WRAP UP, 25.10.19

WHAT’S GOING ON IN ARCHITECTURE, DESIGN AND THE ART SCENE AROUND THE WORLD. LET’S SEE ON ART4D WRAP UP WEEKLY

MAIN IMAGE COURTESY OF LUCY MCRAE / PHOTO: SCOTTIE CAMERON

FRAC CENTRE-VAL DE LOIRE: YEARS OF SOLITUDE

TEXT: KANOKWAN TRAKULYINGCHAROEN

https://www.facebook.com/FracCentreValdeLoire/


ถ้าเราจะพูดถึงงานเบียนนาเล่ที่โฟกัสกับเรื่องสถาปัตยกรรมที่มีแนวคิดแบบถอนรากถอนโคนกับระเบียบที่โมเดิร์นนิซึ่มเซตไว้ให้ หรือ radical architecture กันแล้ว ชื่อของ Frac หรือกองทุนระดับภูมิภาคสำหรับศิลปะร่วมสมัย (Fonds Régional d’Art Contemporain) ถือเป็นจุดอ้างอิงสำหรับโลกสถาปัตยกรรมและศิลปะร่วมสมัยของยุโรป ภาพที่ใครที่คุ้นเคยกับกระแสการถกเถียงทางสถาปัตยกรรมในปลายทศวรรษ 1990 ยังจำกันได้ก็คงหนีไม่พ้นงานประชุมนานาชาติ ArchiLab ครั้งแรกในปี 1999 ที่ Frac เป็นเจ้าภาพ เพราะครั้งนั้นถือเป็นการเริ่มคุยกันเป็นวงกว้างอย่างจริงจังครั้งแรกๆ ถึงเทคโนโลยีดิจิตอลและศักยภาพของมันในการนำมาใช้ทำงานออกแบบ

เมื่อสองปีที่แล้ว Frac ได้เริ่มจัดงานเบียนนาเล่ของตัวเองขึ้นมา โดยตั้งใจใช้เป็นโอกาสในการจัดแสดงให้สาธารณชนได้ชมคอลเลคชั่นสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง (experimental architecture) ของ Frac ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก “ความสามารถในการอยู่อย่างโดดเดี่ยว คือ บททดสอบของศตวรรษนี้ งานเบียนนาเล่ครั้งนี้คือการเรียกหาหมู่เกาะแห่งความโดดเดี่ยว” คือแก่นหลักที่คิวเรเตอร์หลักทั้งสองอย่าง Abdelkader Damani และ Luca Galofaro ใช้อธิบายจุดยืนของพวกเขาในการจัดเบียนนาเล่ครั้งที่สอง โดยมีรองคิวเรเตอร์อีกหกคนมาช่วยแตกเรื่องเล่าของความโดดเดี่ยวให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น

เนื้อหางานครั้งนี้ไล่เรียงเกาะเกี่ยวไปตามหมู่เกาะของพื้นที่แห่งความโดดเดี่ยวที่เดิมเป็นชายขอบของโลกสถาปัตยกรรม โดยเริ่มจาก Dream Seen Up Close ที่เล่าถึงความโดดเดี่ยวของกลุ่มสถาปนิก Arquitetura Nova ที่เผชิญหน้าปะทะกับเผด็จการของบราซิลในปี 1964-1985 มาที่ My Creations Will Speak for Me การตีความผลงานในแอลจีเรียของสถาปนิกฝรั่งเศส Fernand Pouillon ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของการมีคอมมิตเมนต์ทางการเมืองของสถาปนิกคนหนึ่ง ต่อด้วย This land’s unknown พื้นที่ที่รวมผลงานจากศิลปินและสถาปนิกอาหรับที่เกี่ยวเนื่องกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองในอาหรับ จนมาถึง From Solitude to Desolation การวิเคราะห์อย่างแหลมคมเกี่ยวกับเม็กซิโกในปัจจุบัน ก่อนจะมาจบที่ The Architectural Beast ที่เป็นเรื่องของระบบของการผสมผสานกลายพันธุ์ ที่เปิดโอกาสให้สิ่งมีชีวิตทางสถาปัตยกรรมปลดปล่อยตัวเองออกจากผู้ที่สร้างมันขึ้นมา

งานเบียนนาเล่สถาปัตยกรรมแห่งออร์เลอองครั้งที่สอง Years of Solitude จัดแสดงที่ Frac Centre-Val de Loire และอีก 13 สถานที่จัดแสดงในสามเมือง Orléans, Orléans-La Source และ Azay-le-Rideau ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม ปีนี้ ถึง 19 มกราคม 2563

www.frac-centre.fr

OUR SECOND HOME

Samyan CO-OP Co-learning space แห่งล่าสุดผลงานออกแบบโดย onion นอกจากจะให้ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และความคล่องตัวในการใช้พื้นที่ ที่นี่ยังเป็นที่ที่เราสามารถใช้ชีวิตและเรียนรู้ไปกับไอเดียใหม่ๆ พร้อมกับผู้ใช้พื้นที่คนอื่นๆ อ่านได้ ที่นี่

The recent Co-learning space designed by     onion            not only provides us with a comfortable, safe and functional place to work in but also acts as a space where we can live and learn about new ideas with other users. Read here.

SUPAR STUDIO

Supar Studio เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2019 โดย สุวภัทร ชูดวง สิ่งที่เราคิดว่าน่าสนใจในงานออกแบบสถาปัตยกรรมหลายๆ โครงการของพวกเขาก็คือ การแสดงให้เห็นถึงวิธีการออกแบบแบบ ‘humanistic architecture’ ที่ผสานเอาความเป็นมนุษย์ (ผู้ใช้งาน) กับสภาพแวดล้อมโดยรอบไว้ภายในพื้นที่ได้อย่างลงตัว อ่านได้ ที่นี่

Supar Studio is an architecture design studio founded in 2019 by Suvapat Choodoung. What we are interested in this studio is the way they express the emphasis of ‘humanistic architecture’ in a various architectural projects. Read here.

WITHIT CHANTHAMARIT

ศิลปินภาพถ่าย location manager ประจำกองถ่ายภาพยนตร์ และเจ้าของร้านหนังสือมือสอง ทั้งหมดนี้คือบทบาทที่ วิทิต จันทามฤต กำลังทำมันไปพร้อมๆ กัน อ่านเรื่องราวของเขาได้ ที่นี่

Artist, film location manager, bookshop owner, these are the roles that Withit Chanthamarit is currently taking on. Read  here.

VENTILATION BLOCK

คุณสมบัติเด่นของวัสดุ ‘VentBlock’ หรืออิฐบล็อกช่องลม คือการสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งาน ขณะที่ยังสามารถปล่อยให้แสงแดดและลมธรรมชาติลอดผ่านได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความสว่างและปลอดโปร่งให้พื้นที่ภายในเท่านั้น แต่ยังส่งผลในเรื่องของการประหยัดพลังงานได้ในตัว อ่านได้ ที่นี่

One of the distinctive physical qualities of VentBlock is its ability to provide users with a sense of privacy, while still incorporating natural light and wind, which collectively delivers a brighter and airier interior functional space and overall mood. On top of that, the material also contributes to the building’s energy-saving ability. Read here.

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *