WATERSCAPE

April 27 – July 8, 2018
JAPAN
Sumida Aquarium

From our previous article that looked at how design was used to best serve chickens’ behaviors, (read at https://art4d.com/2018/05/chicken-house), this text brings to our attention the efforts of a Japanese designer to develop a landscape for aquatic animals in ‘Waterscape : Landscape in the Water,’ an exhibition by Haruka Misawa, the designer of the Nippon Design Center. The exhibition was previously held in Ginza back in 2015, Taipei in 2016 and will now be on view at Sumida Aquarium, Tokyo until the 8th of July. 

Under the glass cube of a familiar fish tank are freeform figures that float or sink within the box depending upon the animals’ behaviors. For example, the middle glass dome is itself designed in a manner that references the fishes’ swimming gestures whether their movements be back and forth in a row or of a more random crossing fashion. The inside of the dome resembles a small greenhouse where the temperature rarely changes. In terms of the turtle’s behavior, an animal that often swims to the surface of the water, the structure inside was designed to be more shell-like referencing an idea of stone steps. The structures are made from several techniques such as 3d printing, die-cutting or glass-blowing and are outfitted with natural resources such as aquatic plants or seaweed used to build a green environment under the water.

At the end of the day, improvement of the design for the animals may not have been the answer that the designer wanted to discover. The challenge for this designer was how to create a new environment in the virtual area of the aquarium in an aesthetically pleasing fashion with materials designed via opportunities provided by the custom-made technology era.

จากคราวก่อนที่งานดีไซน์ถูกใช้เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมของสัตว์อย่างบ้านไก่ในเวียดนาม (ตามอ่านได้ที่ https://art4d.com/2018/05/chicken-house) ครั้งนี้เป็นของญี่ปุ่นกับการพยายามค้นหางานแลนด์สเคปสำหรับสัตว์น้ำ ในชื่อนิทรรศการ “Waterscape : Landscape in the Water” ออกแบบโดย Haruka Misawa ดีไซเนอร์ของ Nippon Design Center งานนี้เคยจัดแสดงแล้วในกินซ่าเมื่อปี 2015 และไทเปเมื่อปี 2016 และปีนี้ก็เวียนกลับมาจัดอีกครั้งในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 8 สิงหาคมนี้ ที่ Sumida Aquarium กรุงโตเกียว

ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมของตู้ปลาแบบที่เราคุ้นเคย บรรจุวัสดุที่ถูกขึ้นรูปทรงแบบฟรีฟอร์ม ยึดตรึงอยู่กลางตู้ด้วยวิธีการแบบลอยหรือจม ให้สอดคล้องไปกับพฤติกรรมของสัตว์น้ำแต่ละชนิด ตัวอย่างเช่นทรงกลมแบบโดมที่ครอบลอยอยู่ตรงกลางตู้ ก็ออกแบบมาจากวิธีการว่ายน้ำของปลา ซึ่งจะว่ายแบบเป็นแถวและสลับไขว้ไปมาแบบสุ่ม ภายในโดมจึงเป็นเหมือนกรีนเฮ้าส์เล็กๆ ที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเทียบกับด้านนอกโดม หรือเต่าที่บางครั้งก็ผุดขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ภายในจึงออกแบบเป็นบันไดรูปทรงโค้งเหมือนผิวเปลือกหอยหรือหิน หล่อขึ้นจากเรซิน เพื่อให้เต่าไต่ขึ้นไปรับอากาศบนผิวน้ำ โครงสร้างภายในที่ประกอบขึ้นภายในตู้ปลาสร้างขึ้นจากเทคนิคต่างๆ เช่น เครื่อง 3d printer การไดคัต หรือการเป่าแก้ว โดยใช้องค์ประกอบตามธรรมชาติอื่นๆ อย่างพืชน้ำ หรือสาหร่ายมาเป็นผู้ช่วยสร้างสีเขียวให้กับพื้นที่ใต้น้ำ

ส่วนคำถามถึงเรื่องคุณภาพชีวิตของสัตว์น้ำเหล่านี้จะดีขึ้นหรือไม่ อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีไซเนอร์ต้องการค้นหา มากไปกว่าการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการพยายามทดลองสร้างสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่จำลองให้กับสิ่งมีชีวิตที่ถูกนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ให้ดูสวยงามผ่านงานดีไซน์ ด้วยการทดลองรูปแบบใหม่ๆ จากวัสดุในยุคที่เทคโนโลยีทำให้การผลิตแบบคัสตอมทำได้ง่ายและเข้ามือกับการทำงานของดีไซเนอร์ปัจจุบัน

TEXT : NATHANICH CHAIDEE
PHOTO : SUMIDA AQUARIUM
sumida-aquarium.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *