสีที่ให้ผิวสัมผัสที่แปลกใหม่ บนลวดลายแนวเส้นนอน สร้างผิวผนังที่มีสัมผัสบางเบา ไร้รอยต่อ เลื่อนไหลไปจนถึงฝ้าเพดานให้ความรู้สึกคล้ายอยู่ในถ้ำ ภายในอาณาบริเวณก็มีก้อนหินเล็กน้อยที่ช่วยแบ่งกั้นพื้นที่เป็นสัดส่วน โซนนี้เต็มไปด้วยที่นั่งแบบกลุ่ม รวมไปถึงห้องประชุมส่วนตัว

Café Amazon Concept StoreCafé Amazon Concept Store
Café Amazon Concept StoreCafé Amazon Concept StoreCafé Amazon Concept Store

จะเห็นว่าภาพรวมงานตกแต่งของ Café Amazon Concept Store สาขาวิภาวดี 62 คือการใช้เส้นสายโค้งอิสระ รวมถึงการใช้สีโทนที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับ Café Amazon หลายๆ สาขา เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตร อ่อนโยน ตรงกับแนวคิด ‘Coffee X People’ ที่อยากชวนผู้คนมาปฏิสัมพันธ์กันในพื้นที่ร้านกาแฟแห่งนี้ ในขณะเดียวกันร้านก็เต็มไปด้วยสีเขียวและงานตกแต่งอันร่มรื่น ชุ่มชื่น คงรสชาติ ‘Taste of Nature’ ของ Café Amazon ไว้ได้ครบถ้วน

Café Amazon Concept Store

ไดอะแกรมของ Café Amazon Concept Store สาขาวิภาวดี 62

มีฟันเฟืองมากมายที่ทำให้ Café Amazon ก้าวขึ้นเป็นร้านกาแฟที่มีจำนวนสาขามากเป็นอันดับ 6 ของโลก ทั้งทีมบริหารที่คอยวางกลยุทธ์ พนักงานบาริสต้าหลังเคาน์เตอร์ ลูกค้ามากหน้าหลายตาที่แวะเวียนมาซื้อเครื่องดื่ม รวมไปถึงงานดีไซน์ที่เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนสำคัญ 

ในบทความทั้งสามตอน เราได้เห็นว่า Café Amazon มีมิติของงานดีไซน์หลากหลายที่แทรกซึมอยู่ในแบรนด์  ตั้งแต่การสร้างตัวตนแบรนด์ การดีไซน์ร้าน ไปจนถึงดีไซน์วิธีการก่อสร้างเพื่อให้สร้างอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ซึ่งพลานุภาพของงานดีไซน์นั้นแน่นอนว่าไม่ใช่เพียงแค่การสร้างภาพลักษณ์อันสะสวยดึงดูดใจ แต่เป็นการยืนยันซ้ำๆ ถึงสิ่งที่แบรนด์เป็น แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามพัฒนา ค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้น่าจะเป็นหัวใจของการออกแบบแบรนด์ซึ่งช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าอย่างแข็งแรงและมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน อย่างที่ปฏิเสธได้ยากว่า Café Amazon เป็นหนึ่งในร้านกาแฟในดวงใจของมหาชนอย่างแท้จริง

cafe-amazon.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *