DO IT AGAIN

HANS ULRICH OBRIST INITIATED ‘DO IT’ IN 1994 IN HOPE TO EXPERIMENT ON A MORE FLEXIBLE AND OPEN-ENDED EXHIBITION BY INVITING ARTISTS TO SEND ‘INSTRUCTION’ BEFORE THEY WERE TRANSLATED AND CIRCULATED INTERNATIONALLY. IN 1996, THE 14 INSTRUCTIONS FROM THE RENOWN ARTIST FINALLY MADE IT TO BANGKOK AND THE THAI VERSION OF ‘DO IT’ WAS REALIZED BY 11 THAI ARTISTS. LET’S SEE HOW THAT EXHIBITION TURNED OUT AT THE TIME.

Hans Ulrich Obrist ริเริ่มโครงการ ‘do it’ ขึ้นครั้งแรกในปี 1994 โดยหวังที่จะทดลองสร้างนิทรรศการที่มีความยืดหยุ่นและปลายเปิด ด้วยการเชิญศิลปินให้ร่วมส่ง ‘คำสั่ง’ (instruction) ก่อนจะถูกแปลและส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ ในรูปแบบของหนังสือ ในปี 1996 คำสั่งจาก 14 ศิลปินเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ จนเกิดเป็น ‘do it’ เวอร์ชั่นประเทศไทยขึ้นพร้อมกับการร่วมสร้างงานจากศิลปินไทย 11 คน มาดูกันว่ารายละเอียดของงานในครั้งนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง

(For English, please scroll down)

AN ESSENTIAL ART PROJECT IS COMING TO TOWN. THIS EVENT BECOMES A BIG MEETING OF THAI ARTISTS. CHECK OUT THE DETAILS OF YOUR FAVOURITE ARTIST HERE.

ทำแหวนเงิน 1 วงและทำหายในถนน
ข้อมูลสำหรับประกอบเอกสารบันทึก
    —ชื่อและที่อยู่ของช่างทำแหวน
    —รูปถ่ายของแหวน
    —รายละเอียดของแหวน (เช่นเส้นผ่าศูนย์กลางน้ำหนัก ฯลฯ)
    —ชื่อของผู้ที่ทำแหวนหาย

ข้อความทั้งหมดนี้คือ instruction ที่ถูกกำหนดขึ้นโดย Maria Eichhorn ศิลปินชาวเยอรมัน ซึ่งจะถูกตีความและนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างงานศิลปะโดยสุรสีห์ กุศลวงศ์ ศิลปินไทยที่แฟนๆ art4d คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และนี่คือส่วนหนึ่งของ Do it โครงการนิทรรศการศิลปกรรมแรกในประวัติศาสตร์ที่ปราศจากงานศิลปะต้นฉบับหรือ original work มีเพียงแต่ instruction ส่งมาจากสถานที่หนึ่งให้กับคนในอีกแห่งหนึ่งเป็นผู้ที่สรุปและแสดงเนื้อหาออกมา


Maria Eichhorn เป็นเจ้าของ instruction ที่เกี่ยวข้องกับแหวน Forget me not ที่เห็นในภาพ ซึ่งป่านนี้คงหายไปแล้ว คนทำหายชื่อ สุรสีห์ กุศลวงศ์

โครงการ do it นี้เริ่มมาแล้ว 2 ปีเมื่อราวๆ ฤดูใบไม้ร่วงปี 1994 โดย Curator ที่ชื่อ Hans Ulrich Obrist ซึ่งเป็นคนที่เกิดในสวิสเซอร์แลนด์ แต่มาทำงานและมีบทบาทอยู่ในหลายๆ แห่งในยุโรป ปัจจุบันเขาเป็น curator อยู่ 2 แห่งคือ Museum Progress ที่เวียนนาและ Museum of Modern Art ที่ปารีส เรื่องเกิดขึ้นในวันหนึ่งที่เขานั่งคุยกันในร้านอาหารกับศิลปินอีก 2 คนคือ Chirstian Boltanski และ Bertrand Lavier แล้วก็เกิดความคิดที่ทำโครงการนี้ขึ้นมา อันที่จริงแล้ว Rullier เคยทำงานลักษณะนี้มาตั้งแต่ช่วงปี 60 แล้วคือเขาสร้างงานขึ้นมาแล้วมี instruction อยู่ข้างๆ ว่าต้องทำอะไร ใช้วัสดุอะไร แล้วแปลเป็นอีกภาษาหนึ่ง จากนั้นก็ทำงานนั้นขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง object ของเขาก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามภาษาที่แปลใหม่ ทำให้เขาเกิดความคิดมาหารือกับ Boltanski แล้วก็เป็นที่มาของความคิดที่ปฏิเสธรสนิยมส่วนตัวของศิลปินในการสร้างงานศิลปะ สิ่งที่น่าสนใจคือมันจะไม่มีความเป็น original ในเรื่องของความคิด มีเพียงแต่ instruction เป็นตัวกำหนดโครงการคร่าวๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับศิลปินท้องถิ่นที่จะทำต่อไปโดยปราศจากการช่วยเหลือจากศิลปินผู้ออก intruction ซึ่งใน do it ภาคของประเทศไทยนั้นมีศิลปินร่วมส่ง instruction 14 คนคือ Christian Boltanski, Maria Eichhorn, Hans-Peter Feldmann, Paul-Armand Gette, Felix Gonzalez Torres, Fabrice Hybert, Ilya Kabakov, Mike Kelley, Alison Knowles, Bertrand Lavier, Jean-Jacques Rullier, Andreas Slominski, Rirkrit Tiravanija, Erwin Wurm

เนื้อหาและเรื่องราวของ do it ขึ้นอยู่กับสถานที่และช่วงเวลาของการจัดแต่ละครั้ง การตีความเนื้อหาของ do it เป็นการประสานกันระหว่างพื้นที่ทางความคิดระดับนานาชาติกับโครงสร้างระดับท้องถิ่น จากความคิดนี้เองทำให้ do it เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตประจำวันและวัตถุที่เราคุ้นเคย do it เป็นนิทรรศการศิลปกรรมที่ไม่มีทั้งจุดเริ่มต้นและจุดจบ ผลงานที่สร้างขึ้น ณ ที่หนึ่งจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แสดงถึงสภาวะแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมนั้นๆ และสิ่งเหล่านี้ได้เดินทางเข้าสู่ห้องแสดงนิทรรศการโดยผ่านขั้นตอนต่างๆ ใน instruction ด้วยเหตุผลนี้เอง ข้อความใน instruction จึงทำหน้าที่เป็นสื่อนำวิถีชีวิตและสภาวะแวดล้อมประจำวันให้เข้ามาสู่พื้นที่ทางศิลปะ เช่นเดียวกับภาพยนตร์ do it สามารถถูกจัดขึ้นอีกในที่ต่างๆ มากมายในขณะเดียวกันนิทรรศการ do it แต่ละครั้งคือกิจกรรมที่ใช้พื้นที่ทางกายภาพและทางความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างการแปล การตีความ และการเจรจาเพื่อหาข้อสรุป เนื้อหาและเรื่องราวของบทความใน instruction จะเพิ่มพูนมากขึ้นตามจำนวนครั้งของการตีความและการปฏิบัติหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือจำนวนครั้งของการจัด do it อย่างไรก็ตามนิทรรศการแต่ละครั้งก็มีความอิสระแตกต่างจากครั้งอื่นๆ แนวคิดหลักของ do it คือการสร้างนิทรรศการศิลปกรรมที่เปิดกว้างสำหรับการตีความและความต้องการของสังคมระดับท้องถิ่น นอกเหนือจากนั้นยังคำนึงถึงอุปสงค์ระดับนานาชาติอีกด้วย

