WHAT’S GOING ON IN ARCHITECTURE, DESIGN AND THE ART SCENE AROUND THE WORLD. LET’S SEE ON ART4D WRAP UP WEEKLY
PATTANI DECODED
ในระยะที่ผ่านมา แวดวงศิลปะและวัฒนธรรมในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ นับว่ามีบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก พอๆ กับการตื่นตัวของคนจากนอกพื้นที่ เมื่อปีที่ผ่านมา RE/FORM/ING PATANI หนึ่งในพาวิลเลียนของเทศกาล Bangkok Biennal ก็ถือเป็นงานที่ดึงกลุ่มผู้ชมศิลปะจากเมืองหลวงลงไปยังพื้นที่ได้ไม่น้อยทีเดียว และล่าสุดนี้ก็เป็นทีของกลุ่มนักออกแบบและคนทำงานสร้างสรรค์ที่จะได้ลองชิมลางมาจัดกิจกรรมดูบ้าง โดยความร่วมมือกันระหว่างกลุ่ม Melayu Living และองค์กรเครือข่าย ร่วมจัดงาน ‘Pattani Decoded’ หรือ ‘เทศกาลถอดรหัสปัตตานี’ พื้นที่ที่เกิดจากการรวบรวมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์หลากหลายหมวดหมู่ ที่จะมาร่วมกันกะเทาะความคิดผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อถอดรหัส “ความเป็นปัตตานี” ในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
เทศกาลนี้จะจัดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ บนสามเส้นถนน ‘อา-รมย์-ดี’ (อาเนาะรู ปัตตานีภิรมย์ และฤาดี) ภายใต้แนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับงาน design festival ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรม Creative Talk ร่วมกับ keynote speaker จากหลายสาขา นิทรรศการงานออกแบบและศิลปะ การติดตั้งงานอินสตอลเลชั่นในพื้นที่สาธารณะ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับศิลปิน ดีไซเนอร์ และคนทำงานในด้านต่างๆ รวมไปถึง Creative Market ตลาดงานสร้างสรรค์ (เราได้ยินมาว่าไฮไลท์คือบรรดาอาหารพื้นถิ่น) นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมประกวดแบบภายใต้หัวข้อ ‘To Create Healthy and Happy Environment’ ที่เปิดให้นักศึกษาและบุคคลทั่วไปมาร่วมแชร์ไอเดียที่จะร่วมขับเคลื่อนเมืองไปด้วยกัน (รายละเอียดเพิ่มเติมทาง http://bit.ly/31Iergk)
เทศกาลถอดรหัสปัตตานี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 – 1 กันยายน 2562 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง bit.ly/pattani-decoded
BAAN NONTHABURI
‘Baan Nonthaburi’ เป็นอาคารศาลาต่อเติมขนาดเกือบ 400 ตารางเมตร ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะให้เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น ฟิตเนส สระว่ายน้ำ ซาวน่า ห้องอาบน้ำ และพื้นที่สำหรับพักผ่อน ด้วยความที่พื้นที่ภายในและภายนอกอาคารเชื่อมถึงกัน สิ่งที่ Plan Architect ผู้ออกแบบนั้นคำนึงถึงเป็นอย่างแรกก็คือสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร อ่านได้ ที่นี่
‘Baan Nonthaburi’ is a 400-square meter pavilion built to accommodate the functionalities of a fitness, swimming pool, saunas and recreational area. With the interior and exterior spaces physically connected, what Plan Architect, the project’s architect, prioritizes is the outside environment. Read here.
CONTEXT STUDIO
Context Studio คือสตูดิโอออกแบบภายในที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 โดย บดินทร์ พลางกูร นอกเหนือไปจากคอนเซ็ปต์ในการทำงานที่คำนึงถึงบริบทและตัวตนของลูกค้าเป็นหลักแล้ว สิ่งหนึ่งที่เรามักจะพบอยู่เสมอในแต่ละงานของ Context Studio ก็คือการนำวัสดุธรรมชาติเข้ามาใช้ในการออกแบบได้อย่างลงตัว อ่านได้ ที่นี่
Context Studio, an interior design studio was founded in 2016, by Badintra Balakura. In addition to the concept of work, taking into the context and the personality of the client, one thing that we always find in each of Context Studio’s work is how they use natural materials into the design perfectly. Read here.
HIGH RISE
รูปทรงต่างๆ ของบ้านที่เกิดขึ้นในระยะรอยต่อระหว่างทศวรรษ 1990 – 2000 ในบ้านเรา ต่างมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความหนาแน่นของประชากร เศรษฐกิจ มูลค่าที่ดิน รวมทั้งรสนิยมต่อที่พักอาศัย (ซึ่งในปัจจุบันก็ดูไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไรนัก) อาคารรูปทรงแปลกตาหลังนี้ ที่ออกแบบโดย บัณฑิต จุลาสัย อาจจะเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงวิถีการอยู่อาศัยของคนไทยในช่วงเวลานั้น อ่านได้ ที่นี่
Innovative forms of housing have emerged in late 1990s – early 2000 had response to a host of social, demographic, economic, land use and aesthetic changes. This strange-looking building designed by Bundit Chulasai, may be the answer to the changes in the Thai way of living in that time. Read here.