LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

รู้จักกับโฮมสตูดิโอผู้ผลิตชิ้นงานเซรามิกที่สร้างสรรค์ ‘ความละมุนละไม’ และบรรยากาศที่ดีระหว่างมื้ออาหารผ่านชุดเครื่องใช้ที่สวยงาม ทั้งยังคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

TEXT & PHOTO COURTESY OF LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

WHO

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO ก่อตั้งโดย ไหม-ณพกมล อัครพงศ์ไพศาล และ หนาม-นล เนตรพรหม

WHAT

Craft Studio * Circular Ceramics * Custom Made

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO เป็นโฮมสตูดิโอขนาดไม่ใหญ่ อยู่ชั้นดาดฟ้าใจกลางกรุงเทพมหานคร เราทั้งคู่รักในศิลปะการทำของด้วยมือ อยากนำเสนอเซรามิกเป็นชุด เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของประดับตกแต่งบ้าน เพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตและบรรยากาศที่ดีในมื้ออาหาร ส่งต่อคุณค่าของงานฝีมือที่นอกจากความสวยงาม ยังสามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน มีความฝันอยากออกไปท่องเที่ยวทั่วโลก และกลับมานำเสนอผลงานและเรื่องราวผ่านการเดินทางของ LAMUNLAMAI.

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

WHEN

Since 2014 – now and go on

WHERE

กรุงเทพฯ และลอนดอน และตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายขอบเขตงานของเราออกไปทั่วโลก

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

WHY

ถ้า LAMUNLAMAI. สามารถทำให้มื้ออาหารมีความหมายมากขึ้นผ่านงานหัตถกรรมที่สร้างขึ้นมาอย่างตั้งใจและเปี่ยมไปด้วยความตระหนักรู้ต่อสิ่งแวดล้อม มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่ทำล่ะ?

ในขณะที่มีชิ้นงานเซรามิกมากมายที่ถูกสร้างขึ้นจากมือมนุษย์ และเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก แต่ก็ยังมีปัญหาบางข้อที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย ถึงสตูดิโอเซรามิกต่างๆ จะสร้างงานที่ทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นใช้ทรัพยากร แรงงาน และพลังงานจำนวนมาก พวกเราสนใจในการทดลองกับวัสดุ กระบวนการ และมุมมองการรับรู้ต่างๆ ที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งกับสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อที่จะส่งเสริมแนวทางปฏิบัติทางหัตถกรรมที่มีความยั่งยืนและสร้างงานที่จะคงอยู่ไปได้ยาวนาน

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

คุณนิยามสไตล์การออกแบบของตัวเองไว้อย่างไร?

ละมุนละไม. / vivid / timeless / purposeful design / respect to nature of materials

อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้ง?

เราอยากส่งต่อคุณค่าของงานฝีมือผ่านผลิตภัณฑ์และบริการของเราไปยังผู้คน เราอยากเห็นลูกค้าและผู้คนรักผลงานของเรา เหมือนกับการที่เรารักงานตัวเอง และได้ใช้ประโยชน์จากผลงานที่เราสร้างได้คุ้มค่าและยาวนานที่สุด แรงบันดาลใจของเรามาจากสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมถึง pain points ที่เจอแล้วเกิดการตั้งคำถาม เพื่อนำเสนอความเป็นไปได้ใหม่ๆ ผ่านวัสดุประเภทเซรามิก

สตูดิโอของเราเน้นการทำงานออกแบบร่วมกับลูกค้าแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้พุดคุย โดยที่เรานำเสนอ customize collaboration project เพื่อเป็นการทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดมากที่สุด หลักการในทำงานแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับว่า เราทำงานกับ ‘ใคร’ และทำ ‘เพื่ออะไร’ เมื่อค้นหาเป้าหมายและความต้องการร่วมกันได้แล้ว process ในการออกแบบและโปรดักชันจะตามมา ซึ่งในระหว่างทางเราจะได้ค้นหา ทดลอง และค้นพบความมหัศจรรย์ของวัสดุดินและการทำของด้วยมือไปด้วยกัน ทั้งกับทีมเองและลูกค้าด้วย

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIOLAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO
LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

Photo: Chanin Polpanumas

โปรเจ็กต์ไหนที่คุณภูมิใจมากที่สุด เพราะอะไร?

จริงๆ เราภูมิใจกับทุกโปรเจ็กต์ที่ผ่านมา ขอบคุณลูกค้าและผู้สนับสนุนทุกคนที่ทำให้ LAMUNLAMAI. เดินทางมาไกลจนถึงวันนี้ ทุกครั้งเราจะได้บทเรียนจากความผิดพลาดบ้างไม่มากก็น้อย แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประสบการณ์ที่มีค่า หาไม่ได้จากที่ไหนถ้าเราไม่ลงมือทำและหาคำตอบด้วยตัวเอง

แต่ถ้าเป็นโปรเจ็กต์ล่าสุดในตอนนี้เลย คือ The Lifetime (2023) เป็นธีสิสปริญญาโท ของคุณนล เนตรพรหม จากคอร์ส MA Designer Maker มหาวิทยาลัย University of the Arts, London ที่เราได้ตั้งคำถามมาตั้งแต่ก่อนมาเรียน และได้มาฝึกฝนสร้าง practices ใหม่ที่ขยายขีดจำกัดของวัสดุเซรามิก โดยคอลเล็กชันนี้นำเสนอแนวทางสร้าง circular ceramics ที่นำเอาขยะจากเศษอาหาร เช่น เปลือกหอย ที่รวบรวมเก็บได้ใน 1 วันจาก Borough Market ซึ่งมีจำนวนมหาศาลมาทดลองผสมกับดินให้ได้สัดส่วน เพื่อสร้างเป็นผลงาน สื่อสารในเรื่องปัญหา food waste ที่เรานำเสนอกลับไปใช้งานได้ใหม่อีกครั้งบนโต๊ะอาหาร

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

The Lifetime (2023) | Photo: Chanin Polpanumas

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

The Lifetime (2023) | Photo: Chanin Polpanumas

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIOLAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

คุณชอบขั้นตอนไหนระหว่างทำงานมากที่สุด?

คิด-ผลิต-ขาย

ทุกขั้นตอนล้วนมีส่วนสำคัญและเชื่อมโยงกันไปมาทั้งสิ้น สำหรับเราคงจะแล้วแต่โปรเจกต์ว่ามีบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันไป แต่เรา (ไหม) ชอบขั้นตอนในการสร้างภาพรวมให้เข้าใจใน overall โปรเจ็กต์ก่อนแล้วจากนั้นจึงค่อย connect the dots ในแต่ละส่วนมาประสานเข้าด้วยกัน ส่วน พี่หนาม ชอบขั้นตอนลงมือทำในช่วงผลิตโปรดักชันมากที่สุด เพราะในส่วนนี้จริงๆ แล้วจะยังมีพื้นที่เปิดโอกาสให้เราได้ทดลองสิ่งใหม่ๆ ระหว่างทางอยู่เสมอ และในหลายครั้งก็เกิดการค้นพบสิ่งที่น่าสนใจจากการที่เราได้ทดลอง มากกว่าที่จินตนาการหรือคาดหวังว่าจะเป็นแบบไหนด้วยซ้ำ

ในส่วนของ collaboration project เราชอบการ first meet กับลูกค้าร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของร้าน ผู้จัดการ F&B หรือเชฟมากที่สุด ในขั้นตอนนี้เราเหมือนได้สิทธิพิเศษในการไปนั่งฟังเรื่องราวส่วนตัวของคนๆ นั้น เค้ามาเล่าความฝัน เล่าแพสชั่น และความต้องการให้เราฟังอย่างละเอียดที่สุด เราได้รับเกียรติในการได้ถาม-ตอบ ได้เห็นวิธีการทำงานของคนในอุตสาหกรรมอื่น และยังได้แลกเปลี่ยนมุมมองที่เป็นประโยชน์แต่เราไม่เคยรู้ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการเติมไฟในการทำงานสร้างสรรค์ของเราได้มากเลยทีเดียว

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม?

พิ-พิริยะ และทีม Glow Story

พี่ผ้าป่าน-สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ & พี่คริสซี่-ศิขรินทร์ ลางคุลเสน และทีม Ground Control

พี่หน่อไม้-สุภัทรชัย เชื่อธรรมสอน

ทุกคนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว และล้วนเป็นมนุษย์ที่ LAMUNLAMAI. ชื่นชม เป็นทั้งตัวอย่างและแรงบันดาลใจในแง่ของการทำงานและการใช้ชีวิต

ทุกครั้งที่ได้คุยกับพี่ๆ จะรู้สึกมีเรื่องใหม่ให้อัปเดตตลอด เติมไฟและเติมใจให้มีพลังสร้างสรรค์ อยากทำสิ่งต่างๆ ที่มองไกลออกไปจากเรื่องราวของตัวเอง มันล้วนเกี่ยวโยงกับผู้คนและสังคมในวงกว้าง อีกทั้งคนเหล่านี้ยังมีพลังพิเศษในการซัพพอร์ตการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของเรา เป็นเพื่อนคู่คิด เป็นพี่ที่เคารพ ในขณะเดียวกันเราก็รู้สึกสงบใจที่จะกล้าเปิดและแชร์เรื่องราวต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้งอีกด้วย

หาเวลานัดวันไปกินกาแฟ หรือไปจิบๆ กันก็ได้นะคะ ฮ่าๆๆๆๆ 😀

LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO

facebook.com/lamunlamai.craftstudio
instagram.com/lamunlamai.mai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *