WHAT’S GOING ON IN ARCHITECTURE, DESIGN AND THE ART SCENE AROUND THE WORLD. LET’S SEE ON ART4D WRAP UP WEEKLY
MAIN IMAGE: © LEONARDO FINOTTI
RIBA INTERNATIONAL AWARDS 2020: OPEN FOR ENTRIES
The Royal Institute of British Architects (RIBA) กำลังเปิดรับผลงานเข้าร่วมการคัดเลือก ในรางวัล RIBA International Awards 2020 ซึ่งเป็นรางวัลที่เปิดให้สถาปนิกจากนอกสหราชอาณาจักรส่งผลงานเข้าร่วม (ไม่กำหนดขนาดและงบประมาณการก่อสร้าง) โดยจะมอบให้กับอาคารที่ “เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมการออกแบบที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบอย่างยั่งยืน และส่งผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างแหลมคม”
RIBA International Awards เป็นรางวัลที่จัดขึ้นทุกๆ สองปี โดยแบ่งรางวัลออกเป็น 3 หมวดด้วยกัน ได้แก่:
1) RIBA International Awards for Excellence 2) RIBA International Prize และ 3) RIBA International Emerging Architect Prize
RIBA International Awards for Excellence คือ รางวัลที่มอบให้กับอาคาร 20 แห่งทั่วโลก ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการขยับขยายขอบเขตทางสถาปัตยกรรมได้อย่างโดดเด่น ส่วน RIBA International Emerging Architect Prize นั้น เป็นรางวัลที่จะมอบให้กับสถาปนิกที่มีส่วนสำคัญในแวดวงสถาปัตยกรรม โดยพิจารณาจากแนวคิดและวิธีการทำงาน ที่สะท้อนให้เห็นความสามารถและการฝึกฝนที่ใช้ระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกและพิจารณาผลงานในปีนี้ นำโดย Odile Decq (ผู้ก่อตั้ง Studio Odile Decq)
สำหรับ RIBA International Awards ครั้งที่ผ่านมา ผลงานที่ได้รับรางวัลบางโครงการอาจเคยผ่านตาเรามากันบ้างแล้ว เช่น งานออกแบบอาคารมหาวิทยาลัย UTEC (Universidad de Ingeniería y Tecnología) ในเมือง Lima ประเทศเปรู โดย Grafton Architects และ Children Village โปรเจ็คต์ออกแบบคอมเพล็กซ์อาคารแหล่งเรียนรู้ โดย Rosenbaum + Aleph Zero ที่แทรกตัวอยู่ริมขอบป่าอเมซอน ทางตอนเหนือของบราซิลได้อย่างกลมกลืน
RIBA International Awards จะเปิดรับผลงานจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม นี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง http://bit.ly/2m5yy9m
TO BLEND OR NOT TO BLEND
ร้าน OOObkk เป็นโปรเจ็คต์ล่าสุดที่ SO ออกแบบประสบการณ์โดยการสร้างความต่อเนื่องกันระหว่างประสาทสัมผัสทั้งห้า เริ่มจากรูปลักษณ์ที่มองเห็นได้ทางสายตา รสชาติและกลิ่นของกาแฟ เสียงเพลงร่วมสมัย และสัมผัสพิเศษที่ต้องอาศัยความชำนาญของนักออกแบบร่วมกับกลุ่มเจ้าของที่มีความเข้าใจวัฒนธรรมคาเฟ่ที่มีความเคลื่อนไหวแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเป็นอย่างดี อ่านได้ ที่นี่
The recent brainchild design of SO has managed to deliver is the recreation of the five senses and the special touch that is materialized from the designer’s expertise and the owners’ true understanding in the ever-changing cafe culture. Read here.
SUBCULTURE OF WASTE PICKERS AND REUSABLE WASTE CARRIERS
งานศึกษาชิ้นนี้ให้ความสนใจกับความหลากหลายและแตกต่างของวัฒนธรรมในสังคม และเน้นไปที่ความเป็น “วัฒนธรรมย่อย” (subculture) ของกลุ่มคนชายขอบที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ “คนคุ้ยขยะและรับซื้อของเก่า” (waste pickers and reusable waste carrier) ที่มีรูปแบบของวิถีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และที่สำคัญคือการสะท้อนผ่านความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่มอย่างชัดเจน อ่านได้ ที่นี่
The targeted subject of the study is a group of waste pickers and reusable waste carriers whose lifestyle, which is closely associated to what they do for a living, do not only depict a unique cultural pattern, but is clearly reflected through the relationship between culture and architecture that portrays the group’s distinct identity. Read here.
PHOTO ESSAY : LIFE – TIME – CULTURE
ชุดภาพถ่าย Life – Time – Culture โดยศรัณย์ ศรีธวัชพงศ์ สถาปนิกและช่างภาพสมัครเล่น ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันของสิ่งใหม่และเก่าที่ “แปลกหูแปลกตา แต่ไม่ประหลาด มันกลับดูส่งเสริม และลงตัวด้วยซ้ำในบางที” อ่านได้ ที่นี่
A set of photo essay entitled ‘Life – Time – Culture’ by architect and amateur photographer, Saran Srithawatpong, centers around this topic. It is about the way historical and contemporary places meet and mingle, becoming something different, not as an alienated space, but rather a complementing, fitting, and so perfectly fused area. Read here.