3-ACT

A TRIANNUAL BILINGUAL MAGAZINE FROM OUR NEIGHBORING COUNTRY DISCUSSES MYANMAR’S FILMS, FILM INDUSTRY, FILM AUDIENCES AND FILM STUDIES

TEXT: NAPAT CHARITBUTRA
PHOTO COURTESY OF 3-ACT MAGAZINE

(For English, press here)

นิตยสารรายสามเดือน สองภาษา จากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ว่าด้วยภาพยนตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ คนดูภาพยนตร์ และการศึกษาด้านภาพยนตร์ของประเทศเมียนมาร์

3-ACT ก่อตั้งโดย Moe Myat May Zarchi ผู้กำกับและผู้จัดเทศกาลภาพยนตร์รุ่นใหม่ (อายุเพียง 25 ปี) และ Aung Phyoe นักเขียนและผู้กำกับ พวกเขามีแผนจะทำ 3-ACT ทั้งหมดเพียง เล่ม วางแผงปีละ เล่ม โดยฉบับแรกมีชื่อธีมว่า Cinema is not dead but not alive (1/2018) ซึ่งเปิดเล่มด้วยบทความ Hatching Burmese New Wave Cinema โดย Tin Htet Paing Assistance Editor แห่ง Myanmar Now (สำนักข่าวอิสระ) ที่ผู้เขียนพยายามนิยาม New Wave Cinema ของเมียนมาร์ 

ถือได้ว่าครบ 100 ปี พอดีสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเมียนมาร์ที่เริ่มต้นในปี 1920 ยุคทองของอุตสาหกรรมภาพยนต์เมียนมาร์เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 ถึง ปลาย 1970 อย่างไรก็ดีหลังจากการปกครองโดยรัฐบาลทหารเผด็จการ อุตสาหกรรมภาพยนต์ของเมียนมาร์ก็ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาดังเก่า ผู้เขียนให้ความเห็นว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมภาพยนตร์เต็มไปด้วย หนังที่ถูก commercialize ให้ตอบโจทย์นายทุน จนสูญเสียความเป็นศิลปะ ไม่มีการเขียนสคริปต์อย่างจริงจัง และที่สำคัญคือสูญเสียความสามารถในการกระตุ้นความคิด เปิดมุมมองบางอย่างให้กับคนดู

อีกประเด็นที่คาดเดากันได้คือเรื่องการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล หลังจากปี 2005 การสนับสนุนของ Yangon Film School (YFS) กลายเป็นกำลังหลักในการบ่มเพาะนักทำหนัง และที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ บทบาทของผู้กำกับสารคดีหลายๆ คน ในการนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาให้กับชาวเมียนมาร์  (เมื่อสำนักข่าวเชื่อถือไม่ได้ 100%) ที่เริ่มเด่นชัด เช่น ภาพเหตุการณ์ที่แท้จริงของวิกฤติการณ์ในประเทศจากการมาถึงของพายุ Nargis ใน “Nargis – When Time Stopped Breathing” ภาพยนต์สารคดีที่ถูกสั่งห้ามฉายทันทีในประเทศ 

ปี 2010 เป็นต้นมา เมื่อการปกครองระบบรัฐสภาเกิดขึ้นจริงในเมียนมาร์ ศิลปะภาพยนตร์เริ่มกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเกิดเทศกาลภาพยนตร์ตามมาหลายๆ รายการจนกลายเป็น platform ชั้นดี ให้เกิดการขยายตัวของผู้ทำหนังมากไปกว่าแค่ศิษย์เก่าของ Yangon Film School (YFS) เช่นเดียวกันกับการเกิดขึ้นของร้านเช่า VDO ที่ทำให้นักทำหนังรุ่นใหม่ๆ ได้เสพภาพยนตร์ต่างชาติมากขึ้น

นิตยสาร 3-ACT เช่นเดียวกัน ที่เป็นผลมาจากการออกสตาร์ทใหม่ของวงการในปี 2010 ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้คงจะพอจับทิศทางของเนื้อหาได้คร่าวๆ แล้วว่ามีความเข้มข้น (และถ้าอ่านจบคงจะได้ความรู้ไม่น้อย) สำหรับคนที่กลัวว่าในเล่มจะมีแต่ text ในเล่มยังประกอบไปด้วยคอลัมน์ต่างๆ เช่น photo essay และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างที่บอกไปว่าวงการภาพยนตร์เมียนมาร์พร้อมเปิดให้เราเข้าไปสำรวจแล้ววันนี้ 3-ACT กำลังเปิดให้ดาวน์โหลด e-magazine 4 ฉบับ ฟรีๆ กันได้ ที่นี่

fb.com/3actmyanmar

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *