WALKING INTO MATERIALITY AND MEMORY

IMAGINING THE DIFFERENT HISTORIES FROM A VIEW OF ANTHROPOCENE IN THE EXHIBITION ‘MATTER AND PLACE’

TEXT: KANTIDA BUSABA
PHOTO COURTESY OF MUSEUM MACAN AND THE ARTISTS

(For English, please scroll down)

ความท้าทายอย่างหนึ่งในการจัดนิทรรศการศิลปะ คงหนีไม่พ้นไปจากความคิดที่ว่าประเด็นเรื่องเล่าหรือการจัดวางผลงานรูปแบบใดจะนำมาซึ่งความน่าสนใจและทันสมัยอยู่เสมอ ในตอนหนึ่งจากสเตทเมนท์ของ Aaron Zeeto ผู้อำนวยการประจำ Museum MACAN จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ได้พูดถึงนิทรรศการ Matter and Place ที่พิพิธภัณฑ์จัดขึ้นไว้ว่า “นิทรรศการนี้ได้จินตนาการถึงภาพของ anthropocene”

และเมื่อ anthropocene เป็นมโนทัศน์ที่สร้างข้อถกเถียงมากมาย เนื่องจากความคิดของมันเองได้วางมนุษย์ไว้เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งและแยกตนเองออกมาจากธรรมชาติ ก็ดูเหมือนว่าผลงานศิลปะในนิทรรศการครั้งนี้จะจินตนาการถึงมุมมองดังกล่าวผ่านการนำเสนอประเด็นทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ เชื้อชาติ และอัตลักษณ์ ที่ศิลปินแต่ละคนได้เลือกใช้ประเทศบ้านเกิดของตนเองเป็นจุดตั้งต้น นอกจากนี้ ศิลปินบางคนก็ได้พูดถึงประเด็นของธรรมชาติ โดยจัดวางให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์


Andra Matin – Elevation (2018)

นิทรรศการ Matter and Place ประกอบไปด้วยผลงานของศิลปิน 6 คน ทั้งที่เป็นชาวอินโดนีเซียเองและจากต่างประเทศ ได้แก่ Andra Matin, Shooshie Sulaiman, Danh Vō, FX Harsono, Genevieve Chua และ Theaster Gates ในผลงาน Elevation (2018) โดย Andra Matin สถาปนิกชาวอินโดนีเซีย ได้นำเสนอประวัติศาสตร์ของประเทศตนเอง ผ่านการติดตั้งโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ไว้ในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ องค์ประกอบของงานชิ้นนี้ล้วนทำขึ้นจากวัสดุและงานฝีมือที่มีลักษณะเป็นแบบอินโดนีเซียแท้ๆ เช่น บันไดที่ผลิตจากไม้จาบอน (jabon) หรือส่วนของหน้าจั่วกับผนังที่ทำจากหวาย โดยใช้กรรมวิธีการถัก ทอ ประสาน เหมือนกับวิธีการทอผ้าพื้นถิ่น

อีกหนึ่งผลงานที่ผู้ชมสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดได้คือ Rubber Kindergarten (2019) โดย Shooshie Sulaiman ศิลปินชาวมาเลเซีย เป็นสถาปัตยกรรมจัดวาง site-specific ที่มีลักษณะคล้ายกับสถานศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยกระดานดำและเก้าอี้ไม้ยาวจัดวางไว้ งานชิ้นนี้พูดถึงประเด็นความทรงจำกับประวัติศาสตร์ผ่านยางพารา วัสดุที่ศิลปินมีความผูกพันส่วนตัว เพราะนอกจากมันเป็นผลิตผลที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวในวัยเด็กแล้ว ยางพาราคือสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


Danh Vō – 1650 W (2011)

โดยรวมแล้วนิทรรศการ Matter and Place ได้พาเราเข้าไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่แต่ละแห่ง ขณะที่บางชิ้นก็ทำการบอกเล่าด้วยวิธีการย้อนกลับไปหารากเหง้าและความดั้งเดิม อาจเป็นเพราะด้วยสาเหตุที่ว่า เราจะเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและคาดเดาถึงอนาคตได้นั้น คงต้องย้อนกลับไปทำความเข้าใจในอดีตที่ผ่านมาเสียก่อน

นิทรรศการ Matter and Place จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน – 21 กรกฎาคม 2562 ที่ Museum MACAN จาการ์ตา อินโดนีเซีย


FX Harsono – Wipe Out #1 (2011)

Inevitably, one of the challenges of putting together an art exhibition is finding a narrative or installation method that will always keep it interesting and relevant. “The exhibition imagines a view of Anthropocene” is what Aaron Zeeto mentions in his statement about ‘Matter and Place’, the exhibition currently held at Museum MACAN in Jakarta where he reigns as the Director.

The works featured in this exhibition tend to imagine the epoch through the presentation of historical, economic, racial and identity-related issues. The concept of anthropocene has brought up a number of debates for the fact that it separates human from nature and positions human presence and impacts at the center of everything. Each artist uses his/her hometown as the starting point while some explore nature as an integral part of human existence.


Theaster Gates – A Transgressive Wyoming (2017)

The exhibition brings together artworks by six Indonesian and international artists (Andra Matin, Shooshie Sulaiman, Danh Vō, FX Harsono, Genevieve Chua and Theaster Gates). With Elevation (2018), Andra Matin, Indonesian architect, presents the history of his country through the installation of a large-scale architectural structure within the exhibition space of the museum. Local materials and traditional Indonesian craftsmanship skills are utilized for the making of the different compositions of the piece, from the spiral staircase made of jabon trees to the woven, knitted and joined rattan surface of the gable and walls using local textile’s weaving techniques.

Another interestingly interactive work is Rubber Kindergarten (2019) by Malaysian artist, Shooshie Sulaiman. The site-specific installation reminisces the space of a classroom with the presence of a blackboard and long wooden benches. The work discusses memories and history through the rubber, the material that is not only a significant part of the artist’s childhood memories as the primary source of living of her family but also one of Southeast Asian region’s most important exported products.


Andra Matin – Elevation (2018)

As ‘Matter and Place’ takes viewers on a journey into the history of places, some of the works’ storytelling approach is a return to the very root and origin of it all. Perhaps it takes one’s understanding of the past to comprehend the present and speculate the future.

Matter and Place will run until 21 July 2019. Museum MACAN, Jakarta, Indonesia.

museummacan.org

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *