THIS COMPACT-SIZED HOUSE SITED IN DOWNTOWN HO CHI MINH CITY IS MERELY 2.9 METERS WIDE. CURIOUS TO KNOW ABOUT MANY OTHER DETAILS OF THE HOUSE, ART4D TALKS WITH VIETNAMESE ARCHITECTURE FIRM, SAWADEESIGN, TO LOOK FURTHER INTO THE DESIGN OF THIS URBAN HOME
TEXT: SUTEE NAKARAKORNKUL
PHOTO: QUANG TRAN
(For English, press here)
บ้านไซส์เล็กใจกลางเมืองเวี
“ความปลอดภัย” และ “ความสงบ” คือโจทย์หลักในการออกแบบบ้านให้
ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกไม่แพ้กัน art4d เลยถือโอกาสนี้ คุยกับ sawadeesign ถึงรายละเอียดของโปรเจ็คต์นี้กั
art4d: เราไม่แน่ใจว่า เป็นเพราะไซต์ที่แคบและเล็ก คุณเลยนึกถึงการวางแปลนของเครื่องบิน หรือ เพราะเจ้าของบ้านเป็นนักบินคุณเลยวางแปลนเป็นเครื่องบินกันแน่?
sawadeesign: จริงๆ แล้วก็เป็นด้วยทั้งสองเหตุผล แต่มันไม่ได้เป็นสิ่งแรกที่เรานึกถึงตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่มของกระบวนการออกแบบ เรามีการพูดคุยกับลูกค้าอยู่หลายครั้ง และเขาก็บอกกับเราหลังจากการปรับแบบในครั้งที่ 3 ว่ามันดูเหมือนส่วนภายในของเครื่องบิน
art4d: อะไรคือเหตุผลหรือข้อจำกัด ที่ทำให้คุณออกแบบบ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียว?
sawadeesign: กระบวนการออกแบบนั้นกินเวลาประมาณหนึ่งปี ซึ่งมีการปรับแบบใหญ่ๆ อยู่สามครั้ง จากบ้านสามชั้น ไปเป็นสอง จนกระทั่งกลายเป็นบ้านหนึ่งชั้นในที่สุด จำนวนของชั้นนั้นถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดทางกฎหมายของรัฐ และในช่วงระหว่างการก่อสร้าง บ้านหลังนี้ก็ต้องเจอกับปัญหามากมายจากข้อกำหนดที่ว่า ความกว้างของหน้าบ้านนั้นอยู่แค่ที่ 2.97 เมตร และตามกฎหมายก่อสร้างของเวียดนามแล้ว มันจะสร้างสูงกว่าหนึ่งชั้นไม่ได้ ก็เลยเป็นที่มาของผลลัพธ์ที่เราเห็นกัน นั่นก็คือแบบบ้านชั้นเดียว
มีเสียงบ่นเยอะมากตอนที่เราแชร์ผลงานนี้บนโซเชียลมีเดียว่าทำไมเราไม่ออกแบบบ้านให้มีสามชั้นแบบคนอื่นๆ แล้วก็เพิ่มพื้นที่ใช้สอยเข้าไปให้มันมากกว่านี้ แต่พวกเขาไม่รู้เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังกัน ทางเจ้าของบ้านที่เป็นนักบินก็มีความต้องการเพิ่มเติมเข้ามาในตอนที่เราคุยกันถึงเรื่องดีไซน์ของบ้าน เช่น รูปทรงของห้องน้ำหลัก เพราะครอบครัวนี้แทบจะไม่ค่อยมีแขกมาเยี่ยมเยียน ก็เลยไม่จำเป็นจะต้องมีพื้นที่รองรับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนอื่นเท่าไหร่นัก เพราะฉะนั้น กำแพงที่กั้นห้องน้ำเลยถูกยกสูงขึ้นกว่าปกติ 200 มิลลิเมตร เผื่อในกรณีที่คุณแม่ของเจ้าของบ้าน (วัย 80 ปี) เกิดหกล้มในห้องน้ำขึ้นมา สมาชิกในบ้านจะได้มองเห็นได้
art4d: เราคิดว่าอากาศที่โฮจิมินห์ซิตี้ น่าจะร้อนพอๆ กับกรุงเทพฯ อยากให้คุณเล่าถึงการการนำเอาแสงธรรมชาติเข้
sawadeesign: ทฤษฎีในการระบายอากาศของบ้านหลังนี้ทำงานเหมือนกับท่อที่มีปากขนาดใหญ่หนึ่งท่อ และปลายท่อที่มีขนาดเล็กกว่าเพื่อที่จะได้เพิ่มแรงดันอากาศ โดยอากาศจะไหลเข้ามาที่บริเวณพื้นที่อยู่อาศัย เข้าสู่ห้องนอนทั้งสองห้อง และไหลออกไปที่ช่องว่างที่ตั้งอยู่ระหว่างห้องนอน นอกจากนี้เรายังติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ทำมาจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกแบบหนาร่วมกับฉนวนใยหินอีกด้วย