THE GENTLE STEEL

WITH SYS (SIAM YAMATO STEEL) STEELS BEING USED AT ITS CORE, THIS PROJECT DESIGNED BY WALLLASIA + KYAI&SURIYA ARCHITECTURE HAS CHANGED OUR PERCEPTION OF STEEL FOREVER

TEXT: NAPAT CHARITBUTRA
PHOTO: SPACESHIFT STUDIO

(For English, press here)

การเปิดโรงแรมในเมืองรอง หรือเมืองทางผ่านที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ แต่ไม่ไกลพอจะให้นอนพักสักคืนหนึ่ง อาจเป็นเรื่องที่เสี่ยงพอตัวในแง่การทำธุรกิจ แต่พร้อมๆ กันนั้นมันก็ไม่เสี่ยงอะไรเลยเพราะแทบจะไม่มีคู่แข่งในพื้นที่ และเมื่อผู้ลงทุนนั้นเป็นคนในพื้นที่ที่มี DNA ของจังหวัดไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย ในปริมาณพอๆ กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

Oui J’aime (อุ้ยแจม) เป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มี ปิยะพร ตันคงคารัตน์ ทายาทรุ่นที่สามแห่ง “ตั้ง เซ่ง จั้ว” แบรนด์ขนมเปี๊ยะ ของฝากขึ้นชื่อจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นผู้ก่อตั้ง และได้ สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ และ ขยาย นุ้ยจันทร์ สถาปนิกจาก Walllasia + Kyai&Suriya Architecture มาเป็นผู้ออกแบบอาคารสูง 4 ชั้น บนพล็อตที่ดินที่มีพื้นที่จำกัดริมถนนสิริโสธร (กว้าง 30 เมตร แต่แคบเพียง 7 เมตร และส่วนที่แคบที่สุดคือ 3 เมตร)

ในด้านรายละเอียดการก่อสร้างนั้น เหล็กรูปพรรณจาก SYS (Siam Yamato Steel) ถูกนำมาใช้กับโครงสร้างอาคารทั้งหมด และ กลายมาเป็น motif ของการออกแบบทั้งภายนอกและภายในอาคาร ไล่ไปตั้งแต่ façade เหล็กพับเจาะรูที่ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว ไปจนถึงงานออกแบบสเกลเล็กๆ อย่างเช่น กระถางต้นไม้ รางน้ำ เฟอร์นิเจอร์ที่ประยุกต์มาจากเหล็กรูปพรรณภายในห้องพัก ฯลฯ สุริยะบอกกับ art4d ว่า สิ่งที่เขาทดลองทำในครั้งนี้คือการทำให้ เหล็กดู “นุ่มนวล” มากขึ้นด้วยการทำให้มันเป็นสนิม “เมื่อนึกถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ผมนึกถึงบ้านไม้เก่าของคนจีนริมแม่น้ำบางปะกง ผมไม่ได้เอาไอเดียนี้มาใช้ตรงไปตรงมา แต่รู้สึกได้ว่าเหล็กที่เป็นสนิม เวลาดูรวมๆ แล้วมันเหมือนไม้เก่าๆ”

art4d VISIT: Oui J’aime X Walllasia

art4d VISIT: Oui J’aime X WalllasiaOui J’aime โรงแรมขนาดเล็กที่ถูกจำกัดด้วยเนื้อที่ แต่มีรายละเอียดของการออกแบบและวัสดุที่ถูกคิดอย่างลึกซึ้งให้เข้ากับบริบทมากที่สุด.art4d VISIT ครั้งนี้ได้ไปพูดคุยกับ อุ้ย–ปิยะพร ตันคงคารัตน์ เจ้าของ Oui J’aime ถึงจุดเริ่มต้นของโรงแรม และสถาปนิกผู้ออกแบบ สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ ถึงแนวคิดการออกแบบและการเลือกใช้เหล็กเป็นวัสดุหลักของโครงการ–Oui J’aime hotel, a limitation in space and unusual site dimension. However, hotel is designed to correspond with the site and created with unique material structure. .In this art4d VISIT, we talks with Piyaporn Tonkongkarat, founder of Oui J’aime and Suriya Umpansirirattana, an architect about how the building is designed as well as the concept of metal structure.–Walllasia + Kyai&Suriya Architecture #Walllasia #SuriyaUmpunsirirattana #OuiJaime #OuiJaimeChachoengsao #SYS #SYSSteel #SteelSolutionBySYS SYS Steel#art4dVISIT #art4d

Posted by art4d on Tuesday, March 3, 2020


นอกเหนือไปจากการพับ ตัด เจาะ และขึ้นรูปเป็นลายจีนรูปแบบต่างๆ เพื่ออ้างอิงไปถึงรากเหง้าของบริบทของจังหวัดฉะเชิงเทรา “สุนทรียะของเหล็ก” ซึ่งเป็นคาแร็คเตอร์สำคัญของโครงการ ยังถูกนำเสนอผ่านกลิ่นอายดิบๆ ของพื้นที่กึ่งเปิดกึ่งปิดที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่โรงแรม (แม้กระทั่งในห้องพัก) รวมไปถึง การนำมาเข้าคู่กับของที่นุ่มนวลที่สุดอย่าง “น้ำ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพื้นผิวด้านบนของกันสาดชั้น 1 ที่ทำหน้าที่เป็น landscape บ่อน้ำของ multi-purpose space บริเวณชั้น 2 หรือกระทั่งการปลูกต้นไม้หน้าอาคาร ที่นอกจากจะทำหน้าที่เป็น buffer zone ช่วยลดทอนความวุ่นวายภายนอกที่จะเข้ามาสู่อาคาร ต้นไม้เหล่านั้นยังทำให้เกิดความต่อเนื่องของ “พื้นที่สีเขียว” จากริมถนนไปสู่พล็อตพื้นที่รกร้างด้านหลังโครงการ เป็นผลให้เมื่อมองจากริมถนน อาคารด้านทิศใต้ที่มีความลึกเพียงแค่ 3 เมตร นั้นแทบจะกลืนหายไปกับบริบทที่ตั้งอย่างนุ่มนวล

“จำได้ว่า ตอนนั้นพี่สุริยะเพิ่งกลับจากไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่น พี่เขาบอกว่า ถึงแม้ที่นั่นพื้นที่จะเล็กแต่มันก็มีเสน่ห์บางอย่าง และโปรเจ็คต์นี้ก็มายืนยันคำพูดของพี่เขาจริงๆ ว่า คุณภาพของสถาปัตยกรรมนั้นไม่ได้วัดกันที่ขนาด” ปิยะพรทิ้งท้ายกับ art4d

syssteel.com
walllasia.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *