PALAM PALAM

BEYOND BEING A CAFÉ AND RESTAURANT, ALTERNATIVE UNIVERSE INTENDS TO MAKE THIS PLACE ‘A LIVING ROOM FOR THE COMMUNITY’

TEXT: PRATARN TEERATADA
PHOTO: KETSIREE WONGWAN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

พื้นที่ศิลปะ ห้องสมุด แหล่งศึกษา โรงละคร เหล่านี้คือ social infrastructure ซึ่งเป็น soft power ที่ชี้วัดคุณภาพของการใช้ชีวิตใน เมือง “Alternative Universe” มีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์กร และเติบโตเป็นผู้นำด้าน social infrastructure development ในเอเชีย โดย “ไม่ใช่” กิจการเพื่อสังคม (social enterprise) แต่เป็นเครื่องจักรธุรกิจที่ทำงานกับเครือข่ายองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาร่วมกัน เป็นธุรกิจที่เชื่อในวิถีทางแห่งการสร้างองค์กรให้เติบโตผ่านการตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ทางสังคม  (profit-oriented, but selective) พวกเขาเปิดพื้นที่จุดสังเกตการณ์เมือง ชื่อ “ปะแล่ม ปะแล่ม (Palam Palam The Living Cafe & Restaurant)” มันคือคาเฟ่ และร้านขนมที่มีความหมายมากไปกว่านั้น

“ปะแล่ม ปะแล่ม เป็นคำภาษาไทยโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า อ่อนๆ น้อยๆ ส่วนมากใช้แก่สิ่งที่มีรสหวาน เช่น หวานปะแล่มๆ” ปฐวี วิรานุวัตร (อาร์ท) เล่าให้เราฟังถึงความหมายของชื่อร้านที่เริ่มต้นจากชั้น 1 ของโครงการ mixed-use ชื่อ “Slure Project” (สลัว โปรเจ็คต์) ที่เขาก่อตั้งขึ้นบนถนนเจริญกรุง ซึ่งพื้นที่สังเกตการณ์เมืองในรูปแบบคาเฟ่แห่งนี้ทำหน้าที่เป็น observation spot ทั้ง 2 ฝั่งคือ “ในดูนอก นอกดูใน” ที่ทำหน้าที่สื่อสาร และเผยแพร่วิสัยทัศน์ของบริษัทฯ เกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพชีวิต ให้กับคนเมือง 

Patavee Viranuvat, Managing Director of Palam Palam Cafe

“Alternative Universe ต้องการที่จะเติบโตจากจุดเล็กๆ เพื่อที่จะพัฒนาโปรเจ็คต์ด้าน social infrastructure development ในเอเชีย ซึ่งฟังดูอาจเป็นความฝันที่ยิ่งใหญ่ แต่เราก็ตระหนักว่าจะต้องเริ่มต้นเข้าใจจากหน่วยที่เล็กที่สุดให้ได้ หากไม่มีพื้นที่ที่จะสื่อสาร และแบ่งปันบทสนทนากับผู้คนที่หลากหลาย คงจะเป็นไปไม่ได้แน่ที่จะเข้าใจภาพรวมได้” ปฐวีเล่าถึงที่มาที่ไป 

Photo courtesy of Palam Palam Bangkok

Photo courtesy of Palam Palam Bangkok 

Photo courtesy of Palam Palam Bangkok

“ด้วยความที่ ปะแล่ม-ปะแล่ม เริ่มต้นด้วยพื้นที่เล็กๆ จากการเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นของ community ตรงนั้น และทีมงานหลากหลายพื้นฐาน เราจึงไม่ยึดติดกับข้อกำหนดสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือตั้งใจแข่งกับเทรนด์ในอุตสาหกรรมมากนัก แต่เราเชื่อว่าการที่ค่อยๆ ทำความรู้จักลูกค้าแต่ละคน และความต้องการที่แท้จริง จะเป็นกุญแจของพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้ได้ ลูกค้าที่มาคาเฟ่บางทีมาแล้วอาจจะไม่ได้ต้องการกาแฟมากเท่ากับการได้พูดคุยกับใครสักคนหนึ่ง ท่ามกลางเมืองที่ไม่มีใครกล้าทำความรู้จักกันนี้ ก็เป็นได้”

ปฐวีเล่า และเสริมต่อถึงวิธีการทำงาน และเอาตัวรอดในช่วงโควิดว่า “เราทำงานจากการเข้าใจปัญหาของลูกค้ามาตลอด ตอนที่ออกแบบโปรดักท์กันเป็นช่วงล็อคดาวน์ที่คนฮิตตัว Basque Burnt Cheesecake อย่างมากในโลกออนไลน์ เราพบว่าส่วนมากต้องออเดอร์ปอนด์ใหญ่ และราคาสูง แต่จริงๆ ลูกค้าอยากลองทานไม่มากเท่านั้นเอง คุณรชยา วัฒนศิริชัยกุล (เชล) ซึ่งเป็น Head of Design Department ของ Alternative Universe เลยใช้วิธีคิด และพัฒนาเหมือนการออกแบบ เลยเกิดเป็น “ชีสเค้กหน้าไหม้ไซส์มินิ” ซึ่งน่าจะเหมาะกับชีวิตคนกรุงเทพฯ ที่มีชีวิตที่เร่งรีบ ไม่อยากรอพรีออเดอร์ ไม่กินหวานเกิน ไม่กินขนมชิ้นใหญ่ แต่อยากลองหลายๆ แบบ และหยิบมากัดได้เลยตอนรถติดๆ ไม่ต้องใช้ช้อนตัดทาน ที่สำคัญซื้อไปฝาก และแบ่งทานกันได้โอกาสต่างๆ ตอบรับกับ corporate culture อย่างคนเอเชียดี” 

ในช่วงเวลาไล่ๆ กัน ปะแล่ม-ปะแล่ม ขยายสาขาถึงสองสาขา คือ เอเชียทีค และห้องสมุดเนียลสัน เฮย์ส ซึ่งนอกจากการเลือกพัฒนา ปะแล่ม-ปะแล่ม เป็นหลักในช่วง COVID-19 จะเป็นไปอย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากเห็นว่า F&B ยังเป็นธุรกิจที่สามารถอยู่ได้ในช่วงวิกฤตแล้ว ปฐวีก็ยังตั้งใจกำหนดให้รูปแบบของร้าน และบริการปรับตัวตามคาแร็คเตอร์ในแต่ละย่านเพื่อการสื่อสาร และศึกษาผู้คนไปด้วยเสมอ 

“Palam Palam MUSEUM” at Asiatique The Riverfront ได้รับโอกาส และการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของ Asset World Corporation (AWC) พร้อมกับการเปิดเอเชียทีคอีกครั้งเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2020 หลังการแพร่ระบาด COVID-19 รอบแรก สาขานี้มีชื่อต่อท้ายว่า “มิวเซียม” เพื่อให้คล้อยไปกับแนวคิดของเอเชียทีคที่เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ โดยที่นี่ทำหน้าที่เป็นฐานผลิตหลักของโปรดักท์ ก่อนจะส่งไปยังสาขาต่างๆ รวมทั้งเป็นสาขาที่จะได้เห็นการผลิต และเรื่องเล่าของแบรนด์อีกด้วย โดยลักษณะกลุ่มลูกค้าไม่ใช่เพียงกลุ่มนักท่องเที่ยวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงกลุ่มครอบครัว วัยรุ่น เด็กเล็ก ไปจนถึงสัตว์เลี้ยง ร้านจึงออกแบบเน้นให้มีความสุกสนาน มีพื้นที่ outdoor และเหมาะกับการจัดเลี้ยง จัดกิจกรรมต่างๆ ได้   

ส่วนอีกสาขาหนึ่ง “Palam Palam Tamagno” at Neilson Hays Library เป็นสาขาที่เปิดตัวในเวลาเพียง 2 เดือนหลังจากสาขาเอเชียทีค จากการได้รับโอกาสพิเศษอีกครั้งจากทาง Neilson Hays Library Foundation และทางทีมผู้บริหารมูลนิธิ  ลักษณะของร้านถูกล้อมรอบด้วยสวนของห้องสมุดท่ามกลางต้นไม้ใหญ่ เป็นบรรยากาศที่ร่มรื่น และสงบเงียบใจกลางถนนสุรวงศ์ ซึ่งตั้งใจออกแบบให้เป็นพื้นที่ Intellectual & Poetic Cafe โดยนามสกุลของสาขา “Tamagno” ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติกับ “มาริโอ้ ตามัญโญ” สถาปนิกชาวอิตาลี ผู้ออกแบบอาคารห้องสมุดแห่งนี้ (และเป็นผู้ออกแบบสถานีรถไฟหัวลำโพง พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวัง และอาคารสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกมากมาย) สำหรับสาขานี้กลุ่มลูกค้าเป็นผู้คนทำงาน และอาศัยในละแวก รวมถึงสมาชิกประจำของห้องสมุด ร้านจึงตั้งใจ ออกแบบให้เป็นที่พักผ่อนเติมพลังเล็กๆ ได้” 

F&B เป็น “Soft Power” ที่มีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนสังคมไปได้อีกไกล เพราะการเผยแพร่ “รสชาติ” เป็นการเผยแพร่ และรักษาวัฒนธรรมในตัวมันเองแบบไม่ต้องโฆษณาอะไรกันมากมาย วันนี้เราตามสังเกตการณ์ ปะแล่ม-ปะแล่ม ในบทบาทของหน่วยธุรกิจชุดแรกๆ ของ Alternative Universe เรามาติดตามกันต่อไปว่าพวกเขาจะเดินทางกันไปถึงไหน โปรดอย่ามองข้าม soft power ชุดนี้โดยเด็ดขาด 

alternativeuniverse.co/palampalam  
facebook.com/PalamPalamCafe 
alternativeuniverse.co

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *