THAILAND’S MOVIE THEATRES: RELICS, RUINS AND THE ROMANCE OF ESCAPE

TO REMIND OF HOW MUCH IT MEANT IN THE PAST TO COMMUNITIES AND PEOPLE AND BRING BACK THE GOLDEN AGE OF THAILAND STANDALONE CINEMA, PHILIP JABLON, AN AMERICAN PHOTOGRAPHER, SPENT MORE THAN 10 YEARS COLLECTING THE FINAL MEMOIRS OF THE STANDALONE MOVIE THEATERS THROUGH HIS PHOTO BOOK

TEXT: PRATARN TEERATADA
PHOTO: KETSIREE WONGWAN

(For English, press here)

Philip Jablon
River Books, 2019
9.33 x 0.8 x 10.07 inches
Paperback
208 pages
978-6-164-51023-4

เมื่อปีที่แล้วมีโอกาสได้ดูหนังไต้หวันเรื่อง ‘Goodbye Dragon Inn’ ของผู้กำกับ ไฉ้ หมิงเลี่ยง เป็นเรื่องเกี่ยวกับช่วงเวลาก่อนที่โรงหนังเก่า Dragon Inn กำลังจะปิดตัวลง ตามสไตล์ของ ไฉ้ หมิงเลี่ยง หนังเต็มไปด้วยความนิ่ง เนือย เนิบ กับบทสนทนาน้อยนิด เข้ากับบรรยากาศของเรื่องที่มีแค่ภายใน ภายนอกของโรงหนัง ผู้ชมไม่กี่คน พนักงานดูแลสารพัดหน้าที่ พนักงานฉายหนัง เป็นความรู้สึก แยกขาดจากสังคมด้านนอก คือจิตวิญญาณ ซากปรักหักพัง และความโรแมนติกที่หาไม่ได้จากโลกภายนอก

ในหนังสือ Thailand’s Movie Theatres: Relics, Ruins and The Romance of Escape โดย Philip Jablon ก็ให้บรรยากาศใกล้เคียงกัน ด้วยภาพถ่ายโรงภาพยนตร์แบบสแตนด์อโลน ที่สร้างขึ้นในยุค 1950s และ 1960s ทั่วประเทศแถมมีจาก สปป. ลาว ติดมาด้วย 

ศาลาเฉลิมธานี โรงหนังวิสต้า โรงหนังสมเด็จ โรงหนังฟ้าสยาม คือส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์เลิกกิจการที่ถูกรวบรวมเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ ที่ Philip Jablon ช่างภาพชาวอเมริกันใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษตามเก็บภาพสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เพื่อรำลึกถึงช่วงเวลาที่มันทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้คนทุก เพศ วัย และฐานะ ให้เข้ามาใช้เวลาในพื้นที่ที่ควบคุมแสงให้มืดเพื่อรับประสบการณ์บนจอภาพยนตร์ร่วมกัน นอกจากนี้โรงภาพยนตร์ยังมีส่วนในวิวัฒนาการเข้าสู่ความทันสมัยของสังคมไทยที่ควรค่าแห่งการจดจำ

ทุกวันนี้โรงหนังมัลติเพล็กซ์ทำหน้าที่แทนโรงหนังสแตนด์อโลนแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ภาพบรรยากาศการฉายรอบสุดท้ายของโรงหนังสกาลาเพิ่งผ่านพ้นไปไม่นาน ท่ามกลางความเสียดายและใจหายของคนรักโรงหนังทั่วประเทศ ยังฉายซ้ำชัดเจนในความรู้สึก ใครจะไปรู้ว่าถึงวันนี้ธุรกิจโรงภาพยนตร์แทบจะตายสนิทเพราะพิษโควิด-19 ไม่มีใครบอกได้ว่าหลังโควิดบรรยากาศการดูหนังในโรงจะกลับมาคึกคักดังเดิม ด้วยความที่ platform ใหม่ๆ สามารถตอบสนองความต้องการเชิง entertainment ของคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี แม้จะเป็นจอเล็กๆ แต่ให้ความสะดวกในการเลือกชมได้มากกว่านัก 

ได้ดูภาพสวยๆ จากหนังสือเล่มนี้แล้วชวนให้เข้าใจถึงความไม่แน่นอนของโลกมากขึ้น ในใจแอบหวังลึกๆ ว่า ในอนาคตโรงหนังเหล่านี้น่าจะมีโอกาสได้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้บ้าง อาจเป็นรูปแบบใหม่ของกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นที่ระลึกถึงว่า ครั้งหนึ่งคนไทยเคยสนิทสนมกับสถานที่เหล่านี้มากเพียงใด

riverbooksbk.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *