TEXT & PHOTO: PARIWAT ANANTACHINA
(For English, please scroll down)
“ป้อมยาม” ที่เห็น มันเป็นได้ทั้งสถาปัตยกรรมขนาดย่อม หรือประติมากรรมขนาดใหญ่ บ้างก็มีสถาปนิกออกแบบมันขึ้นมาอย่างดีเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่และตัวอาคาร บ้างก็เป็น “ป้อมยาม” แบบสำเร็จรูปผลิตจากโรงงาน บ้างก็ถูกคิดและสร้างขึ้นโดยผู้รับเหมาก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างเหล็ก หรือผู้ชำนาญการทำชิ้นงานเพื่อรองรับการใช้งานแบบชั่วคราว และก็มีอยู่บ้างเหมือนกันที่ถูกสร้างขึ้นมาแบบตามมีตามเกิด อาศัยไม้หรือเหล็กเหลือใช้จากตึกอาคารมาประดิษฐ์เป็นโครงสร้างและใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งมาประยุกต์ตกแต่งให้ชวนทึ่งปนรอยยิ้ม
จริงอยู่ แม้บาง “ป้อมยาม” ถูกคิดและสร้างมาอย่างดี แต่กระนั้นก็ใช่ว่ามันจะตอบสนองได้ดี ลงตัวในทุกที่ และถูกใจทุกคน เพราะอย่างนี้เอง เราจึงได้เห็นมัณฑนากรในเครื่องแบบรปภ.แสดงความสามารถในการออกแบบตกแต่ง “สเปซ” ของตัวเองทั้งภายนอกและภายใน ด้วยข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างกระบองยาม พัดลม เก้าอี้ ปฏิทิน กระติกน้ำ กาต้มน้ำ หม้อหุงข้าว กระดานหมากรุก ฯลฯ จึงไม่แปลกอะไรเลยที่บางครั้งเราอาจเห็นบาง “ป้อมยาม” ดูราวกับประติมากรรมเรียกรอยยิ้มขนาดใหญ่ ที่ปั้นมาจากข้าวของสามัญโดยคนธรรมดา
สเปซเล็กๆ นี้จึงมิเพียงทำขึ้นมาเพื่อการใช้งานทั้งยามปฏิบัติงาน ยามพักผ่อน ยามกิน และยามนอน แต่มันยังสะท้อนถึงเอกลักษณ์แบบไทยๆ ของคนธรรมดาตามถนนหนทางไม่มากก็น้อยอีกด้วยเช่นกัน
_____________
ปริวัฒน์ อนันตชินะ กราฟิกดีไซเนอร์ และศิลปินอิสระ ที่ยังคงฝังใจกับอาชีพสถาปนิก อาชีพในฝันที่เขาไม่อาจทำมันได้สำเร็จสมัยเป็นนักศึกษา
ปัจจุบันเป็น Design Director ให้กับ THE UNI_FORM สตูดิโอออกแบบที่เขาร่วมก่อตั้งกับ วุฒิภัทร สมจิตต์ คู่ขนานไปกับการทำงานศิลปะในแบบฉบับของตัวเองด้วยความแช่มช้าอย่างต่อเนื่อง มีแสดงงานในต่างประเทศบ้างประปราย
A guardhouse can either be viewed as small-scale architecture or as a large-scale art installation. Sometimes guardhouses are meticulously designed to physically and visually correspond with the spaces and the main buildings they are part of. It’s also very common to see factory-made or prefabricated structures, as well as those built by contractors, carpenters, steelworkers, or anyone who possesses the skill and experience to construct a simple structure. There are plenty of guardhouses that have been thoughtlessly set up using scrap wood and steel, resulting in those funny looking structures that seem out of place and unexpectedly amazing all at the same time.
While some guardhouses show evidence of thoughtful design and attentive construction, not all of them are able to satisfy everyones needs. Perhaps that’s why, under those security uniforms, we see the instinct of an interior decorator expressed in the ways that the space has been brought to life. Everyday objects can be found, from batons to fans, chair, calendars, ice coolers, kettles, rice cookers, and chess boards, etc. It isn’t surprising for a guardhouse to appear like a large-scale art installation, bringing a smile to one’s face thanks to the miscellaneousness of the everyday objects that it’s made up of.
This small space isn’t just somewhere one works, rests, eats, and sleeps; it reflects Thai identity and ordinary peoples way of life, doing their jobs and living their lives.
_____________
Graphic designer and independent artist, Pariwat Anantachina had dreamt of becoming an architect since he was a student, but hadn’t been able to pursue his dream.
He’s currently the Design Director of THE UNI_FORM, the design studio he co-founded with Wutthipat Somjit, while at the same time he slowly and steadily works on his art and overseas exhibitions.