ป้ายกำกับ: graphic design
SUBPER GRAPHIC
นักออกแบบกราฟิกในย่านเมืองเก่าจังหวัดปัตตานี ที่เกิดจากการรวมตัวของนักออกแบบกราฟิกในพื้นที่ เพื่อผลักดันอาชีพกราฟิกดีไซน์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
PAT YINGCHAROEN: COLLECTIVE CONVALESCENCE
หนังสือ Collective Convalescence รวบรวมผลงานของ พัทธ์ ยิ่งเจริญ ที่นำภาพเขียนมาจำกัดความใหม่ด้วยการผนวกกับภาพถ่าย เพื่อให้ผู้อ่านขบคิดถึงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
O.OO STUDIO
art4d สนทนากับ Pip Lu จาก O.OO Studio จากไต้หวันถึงสถานการณ์ของสิ่งพิมพ์ในไต้หวันและความรักในสิ่งพิมพ์แบบ Risograph ที่กำลังเป็นเหมือนคลื่นลูกใหม่ที่น่าสนใจของวงการออกแบบ
HISTORY OF THAI TYPE
เจาะประวัติศาสตร์ของการใช้ font และ typography ในประเทศไทย ผ่านหนังสือโดย ประชา สุวีรานนท์ ที่นำเสนอความเชื่อมโยงระหว่างแบบตัวอักษรกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ACCIDENTALLY WES ANDERSON
จากโปรเจ็กต์เก็บภาพสถานที่ที่เหมือนหลุดจากหนังของ Wes Anderson ของ Wally และ Amanda Koval ในอินสตาแกรม นำมาสู่หนังสือภาพที่บันทึกบรรยากาศสวยงาม และประวัติศาสตร์ของสถานที่เหล่านั้น
MODES AND CHARACTERS: POETICS OF GRAPHIC DESIGN
เยี่ยมชมนิทรรศการเกี่ยวกับอักษร-ภาพ-กราฟิก ที่ 21_21 DESIGN SIGHT ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรวบรวมผลงานออกแบบกราฟิกร่วมสมัยตั้งแต่ปลายยุค 1980 มาจนถึงยุคดิจิทัล
JENTWO
Jentwo นักวาดภาพประกอบที่ใส่คาแร็กเตอร์สนุกสดใสไว้ในลายเส้น และมาพร้อมความยืดหยุ่นในการทดลองสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถสานต่อสู่ความเป็นไปได้มากมาย
THIS IS MY VOICE ONE DAY IN THAILAND
TEXT & IMAGE: PIRUTCH MOMEEPHET
(For English, press here)
งานชุดนี้เกิดจากแนวคิดที่ว่า ทำไมเวลาที่เราไปต่างประเทศ ต่างจังหวัด หรือแค่ต่างสถานที่ เรามักจะมีมวลความรู้สึกที่ตื่นเต้นในการไปสถานที่เหล่านั้น มันมักจะเป็นความรู้สึกที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าสิ่งใดกันแน่ที่ทำให้เราเกิดความประทับใจ มันก็คงจะเป็นทุกสิ่งอย่างที่เพิ่งได้มาเจอนี้ที่ประกอบกันให้เกิดความรู้สึก ถ้าจะต้องให้อธิบายก็คงจะเป็นคำว่า ‘mood’ หรือ ‘vibe’ จริงๆ แล้วเราไม่ได้สงสัยด้วยซ้ำว่าเราตื่นเต้นเพราะมันเป็นสิ่งที่แปลกใหม่จริงๆ หรือเป็นเพียงแค่สิ่งเดิมที่ใหม่เพราะมุมมองของเรา
ถ้าหากเราสามารถมองในมุมนั้นได้ ในบางทีสิ่งที่ทำให้เราเกิดความประทับใจ มันอาจจะไม่ได้เป็นสถานที่ที่มีเรื่องราวสำคัญ เป็น iconic places หรือการแนะนำจากบุคคลอื่นด้วยซ้ำไป บางทีมันอาจจะเป็นสถานที่ข้างทางที่เราต้องผ่านตอนไปทำงานทุกเช้า หรือเป็นเพียงตึกข้างทางที่เราเห็นในเวลารถติด
งานชุดนี้จึงเป็นเหมือนการจำลองภาพผ่านมุมมองเป็นบุคคลที่พึ่งเคยมายังประเทศไทย หากเราสามารถมองด้วยมุมมองนั้นได้เหมือนกัน แล้วสิ่งใดล่ะที่จะทำให้เรารู้สึกแบบนั้นได้
_____________
พิรัชย์ โมมีเพชร : BBep.o (เบพ – โป้) กราฟิกดีไซน์เนอร์จากกรุงเทพมหานคร ผู้หลงใหลในศิลปะสไตล์ Retro, Citypop และ สถาปัตยกรรมร่วมสมัย
THE ALPHABETICAL ROOM
TEXT: LIAD SHADMI
PHOTO: LIAD SHADMI & MICHAEL KOHLS
(For English, press here)
โปรเจ็กต์ ‘The Alphabetical Room’ สำรวจขอบเขตและข้อจำกัดของการเขียนบนกริดสามมิติในพื้นที่ดิจิตัลอันราบเรียบ การเข้าไปทดลองกับตารางสามมิติบนหน้าจอดิจิตัลที่เป็นระนาบสองมิตินั้นเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักออกแบบกราฟิก โปรแกรมเมอร์ นักเขียนโค้ดเชิงสร้างสรรค์ และศิลปินแนวทัศนศิลป์เสมอมา
โปรเจ็กต์เริ่มต้นจากแนวคิดการสร้างกริดสำหรับการออกแบบภายในที่เสนอโดย Josef-Müller Brockmann ในปี 1961 มุมมองของผู้ชมจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตลอดการเปิดแผ่นหน้าแต่ละหน้าของแผ่นพับโปรเจ็กต์ เช่นเดียวกับความละเอียดของกริดสามมิติที่ใช้สร้างชุดตัวอักษร
ผมอยากจะถือโอกาสนี้ขอบคุณศาสตราจารย์ Pierre Pané-Farré สำหรับคำแนะนำที่ช่วยนำทางโปรเจ็กต์นี้มาจนสำเร็จ
_____________
Liad Shadmi เป็นนักออกแบบกราฟิกอิสระและผู้กำกับศิลป์ที่ทำงานและพำนักอยู่ใน Hamburg เขาเรียนจบพร้อมเกียรตินิยมจาก Shenkar College of Engineering & Design หนึ่งในโรงเรียนออกแบบชั้นนำของอิสราเอล โดยความเชียวชาญของ Liad ครอบคลุมการออกแบบกราฟิก อัตลักษณ์แบรนด์ การกำกับงานศิลป์ การออกแบบตัวอักษร การพิมพ์และการวางเลย์เอาท์ ไปจนถึงการออกแบบเว็บ โดยการออกแบบและจัดวางตัวอักษรเป็นสิ่งที่เขาให้ความสนใจและนำไปใช้ในงานอยู่เสมอ เขายังมีความสนใจแรงกล้าต่อการทำงานออกแบบเชิงวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานออกแบบพื้นถิ่น เขาเชื่อว่างานออกแบบควรมีรากมาจากการค้นคว้าวิจัยเชิงลึกที่มีทั้งสาระและความหมาย ความมุ่งมั่นของ Liad คือการผสมผสานกลิ่นอายประเพณี และคุณสมบัติแบบคลาสสิค เข้ากับคุณลักษณะความร่วมสมัย