Category: PHOTO ESSAY

PHOTO ESSAY : EVERYTHING JINGLE BELL


TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD 

(For English, press here) 

เทศกาลคริสต์มาสในประเทศอังกฤษ เป็นวันหยุดและเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของปี ในช่วงฤดูหนาวที่มืดมน เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลที่เรารอคอย เป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้เวลารร่วมกับครอบครัวและคนที่เรารัก เป็นโอกาสที่ผู้คนได้เฉลิมฉลอง พักผ่อน ได้ทบทวนปีที่ผ่านไป และรวมถึงวางแผนปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง

ในช่วงปี 2022 และ 2023 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เฉลิมฉลองคริสต์มาสในประเทศไทย และรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับความกระตือรือร้นของคนไทยเกี่ยวกับวันคริสต์มาส ตั้งแต่การตกแต่งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ไปจนถึงงานปาร์ตี้คริสต์มาสของแต่ละออฟฟิศ การแลกของขวัญระหว่างเพื่อนๆ หลายๆ ประเพณีที่ผมรู้จักเกี่ยวกับวันคริสมาสต์ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ หรือมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย การได้เห็นคริสต์มาสผ่านวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก โปรเจกต์ของผมต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของคริสต์มาสในประเทศไทย

ในประเทศไทย ‘Everything jingle bell’ เป็นภาษาพูดที่หมายถึง ‘ของเยอะแยะไปหมด’ หรือ ‘ทุกอย่าง’ ซึ่งคนใช้กันเพราะเสียงของคำว่า ‘ติง’ กับ ‘จิง’ คล้องจองกันเฉยๆ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทศกาลคริสต์มาสเลย วลีนี้สามารถใช้ได้ทั้งปี เป็นการแสดงถึงการรับวัฒธรรมเข้ามาแบบไทยๆ ในอีกรูปแบบหนึ่ง

___________________

แบร์รี่ แมคโดนัลด์ (เกิดปี 1984) เป็นช่างภาพจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นจากการ ถ่ายภาพนักดนตรี และได้ค้นพบความสนุกจากการเดินทางในขณะที่ออกทัวร์กับวงดนตรีต่างๆ ทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่อมาเขาได้พัฒนาสู่การถ่ายภาพที่ผสมผสานระหว่างแนวสตรีท และสารคดี เขาสนใจในสังคมวิทยาและพยายามแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและธรรมชาติของ มนุษย์ผ่านการถ่ายภาพของเขา เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2022

barrymacdonald.co.uk
instagram.com/barrymac84

PHOTO ESSAY : TRANSFORMATION THEORY

TEXT & PHOTO: SIRAWIT KUWAWATTANANONT

(For English, press here

‘Gain in entropy always means loss of information and nothing more.’ – G. N. Lewis 1930

สิ่งมีชีวิตต่างล้วนต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การเปลี่ยนแปลงในวงจรชีวิตของธรรมชาติเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในทุกช่วงเวลาของประวัติศาสตร์อยู่เสมอ แต่หากเราต้องเอาตัวรอดจากการคัดสรรของมนุษย์ด้วยกันเอง เราจะต้องทำเช่นใด

ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อบูชาความฝัน เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ของคนอื่น หรือเพื่อแสวงหากำไร เมื่อเวลาผ่านไปการดำรงอยู่ในสภาพเดิมย่อมเป็นเรื่องที่ยากอยู่เสมอ ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ความฝันใดๆ ที่เราได้ร่างไว้สำหรับอนาคต ล้วนไม่สามารถซ้อนทับกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างลงตัวแทบจะทุกครั้ง เราจึงเริ่มทำลายสิ่งเดิมและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาทดแทน เพื่อให้กำเนิดอนาคตในอุดมคติ แม้จะรู้ว่าอนาคตก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างคาดการณ์ไม่ได้อยู่เสมอ

ในทางกลับกันอีกหลายสิ่งที่มนุษย์สร้างไปแล้วจำนวนมาก ในวันหนึ่งปัจจัยจำนวนนับไม่ถ้วนจะพยายามทำทุกอย่างให้มันต้องพังทลายลง แต่ไม่ว่าจะผุพังแค่ไหน หากมีความผูกพันกับสิ่งเหล่านั้นแล้ว มนุษย์ก็ฝืนปกป้องรักษามันไว้ ไม่ว่าจะต้องยอมสูญเสียอนาคตไปมากเท่าใดหรือฉุดรั้งมันเอาไว้ได้ชั่วคราวเพียงแค่ไหนก็ตาม ขอเพียงให้บางอย่างเป็นตัวแทนของอดีตที่เคยงดงามได้นั้นก็เพียงพอแล้ว

ทฤษฎีสารสนเทศ หรือกฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์ได้อธิบายว่าการเข้าใจข้อมูลของเรื่องต่างๆ ในอนาคต มีแนวโน้มที่จะซับซ้อนขึ้นตามกาลเวลา หากเราอยากกำหนดอนาคตหรือระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราต้องใช้อัลกอริทึมที่ทรงพลังยิ่งขึ้นตามไป บางสิ่งยิ่งเป็นระเบียบ ทำให้เรารับรู้ข้อมูลของมันได้น้อยลง บางอย่างยิ่งยุ่งเหยิง เราก็กลับรู้ข้อมูลของมันน้อยลงเช่นกัน สองสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่สามารถบรรจบกันได้นี้ กลับมีปลายทางร่วมกันอย่างน่าประหลาด 

Transformation Theory จึงเป็นการสำรวจสถานที่สองแห่ง ระหว่างเชียงใหม่และกรุงเทพฯ ระหว่างการพยายามฉุดรั้งอดีตและพัฒนาสู่อนาคต ผ่านการประกอบสร้างเศษเสี้ยวของภาพถ่ายขึ้นมาใหม่อีกครั้ง รวมถึงเป็นการตั้งคำถามถึงการพัฒนาของมนุษย์ว่าจะนำพาเราไปสู่อุดมคติอย่างที่เราวาดฝันไว้ได้จริงหรือไม่กันแน่

___________________

ศิรวิทย์ คุววัฒนานนท์ ติวเตอร์สอนฟิสิกส์ที่เริ่มต้นเส้นทางนี้ด้วยการที่พยายามถ่ายภาพเพื่อสอนนักเรียนเกี่ยวกับเมฆและดวงดาวเมื่อ 8 ปีก่อน การถ่ายภาพได้พาศิรวิทย์ไปถึงการจัดนิทรรศการเพื่อเล่าหลายเรื่องที่เขาค้างคาใจ ทั้งเทคนิคการถ่ายภาพ วิทยาศาสตร์ ความรัก ตราบจนถึงความสัมพันธ์ของสังคม มนุษย์ และธรรมชาติ

sirawitkittikorn.com
instagram.com/titi.kittikorn

PHOTO ESSAY : ORDINARY

TEXT & PHOTO: KROEKRIT NOPPHAGAO

(For English, press here

ในทุกวันที่ผมออกไปถ่ายรูป ผมเลือกมองหาความธรรมดาแต่ให้ความรู้สึกพิเศษ ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านมุมมองแบบ street minimalist เปลี่ยนสิ่งที่เราเห็นจนชินตา มองเมืองที่กว้างใหญ่ในมุมเล็กๆ เราอาจพบความสวยงามที่ซ่อนอยู่ตามซอกมุมของตึก ตรอกซอกซอย หรือท้องถนน นั่นเพราะความสวยงามมันอาจไม่ได้ซ่อนอยู่ เพียงแต่ว่าเราเองที่เป็นฝ่ายมองข้ามมันไปต่างหาก

___________________

เกริกฤทธิ์ นพเก้า เป็นช่างภาพ wedding ผู้มีความสนใจภาพสตรีทและภาพถ่าย contemporary

facebook.com/Cherbellphoto
instagram.com/bell_kroekrit

PHOTO ESSAY : TWO THINGS ON THE WAY

TWO THINGS ON THE WAY
TWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAYTWO THINGS ON THE WAY

TEXT: CHIWIN LAOKETKIT
PHOTO: CHAICHARN PHOTOGRAPHY

(For English, press here) 

เมื่อสายตาของเราชำเลืองมองบางสิ่ง เมื่อนั้นความคิดที่อยู่เบื้องหลังสายตามักจะพยายามหาคำอธิบายต่อสิ่งนั้น พลันเมื่อได้เดินทางผ่านส่วนเสี้ยวของถนนในเมืองกรุงเทพฯ ด้วยการเดินเท้าจากสถานีรถไฟฟ้าไปตามจุดหมายในสถานที่ต่างๆ เวลาที่เราใช้ในการพินิจพิเคราะห์สิ่งที่อยู่รอบตัวดูเหมือนจะช้าลง จนสามารถสังเกตเห็นถึงความแตกต่างและความไม่ลงรอยกัน ทั้งความธรรมดาหรือแม้แต่ความพิเศษ ไปจนถึงพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในรูปแบบของอาคาร บ้านเรือน และถนนที่เป็นเสมือนบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองและสถานที่แห่งนั้นได้เป็นอย่างดี

‘TWO THINGS ON THE WAY’ เป็นชุดภาพถ่ายบันทึกการเดินทางสำรวจย่านที่รุ่มรวยวัฒนธรรม ตรอกเล็กซอกน้อยในบริเวณถนนทรงวาด ซอยนานา ตลอดจนห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ และแลนด์มาร์กสำคัญบนถนนบรรทัดทองและถนนนราธิวาสฯ ซึ่งเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันผ่านพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า ‘ย่านเก่า’ กับ ‘ย่านใหม่’ อันปะปนไปด้วยไลฟ์สไตล์และความหลากหลายทางเจเนอเรชัน 

ภาพถ่ายชุดนี้พาเราเดินทางผ่านการเชื่อมโยงกับวัตถุในรูปลักษณ์ของเครื่องทำน้ำอุ่น MEX CRAVE Series ซึ่งเป็นตัวแทนของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลที่ทันสมัย และแสดงให้เห็นถึงความเว้าโค้งเสมือนแผ่นกระเบื้องสามมิติที่มีความเงางามสะท้อนแสงแดด 

TWO THINGS ON THE WAY

MEX CRAVE Series เครื่องทำน้ำอุ่นโอบรับไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีของระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำแบบอัจฉริยะ Smart Electronic Control ที่สามารถใช้งานได้ด้วยระบบสัมผัส และ Rapid Preheat ฟังก์ชันปรับอุณหภูมิของน้ำได้ตามความต้องการอย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยจะมีการผลิตอิดิชั่นใหม่ภายใต้คอนเซปต์ ‘DIGITAL IS NOW’​ ​ที่มีทั้งสี Dark Emerald (เขียว) และสี Metallic Red (แดง) สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 – 31 มีนาคม 2568

อ่านเรื่องราวของ MEX CRAVE Series ได้ที่ 

MEX CRAVE SERIES

mexappliance.com
dots-designstudio.com

PHOTO ESSAY : THE CITY’S COLORS: BANGKOK

Julachart Pleansanit
Julachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart Pleansanit

TEXT & PHOTO: JULACHART PLEANSANIT

(For English, press here

กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในเมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีความสนุกสนานที่สุดในโลก เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย วัฒนธรรมหลากหลาย และบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ โดดเด่นก็คือสีสันที่สดใส ทำให้เมืองนี้โดดเด่น มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งกลางวันและกลางคืน

สีสันในกรุงเทพฯ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างบรรยากาศและเอกลักษณ์ของเมืองอีกด้วย สีสันของเมืองนี้ปรากฏให้เห็นอย่างสดใสในทุกที่ ทั้งตามป้ายโฆษณา ผ้าใบกันสาด ยานพาหนะ แฟชั่น แม้กระทั่งอาคารบ้านเรือนและผู้คน อีกทั้งสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงินนั้น โดดเด่นจนสามารถพบเห็นอยู่ทั่วทั้งเมือง เมื่อได้ผสมผสานอยู่ท่ามกลางสีอื่นๆ จึงทำเมืองนี้ มีสีสันที่พิเศษกว่าเมืองไหนๆ

ในการถ่ายภาพแนวสตรีท สีสันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบแรกๆ ที่ผมมองหา เพราะสามารถสร้างภาพ ที่โดดเด่นขึ้นมาได้ เมื่อรวมกับการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสม สีสันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรื่องราว ในภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น

ภาพถ่ายชุดนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้สีสันที่โดดเด่น ขณะเดียวกันยังสะท้อนความเป็น ‘street’ แบบไทย ที่มีเอกลักษณ์ ภาพแต่ละภาพ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้สีสันของกรุงเทพฯ เพื่อสร้างบรรยากาศ และแต่งแต้มเรื่องราวให้เมืองนี้เต็มไปด้วยชีวิตชีวา

___________________

จุฬชาติ เปลี่ยนสนิท เป็นสถาปนิกและนักออกแบบอีเวนต์ event designer เมื่อประมาณปีที่แล้ว เขาได้เริ่มเดินถ่ายภาพสตรีทอย่างจริงจัง ระหว่างทาง เขาจะพยายามมองสิ่งรอบตัว ผ่านมุมมองของตนเอง โดยเชื่อว่าทุกสถานที่มีมุมมองที่ซ่อนอยู่เสมอ มันเหมือนกับการล่าสมบัติ ที่เขาเพียงแค่พยายามค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในที่ที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม

instagram.com/longstreet_bob

PHOTO ESSAY : THE FABRIC OF SOCIETY

The Fabric of Society
The Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of Society

TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD

(For English, press here

‘The Fabric of Society’ หรือ แปลเป็นภาษาไทย ‘ผืนผ้าของสังคม’ เป็นคำที่ใช้เปรียบเปรยในภาษาอังกฤษ หมายถึงโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงที่ยึดถือสังคมไว้ด้วยกันเหมือนกับผ้าที่ทำจากเส้นด้ายแต่ละเส้นที่ถูกถักทอเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเป็นผืนเดียว ‘ผืนผ้าของสังคม’ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น ค่านิยมร่วมกัน บรรทัดฐาน กฎหมาย สถาบัน และวัฒนธรรมที่ผูกพันบุคคลและกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนผ้าผืนเดียวกัน

ผ้าใบ (ผ้าใบพลาสติกแถบสีน้ำเงินขาว) ภาพจำที่ทำให้เรานึกถึงเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นแรงงาน แต่อันที่จริงแล้วชีวิตของทุกคนต่างมีส่วนที่ข้องเกี่ยวกับผ้าใบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในอาหารทุกๆ มื้อที่เราทาน ถูกปลูก ตาก จับ ส่งขาย จนประกอบเป็นอาหาร ต่างล้วนมีผ้าใบเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการไม่มากก็น้อย อาคารที่ปลูกสร้างต่างต้องเคยใช้ผ้าใบมาแล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในงานก่อสร้าง งานประปา และงานไฟฟ้าต้องพึ่งพาวัสดุอเนกประสงค์นี้ หรือแม้กระทั่งสิ่งของทุกอย่างที่เราซื้ออาจใช้ผ้าใบในการขนส่ง, การเก็บรักษา หรือแม้แต่การสร้างแผงขายของตลาด ปูพื้น ทำโต๊ะ มุงหลังคา และอื่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของไร้ราคาบนท้องถนน หรือไปจนถึงพระพุทธรูปที่มีค่าที่สุดในวัด ผ้าใบถูกเชื่อถือในการปกป้องรักษา ดูแลสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด

ภาพชุดนี้มองดูแล้วอาจจะเกี่ยวกับผ้าใบ แต่หากมองลึกลงไปแท้จริงแล้วผ้าใบสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับสังคมได้ในหลายมิติ เราจะเห็นถึงมิติแห่งกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ทุกคนต่างใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกัน จากแหล่งที่มาเดียวกัน มิติเชิงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของการผลิตพลาสติกจำนวนมาก รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยในการดัดแปลงวัสดุให้เป็นรูปแบบและการใช้งานใหม่ๆ ไปจนถึงการสะท้อนเห็นปัญหาแรงงานข้ามชาติและอาชีพที่พวกเขาทำในประเทศไทย ที่พวกเขาบางคนอาศัยอยู่ในที่ที่สร้างขึ้นด้วยผ้าใบ

ชวนให้ตั้งคำถามว่า หากไม่มีผ้าใบ ประเทศจะยังคงสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หรือผ้าใบคือสิ่งที่แสดงออกถึง ‘ผืนผ้าของสังคม’ ในรูปธรรมที่แท้จริง

___________________

แบร์รี แมคโดนัลด์ (เกิดปี 2527) เป็นช่างภาพอิสระจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นถ่ายภาพนักดนตรีและค้นพบความสนุกสนานในการเดินทางจากการไปทัวร์กับวงดนตรีทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา งานของเขาพัฒนามาเป็นการผสมผสานระหว่างการถ่ายภาพแนวสตรีทและสารคดี เขาสนใจสังคมวิทยาและพยายามมองวัฒนธรรมและธรรมชาติของมนุษย์ผ่านการถ่ายภาพของเขา เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2565

barrymacdonald.co.uk
instagram.com/barrymac84

URBAN JOY PLAYGROUND

Urban Joy Palyground by ANANDA
Urban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Palyground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDA

TEXT: NATHATAI TANGCHADAKORN
PHOTO COURTESY OF ANANDA DEVELOPMENT

(For English, press here

เมื่อสนามฟุตซอลที่ถูกรีโนเวทโดย ANANDA และพันธมิตร ร่วมกับ กทม. ถูกเติมแต่งลวดลายด้วยกราฟิกสีจัดจ้าน ประกอบกับการใช้เส้นสายที่เลื่อนไหลอย่างอิสระและรูปทรงเรขาคณิต ภาพถ่ายของสนามแห่งนี้จึงมีองค์ประกอบทางศิลปะสอดแทรกอยู่มากมาย

ความสวยงามของภาพชุดนี้ดูไปแล้วใกล้เคียงกับ minimalist photography ที่เรียบง่าย ทว่าความจริงแล้วมีความหมายของแต่ละสีอัดแน่นบนพื้นสนาม เนื่องจากที่นี่ตั้งใจวางตัวเป็นพื้นที่สาธารณะทางศิลปะของคนเมือง นักออกแบบจึงแฝงความหมายและแรงบันดาลใจเอาไว้ในทุกพื้นที่ และไม่ได้คำนึงถึงแต่ความสวยงามเท่านั้น เช่น สีฟ้าที่สร้างความรู้สึกโปร่งสบายและความสดชื่น ก็ถูกนำมาเป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Inspire & Urban’ หรือสีแดงที่สร้างความกระตือรือร้น ก็เป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Power & Energetic’ เป็นต้น

ความหมายของแพทเทิร์นเหล่านี้มาพร้อมกับความหมายของเส้นที่ถูกตีขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้งาน บ้างก็เป็นเส้นระบุตำแหน่งกึ่งกลางของสนาม บ้างก็เป็นเส้นรอบนอกที่หากผู้ใช้งานก้าวพ้นไปแล้วจะถูกกีดกันจากเกมด้วยกติกา บ้างก็เป็นที่ทุกคนต้องข้ามผ่านเพื่อทำคะแนนสู่ชัยชนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามหรือการใช้งาน ก็ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนออกมาเป็นกราฟิกชิ้นหนึ่ง ซึ่งยังคงเป็นสนามฟุตซอล ยังคงเป็นพื้นที่ทางศิลปะ และยังคงเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนข้างเคียงออกมาทำกิจกรรมได้โดยไม่บกพร่อง ทำให้ทางเลือกในการออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ของคนในย่านมีตัวเลือกมากขึ้นจากเดิม

ananda.co.th

PHOTO ESSAY : CLUSTERED OF PATTERNS

TEXT & PHOTO: JUTI KLIPBUA

(For English, press here

กลุ่มมวลของลวดลาย

การตกแต่งในสถาปัตยกรรมไทยและประเทศเพื่อนบ้านนั้น การใส่รายละเอียดอาจมองเป็นเพียงงานตกแต่งเพื่อแสดงความวิจิตรงดงาม แต่ส่วนตัวของผมนั้นการสนใจรายละเอียดเหล่านี้ ในฐานะที่ทำหน้าที่ลดทอนสัดส่วนของอาคาร ลดความแข็งทื่อของจังหวะการปะทะกันของส่วนประกอบต่างๆ ผมเริ่มสนใจถ่ายภาพรายละเอียดส่วนต่างๆของอาคารเหล่านี้เก็บไว้เมื่อมีโอกาส ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสมัยเรียนสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในยุคนั้นช่างน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับนักศึกษาอย่างเรา สถาปัตยกรรมไทยที่เห็นตามวัดวาที่ผ่านตามาตั้งแต่เด็กจนโตไม่อยู่ในความสนใจเท่าไรนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป จากประสบการณ์การทำงานและการเดินทาง ได้ขัดเกลาส่งผลต่อความเข้าใจในความงามและเชิงการช่างและงานฝีมือมีมากขึ้น ยอมรับเลยว่ากล้องของผมก็เต็มไปด้วยภาพถ่ายการย่อมุม ขอบหน้าต่าง การติดกระจกสี และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมไทยและจนขยายไปถึงของประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ที่ได้มีโอกาสไปเยือนมากมาย

ผมชอบที่วิธีการถ่ายเจาะและอัดจังหวะให้รายละเอียดเหล่านี้อยู่ในเฟรมเดียวกันโดยไม่ได้เสนอให้เห็นภาพใหญ่ของอาคารมากนัก หลายๆ ครั้งรายละเอียดเหล่านี้ก็กลายเป็นรูปทรงของสถาปัตยกรรมด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นเหมือนขอบของแถวอาคารวัดวาโบราณต่อเนื่องกันเป็นแถวๆ และให้มุมมองคล้ายกับลวดลายผ้าหรือ graphic design ที่เป็นเอกลักษณ์ของช่วงยุคนั้นๆ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่องานออกแบบของผมเอง ไม่ว่าจะการใช้ pattern หรือ scale ต่างๆ กันอย่างตรงไปตรงมาหรือลดทอนนำเฉพาะสันหรือเส้นขอบบางส่วนไปใช้ทั้งในงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของ JUTI architects สิ่งที่เห็นจนชินตาตั้งแต่เด็ก กลายเป็นสิ่งที่เราอยากจะสานต่อ ถ่ายทอดลงไปในสถาปัตยกรรมในยุคสมัยปัจจุบัน รายละเอียดที่เมื่อก่อนในความคิดว่าเป็นเพียงความวิจิตร ปัจจุบันสำหรับผม คือ จังหวะสัดส่วน และคุณค่าเชิงการช่างและศิลปะที่ร่วมสมัยอันงดงาม

___________________

จุติ กลีบบัว ผู้ก่อตั้งและ design director ของบริษัท จุติ อาร์คิเท็คส์ จำกัด (JUTI architects) นอกเหนือจากความสนใจในงานสถาปัตยกรรมตามสายงานอาชีพแล้วยังมีความสนใจในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบรถยนต์ และภาพถ่าย ปัจจุบันงานอดิเรกที่ใช้เวลาส่วนใหญ่คือการถ่ายภาพ และกำลังฝึกฝนให้งานภาพถ่ายออกมาในรูปแบบ abstract photography จากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นชินในวันทำงานทั่วไปของเขา เช่น ไซต์งานก่อสร้าง เมืองระหว่างรถติด ธรรมชาติรอบตัวในไซต์งานต่างจังหวัด

instagram.com/nackandm

PHOTO ESSAY : THE ARCHITECTURE STUDIO ATLAS

Marc Goodwin
Marc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc Goodwin

TEXT & PHOTO: MARC GOODWIN / ARCHMOSPHERES

(For English, press here

‘The Architecture Studio Atlas’ เป็นเสมือนการเข้าไปสำรวจโลกของแต่ละสตูดิโอออกแบบที่มักซ่อนตัวอยู่หลังม่าน ซึ่งเผยให้เห็นถึงกระบวนการและหลักการทำงานของพวกเขา ผ่านเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่าง 20 เมืองในยุโรป รวมไปถึงมหานครทั่วโลกอย่าง โตเกียว โซล ไทเป ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ลอสแองเจลิส ปานามาซิตี เม็กซิโกซิตี และเซาเปาโล โดยให้ความสำคัญกับแนวทางการทำงานในแต่ละสตูดิโอ ตั้งแต่สตาร์ทอัพเฉพาะทางไปจนถึงสตูดิโอสถาปนิกที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง พร้อมกับภาพของผู้คนและบรรยากาศการทำงานที่สะท้อนทั้งแง่มุมที่จริงจังและสนุกสนาน ‘The Architecture Studio Atlas’ ทำให้เรื่องของสถาปัตยกรรมนั้นเปิดกว้าง สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเสมอภาคมากขึ้น

___________________

Marc Goodwin เป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Archmospheres นักเขียน และอาจารย์ เขาเกิดในลอนดอนและปัจจุบันแบ่งเวลาใช้ชีวิตในยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของเขาในหัวข้อ ‘การถ่ายภาพ, พื้นที่สนทนาของสถาปัตยกรรม’ (architecture’s discursive space, photography) ได้ศึกษาองค์ประกอบของการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมผ่านการเปรียบเทียบกับระบบของบรรยากาศ หลังจบปริญญาเขาเดินทางไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำงานให้ลูกค้าและทำหนังสือ The Architecture Studio Atlas

archmospheres.com
instagram.com/archmospheres

PHOTO ESSAY : THE REFLECTIONS OF OUR IMAGINED REALITIES

TEXT & PHOTO: NATTAKORN CHOONHAVAN

(For English, press here

ผมตั้งโจทย์ก่อนการเดินเท้าไปถ่ายภาพตามสถานที่ต่างๆ ว่าจะต้องมีคำว่า ‘สะท้อน‘ และ ‘สองด้าน’ เป็นตัวตั้ง เมื่อบังเอิญเจอภาพเหตุการณ์ที่ตรงกับโจทย์ของผม ผมจึงถ่ายเพื่อบันทึกเก็บเอาไว้ แล้วค่อยนำภาพเหล่านั้นมาวิเคราะห์ถึงความหมายที่ลึกลงไป ตัวอย่างเช่น ภาพสะท้อนจากน้ำซึ่งทำให้โลกบิดเบี้ยว กลับด้านและถูกดัดแปลงไป ทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีของโลกคู่ขนาน หรือภาพใบบัวที่ถูกทับซ้อนกับตึกคอนกรีต ทำให้ผมนึกถึงการที่มนุษย์เปรียบเสมือนผู้เสพบัว (Lotus Eater) ในวงจรของระบบทุนนิยม หรือภาพผีเสื้อที่โบยบินอยู่ในกรง ทำให้ผมนึกถึงอิสรภาพของมนุษย์ที่แม้จะติดอยู่ในวงจรของสังสารวัฏ แต่ก็มีจิตใจที่โบยบินและจินตนาการถึงอิสรภาพ โจทย์ตั้งต้นที่กล่าวมา ทำให้ผมนึกถึงปรัชญาต่างๆ ของการมีชีวิต ผ่านภาพของวันธรรมดาของผม

Freedom in The Cage

แม้ร่างกายของผีเสื้อจะถูกขังในกรง แต่จิตใจของมันยังโบยบินไปที่อื่นได้ เปรียบดั่งจินตนาการของมนุษย์ที่ค้นหาอิสรภาพ และความหมายของชีวิต แม้จะติดอยู่ในระบบของสังคม กฎต่างๆ มิติที่เราอยู่ และ สังสารวัฏ เราก็ยังต้องมีจุดหมาย และตามหาความหมายของชีวิตให้ได้

The Reversed World and The Lotus Eater

หมายถึง การที่เรามีชีวิตอยู่ในสังสารวัฏที่ไม่มีวันสิ้นสุด และโลกคู่ขนานที่ขยายออกไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในโลกไหน เราก็อาจกลายเป็นผู้กินบัว/ผู้เสพบัว (มาจาก Lotus Eater ในเทพนิยายกรีก คือกลุ่มคนที่กินบัวเพื่อให้ ตัวเองมีความสุข แต่จะทำให้ลืมสิ่งต่างๆ ในชีวิต) ที่คอยวิ่งตามกิเลสและความอยากได้อยากมีไม่รู้จบ หากเราไม่ตระหนักถึงแก่นแท้และความหมายของการดำรงอยู่อย่างถ่องแท้

The Other Me (s)

The Dividing between the Two Worlds

The Other Me (s) and The Dividing between the Two Worlds

ทุกครั้งที่เห็นภาพสะท้อนบนน้ำ หรือกระจก ผมจะนึกถึงมิติอื่นๆ ที่เชื่อว่ามีอยู่ในจักรวาลนี้ สองภาพนี้จึงเป็นการ สะท้อนเราในมิติอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่ามีหลายมิติมาก แต่ไม่ว่าจะอยู่ในมิติไหน เราก็ยังต้องต่อสู้ในสิ่งที่เราต้องการ และปีนไต่ขึ้นไปเพื่อไปยังจุดหมายที่เราใฝ่ฝัน รวมถึงการพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน

The Encounter

เป็นภาพที่มองได้หลายมุม บางคนมองว่าเหมือนรูปสมอง บางคนมองว่าเหมือนรูปปอด แต่สำหรับผมมองว่า เหมือนกับภาพคน 2 คนที่ใส่หน้ากากแล้วเผชิญหน้าเข้าหากันและกัน ซึ่งการเผชิญหน้านี้ก็แปลได้สองความหมาย อย่างแรกคือเวลาเราใส่หน้ากากเราจะเป็นใครก็ได้ที่เราอยากจะเป็น และอย่างที่สองคือเมื่อเราใส่หน้ากาก ก็เหมือนกับมีอะไรบางอย่างมากั้นหน้าเรา ทำให้เรามีพื้นที่ที่จะสื่อสัตย์กับสิ่งที่เราเป็น และเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด

_____________

ณัฏฐกรม์ ชุณหะวัณ ปัจจุบันเป็น founder และ designer ของแบรนด์เครื่องประดับ Middle M Jewelry ชื่นชอบการเดินเท้าเพื่อบันทึกภาพด้วยกล้องฟิล์ม เพราะการเดินทำให้สังเกตเรื่องราวของผู้คนที่อยู่ตรงหน้าได้มากขึ้น ณัฏฐกรม์มักใช้แสง เงา หรือการสะท้อน มาเป็นองค์ประกอบในการสร้างมิติ ให้แก่ภาพที่ถ่าย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ภาพบันทึกของวันธรรมดากลายเป็นสิ่งพิเศษ ในการ บันทึกชีวิตประจำวันของผู้คนด้วยภาพฟิล์ม ณัฏฐกรม์มักจะใส่ความรู้สึกและความหมายที่ตีความ เข้าไปในเทคนิคของมุมกล้อง ระยะ และจังหวะเสมอ

instagram.com/thoughts_of_mick
instagram.com/nattakornch