KHAO SAN HIDE AND SEEK


LET’S CONTINUE WITH THE POST-LOCKDOWN EAGERNESS FOR OFFLINE EXHIBITIONS WITH “KHAO SAN HIDE AND SEEK”, THE EVENT THAT INVITES EVERYONE TO REVISIT BANGKOK’S FAMOUS ROAD

TEXT: RACHADAPORN HEMJINDA
PHOTO: NAPAT CHARITBUTRA

(For English, press here)

ต่อเนื่องแบบไม่หยุดพัก (ก่อนโควิดจะกลับมาอีกครั้ง) กับงาน Khao San Hide and Seek | เข้าซอย ข้าวสารที่ชวนเราไปเที่ยวข้าวสารอีกครั้ง จากถนนที่ถูกบดบังด้วยความคึกคักของร้านค้าและผู้คนในยามค่ำคืน ปัจจุบันข้าวสารโล่งขึ้นด้วยนักท่องเที่ยวที่บางตาลง อย่างไรก็ดี ในความเงียบเหงาและว่างเปล่า เรื่องราวบางอย่างกลับปรากฏชัดเจนขึ้นอีกครั้ง

นิทรรศการ New World x Old Town ในช่วงเดือนมิถุนายน กลายเป็นการจุดชนวนให้คนกลับมาสนใจและพูดถึงห้างที่ถูกทิ้งร้างมานานหลายสิบปีใจกลางย่านบางลำพูนามว่านิวเวิลด์งาน PAK KHLONG STRIKE BACK! ที่เพิ่งผ่านมาล่าสุด ที่ใช้วิธีการออกแบบกิจกรรมและประสบการณ์ที่พาคนเข้ามาตามหาดอกไม้ในโลกเสมือนและทำความรู้จักมนุษย์ปากคลองผ่านนิทรรศการภาพถ่าย ก็สร้างความคึกคักให้ย่านแห่งนี้ไม่น้อยหลังจากที่เงียบเหงาและซบเซาจากสถานการณ์ COVID-19

วิธีการพาคนไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ของย่านแบบที่ได้เห็นของจริงและได้เจอคนตัวเป็นๆ ผ่านนิทรรศการในพื้นที่จริง เป็นกลยุทธ์สำคัญของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำทีมโดย ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร ร่วมมือกับนักศึกษาและนักออกแบบในพื้นที่ โดยนอกเหนือไปจากการสร้างจุดเช็คอินใหม่ (จนคนแห่ไปถ่ายรูปลงโซเชี่ยลกันถล่มทลาย) และสร้างแรงจูงใจ พาคนออกมาเดิน ออกมาซื้อของ ออกมาท่องเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่ห้างสรรพสินค้า เป้าหมายของการทำงานของพวกเขา คือการสร้างความตระหนักรู้ในเชิงพื้นที่และการสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกับชุมชน ได้รู้จักตัวตนของแต่ละย่านที่มีเสน่ห์ต่างกัน และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่อยู่นอกตำรา

กิจกรรม “Khao San Hide and Seek | เข้าซอย ข้าวสารเมื่อวันที่ 6-15 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา เกิดจากความร่วมมือของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ .ศิลปากร (Arch SU) x ชมรมเกสรลำพู x ประชาคมบางลำพู x ไกด์ เด็กบางลำพู x สมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร x คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ L&E Lighting & Equipment

เรียกได้ว่ากับงานนี้ ทั้งคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ต่างเข้ามามีส่วนร่วมในการทำให้ข้าวสารที่กำลังซบเซาเนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19 กลับมามีชีวิตด้วยแสงสีและความบันเทิงอีกครั้ง Khao San Hide and Seek มีไฮไลท์อยู่ที่ lighting installation จำนวน 8 จุด ไล่ตั้งแต่หัวถนนข้าวสารฝั่งสี่แยกคอกวัว จาก Brick Bar จนถึงโรงแรม D&D Inn Bangkok ซึ่งสถานที่จัดงานทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นกิจการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เต็มๆ

โรงเรียนมวยไทยนี่แทบจะปิดไปเลย เช่นเดียวกันกับแผงร้านค้าที่พอขาดลูกค้าต่างชาติแล้วอยู่ไม่ได้ เราจำได้ว่าครั้งแรกที่มาเดินข้าวสารหลัง COVID-19 มันสะเทือนใจมากคือมันแทบไม่มีคนเดินเลยนั่นเป็นภาพที่เราแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง จากถนนที่คนแน่นขนัดจนเดินลำบากตอนนี้กลับไร้ผู้คน

ผศ.ดร.สุพิชชา ยังบอกกับ art4d อีกว่าแต่มันทำให้เราได้เห็นบางอย่างที่เราไม่เคยเห็น เราไม่ได้พยายามจะ romanticise ความซบเซานี้นะ เพราะสิ่งที่เราเห็นคือผู้คนมหาศาลที่อยู่เบื้องหลังแสงสีเสียงที่ตอนนี้เงียบลงนี่เองที่เป็นเหตุผลที่ ถ้าใครไปเดินงานแล้วสังเกตดีๆ จะมองเห็นผู้คนเหล่านั้นในกรอบภาพที่แขวนมาจากเพดาน จอ LED ที่แปะอยู่ตามตรอกซอกซอยนับสิบๆ เฟรม เป็นภาพพอร์ตเทรตของผู้คนที่เราอาจจะคุ้นตาไม่เคยรู้จักมาก่อน ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะได้รู้จักกับพวกเขามากขึ้น

ในแง่ของ visual impact งาน lighting installation ที่เล่นกับความเป็นข้าวสารได้อย่างน่าสนใจมีอยู่ 5 ชิ้นหลักๆ Awakenโดย The Atelier 58 เปิด MUAYTHAI FIGHT CLUB ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง คราวนี้ไม่มีคนมารอต่อคิวขึ้นชก แต่เป็นกิจกรรมยอดฮิตในศตวรรษนั่นคือการต่อคิวขึ้นไปถ่ายรูปบนเวทีมวย WIRE KNOT STUDIOs ย้อนไปไกลกว่านั้น กลับไปพูดถึงลักษณะทางกายภาพเดิมของตรอกๆ หนึ่งในถนนข้าวสารที่เป็นเคยเป็นคลองมาก่อน ‘Chao Phraya Ambient’ เป็น กลองไฟฟ้าตั้งอยู่กลางซอยให้คนมาตีเล่นได้ โดยเสียงกลองจะสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับน้ำในถาดที่แขวนอยู่บนเพดาน ที่จะสะท้อนลงเป็นเงากระเพื่อมของสายน้ำบนถนนด้วยแสงไฟ

‘After Party’ โดย A MILLIMETRE อยู่ที่อาคาร Buddy Lodge งานนี้ดีไซเนอร์ลงทุนเรียงขวดเบียร์สีเขียวแบรนด์ดังนับพันขวดบนบันไดและริมทางเดินจนแน่นขนัด เพื่อสะท้อนไปถึงบรรยากาศของข้าวสารหลังปาร์ตี้จบที่เราคุ้นตากันดี ‘MISSING MATTERโดย PVWB studio งานนี้เอาของเล่นลูกไฟบินที่ยอดขายตอนนี้แทบจะเป็นศูนย์มาแขวนเป็นม่านไฟให้คนไปถ่ายรูปกัน ถือเป็นการประยุกต์เปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งานได้น่าสนใจ Empty Party: The Twilight Paradoxโดย Cloud-floor ถือเป็นงานออกแบบที่เล่นง่ายแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดี Cloud-floor เปลี่ยนล็อคขายของที่ไร้ผู้เช่ามาเป็น photo booth และวางองศาตัวอักษรเรืองแสง (ทำจากหลอดไฟ) ให้สามารถอ่านได้สองทิศทางขาเข้าอ่านได้ว่า Party / ขาออกอ่านได้ว่า Empty งานนี้ตั้งใจสื่อถึงสถานการณ์ทางการค้าของตรอกข้าวสารในปัจจุบัน

Khao San Hide and Seek จบลงไปแล้ววันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 วันของงาน ยังมีกิจกรรมอื่นๆ จัดขึ้นควบคู่ไปด้วยไม่ว่าจะเป็นงานเสวนากับคนในย่าน งานแสดงดนตรี การนำชมโดยไกด์เด็กบางลำพู และเวิร์คช็อปน่าอิจฉาทีมของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไม่น้อย ที่ปีนี้พวกเขาได้ทำงานกับไซต์ที่น่าสนใจตลอด ความแอคทีฟของ ผศ.ดร.สุพิชชา ในปีนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรม การออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ กับสังคมนั้นยังคงเดินอยู่ในเส้นทางเดียวกันอย่างต่อเนื่อง และเห็นได้ชัดมากๆ จากหลายโปรเจ็คต์ที่ผ่านมาของทีมนี้ ที่มีการ

สร้างเครือข่ายผู้คนในพื้นที่ ทั้งคนรุ่นใหม่และรุ่นเก๋า ถ้าเครือข่ายเหล่านี้คงความแอคทีฟแบบนี้ต่อไปได้ เชื่อว่าเราคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงดีๆ เกิดขึ้นในเร็ววัน

fb.com/บางลำพู-everyday

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *