2010 BANGKOK ODYSSEY

THE STUDENT PROJECTS FROM THE DEPARTMENT OF ARCHITECTURAL EDUCATION. FACULTY OF INDUSTRIAL EDUCATION KING MONGKUT’S INSTITUTE OF TECHNOLOGY LADKRABANG. IN THE ‘BANGKOK 2010 ARCHITECTURE EDUCATION EXHIBITION’, WHICH WAS HELD IN 1998 

ย้อนกลับไปดูผลงานของนักศึกษาจากภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในนิทรรศการ Bangkok 2010 Architecture Education Exhibition ที่จัดขึ้นในปี 1998 ซึ่งเป็นครั้งแรกๆ ที่ได้กำหนดโจทย์และการแก้ไขปัญหาในเชิงการวางผังเมือง (Urban planning) ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกรุงเทพฯ รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางในเชิงโครงสร้างเมืองของกรุงเทพฯ ที่อาจจะมีทางเป็นไปได้ในปี 2010

(For English, please scroll down)

ปี ค.ศ. 2010 ดูเหมือนจะเป็นปียอดนิยมสำหรับการมองกรุงเทพฯ ในอนาคต ย้อนหลังกลับไปประมาณ 6-7 ปี (ต้นฉบับนี้ตีพิมพ์ในปี 1999) สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยกำหนดปี 2010 ให้เป็นโจทย์สำหรับงานประกวดแบบที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงมาแล้วครั้งหนึ่ง เกือบ 10 ปีให้หลัง นักออกแบบไทยได้มีโอกาสมองกรุงเทพฯ ในปี 2010 อีกครั้งหนึ่ง ด้วยสายตาที่ก้าวหน้าไปกว่าเมื่อ 10 ก่อนอย่างคาดไม่ถึง และที่น่าสนใจก็คือกลุ่มนักออกแบบดังกล่าว แม้ว่าอาจจะไม่ใช่กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ตามตัวบทกฎหมายแล้วเราจะสามารถเรียกเขาได้เต็มปากเต็มคำว่าสถาปนิกเมื่อจบการศึกษา แต่ลองให้ผลงานของพวกเขาพิสูจน์ตัวเองดูว่า คนที่เรียกตัวเองว่าสถาปนิกหรือนักผังเมืองมองอะไรได้ไกลอย่างที่พวกเขาเห็นหรือไม่

ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นชื่อที่ฟังแล้วดูจะไม่คุ้นหูเอาเสียเลย เมื่อได้นั่งคุยกับนักศึกษาที่นำเอาผลงานมาแสดงในนิทรรศการ Bangkok 2010 Architecture Education Exhibition ที่สยามเซ็นเตอร์ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปี 1998 ก็พบว่าตามหลักสูตรแล้ว ผู้ที่จบจากสถาบันนี้สามารถไปเป็นครูสำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรมในสายวิชาชีพ หรือเป็นผู้ช่วยสถาปนิกในสำนักงานออกแบบ ซึ่งมีการก่อตั้งมาได้หลายปีแล้วเหมือนกัน แต่นิทรรศการครั้งนี้เป็นครั้งแรกๆ ที่กำหนดโจทย์และการแก้ไขปัญหาในเชิงการวางผังเมือง (Urban planning) ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโจทย์ที่สถาปนิกไทยหน้าไหนใหญ่เล็กก็ทราบดีว่าไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่พยายามจะแก้ปัญหาไม่ว่าจะเก่งมาจากไหนก็ตาม

ผลงานออกแบบที่นำมาแสดงมีทั้งหมด 9 ชิ้น แต่ละชิ้นเป็นการสร้างโปรเจ็คต์ขึ้นมาใหม่ เพื่อแสดงทักษะในการกำหนดปัญหาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางในเชิงโครงสร้างเมืองของกรุงเทพฯ ที่อาจจะมีทางเป็นไปได้ในปี 2010 และในแต่ละโปรเจ็คต์ที่ถูกสร้างขึ้นนั้น มีความแตกต่างกันในลักษณะของขนาดและปัญหาที่กำหนดขึ้น แต่สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือการพยายามมอง urban planning ด้วย methodology ใหม่ในการออกแบบ โดยละทิ้งการพยายามที่จะอธิบาย urban planning ด้วยตรรกะที่อยู่ในตำราวิชาผังเมืองที่ไม่เจริญพอที่จะอธิบายความซับซ้อนที่มากขึ้นของมหานครในปัจจุบันได้ ไม่มีความพยายามใดๆ ในงานแต่ละชิ้นที่จะใช้กำปั้นทุบดิน และมองเมืองให้ “ง่าย” กว่าที่มันเป็น งานเกือบทุกชิ้นพยายามที่จะเข้าใจเมืองในลักษณะของโครงสร้างที่ซับซ้อน (complex) พยายามที่จะสร้างภาพหรือ map ความเข้าใจในโครงสร้างที่ซับซ้อนนั้นด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป และใช้วิธีการหรือเทคนิคเหล่านั้นในการจัดระบบของโครงสร้างทั้งทางกายภาพและ political structure ขึ้นใหม่ แล้วนำกลับเข้าไปสู่ระบบ โดยก่อให้เกิดความขัดแย้งกับ fabric เดิมของเมืองให้น้อยที่สุด

งานที่ชื่อ Mature Evolution Created Perfect System ของ โกวิทย์ ขวัญศรีสุทธิ์ พยายามที่จะจัดระบบโครงสร้างเมืองขึ้นใหม่โดยการมองโครงสร้างเดิมของกรุงเทพฯ ในระบบของ plate ซ้อนเหลื่อมและมีการขยายตัวเป็นอิสระ การนำเสนอแนวทางพัฒนาขึ้นเป็นการสร้างโครงสร้างในระบบ plate ขึ้นเป็นระนาบที่ 2 ซ้อนขึ้นไปจากระบบเดิม โดยมีความสัมพันธ์บนดินและใต้ดินที่สอดคล้องกับระบบสัญจรหลักเดิมที่มีอยู่ โดยโครงสร้างทั้งหมดนั้นพัฒนาจากระบบ grid ของกรุงเทพฯ ที่ปราศจากระบบระเบียบใดๆ ที่แน่ชัด งานที่ชื่อ Isomer ของ ขวัญชัย สุธรรมซาว ทำความเข้าใจกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบที่อยู่อาศัยที่เล็กที่สุดของเมือง คือ ในสลัม และสิ่งที่เขาเรียกว่าผู้คนย้ายถิ่น (nomad) ขวัญชัยได้พยายาม map ความเข้าใจในธรรมชาติของที่อยู่อาศัยที่มีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงตัวเองตามความต้องการของผู้อยู่อาศัยนี้ เข้ากับลักษณะ Isomer ของโมเลกุล แสดงให้เห็นศักยภาพของชุมชนในการขยายตัวและรวมตัวกันได้เมื่อมีสิ่งเร้าที่เหมาะสม มีการพึ่งพาและใช้ประโยชน์ร่วมกันทางความคิดและวัฒนธรรม เปรียบเสมือนสสารที่อยู่ใน Isomer ที่มีส่วนประกอบของโมเลกุลเดียวกัน แต่อยู่ในสถานะที่ต่างกันเท่านั้น

งานของ สมภพ ยี่จอหอ เริ่มต้นความคิดจาก Evolution Theory ของ Herbert Spencer แต่จบท้ายการแก้ปัญหาของกรุงเทพฯ โดยการ defragment space ใหม่ สมภพพยายามเข้าใจความสัมพันธ์ของ space ในลักษณะต่างๆ กันของเมือง ไม่ว่าจะเป็น open space และ close space และตั้งโจทย์ในการแก้ปัญหาว่าพื้นที่ในเมืองหรือเศษส่วนที่ไม่ได้ใช้งานเต็มที่ อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการบริหาร space ที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงเสนอการพัฒนาที่ใช้ชื่อว่า Neo-arrengment เข้ามาจัดการ space เหล่านั้นใหม่ คล้ายคลึงกับการ defragment space ของ hard disk ในคอมพิวเตอร์

ฆาราธร ยืนยงค์ กับงานที่ชื่อ Crowded Community Evolution มองปัญหาในสลัมด้วยการพยายามที่จะ map โครงสร้างทางด้านจิตวิทยาและ political structure ของสลัมเข้ากับโครงสร้างของโปรตีนแบบพอลิเพปไทด์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยน living space ให้มีความสัมพันธ์กับ public space จนสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกันได้ งาน Moving City ของ วัชรพงษ์ แก้วบัววัน และ ประวิทย์ ปิงแก้ว มองเมืองในลักษณะของพฤติกรรมมนุษย์ที่กำหนดให้ centre เกิดการเจริญเติบโตของเมืองในลักษณะย่อยๆ หลายแห่ง ความพยายามในการจัดระบบระเบียบของเมืองในลักษณะดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจในลักษณะการเชื่อมโยง centre เหล่านั้นเข้าหากัน และใช้โครงสร้างการเชื่อมโยงนั้นเป็นโครงสร้างหลักในการกำหนดการขยายตัวของเมือง หรือกำหนดโครงสร้างเมืองใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น

คุณภาพของโปรเจ็คท์แต่ละชิ้นนั้นค่อนข้างตื่นตาตื่นใจพอสมควรไปกับ Computer model และกราฟิกที่มีสีสันสดใส ใครที่โชคดีได้มีโอกาสพบกับนิทรรศการในช่วงเวลานั้น ก็จะได้มีโอกาสซื้อซีดีรอมและสูจิบัตรกลับมาศึกษางานแต่ละชิ้นอย่างใกล้ชิด และก็อาจจะเกิดความคิดขึ้นใหม่ๆ หลายอย่างระหว่างภาวการณ์ที่อึมครึมในปัจจุบัน ดีใจเหมือนกันที่คลื่นลูกหลังท่าทางจะมาแรงไม่เบา และอย่างน้อยก็ช่วยให้กรุงเทพฯ ดูจะมีความหวังขึ้นมากในอนาคตไม่ว่าจะทันปี 2010 อย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่ก็ตาม
 
 

It may sound like science fiction, but in projecting the future of Bangkok, the year 2010 has become something of an auspicious date. Around six or seven years ago (This article was originally  published in 1999), the Alumni of the Faculty of Architecture at Chulalongkorn University had used were given another chance to try and peer architectural exhibition. While I,D.E.D. the year 2010 for a competition which was quite successful. Recently, Thai designers into the future, and decide what tomorrow’s going to look like today, with a new Architecture Department of King Mongkut’s Institute of Technology (Ladkrabang) is not a familiar name in local design circles,  its “Bangkok 2010 Architecture Education Exhibition”, held around the end of last November (1998) at the Siam Center, should ensure a higher profile for the institute.

This exhibition was all about urban planning a problematic subject. The nine different projects on display varied wildly in terms of scope, scale and subject matter. But the one thread running through all of them was an attempt to view urban planning in the light of a new design methodology, which ignored textbook theories that are ill-equipped to deal with the complexities of big cities anyway. In this respect, none of the student projects tried to simplify the problems, or boil them down into easy solutions. Most of the students grappled with complex structures, attempting to map them by using a number of different approaches. By doing so, the physical and political aspects of the city are reintegrated into the urban fabric without tearing it apart. Each of the projects were quite spectacular in the way incorporated intriguing computer models and lively, colorful graphics.

For those who missed the exhibition, or would like to give it a second look, they can buy a CD Rom and catalogue and study each project in detail, and at their own leisure. During this down time, we are very pleased to see a new wave of talent creating a few ripples in our pond. Hopefully, our apprenticing urban planners can ride this crest into the future and create a new, and very positive, watershed in our murky backwater.

Originally published in art4d#46 February. 1999

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *