STUDIO PHASARN

Studio PhasarnDepartment of Architecture & Planning Renovation KMITL

รู้จัก Studio PhaSarn ที่มีแนวคิดออกแบบว่าด้วยการผสานความแตกต่างให้ไปด้วยกัน โดยปรับสัดส่วนตามความเหมาะสมและความต้องการของโครงการ

TEXT: STUDIO PHASARN
PHOTO: RUNGKIT CHAROENWAT

(For English, press here)

WHO

Studio PhaSarn (สตูดิโอ ผสาน) ชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นโดย ผศ.ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร สถ.บ. (สถาปัตยกรรมหลัก) ภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมกับลูกศิษย์ที่มีวิถีและแนวทางในการทำงานสอดคล้องกัน

studio phasarn

Department of Architecture & Planning Renovation KMITL

studio phasarn

Department of Architecture & Planning Renovation KMITL

WHAT

Studio PhaSarn จริงๆ แล้ว เป็นเสมือนกลุ่มคนที่สนใจในแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานข้อดีของสิ่งที่แตกต่างกันให้อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว ด้วยความที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยจึงพยายามส่งต่อความคิดและวิธีการให้แก่นักศึกษาที่สนใจในแนวทางเดียวกันได้ฝึกฝน ทดลอง และนำไปใช้ในการออกแบบ ตั้งแต่งานในการเรียนสอนจนต่อยอดไปสู่การปฏิบัติวิชาชีพจริงในลักษณะ collaboration ระหว่างอาจารย์และลูกศิษย์ที่ไว้ใจและมีแนวทางสอดคล้องกันอย่างมีอิสระ โดยมิได้เป็นการทำงานในรูปแบบบริษัท

WHEN

ปี พ.ศ. 2558 เริ่มเกิดการทำงานในลักษณะนี้ โดยเริ่มจากผลงานออกแบบหลักแรกคือ บ้านอิงกาย (Lean House)

studio phasarn

Material Innovation Lab KMITL

studio phasarn

Material Innovation Lab KMITL

WHERE

กระบวนการการเรียนการสอน และการฝีกปฏิบัติงาน ณ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

WHY

เพราะความเชื่อที่ว่า ทุกสิ่งในโลกล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ดังนั้นจึงเกิดแนวทางที่จะวิเคราะห์สิ่งดีของแต่ละขั้ว เพื่อนำมา ‘ผสาน’ (combine / interlock / blend / merge) ให้ไปด้วยกันได้อย่างสอดคล้องลงตัว (synchronize) ตามแนวทางของเรา

studio phasarn

คุณนิยามสไตล์การออกแบบของตัวเองไว้อย่างไร

อาจเรียกได้ว่าเป็น หลักการ หรือแนวทางในงานออกแบบของเรา คือ ‘ผสานความแตกต่าง’ เช่น เก่า-ใหม่, อดีต – อนาคต, local-global, passive-active, wisdom-technology ให้ไปด้วยกัน โดยปรับปริมาณความเข้มข้นของแต่ละขั้ว มาก-น้อย ตามความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความต้องการ และบริบทแวดล้อมของโครงการ

อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้ง

งานแต่ละงานเปรียบเสมือน jigsaw ที่จะประกอบให้ความเชื่อในแนวทางนี้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่งานได้สร้างจริงจึงเป็นแรงผลักดันให้อยากทำงานแต่ละงานให้ดีที่สุด และด้วยงานส่วนใหญ่จะเป็นบ้านพักอาศัย ดังนั้นจึงมีหลักการทำงานคือ ผสานความต้องการของเจ้าของบ้านกับผู้ออกแบบให้ลงตัว ลดทิฐิตัวเองลง อะไรยอมได้ก็ยอม อะไรยอมไม่ได้ ก็ให้เหตุผลและเจรจา

studio phasarn

Lean House

studio phasarn

Lean House

โปรเจ็กต์ไหนที่คุณภูมิใจมากที่สุด เพราะอะไร?

ด้วยความคิดว่า ผลงานทุกงานก็เหมือนลูก ดังนั้นจึงมีความภูมิใจกับงานทุกงานในแง่มุมต่างๆ มากน้อยแตกต่างกันไป โดยงานที่ภูมิใจที่สุดคงเป็นผลงาน บ้านอิงกาย จังหวัดอ่างทอง เพราะเป็นงานแรกที่ได้กลับมาออกแบบบ้านพักอาศัยหลังจากทำงานออกแบบงานสาธารณะต่อเนื่องมาสักระยะ เมื่อมีงานออกแบบที่อยู่อาศัยเข้ามา จึงได้นำไอเดียที่สะสมไว้มากมายมาใช้ในงานออกแบบบ้านหลังนี้ และด้วยเจ้าของบ้านให้ความไว้วางใจ ให้อิสระในการคิดและตัดสินใจ ทำให้ผลงานออกมาได้ดังใจผู้ออกแบบ อีกทั้งเป็นช่วงอายุที่สุขภาพร่างกายกับภาระหน้าที่ที่มีอยู่ในช่วงที่ลงตัวที่สุด จึงสามารถทุ่มเทให้กับงานนี้ได้อย่างเต็มที่

studio phasarn

Lean House

คุณชอบขั้นตอนไหนระหว่างทำงานมากที่สุด?

ผมเชื่อว่า เกือบร้อยทั้งร้อยของสถาปนิก เมื่อออกแบบแล้วย่อมอยากให้งานนั้นได้สร้างจริง เพราะมันเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดที่งานออกแบบในกระดาษของเราได้ปรากฏเห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นขั้นตอนที่ชอบที่สุดคือ ตอนลงพื้นที่ตรวจงานก่อสร้าง เพราะผลงานก็เหมือนลูก การไปดูงานแต่ละครั้ง เหมือนได้เห็นลูกเจริญเติบโต แม้จะเหนื่อยล้าอ่อนแรง แต่มันจะมีพลังบางอย่างในร่างกายที่ทำให้เรามีแรงฮึดอันเกิดจากความสุขใจ

studio phasarn

CHUB CHUB House

studio phasarnstudio phasarn

ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม

คุณเมธา บุญนาค เพราะชื่นชอบในผลงานของท่านตั้งแต่สมัยเรียน รวมถึงได้นำตัวเข้าไปสัมผัสประสบการณ์ในสถาปัตยกรรมที่ท่านออกแบบ ด้วยความละเอียดอ่อนในการรับรู้จากสัมผัสที่หลากหลาย และความประณีตในการสื่อสารออกมาเป็นรูปธรรมและนามธรรมในผลงาน ท่านถือเป็นหนึ่งในสถาปนิกที่มีอิทธิพลต่อความคิด และแนวทางในการออกแบบของ Studio PhaSarn ซึ่งถ้ามีโอกาสอยากพูดคุย แลกเปลี่ยนกับท่านสักครั้ง

studio phasarn-feature

CHUB CHUB House

อ่านบทความ Material Innovation Lab KMITL ได้ที่

MATERIAL INNOVATION LAB KMITL

facebook.com/StudioPhaSarn

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *