BE›OUR›FRIEND

Suriyasai Content Bar

ART4D INVITES BE›OUR›FRIEND TO REVEAL THEIR 17 YEARS-LONG JOURNEYS AND THEIR RECENT MOVES TO EXPAND THE SCOPE OF WORK FROM COMMUNICATION DESIGN TO BRAND STRATEGY, SPATIAL DESIGN, AND HOSPITALITY PROJECTS AS WELL AS THE STORY OF THEIR EXPERIMENTAL PROJECT THAT CHALLENGES BOTH TEAMS AND CLIENTS

TEXT: PRATARN TEERATADA
PHOTO COURTESY OF BE>OUR>FRIEND

(For English, press here)

ในปี 2004 มะลิ จุลเกียรติ ปอม จิตรประทักษ์ และณัฐ เลื่อนไธสง สองนักออกแบบและหนึ่งโปรแกรมเมอร์ เริ่มรับงานฟรีแลนซ์ ส่วนใหญ่เป็นงานออกแบบพื้นฐานอย่าง graphic design, illustration และ interactive design ด้วยคุณสมบัติความเป็นนักคิด นักทดลอง ประกอบกับไม่เกี่ยงงาน โปรเจ็คต์ที่ได้รับมอบหมายจึงเริ่มขยายออกไปเป็น installation art ในพื้นที่เฉพาะ และงานอินทีเรียที่หลากหลายและขนาดใหญ่ขึ้น 

be>our>friend team

be>our>friend ในปัจจุบันมีการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่โดยที่ประกอบด้วย 4 สตูดิโอย่อย ได้แก่ visual communication / strategy / space และ hospitality และปัจจุบันยังทำธุรกิจร้านอาหารของตัวเองในชื่อ HOPPE ภายในโครงการ Velaa หลังสวนอีกด้วย art4d ชวนมะลิ และ ปอม หัวเรือใหญ่ทั้งสองคนมาพูดคุยอีกครั้ง ในวันที่พวกเขาเดินทางมาไกลมากจากการเป็นคลื่นลูกใหม่มาแรงเมื่อ 17 ปีที่แล้ว

The Commons Saladeang

art4d: พอทีมใหญ่ขึ้นแล้วพาร์ทเนอร์ทั้ง 2 คน แบ่งการทำงานกันอย่างไร

Pom Jitpratuk: เรารับผิดชอบทีมคนละทีม ผมดูแลทีม space พี่มะลิดูทีม strategy กับ visual communication ส่วนทีม hospitality กับเรื่องส่วนรวมอื่นๆ ดูด้วยกัน ถ้ามีงานไหนทำด้วยกันก็เริ่มงานด้วยกันแล้วก็แบ่งกันรับผิดชอบดูแลในส่วนที่ทีมของตนไป execute ต่อ

art4d: อะไรเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเรื่องงานสร้างสรรค์ที่จะเสนอต่อลูกค้า

PJ: สำหรับทีม space เราคิดว่าความเป็น original ของงานออกแบบที่ลูกค้าจะได้รับเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งเชิง concept และ execution ว่าสิ่งนี้สร้างขึ้นมาเฉพาะ เพื่อลูกค้าคนนี้ แบรนด์นี้ หรือสถานที่แห่งนี้ ทำให้เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาใน space แล้ว เขามี emotional linkage ที่เฉพาะและพิเศษสำหรับที่นั้นๆ กลับไปแล้วยังคงจำความรู้สึกนั้นได้ ไม่ใช่เป็นเแค่ style 

Mali Chulakiet: เราต้องการที่จะสร้าง beautiful business solution ที่นอกจากงานที่สวยงาม มี aesthetic ที่สุดเท่าที่ขอบเขตงานจะเป็นไปได้แล้ว จะต้องตอบโจทย์ทางธุรกิจและการสื่อสารด้วย

art4d: คิดว่าลายเซ็นต์ หรือจุดเด่นของ design service ของ be>our>friend คืออะไร

PJ: ลายเซ็นต์ของ be>our>friend space คือวิธีคิด และการ approach พื้นที่ในเชิง floor plan เรามองว่า interior คือ transit ของวัน การที่คนเดินทางจากที่นึง มาสถานที่ที่เราออกแบบ เราอยากให้ตอนที่เขามาอยู่ในงานของเรา มันเหมือนการหลุดออกจากปัจจุบันหรือโลกความเป็นจริง space ของเราจะเน้นอารมณ์ความรู้สึกของคนที่เข้าไปในพื้นที่ เราทำงานออกแบบโดยคิดว่าอยากให้คนรู้สึกอย่างไรเป็นหลัก โดยยังคง function ที่จำเป็นในบริบทของพื้นที่ เช่น ร้านอาหารจำเป็นต้องมีอะไรก็จะมีสิ่งนั้น แต่สิ่งสำคัญที่มากกว่าสำหรับเรา คือ emotional ที่มีต่อ space 

ส่วนจุดเด่นของเราคิดว่าคือเรื่อง service และการทำงานที่ใกล้ชิดกับลูกค้าในการพัฒนางาน 

MC: ก้าวแรกของ be>our>friend เริ่มจากงาน experimental เราทำงานที่เกิดจาก conceptual thinking และหา process ที่จะทำให้แนวคิดนั้นสำเร็จขึ้นมา จนวันนี้ ความเป็น concept/process based ยังคงเป็นลายเซ็นต์ของเราอยู่ โดยเป็นทั้ง thinker และ doer 

งานของเราเริ่มตั้งแต่ brand strategic direction ด้วยความเข้าใจจุดเด่นทางธุรกิจของกลุ่มลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย โดยปัจจุบันเรามีทีม design research ที่ทำความเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจนั้นๆ ก่อนที่จะนำมาสร้าง concept ที่เฉพาะเจาะจงกับวิสัยทัศน์ทางธุรกิจนั้นๆ เพื่อให้สื่อสารไปถึงกลุ่มลูกค้า ไปจนถึงการขั้นตอนการทำ design execution ที่ผ่านการทดลอง และขั้นตอนของความ craft เพื่อสร้างความ unique ให้แต่ละงาน 

เริ่มตั้งแต่การวาง brand strategic direction ที่เข้าใจจุดเด่นทางธุรกิจของลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย

ปัจจุบันมีทีม design research ที่เข้าไปทำความเข้าใจ insight สำหรับมาสร้างงานออกแบบ สร้าง design concept ที่ captivate business vision เพื่อ inspire target  ไปจนการทำ design execution ที่ผ่านการ experiement และ craft เพื่อสร้างความ unique ให้แต่ละโปรเจ็คต์ 

Hilton Pattaya

art4d: อะไรเป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงานในแต่ละโปรเจ็คต์ 

PJ:  ความทุ่มเทของทีมงานเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ส่วนของตัวผมเองคิดว่าสิ่งที่ทำให้อินมากๆ คือการได้ทำสิ่งที่เราไม่เคยทำ ก่อนอื่นเลยมันคือโอกาสและความเชื่อมั่นของลูกค้า อีกอย่างคือมันต้องเริ่มศึกษาทุกอย่างใหม่ ทำให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ มันทำให้ผมค้นพบว่าตัวเองมี passion กับงาน interior มาก ผมรู้จักกับ interior ทีหลัง เพราะเรียนจบ graphic มาและตอนเริ่มต้นทำงานก็เป็น illustrator 

Hilton Sukhumvit Bangkok

MC: เราให้ความสำคัญกับลูกค้าที่ทำงานด้วยมาก ที่ผ่านมาคิดว่าสตูดิโอเติบโตมาได้ด้วยความเชื่อใจกันระหว่างเรากับลูกค้า และลูกค้าจะมาพร้อมกับวิสัยทัศน์และ passion ในการทำธุรกิจ และมักจะมาพร้อมกับโจทย์ใหม่ๆ ที่ให้โอกาสให้เราทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือสิ่งที่เราเชี่ยวชาญอยู่แล้วแต่ใน scale ที่ใหญ่ขึ้น จะพูดกับลูกน้องอยู่เสมอว่างานที่สำเร็จออกมาได้เกิดจากความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีให้เรา การให้เกียรติและให้โอกาสเราในการสร้างงานใหม่ๆ จะชอบเล่าให้ทีมฟังถึงสมัยเริ่มต้นงานครั้งแรก เช่น งาน signage ชิ้นแรกที่เราได้มีโอกาสทำทั้งๆ ที่เราไม่เคยได้มี portfolio ด้านนั้นมาก่อนเลยแต่ลูกค้าเห็นศักยภาพของเราในการสร้างสิ่งใหม่ๆ และค้นหาวิธีที่จะทำให้มันเกิดขึ้นให้ได้ อย่างงานออกแบบระบบป้ายงานแรกเมื่อสิบปีที่แล้วที่ Hilton Pattaya และต่อมาที่ Hilton Sukhumvit Bangkok หรืองานที่ One Bangkok ที่ลูกค้ามาพร้อมกับวิสัยทัศน์ของการพัฒนาเมือง ซึ่งก็ inspire เรามากๆ เช่นกัน

อีกอย่างคือพลังของทีมงานที่พร้อมจะทำสิ่งใหม่ๆ ด้วยกัน สร้างผลงานที่จะกลายเป็นก้าวต่อไปของเรา มี goal เดียวกัน

One Bangkok

art4d: คำถามที่คุณมักจะถามลูกค้าเสมอคืออะไร

PJ: ถามว่าอยากให้คนที่มารู้สึกอย่างไรทั้งกับ space และ brand หรือถ้าเป็นบ้านก็อยู่แล้วอยากรู้สึกอย่างไร

MC: ถ้ามาพร้อมกับธุรกิจที่มีอยู่แล้วจะถามว่าปัญหาคืออะไร หรือถ้ามาเพราะต้องการสร้างแบรนด์จะเป็นการชวนคุยว่าทำไมถึงอยากทำสิ่งนี้ มองอนาคตว่าอย่างไร และสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการไปถึงเป้าหมาย

art4d: อุปสรรคที่พบในการทำธุรกิจออกแบบในปัจจุบัน

PJ: ผมขอตอบเรื่องของความท้าทายดีกว่า ตอนนี้เรื่องของความสร้างสรรค์ หรือคำว่าการออกแบบมีปรากฏอยู่ในทุกธุรกิจ ทุกสถานการณ์ ทำให้ความเข้าใจเรื่องของ creativity และการออกแบบเปิดกว้างมากและมีหลายแง่มุมมาก

การทำงานเลยมีทั้งง่ายขึ้นและยากขึ้น ง่ายขึ้นเกิดจากดีไซน์ที่ดีมีให้เห็นได้ทั่วไปและเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัว แต่ความยากคือ

พอคนคิดว่าคุ้นเคยกับงานออกแบบก็จะมีความเห็นหลากหลาย ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ได้อยู่ใน context เดียวกันกับสิ่งที่เราต้องโฟกัส

อีกความท้าทายที่เราประสบมาตลอดการทำงานไม่ใช่แค่ในปัจจุบันคือ การสร้างความมั่นใจกับลูกค้าที่ยังกังวลกับงานในเชิง experiment หรือรูปแบบและความคิดที่อาจจะไม่เคยเห็น หรือไม่คุ้นเคยมาก่อนว่าจะสร้างได้จริงไหม โดยเฉพาะโปรเจ็คต์ที่สเกลใหญ่ขึ้น ทีมงานเยอะขึ้น 

MC: สิ่งที่ทำให้การทำงานเหนื่อยขึ้นในปัจจุบันคือความเร็ว ธุรกิจปัจจุบันนี้รอไม่ได้ การแข่งขันสูง เราจึงต้องทำงานหนักขึ้นแข่งกับความเร็วการเคลื่อนตัวของธุรกิจเพื่อให้สามารถคงคุณภาพงานที่ได้ตามมาตรฐานของเรา นอกจากนั้นงานสวยก็ทำได้ง่ายขึ้น มี pinterest ที่เปิดดูงานแล้วก๊อปปี้สไตล์ก็ได้งานสวยแล้ว แต่ด้วยการทำงานของสตูดิโอเราเป็นการสร้างงานสร้างแบรนด์ที่เฉพาะสำหรับธุรกิจนั้นๆ จริงๆ บางครั้งอาจทำให้ยากที่ลูกค้าใหม่จะเข้าใจว่าทำไม be>our>friend ถึงแพง ทำไมใช้เวลาทำนาน 

art4d: อยากให้ช่วยยกตัวอย่างงานของแต่ละสตูดิโอที่ภูมิใจเสนอหน่อย เริ่มจากของ Space ก่อน 

PJ: เริ่มที่ HOPPE เลย ผมชอบเพราะมันมีที่มาจากความชอบและการใช้ชีวิตของผม ทั้งยุคสมัยและดนตรี และชอบที่จากที่เคยต้องถามลูกค้าว่าอยากให้คนมารู้สึกอย่างไร คราวนี้เป็นถามตัวผมเองแทนว่าผมอยากไปนั่งในที่แบบไหน

Suriyasai Content Bar

ต่อมาขอเลือก Suriyasai Content Bar งานนี้ต้องขอบคุณเจ้าของมากๆ ที่ให้เราได้ทำงานที่สุดขนาดนี้ เป็นงานที่เราคิดว่าเล่าเรื่องของการเป็น transition ในหนึ่งวันได้ดีสุด ไม่ว่าจะเป็นการ approach พื้นที่ องค์ประกอบต่างๆ ที่เราใส่เข้าไป อย่างเช่นส่วน gallery ที่วิ่งขนาน space ไปหรือรายละเอียดที่เกิดจากการทำงาน lighting กับ APLD ทั้งในส่วนการจัดไฟและการเลือกดวงโคมตามยุคสมัยของแบรนด์แม่โขง 

KTB

อีกชิ้นนึงที่ชอบมากคืองาน KTB อย่างแรกเลย เราไม่เคยคิดว่าจะมีโอกาสได้ออกแบบธนาคาร อย่างที่สอง คือ ทีม KTB ที่ทีมมีโอกาสร่วมงานด้วยมีมุมมองที่น่าสนใจมาก ผมชอบที่ site เป็นตึกเก่า มี heritage ให้ต่อยอดได้ และที่ชอบสุดคงเป็นเรื่องที่เรายังสามารถเก็บบรรยากาศและบริบทของความเป็นธนาคารไว้ได้ ไม่อย่างนั้นทุกธุรกิจคงออกมามีหน้าตาคล้ายกันหมด

art4d: มาฝั่งของ Visual Communication บ้าง

MC: จริงๆ คือเกือบทุกงานเลย เพราะทุกงานทำให้เราได้เติบโตขึ้นทั้งทางความคิดหรือระบบการจัดการภายใน ที่จะมีการปรับปรุงพัฒนาเพื่อตอบรับโจทย์ใหม่ๆ ที่เราได้จากลูกค้า และเพื่อให้เราได้นำเสนอ service ที่ช่วยประหยัดเวลาและการลงทุนของธุรกิจลูกค้า

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (SAC)

art4d: ต่อมาขอเป็นทีม strategy บ้าง

Kolayuth Jirawongnirandon (stratregy team): ขอเลือกงานศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร งานนี้ภูมิใจที่ได้ทำ ตัวศูนย์เป็นองค์การมหาชนที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเก็บและรวบรวมข้อมูลความรู้ทางมานุษยวิทยามาเป็นเวลา 30 ปี มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนองค์กรให้สร้างประโยชน์สาธารณะด้วยความรู้เชิงมานุษยวิทยา สิ่งที่ภูมิใจคือการได้นำความรู้ความสามารถเชิง branding และ communication design เข้าไปคลี่คลายและขมวดความอธิบายยากขององค์ความรู้ที่คนไทยไม่คุ้นชิน ในขณะเดียวกันก็ต้องแปลวิสัยทัศน์ที่ไฟแรงมากๆ ของทีมศูนย์ฯ ให้ออกมาจับต้องได้ – tangible และมีประโยชน์ – emotional benefit กับสาธารณะ เป็นงานที่เติมเต็มใจเวลาทำมากๆ เพราะ brand เกิดจากสปิริตของทีมทำงานลูกค้าจริงๆ

aoon

อีกงานคือ aoon เป็นอีกงานที่อยากเล่าถึงในเชิงการทำ strategy เพราะแบรนด์นี้เริ่มเกิดและขายได้เพราะลูกค้าบอกต่อๆ กัน โดยที่ยังไม่ได้ทำการโฆษณาอะไรเลย เพราะสถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้ถ่ายทำอะไรไม่ได้ ส่วนสำคัญคือมาจากลูกค้าก่อนที่ออกนอกกรอบของรูปแบบบ้านจัดสรร และออกแบบสถาปัตยกรรมให้ตอบโจทย์ชีวิตด้วย ไม่ใช่แค่ตอบโจทย์ทางธุรกิจด้านเดียว ตัวสินค้ามันเลยพิเศษมาตั้งแต่ต้น พอเอามาทำ brand เราเลยเอาความจริงใจของลูกค้า มาจับกับ pain point ของผู้บริโภคที่ต้องการความอุ่นใจและการคิดเผื่อสำหรับอนาคตของชีวิตเขา 

HOPPE

HOPPE

art4d: และทีม hospitality

MC: ขอเลือก HOPPE งานนี้เกิดจากการที่เราได้มีโอกาสทำแบรนด์ให้กับ Velaa จนเห็นศักยภาพของพื้นที่ อินกับ value ของแบรนด์นี้ พอลูกค้าชวนให้เปิดร้านในโครงการก็เลยเอาด้วย เลยได้มีประสบการณ์ในมิติของผู้สร้างแบรนด์และผู้เช่า และก็ได้ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ทุกส่วนจริงๆ ตั้งแต่เรื่องธุรกิจ, การทำการตลาด, การออกแบบ space ครัว, การจัดการเรื่องบุคลากร, การออกแบบทุก touchpoint ของแบรนด์ไปถึงการพัฒนา product ควบคุมคุณภาพอาหาร การสั่ง การจัดเก็บวัตถุดิบ ประเมิน stock ระบบ operation ต่างๆ ไปจนถึงการออกแบบประสบการณ์ให้กับลูกค้า เปิดมาได้สองเดือนยังไม่ทันตั้งไข่ก็เจอวิกฤตโควิด จนผ่านมาสองปียังคงอยู่ในสถาณการณ์ที่ต้องแก้ปัญหารายวัน พัฒนา product และระบบให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

สถานการณ์ทำให้เราจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งเชิงธุรกิจและ operation แบบไวมากๆ เช่น ปัจจุบันจากที่ทำขายบริการในร้านก็ต้องมาพัฒนา packaging สำหรับ delivery เปลี่ยนวิธีขาย สร้าง mindset ใหม่ให้กับพนักงาน เปลี่ยนวิธีทำการตลาด แต่เราก็ยังคงอยู่ได้จนถึงวันนี้ โดยไม่ลดจำนวนคนและเงินเดือนพนักงาน

art4d: คำถามสุดท้าย คิดว่าลูกค้าแบบไหนที่เหมาะกับ be>our>friend

PJ: ลูกค้าทุกประเภท แต่ลูกค้าที่อยากทำอะไรใหม่ๆ อยาก push boundaries ของธุรกิจนั้นๆ จะเหมาะมาก 

MC: ลูกค้าที่อินกับงาน มี passion ในการสร้างธุรกิจของตัวเองมากๆ ไม่ได้ต้องการแค่งานสวย โลโก้สวยๆ และแค่ขายได้ แต่ต้องการสร้างความหมายอะไรบางอย่างในแบรนด์ ที่สื่อถึงจุดประสงค์จริงๆ ในการทำธุรกิจ เพราะเวลาเราทำงาน พวกเราจะอินกับสิ่งที่ทำมากๆ เราจะมีความสุขกับลูกค้าที่สนุกกับการ explore ไปด้วยกันกับเรา 

facebook.com/beourfriendstudio
facebook.com/beourfriendspace

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *