ANIME ARCHITECTURE

THE LATEST PUBLICATION PROJECT BETWEEN VOLUME AND STEFAN RIEKELES BRINGS VISIONARY ARCHITECTURE IN JAPANESE ANIMES SUCH AS AKIRA OR GHOST IN THE SHELL TO THE FORE AND GIVES US A GLIMPSE OF HOW THESE VISIONARY IMAGES INFLUENCE OUR REAL WORLD

TEXT: PAPHOP KERDSUP
PHOTO COURTESY OF VOLUME

(For English, press here)

4 ปีก่อน Stefan Riekeles คิวเรเตอร์และอดีตผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์เทศกาล Japan Media Arts Festival Dortmund ประจำปี 2011 สร้างความฮือฮาให้กับวงการสถาปัตยกรรมในเวลานั้นด้วยการพาภาพวาดต้นฉบับของอนิเมะญี่ปุ่นเดินทางลัดฟ้าไปจัดแสดงที่ Tchoban Foundation พิพิธภัณฑ์ภาพวาดทางสถาปัตยกรรมในเบอร์ลิน ภายใต้นิทรรศการ Anime Architecture พร้อมกับชวนให้ผู้ชมร่วมตั้งคำถามถึงบทบาทเมืองและสถาปัตยกรรมที่ถูกนำเสนอในอนิเมะ ว่าการมอง project ไปข้างหน้าผ่านสายตาของนักวาดการ์ตูนนั้นส่งอิทธิพลมาสู่งานออกแบบในยุคหลังๆ แค่ไหน

Ghost in the Shell, Tekkon Kinkreet, Rebuild of Evangelion รายชื่อเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างแค่บางส่วนของอนิเมะที่ถูกเลือกไปจัดแสดงในเวลานั้น แน่นอนว่าถ้าใครที่คุ้นๆ กับอนิเมะเหล่านี้กันมาบ้างน่าจะพอรู้ว่าภาพที่เราเห็นนั้นเป็นการนำเสนอคำว่า “อนาคต” ผ่านเครื่องมืออย่าง design fiction ได้น่าสนใจแค่ไหน ภาพของเมืองในโลก dystopia ที่ปนกลิ่นไซไฟใน AKIRA ผลงานสร้างชื่อของ Katsuhiro Otomo น่าจะเป็นสิ่งที่เราคุ้นกันมากที่สุด ซึ่งอนิเมะเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในผลงานสำคัญที่เป็นต้นแบบของแนวคิด Japanese cyberpunk ที่บูมขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1980s เลยทีเดียว

ล่าสุดหลังจากที่ปล่อย Proto Anime Cut: Archive – Spaces and Visions in Japanese Animation ออกมาเมื่อเกือบ 9 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกๆ ที่ Riekeles นำต้นฉบับของอนิเมะจากญี่ปุ่นไปแนะนำให้ผู้อ่านชาวยุโรปได้ยลโฉมกัน พร้อมกับนิทรรศการ Anime Architecture ในอีก 5 ปีถัดมา หนังสือในชื่อเดียวกันกับนิทรรศการที่ Tchoban Foundation ก็เริ่มเปิดให้พรีออเดอร์ฉบับ Collector’s Edition แล้วผ่านแพลตฟอร์มของ Volume เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาในราคา 75 ปอนด์ หรือประมาณ 3,000 บาท

ความพิเศษของ Anime Architecture ฉบับ Collector’s Edition นี้นอกจากปกแข็งและกล่อง slipcase คือคุณภาพการพิมพ์ที่ช่วยชูให้ภาพวาดต้นฉบับไม่ว่าจะเป็นสเก็ตช์ภาพร่าง ภาพก่อนและหลังลงสี หรือแม้แต่ storyboard ของอนิเมะแต่ละเรื่อง พร้อมกับที่แต่ละเล่มจะถูกลงหมายเลขประจำเล่มนั้นไว้เพื่อให้เพิ่มมูลค่าความเป็น “ฉบับนักสะสม” ของมันด้วย เพราะความพิเศษที่ไม่ได้มาบ่อยๆ นี้เองที่ทำให้หนังสือที่ทำหนัาที่กึ่งๆ เป็นแคตตาล็อกของนิทรรศการ Anime Architecture เล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างล้มหลามจนจำนวนพิมพ์ทั้ง 1,000 ฉบับนั้นหมดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์

สำหรับคนที่พลาดไม่ทันจองเล่ม Collector’s Editor ตอนนี้ก็คงได้แต่รอว่า Volume และ Riekeles จะปล่อยฉบับพิมพ์ทั่วไปในราคาที่จับต้องได้ออกมาหลังจากนี้อีกเมื่อไหร่กัน ระหว่างนี้ถ้าใครอยากจะทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้สามารถไปดูได้ที่ vol.co/product/anime-architecture

หรือถ้าใครอยากรู้ว่าแนวคิดเบื้องหลังนิทรรศการ รวมทั้งภาพบรรยากาศที่ Anime Architecture ได้ทัวร์ไปจัดแสดงยังที่ต่างๆ เป็นยังไง สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ทาง anime-architecture.org 

vol.co/product/anime-architecture
anime-architecture.org 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *