ป้ายกำกับ: Ceramic
LAMUNLAMAI. CRAFTSTUDIO
รู้จักกับโฮมสตูดิโอผู้ผลิตชิ้นงานเซรามิกที่สร้างสรรค์ ‘ความละมุนละไม’ และบรรยากาศที่ดีระหว่างมื้ออาหารผ่านชุดเครื่องใช้ที่สวยงาม ทั้งยังคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
TAKANAO TODO DESIGN
PHOTO COURTESY OF TAKANAO TODO DESIGN EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
WHO
TAKANAO TODO DESIGN
WHAT
สถาปัตยกรรม/เครื่องปั้นดินเผา/คำปรึกษาด้านการออกแบบ
WHEN
ตั้งแต่ปี 2017 เราได้รับรางวัลจากงานประกวดด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมนานาชาติหลายงานในสเกลที่แตกต่างกันไป ซึ่งนั่นนำไปสู่การก่อตั้งบริษัทออกแบบของตัวเอง งานในส่วนการผลิตเซรามิคนั้นเริ่มขึ้นในปี 2015 โดยเริ่มจากภาชนะสำหรับทำสาเก ต่อมาเราก็ได้พัฒนาความเชี่ยวชาญการออกแบบและผลิตสำรับ อุปกรณ์ชงชา หลังจากที่ได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับพิธีชงชา Omote-Senke
WHERE
เราเบสอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย แต่เรามีโครงการด้านสถาปัตยกรรมอื่นๆอยู่ที่เชียงใหม่และญี่ปุ่นด้วย ส่วนงานเซรามิคของเราถูกจัดแสดงอยู่ที่ Central Embassy, Open House, Central : The Original Store และ The Kolophon เนื่องจากว่าเราไม่มีเตาเผาเป็นของตัวเอง เราก็เลยเอาชิ้นงานไปเผาตามที่ต่างๆ โดยใช้วิธีการตั้งแต่เตาเผาไฟฟ้า แก๊ส ไปจนถึงการเผาแบบ Raku
WHY
ประเทศไทยมีพื้นที่และเวทีที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนที่มีความสามารถหลากหลายมากมายโดยไม่มีเส้นอะไรมาแบ่งมากนัก ผ่านการทำงานร่วมกันนี้นี่เองที่ศักยภาพของสาขาวิชาต่างๆของการออกแบบจะได้เติบโตขยับขยาย ในขณะเดียวกัน การได้สอนและมีโครงการร่วมกับ International Program in Design and Architecture (INDA) ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เปิดโอกาสให้เราได้ทำการทดลองอะไรหลายๆอย่างด้วยเช่นกัน
คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
การปะทะกันของความเชี่ยวชาญรูปแบบต่างๆ ความสามารถที่จะหาความเชื่อมโยงของความรู้ทักษะที่ยังไม่ได้ถูกเผยตัวออกมา ความสามารถที่จะตีความประสบการณ์ในระดับปัจเจก และความรู้ภายในความงดงามของผลงานคลาสสิคชิ้นเอก
อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
การทำงานร่วมกัน I ความสมัยใหม่ที่เหนือกาลเวลา I ความสุข
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
กินมัทฉะสักแก้ว นอน เดินเล่นเรื่อยเปื่อย หรือไม่ก็นั่งสมาธิ
โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
ผลงานที่ชื่อว่า Tea X Tech มันเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง FabCafe, Midori-kai และ TAKANAO
TODO Design โดยตัวงานเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมของโรงน้ำชาที่ถูกสร้างและถอดประกอบใหม่ได้ มันเป็นการนำเทคนิคการผลิตแบบดิจิทัล (Digital Fabrication) มาใช้กับการสร้างโรงน้ำชา และอุปกรณ์ชงชา ตัวงานสะท้อนแรงบันดาลใจที่มาจากงานออกแบบของไทย และพิธีขั้นตอนการชงชาโดยทุกอย่างถูกนำมาควบรวมผสมผสานกัน งานชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนเล็กๆน้อยจาก Japan Foundation
ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
เราอยากพบคุณสมลักษณ์ ปันติบุญ ช่างปั้นเครื่องดินเผา เขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักปั้นเครื่องดินเผาชาวไทยรุ่นใหม่หลายๆคนที่มีความหลงไหลในวัฒนธรรมชงชาและงานเซรามิคที่เกี่ยวพันกับมัน เรายังไม่มีโอกาสได้เจอตัวจริงเขาเลย