ฤกษ์ฤทธิ์ ติรวนิช ส่ง instruction มาเป็นสูตรอาหาร ฐิตพล สุวรรณกุล รับหน้าที่ปรุงต่อให้เสร็จ

ในงานนิทรรศการศิลปกรรม do it ขั้นตอนต่างๆ ใน instruction เปรียบเสมือนสูตรสมการทางคณิตศาสตร์  ซึ่งพร้อมที่จะถูกแทนค่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การแทนค่าแต่ละครั้งต้องผ่านขั้นตอนการแปลและตีความ การแทนค่าแต่ละครั้งก่อให้เกิดผลลัพธ์ขึ้นมา และนั่นก็คือความเป็นไปได้อันหนึ่งซึ่งประกอบด้วยความเข้าใจและการตัดสินใจของผู้ตีความ กรรมวิธีและแนวคิดที่ผลิตงานศิลปะตาม instruction แต่ละชิ้นมีความสำคัญมากทีเดียว เมื่อผู้ชมเข้าชมงาน do it ครั้งนี้ท่านจะเห็นได้อย่างเด่นชัดอีกนัยหนึ่งก็คือสิ่งเหล่านี้คือเนื้อแท้ของงาน

งานนิทรรศการศิลปกรรม do it นี้จะจัดขึ้นที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ในวันที่ 5 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งมีศิลปินไทยเข้าร่วมตีความมากมาย อาทิ กิตติ ไชยธีระพันธ์ ญาณวิทย์ กุญแจทองชาตรี โภควานิช สุรสีห์ กุศลวงศ์ ฐิตพล สุวรรณกุศลส่ง วีระพงษ์ ภาดรศักดิ์ สิทธิชัย ปรัชญา รัตกุล จิตติเกษมกิตวัฒนา เหม่เหม่ ชุมสาย พร้อมทั้งสถาปนิกอย่าง นพดล ลิ้มวัฒนกุล ก็ยังกระโดดมา “ทำมัน” กับเขาด้วย ต่อไปนี้ใครจะมากล่าวหาวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยว่าโบราณดึกดำบรรพ์ คงพูดได้ไม่เต็มปากเสียแล้วกระมัง

Cast a silver ring and it in the street
For the documation
—name & address of maker
—photo of the ring
—description of the ring
—where the ring was lost
—name of the person who loses the ring

The above statement is the instruction, written by Maria Eichhorn a German artist, which will be interpreted and realized in the art expression by Surasi Kusolwong, Thai artist and art4d idol. All of this process is a part of Do it – the first at project in the history Created without original work.

การผลิตงานตาม instruction ของ Erwin Wurm โดยมี เหม่เหม่ ชุมสาย วรุตน์ ปันยารชุน ณัฐภาค พัฒนาพรหมชัย และ จิตติ เกษมกิจวัฒนา เป็นผู้ปฏิบัติการ

Do it Thai version

Date: October 5 – November 2, 1996
Venue: Bangkok University Art Gallery

Instruction by                                                                             

Christian Bolitanski                                                                     
Maria Eichhorn
Ilya Kabakov
Andreas Slorminski
Hans-Peter Feldmann
Felix Gonzalez-Torres
Fabrice Hybert
Alison Knowles 
Mike Kelley,
Erwin Wurm
Bertrand Lavier
Jean-Jacques Rullier
Rirkrit Tiravanija 

Interpreted & Realized by

Surasi Kusolwong (Artist)
Virapong Phadunsak (Artist)

Nopadol Limwatanakul (Architect)
Yanawit Kunchaethong   (Artist)
Chiti kasemkit-watana
May May Jumsai (Artist)
Waroot Phanyarachun   (Graphic Designer)
Nattapak Phatanapromchai, (Artist)
Chiti Kasemkitvatana   (Artist)
Tharee Pokavanich (Artist)
Titapol Suwankusolsong   (Aritist)

Originally published in art4d #19 (September 1996)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *