Tag: Renovation
PROUD OFFICE
BodinChapa Architects รีโนเวททาวน์โฮมให้เป็นออฟฟิศที่สามารถรองรับการขยายตัวของพนักงาน โดยสร้างความเชื่อมต่อให้ฟังก์ชันและพื้นที่ทั้งหมดผ่านการเก็บ เลือก และปัดฝุ่นโครงสร้างเดิม
URBAN JOY PLAYGROUND
TEXT: NATHATAI TANGCHADAKORN
PHOTO COURTESY OF ANANDA DEVELOPMENT
(For English, press here)
เมื่อสนามฟุตซอลที่ถูกรีโนเวทโดย ANANDA และพันธมิตร ร่วมกับ กทม. ถูกเติมแต่งลวดลายด้วยกราฟิกสีจัดจ้าน ประกอบกับการใช้เส้นสายที่เลื่อนไหลอย่างอิสระและรูปทรงเรขาคณิต ภาพถ่ายของสนามแห่งนี้จึงมีองค์ประกอบทางศิลปะสอดแทรกอยู่มากมาย
ความสวยงามของภาพชุดนี้ดูไปแล้วใกล้เคียงกับ minimalist photography ที่เรียบง่าย ทว่าความจริงแล้วมีความหมายของแต่ละสีอัดแน่นบนพื้นสนาม เนื่องจากที่นี่ตั้งใจวางตัวเป็นพื้นที่สาธารณะทางศิลปะของคนเมือง นักออกแบบจึงแฝงความหมายและแรงบันดาลใจเอาไว้ในทุกพื้นที่ และไม่ได้คำนึงถึงแต่ความสวยงามเท่านั้น เช่น สีฟ้าที่สร้างความรู้สึกโปร่งสบายและความสดชื่น ก็ถูกนำมาเป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Inspire & Urban’ หรือสีแดงที่สร้างความกระตือรือร้น ก็เป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Power & Energetic’ เป็นต้น
ความหมายของแพทเทิร์นเหล่านี้มาพร้อมกับความหมายของเส้นที่ถูกตีขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้งาน บ้างก็เป็นเส้นระบุตำแหน่งกึ่งกลางของสนาม บ้างก็เป็นเส้นรอบนอกที่หากผู้ใช้งานก้าวพ้นไปแล้วจะถูกกีดกันจากเกมด้วยกติกา บ้างก็เป็นที่ทุกคนต้องข้ามผ่านเพื่อทำคะแนนสู่ชัยชนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามหรือการใช้งาน ก็ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนออกมาเป็นกราฟิกชิ้นหนึ่ง ซึ่งยังคงเป็นสนามฟุตซอล ยังคงเป็นพื้นที่ทางศิลปะ และยังคงเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนข้างเคียงออกมาทำกิจกรรมได้โดยไม่บกพร่อง ทำให้ทางเลือกในการออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ของคนในย่านมีตัวเลือกมากขึ้นจากเดิม
PHOTO ESSAY : THE ARCHITECTURE OF DEMOLITION
TEXT & PHOTO: AKAI CHEW
(For English, press here)
สิงคโปร์เป็นเมืองที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง ตึกรามอาคารถูกสร้างและพัฒนาขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว ถึงขั้นที่ว่าตึกอายุ 30 ปี ก็ถูกมองว่าควรแก่เวลาสำหรับกับการถูกปรับปรุงพัฒนาใหม่ ที่สิงคโปร์ การทำลายและก่อสร้างเกิดขึ้นอยู่ทุกหนแห่ง คล้ายกับเวลาที่นักมายากลโยนผ้าผืนหนึ่งขึ้นบนฟ้าแล้วก็หายตัวไปทันทีที่ผ้าหล่นลงมา เมื่อนั่งร้านถูกเอาออกไป อาคารเก่านั้นก็ราวกับหายวับไปกับตา นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา อัตราการรื้อถอนอาคารของเมืองพุ่งทะยานขึ้นเป็นสัดส่วนที่สูงจนเหลือจะเชื่อ ในปัจจุบัน สี่ในสิบของอาคารที่สูงที่สุดในโลกที่ได้รับการพัฒนาใหม่อยู่ในสิงคโปร์
ในปี 1960 สิงคโปร์ใช้การพัฒนาพื้นที่เมืองเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจยุคใหม่ ตึกระฟ้าที่เพิ่งสร้างเสร็จส่งสัญญาณถึงยุคสมัยใหม่ของประเทศ หากแต่ในวันนี้ บางส่วนของอาคารเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงไปแล้วเรียบร้อย
การรื้อถอนและก่อสร้างในสิงคโปร์นั้นเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพอๆ กับการมีอยู่ของอาคารจริงๆ อาคารหนึ่งเลยก็ว่าได้ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษให้หลังมานี้ การพัฒนาอาคารเก่าขึ้นใหม่ และการสูญเสียไปซึ่งสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างนั้น เป็นสิ่งที่พบเห็นและยอมรับได้อย่างไม่ได้มีใครรู้สึกรู้ร้อนรู้หนาวอะไร มันยังถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ วิวัฒนาการของเมือง มันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับการเจริญขึ้นเป็นเมืองที่ดียิ่งกว่าเดิมของสิงคโปร์ ที่ซึ่งความร่วมสมัยอาจหมายความถึงประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้า
ในขณะที่สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในยุคหลังประกาศเอกราชของประเทศกำลังถูกลบทิ้งและแทนที่ไปอย่างช้าๆ มันเปิดประตูสู่คำถามต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่แหวกขนบที่เคยเป็นมา
ผมคิดถึงรูปถ่ายเก่าๆ ที่แสดงภาพของสิงคโปร์ในช่วงศตวรรษที่ 19 เรามองกลับไปยังอดีตด้วยความรู้สึกตราตรึงใจ พลางคิดกับตัวเองว่าเมืองสิงคโปร์ได้เปลี่ยนแปลงไปมากมายขนาดไหนนับตั้งแต่นั้นมา บางที ที่สิงคโปร์ อดีตที่ว่าอาจจะย้อนหลังกลับไปแค่เพียงสิบหรือยี่สิบปีเท่านั้น
_____________
Akai Chew เป็นศิลปินที่ทำงานอยู่ในสิงคโปร์ พื้นหลังทางการศึกษาและการทำงานของเขาที่ครอบคลุมทั้งสถาปัตยกรรม การวางผังเมือง และมรดกทางสถาปัตยกรรมช่วยหล่อหลอมการทำงานศิลปะร่วมสมัยของเขา ในฐานะศิลปิน เขาทำงานภาพถ่ายและศิลปะจัดวางเฉพาะที่เป็นหลัก Akai เรียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมมนุษย์สร้างที่ University of Tasmania ในออสเตรเลีย เขามีผลงานจัดแสดงมาแล้วในหลากหลายเมืองนับตั้งแต่สิงคโปร์ บันดัง นิวเดลี ไปจนถึงโฮบาร์ท และ ลอนเซสตัน
THE PYRAMID OF TIRANA
โปรเจ็กต์ปรับปรุงอนุสรณ์สถานเก่าของอดีตผู้นำเผด็จการ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสำหรับเยาวชนในประเทศแอลเบเนีย ที่ MVRDV ลงมือกำจัดภาพลักษณ์เก่าๆ จนกลายเป็นอาคารของทุกคน
FORMICA SHOWROOM
art4d พาชมโชว์รูมของ Formica ผู้นำด้านอุตสาหกรรมวัสดุปิดผิวลามิเนต ที่ได้สตูดิโอ That’s ITH มาช่วยปรับเปลี่ยนพื้นที่โกดังเก่าให้ทันสมัย ตอบโจทย์การแสดงสินค้าด้วยตัวอย่างการใช้งานจริง
THE TREASURY MUSEUM KHON KAEN
Plan Architect พร้อมด้วย GLA Design Studio และ Plan Motif เปลี่ยนโฉมสำนักงานเก่าของธนาคารแห่งประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้อันเป็นมิตร กลางเมืองขอนแก่น
NOT JUST LIBRARY
ห้องสมุดที่คงโครงสร้างและรูปแบบเดิมของ ‘ห้องอาบน้ำรวม’ ไว้ เกิดเป็นรูปแบบการอ่านหนังสือใหม่ๆ และพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนในการพบปะพูดคุยกัน ช่วยให้ห้องสมุดได้เป็นมากกว่า ‘แค่ห้องสมุด’
OOP HOUSE
Oop House โปรเจกต์รีโนเวทในซอยย่านเอกมัยจากฝีมือสองสามีภรรยา อู๋-ภฤศธร สกุลไทย และ พี-รวมพร ถาวรอธิวาสน์ ที่น่าตื่นตาด้วย pattern ของแสงธรรมชาติผ่านการออกแบบช่องเปิดอย่างละเมียดละไม
Read More
ANUBAN SAMUTSAKHON SCHOOL
Context Studio นำเสนอภาพใหม่ของโรงเรียนรัฐด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผ่านคอนเซ็ปต์หลักอย่าง ‘ทะเล’
TEXT: PICHAPOHN SINGNIMITTRAKUL
PHOTO: DOF SKY|GROUND
(For English, press here)
ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นโรงเรียนรัฐบาล ทุ่มทุนสร้างไปกับการออกแบบและตกแต่งด้านสถาปัตยกรรม เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และการเล่นของเด็กๆ เหมือนอย่างโรงเรียนเอกชน แต่โรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดสมุทรสาคร หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร แห่งนี้ กลับให้ความสำคัญและกล้าที่จะทุ่มงบประมาณไปกับการปรับปรุงพื้นที่ภายในโรงเรียน จนผู้ปกครองหรือใครหลายคนที่ได้พบเห็น ก็เป็นต้องตั้งคำถามเป็นคำถามเดียวกันว่านี่คือพื้นที่ภายในโรงเรียนรัฐบาลจริงๆ หรือ
ต้น-บดินทร์ พลางกูร จาก Context Studio ผู้ออกแบบเริ่มเล่าให้เราฟังถึงบทสนทนากับ ผอ. โรงเรียน ว่า “ตอน ผอ. โรงเรียนติดต่อเข้ามาก็รู้สึกแปลกใจเหมือนกัน เพราะสำหรับผมและหลายๆ คน น่าจะคิดคล้ายกันว่าคงไม่ค่อยมีโอกาสเห็นโรงเรียนรัฐฯ นำงบประมาณมาใช้กับเรื่องนี้บ่อยๆ หรืออาจไม่เคยมีเลยก็ได้ พอได้คุยกับ ผอ. จริงจังก็เลยรู้ว่าการปรับปรุงโรงเรียนในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากวิสัยทัศน์ของผู้ว่าประจำจังหวัด เค้าอยากเห็นโรงเรียนประจำจังหวัดของเขามีพื้นที่การเรียนรู้ที่ดี ซึ่งมันจะเป็นผลดีต่อเด็กๆ ในจังหวัดและสุดท้ายก็เป็นหน้าเป็นตาให้จังหวัดไปด้วย ส่วน ผอ. ก็คิดเหมือนกันว่าอยากให้พื้นที่ภายในโรงเรียนสามารถเป็นพื้นที่ที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ได้ออกไปเจอกับโลกกว้างนอกรั้วโรงเรียนได้ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็กๆ ด้วยว่ากำลังเรียนอยู่หรือเคยเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้”
จากประโยคบอกเล่าสั้นๆ ช่วงท้ายของ ผอ. นี่เอง ทีมดีไซเนอร์ได้หยิบใจความด้านการเตรียมความพร้อมเด็กๆ ให้ออกไปสู่โลกกว้าง มาใช้กับการออกแบบในครั้งนี้ โดยเปรียบเปรยว่าการออกไปสู่โลกกว้าง ก็เหมือนกับการเตรียมตัวออกเรือสู่ทะเล ซึ่งเมื่อพูดถึงทะเลขึ้นมาแล้ว แนวคิดนี้ก็ยังมีความสอดคล้องไปกับอุตสาหกรรมของจังหวัดและตำแหน่งที่ตั้งของโรงเรียน ที่อยู่ห่างจากปากอ่าวแม่น้ำท่าจีนเพียง 200 เมตร หรือจะเรียกว่าอยู่เกือบริมอ่าวเลยก็ไม่ผิด การออกแบบครั้งนี้จึงถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบของแม่น้ำเป็นหลัก โดยพื้นที่ภายในโรงเรียนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ห้องเรียนอเนกประสงค์อย่างที่เราเห็นกัน แต่ยังรวมไปถึงโถงใต้อาคาร และห้องพักครูด้วย
“สำหรับโปรเจ็คต์นี้ ส่วนที่เป็นไฮไลท์ที่สุดก็คือห้องเรียนอเนกประสงค์ หรือที่ครูในโรงเรียนเรียกกันว่า ห้องพรีเซนเทชัน ซึ่งจะเป็นห้องเรียนที่ถูกจัดตารางให้เด็กๆ สลับกันเข้ามาใช้งานตามความเหมาะสมของรายวิชา และด้วยการใช้งานที่จะถูกเน้นให้เป็นห้องสำหรับนำเสนองานผ่านจอโปรเจ็คเตอร์ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้เสียงเป็นส่วนใหญ่นั้น พวกเราก็เลยพยายามออกแบบ surface ของผนังและเพดานภายในห้องให้สามารถช่วยซับเสียงได้ พอนำมาโยงกับคอนเซปต์ที่เราตั้งไว้เกี่ยวกับแม่น้ำ เพดานของห้องก็เลยมีลักษณะเป็นคลื่นน้ำอย่างที่เห็น แต่มันจะเป็นคลื่นที่ดูโหดร้ายนิดนึง (หัวเราะ) เพราะอยากให้มันช่วยซับเสียงได้จริงๆ” บดินทร์เล่าถึงแนวคิดการออกแบบพื้นที่ในส่วนแรก
โดยในแง่ของการออกแบบและผลิตเกลียวคลื่นที่ดูโหดร้ายนี้ให้สามารถใช้งานได้จริงก็ไม่ง่ายเลย เพราะเกลียวคลื่นที่เกิดขึ้นจะต้องมีระยะห่างของคลื่นแต่ละลูกที่ค่อนข้างถี่ ดีไซเนอร์จึงออกแบบด้วยการปั้นฟอร์มคลื่นในโปรแกรม Rhino ขึ้นมาทั้งหมด 16 แบบ โดยแต่ละแบบจะมีรูปทรงของคลื่นที่แตกต่างกัน และมีระยะของคลื่นแต่ละลูกที่ถี่พอจะช่วยลดการเกิดเสียงก้องภายในห้องได้ตามตั้งใจ ก่อนจะนำดิจิตอลไฟล์ทั้งหมด 16 แบบนั้น มาผลิตเป็นแม่แบบผ่านกระบวนการ CNC สำหรับหล่อวัสดุไฟเบอร์กลาสผสมใยกระดาษ และนำแต่ละ module ที่ได้ มาประกอบเป็นเพดานเกลียวคลื่นในขั้นตอนสุดท้ายอย่างที่เห็น
ส่วนการออกแบบพื้นและวัสดุปิดผิวผนังภายในห้องเรียนอเนกประสงค์ เลือกใช้เป็นวัสดุไม้เทียมโทนสีอ่อน เพื่อสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรให้กับเด็กๆ ขณะที่ไม้ที่ใช้ในการปิดผิวผนังทั้งหมดนั้น ก็ยังถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวร่อง เพื่อเพิ่มเส้นสายที่ดูสนุกมากขึ้นแทนการออกแบบเป็นเพียงห้องสี่เหลี่ยมที่มีพื้นผิวเรียบๆ และแนวร่องก็ยังสามารถช่วยซับเสียงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานห้องเรียนห้องนี้ได้ในเวลาเดียวกัน
สำหรับพื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุงอีกส่วนก็คือห้องพักครู โดยประกอบด้วย ห้อง ผอ. และห้องประชุมคณะครู ถูกออกแบบให้มีโทนสีและการเลือกใช้วัสดุที่เชื่อมโยงกันกับห้องเรียนอเนกประสงค์ คือเลือกใช้วัสดุไม้เป็นหลัก และนำองค์ประกอบของแม่น้ำมาสะท้อนผ่านเพดานที่ถูกออกแบบให้เป็นท้องเรือขนาดใหญ่ ซึ่งการผลิตท้องเรือในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากช่างไม้ต่อเรือฝีมือดีในจังหวัดสมุทรสาครมาช่วยผลิต เป็นการสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมระหว่างจังหวัด โรงเรียน และชุมชน ไปพร้อมๆ กัน ส่วนโถงใต้อาคารที่มักเป็นพื้นที่สำหรับให้เด็กๆ วิ่งเล่นและทำกิจกรรม ออกแบบส่วนฝ้าเพดานให้เป็นหลุมคล้ายท้องเรือ มีส่วนโค้งเว้าของเสาเพื่อลดความแข็งและลดการการเกิดอุบัติเหตุจากการวิ่งเล่นของเด็กๆ ไปจนถึงการปรับปรุงพื้นให้เป็นพื้น terrazzo ที่มีส่วนผสมของวัสดุหินขัดและขยะขวดแก้ว เพื่อนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสร้างการตระหนักรู้ต่อการรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเด็กๆ
“โปรเจ็คต์นี้เราปรับปรุงไปหลายส่วนแล้วเหมือนกัน ในอนาคตโรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร ก็ตั้งใจที่จะปิดปรับปรุงพื้นที่ส่วนอื่นๆ ไปเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งผลลัพธ์สุดท้าย ทุกพื้นที่ภายในโรงเรียนก็คงจะออกมาแตกต่างจากโรงเรียนรัฐฯ แห่งอื่นๆ แน่นอน ผมรู้สึกชื่นชมทางโรงเรียนที่เห็นความสำคัญเชิงพื้นที่พอๆ กับหลักสูตรการศึกษา ผมว่าถ้าโรงเรียนรัฐฯ ที่อื่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการปรับปรุงตัวอาคารแบบนี้บ้างก็น่าจะดี”
จากที่บดินทร์ได้แบ่งปันแนวคิดและมุมมองการปรับปรุงพื้นที่ภายในโรงเรียนอนุบาลสมุทรสาครที่แปลกตาไปจากโรงเรียนรัฐบาลแห่งอื่นๆ ในครั้งนี้ ทำให้พบว่าการจะสร้างโรงเรียนสักแห่งหนึ่ง หรือการจะสร้างผู้ใหญ่จากเด็กสักคนหนึ่งนั้น อาจไม่ได้ถูกอิงจากแค่เรื่องของงบประมาณ หรือหลักสูตรการเรียนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของมุมมองจากผู้ใหญ่ที่มองกลับมายังเด็กยุคใหม่นี้ว่า แท้จริงแล้วเด็กๆ ต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องอะไร และหน้าที่ของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะหน้าที่ของครู ก็คงจะต้องสังเกตการณ์กับเรื่องนี้เป็นพิเศษ แม้ว่าสถาปัตยกรรมที่ดีอาจไม่ใช่สูตรตายตัวที่จะทำให้เด็กเติบโตมาได้ดี แต่อย่างน้อยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการเสริมสร้างจินตนาการในรูปแบบต่างๆ ก็คงจะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และจิตใต้สำนึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้ดีกว่าการนั่งเรียนอยู่ภายในห้องสี่เหลี่ยมมืดๆ อย่างแน่นอน