วิทยานิพนธ์ 6 เรื่อง จากนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
(For English, press here)
วิทยานิพนธ์ของสาขาสถาปัตยกรรมภายใน ปีการศึกษา 2566 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นความพยายามถ่ายทอดแนวทางการศึกษาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งในการผสานความรู้ด้านการออกแบบเข้ากับเทคโนโลยี ผสมกับความรู้ด้านการปฏิบัติ ผลงานที่นำเสนอจึงมีความหลากหลายจากพื้นฐานการเน้นเรื่องปฏิบัติ ทั้งโครงการที่แสดงฝีมือเชิงช่างในงานพื้นถิ่น จนถึงการใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยี และวัสดุให้อยู่ในวิทยานิพนธ์
Water Incident Rescue Training Center, Bangkok
โดย ณัฐวัฒน์ ปานนิยม
ประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมีแม่น้ำหลายสายตัดผ่านและติดกับทะเล นั่นจึงตามมาด้วยอุบัติภัยทางน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2564 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากเหตุทางน้ำถึง 35,915 คน หรือเฉลี่ย 10 คนต่อวัน แนวโน้มนี้มีโอกาสเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้ภัยธรรมชาติเกิดบ่อยครั้งขึ้น
กู้ภัยทางน้ำ เป็นอาชีพที่สำคัญและขาดไม่ได้เมื่อเกิดภัยพิบัติทางน้ำ ผู้ที่ทำหน้าที่กู้ภัยต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หากประชาชนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับการอุบัติภัยทางน้ำ จะช่วยลดความเสี่ยงการประสบเหตุ และทำให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างลื่นไหล เพราะสิ่งสำคัญคือทั้งผู้กู้ภัยและผู้ประสบภัยต้องรอดไปด้วยกัน
โครงการนี้จึงเป็นพื้นที่ที่รวมเอาทั้งกู้ภัยและประชาชนไว้ด้วยกัน โดยให้พื้นที่ในการเรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางน้ำแก่ประชาชนและเป็นศูนย์ฝึกฝนให้แก่กู้ภัยทางน้ำ อีกทั้งยังทำให้ประชาชนสามารถเห็นทุกขั้นตอนของการฝึกของกู้ภัยเพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของงานกู้ภัยทางน้ำ โดยให้พื้นที่การเรียนรู้ของกับประชาชนอยู่ควบคู่ไปกับพื้นที่ฝึกของกู้ภัยที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่การเรียนรู้นั้นๆ ด้วย
นักศึกษา: ณัฐวัฒน์ ปานนิยม
อาจารย์ที่ปรึกษา: จิระ อำนวยสิทธิ์
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.instagram.com/p/C7i8quvyi3K/
อีเมล: nattawatmos407@gmail.com
ศูนย์สร้างสรรค์ยางพาราเพื่อการแปรรูป สงขลา
โดย ธนวัฒน์ งามศรีขำ
แนวคิดของโครงการเกิดจากประเด็นปัญหามูลค่าราคายางตกต่ำ เนื่องจากปริมาณการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นต้นมีจำนวนมากเกินความต้องการของตลาด คู่แข็งทางด้านการผลิตเพิ่มมากขึ้น และปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ยางพาราในประเทศไทยมีน้อย และประเด็นแนวทางการสร้าง soft power ผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นจากยางพารา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราในประเทศไทย
โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศูนย์สร้างสรรค์ยางพาราเพื่อการแปรรูป จึงจะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนให้ผู้คนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากยางพาราเพิ่มมากขึ้น โดยผ่านการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างเกษตรกร นักเรียนนักศึกษา ผู้คนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวร่วมกับกลุ่มดีไซเนอร์ จากการเข้าอบรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงกิจกรรมเวิร์กช็อป และมีการออกแบบภายในให้ผู้คนสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด ทำให้ผู้คนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา
นักศึกษา: ธนวัฒน์ งามศรีขำ
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.วรุตน์ วีระศิลป์
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://heyzine.com/flip-book/2d2cc7c312.html
อีเมล : thanawatdn@gmail.com
ศูนย์ส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการและพัฒนาการเพื่อผู้พิการทางด้านสายตา กรุงเทพ
โดย ชนัญชิดา มะลัยกอง
ผู้พิการทางสายตาในปัจจุบันนั้นยังไม่มีพื้นที่นันทนาการหรือทำกิจกรรมที่เอื้อต่อการใช้งาน พื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้คนในสังคมไม่มากนัก ทำให้ผู้พิการทางสายตานั้นขาดการเข้าร่วมกับผู้คนในสังคม และรู้สึกแตกต่างจากผู้คนในสังคมทำให้ทัศนคติบางอย่างที่มีต่อตัวผู้พิการทางสายตาเองนั้นเป็นไปในแง่ลบ ส่งผลให้ไม่มีความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสังคม และทัศนคติต่อผู้คนในสังคมที่มองผู้พิการทางสายตาว่าเป็นบุคคลที่ต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดเวลา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
จากปัญหาข้างต้นจึงมีเหตุผลสมควรเสนอโครงการศูนย์ส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการและพัฒนาการเพื่อผู้พิการทางด้านสายตา เพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้คนในสังคมและผู้พิการทางสายตาได้ใช้พื้นที่ร่วมกันเพื่อเปลี่ยนมุมมองทัศนคติของผู้พิการทางสายตาเอง และผู้คนในสังคม และเป็นพื้นที่ส่งเสริมพัฒนาการของผู้พิการทางสายตา และเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาไม่รู้สึกแตกแยก จากผู้คนในสังคมสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนในสังคมอย่างภาคภูมิใจ
นักศึกษา: ชนัญชิดา มะลัยกอง
อาจารย์ที่ปรึกษา: ศีตลา กลิ่นรอด
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://online.publuu.com/526053/1178718
อีเมล: dream572543@gmail.com
A Center To Promote Learning About Environmentally Friendly Products, Bangkok
โดย ขวัญจิรา แอตาล
ในยุคปัจจุบันที่โลกมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีผลิตภัณฑ์มากมายเกิดขึ้น จนทำให้ไม่สามารถจัดการขยะได้ทัน ในปี 2565 มีขยะในประเทศ 25.7 ตัน เฉลี่ย 70,411 ตัน/วัน และเฉลี่ยเป็น 1.07 กิโลกรัม/คน/วัน ซึ่งในปัจจุบันมีปริมาณขยะที่มากขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมา จนทำให้เกิดมลภาวะกับโลก
โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้เกิดความตระหนักและสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ศึกษาการก่อรูปของพื้นที่ เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้รูปแบบใหม่ โดยนำพื้นที่ระหว่างในรูปแบบของทางผ่าน ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งทางสัญจรและพื้นที่รองรับกิจกรรมระหว่างพื้นที่การเรียนรู้ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม จัดวางพื้นที่การเรียนรู้แบบ random เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์และการทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในขณะเปลี่ยนผ่านการใช้งาน ตลอดจนสามารถมองเห็นและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมรอบๆ ได้มากขึ้น
นักศึกษา: ขวัญจิรา แอตาล
อาจารย์ที่ปรึกษา: จิระ อำนวยสิทธิ์
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://heyzine.com/flip-book/234db5055d.html
อีเมล: khwanjira1115@gmail.com
Government Easy Contact Center, Ari, Bangkok
โดย มังกร นันทชัย
ศูนย์ราชการสะดวก คืออะไร? คือศูนย์ราชการที่นำหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับประชาชนมาอำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชนในจุดเดียวภายใต้แนวความคิด ‘สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย’ (เปิดบริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
โครงการนี้เกิดมาจากปัญหาและนโยบายของภาครัฐ (ประเทศไทย 4.0) เพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาและเพิ่มสิ่งอำนวยความ สะดวกให้กับประชาชน เพื่อพัฒนาให้มีความทันสมัยต่อยุคในปัจจุบัน เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้มีความเข้าใจในการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐในรูปแบบใหม่ อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาในส่วนของความหนาแน่นของประชากรในเขตพื้นที่มีมากเกินกว่าที่ภาครัฐจะให้บริการได้รวมถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกต่อการมาใช้บริการหน่วยงานภาครัฐและเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่มีต่อประชาชน
นักศึกษา: มังกร นันทชัย
อาจารย์ที่ปรึกษา: เรวัฒน์ อามิน
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.instagram.com/arch_mbtg/
อีเมล: manggggggon@gmail.com
HOTEL TRIATHLON, Phuket
โดย ณรงค์ฤทธิ์ รักไทย
โรงแรมที่สนับสนุนการแข่งขันไตรกีฬาและการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การท่องเที่ยวทางสุขภาพเป็นหนึ่งในแนวทางที่กำลังเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เน้นการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โรงแรมที่สนับสนุนการแข่งขันไตรกีฬาและการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพเป็นสถานที่ที่นักกีฬาและนักท่องเที่ยวสามารถพักผ่อน ฝึกซ้อม และเพลิดเพลินไปพร้อมกัน
เป็นสวรรค์ของนักกีฬาไตรกีฬา นักกีฬาไตรกีฬาจากทั่วโลกมาเยือนและพักอยู่เพื่อฝึกซ้อม แข่งขัน และเพลิดเพลินกับกิจกรรมทางกีฬาสำหรับค่ายฝึกซ้อมในช่วงปลายฤดูกาล ที่สำคัญคือคุณเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และมีความภูมิใจที่เป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากนักไตรกีฬาชื่อดังอย่างที่มักมาพักผ่อนที่โรงแรมอย่างสม่ำเสมอ โรงแรมเป็นที่เลือกของ Ironman ในการจัดงาน 70.3 และการจัดงานระยะยาวนักกีฬาไตรกีฬามืออาชีพ และมือสมัครเล่นเดินทางมาฝึกซ้อมและแข่งขันในสภาพแวดล้อมที่สวยงามสำหรับกิจกรรมว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และวิ่ง
นักศึกษา: ณรงค์ฤทธิ์ รักไทย
อาจารย์ที่ปรึกษา: เรวัฒน์ อามิน
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://heyzine.com/flip-book/8d9b99ebe8.html
อีเมล: narongrit23232323@gmail.com