PHUTTIPAN ASWAKOOL aswa
ARCHITECT, 1982
CHOTIROS TECHAMONGKLAPIWAT
ARCHITECT, 1986
ASWA (Architectural Studio of Work – Aholic) takes on its design journey through experimentation with materials, architectural forms and characteristics of interior spaces that correspond in equilibrium with the use of natural light. One of the studio’s most notable projects is the studio of famous Thai artist/performer, Udom Taepanich. For ASWA, a design is conceived from a thorough analysis of each project’s surrounding context before being translating into its own architectural language.
art4d: What is the thing that seems to be the least important but turns out to be the most important when you work?
ASWA: Respect. Whether it’s between the members of the design team or the owner and the architect assigned to oversee the project, respecting each other is the most pivotal and necessary thing when we work. It grants us creative control and allows us to break away from a conventional mindset.
art4d: Do you think freedom of expression affects one’s creative ability?
ASWA: Freedom of expression is necessary for creativity but that freedom can be real or not, it depends on many factors.
art4d: Who has been the most influential figure for you regarding the way you work?
ASWA: Actually, everyone who passed in our life may have some influence to our work more or less like grandfather, grandmother, father, mother, professor, ex-boss, friends, project owner or else. Everyone have their own character, and many thing we bring to develop our work in one way or another.
art4d: What is your opinion on the notion of national or regional identity and its role in a creative product?
ASWA: Identity or nationality is good to have in design. But how can we express without the element that everyone know, may be just a small fraction. But we can communicate with consumer in our design. For us this is the identity of work.
แนวทางการออกแบบของ ASWA (Architectural Studio of Work – Aholic) นอกเหนือไปจากการพยายามทดลองกับวัสดุ รูปทรงของอาคาร รวมทั้งคุณลักษณะของที่ว่างภายใน ซึ่งสัมพันธ์ไปกับการใช้แสงธรรมชาติ ที่เราได้เห็นจากผลงานออกแบบแกลเลอรี่และสตูดิโอศิลปะให้กับศิลปินไทยอย่าง อุดม แต้พานิช แล้ว ก็คือการออกแบบที่เกิดขึ้นมาจากการวิเคราะห์บริบทต่างๆ ที่รายล้อมโครงการแต่ละชิ้นอย่างเข้าใจ ก่อนที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรม
art4d: คิดว่าอะไรคือสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่จำเป็นแต่กลับจำเป็นที่สุดเวลาทำงาน
ASWA: ความเคารพซึ่งกันและกัน และรับฟังความคิดเห็นต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นในทีมออกแบบ หรือกับเจ้าของโครงการกับทางผู้ออกแบบ เป็นสิ่งที่ทางเรามองว่าสำคัญและจำเป็นที่สุดในการทำงาน เพื่อที่จะให้งานสามารถสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ หลุดจากกรอบความคิดทั่วไป
art4d: เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ส่งผลต่อขีดความสามารถในการ “คิดสร้างสรรค์” จริงหรือไม่ ในความคิดของคุณ
ASWA: เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นสิ่งจำเป็นต่อความคิดสร้างสรรค์แน่นอน แต่เสรีภาพนั้นจะสามารถปรับมาใช้ได้จริงหรือไม่ ยังขึ้นอยู่ที่ปัจจัยอีกหลายอย่าง
art4d: ใครที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของคุณที่สุด (ใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปิน / นักออกแบบ)
ASWA: จริงๆแล้วทุกคนที่ผ่านมาในชีวิต ค่อนข้างจะมีอิทธิพลต่อการทำงานไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็น ปู่ ย่า พ่อ แม่ อาจารย์ เจ้านายเก่า เพื่อน เจ้าของโครงการ หรือใครก็ตาม ทุกท่านล้วนมีข้อเด่นที่แตกต่างกันไป ซึ่งหลายๆอย่างทางเราก็นำมาต่อยอดเพื่อที่จะพัฒนาการทำงานเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
art4d: คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ (identity) ความเป็นชาติ/ภูมิภาค ในผลงานสร้างสรรค์
ASWA: อัตลักษณ์ (identity) ความเป็นชาติ/ภูมิภาค เป็นสิ่งที่ดีที่ควรมีในการออกแบบ เพียงแต่ว่าจะแสดงออกมาในรูปแบบไหนก็ตาม โดยไม่จำเป็นต้องหยิบยกองค์ประกอบใหญ่ๆที่คนทั่วไปรู้จัก ซึ่งบางทีอาจจะเป็นเหมือนเศษเสี้ยวเล็กๆของชิ้นงาน หรืออาจจะตีความไม่เหมือนที่ผู้อื่นโดยมาก เพียงแต่เราสามารถรับรู้และสื่อสารกับผู้ใช้สอยในบริเวณที่เราออกแบบไว้ได้ สำหรับทางเรานั่นก็คืออัตลักษณ์ของงานนั้นๆ