ONE HAPPY BUFFALO

A LIFE-SIZED LANTERN ACTS AS A PAVILION AND PLAYS A STAPLE ROLE AT THE NEW HANGOUT SPOT IN AMPHAWA BUFFALO AMPHAWA

It all began with the idea of starting a small coffee house for travelers to Amphawa, offering them the opportunity to experience a quiet getaway. The whole thing was then blown up into a 62-room four star hotel with a hundred million baht worth of investment being spent. While this friends-help-friends project is all about fun and the idea that everyone plays hard, ideas and actions were also taken seriously. The Buffalo Amphawa is the culmination of Korakot Aromdee’s decades of experience working in decorative arts and in this space the art viewing experience is available for free. Forget about a pricey hotel room because everybody is welcomed at this colossal, lamp-shaped work of bamboo architecture and all you will be asked for is a fee equivalent to that of a simple cup of Joe.

Rewinding back to three years ago, Nopporn Rermruay, a business owner was eager to transform the canal-front land originally used as a storage area for his construction material business into a café in the hopes that the new establishment would help support the declining profit of his main business. He contacted his friend, Aromdee, to help make the project happen. The idea of doing something fun and extreme led to the thought of expanding the illuminating sculpture into a large-scale building with the intention being to let ‘art’ lead the succeeding decision making process of the project. Aromdee invited two of his friends, Pakorn Teeraworachart and Anurak Uamdhumma, to help with the architectural aspects of the project, which is something a little bit foreign to his knowledge and experience.

buffalo amphawa

Following a simple process, the four worked together step-by-step, from surveying the land to locating the foundation piles. They completed all the measurements, putting together the first draft of the design on paper and employing a voting system to help make the final decisions. After witnessing the potential of the land and a considerable exchange of ideas, the scale of the project grew bigger. The idea of creating a common area that everyone owned equally became clearer in the mind and was followed by the final decision to turn the project’s riverfront space overlooking the view of the Mae Klong River into a public space. The picture they had in their heads was that of families strolling along the river and children running around experiencing the natural surroundings of rice fields while feeding the albino buffalo, the project’s appointed mascot. The design team made sure everything was right where it should be and looked like it was supposed to, from the orientation of the landmark building and the recreational grounds to the sculptures and countless pieces of Aromdee’s decorative arts that are scattered around different corners of the program. The space and its decoration are attentively curated to correspond and welcome the arrival of visitors, offering them diverse and refreshing spatial experiences.

buffalo amphawa

Another portion of the program is tucked away in a corner of the expansive riverfront land. It was turned into a highly private hotel that houses a series of residential spaces, large VIP rooms and conference rooms to accommodate group seminars as well as a swimming pool clad with tiles whose green shade mimics the tone of the Mae Khlong River. These functionalities coexist alongside a whirlwind of activity taking place on the public grounds, quietly nested within while its existence remains unknown to many. The rooms are designed to be of a comfortable size with the spaciousness of the space being granted by its high ceiling. The amenities are of a moderate size, not too big but able to fulfil all the guests’ rudimentary needs. Each room is decorated with Aromdee’s works of art as well as the artistic creations of other local artists. These paintings and photographs were chosen for their reflection of the unique Amphawa vibe. The construction sees the use of concrete, steel and wood as its principle materials procured from one of the partners’ original businesses while the door and window frames were locally made by the furniture factory located near the site. The atmosphere of the entire program is filled with the aesthetics of handmade crafts, which is a delightful outcome made possible by the art-oriented minds of everyone involved. Many of the utensils are handmade, whether it be the large water jars or the buffalo-shaped coffee mugs. Even the name, The Buffalo Amphawa, is simply derived from the owners’ love for animals and the fact that it’s an uncomplicated name that is not too difficult to remember while the handwritten letter ‘ค’ (Kor is from the word KWAI (ควาย) meaning “a buffalo”) was created by the owner during a spur of the moment act of creative expression.

The simple, laid back attitude became the major tool for the materialization of The Buffalo Amphawa’s eclectic aesthetics and realizing its straightforward ‘making people happy’ mentality. But these days, the bringing about of people’s happiness has become more complicated than it used to be. It’s interesting to contemplate the happiness one can have from visiting this place. Creating a space where people can enjoy their little selfie moment is one of the prioritized factors and it resonates with a social network tenet that ‘any activity not posted on the Internet is considered to be non-existent.’ It is certain that human beings have grown to care more about communicating what they possess or obtain to their network of friends or even the entire world. As funny as it sounds and while we haven’t seen any textbooks yet that bring together theories and guidelines regarding modern-day people’s obsessions with selfies, designers across the world are including this generation-defining behavior in their design checklist. At the end of the day, being extra thoughtful about users’ habits and preferences reflects both charm and generosity on the creator’s part. It can be some- thing small but well thought out that makes people just a little bit happier.

เริ่มต้นด้วยความคิดอยากทำร้านกาแฟเล็กๆ สำหรับคนเที่ยวอัมพวาที่อยากหลบมาหามุมสงบ แต่ตอนจบกลายเป็นโรงแรมสี่ดาวขนาด 62 ห้อง งบประมาณรวมกว่าร้อยล้านบาท โปรเจ็คต์เพื่อนช่วยเพื่อน ทำเล่นๆ แต่เอาจริงอย่าง The Buffalo Amphawa ถือเป็นผลรวมของประสบการณ์หลายสิบปีในการทำงานศิลปะตกแต่งสไตล์ กรกต อารมย์ดี ที่เสพได้โดยไม่ต้องเสียเงินไปพักโรงแรมหรูราคาคืนละหลายหมื่นบาท แต่สามารถเดินเข้าไปนั่งเล่นในสถาปัตยกรรมไม้ไผ่รูปโคมไฟขนาดใหญ่ ในราคาเท่ากับกาแฟแค่แก้วเดียว

ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน นพพร เริ่มรวย เจ้าของธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง สนใจอยากปรับพื้นที่ริมแม่น้ำแม่กลองที่แต่เดิมเป็นส่วนจัดเก็บสินค้าให้เป็นร้านกาแฟเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยจัดเป็นรายได้เสริมให้กับกิจการเดิมที่เริ่มซบเซา เขาจึงติดต่อไปชวนเพื่อนเก่าอย่างกรกตให้มาช่วยสร้างโปรเจ็คต์นี้ขึ้น ด้วยความคิดที่อยากทำอะไรมันๆ จึงเกิดไอเดียว่าน่าจะขยายประติมากรรมโคมไฟให้กลายเป็นอาคารขนาดใหญ่ และด้วยความตั้งใจที่จะใช้อาร์ตเป็นตัวนำในการตัดสินใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโครงการนี้ กรกตจึงชวนเพื่อนอีกสองคนคือ ปกรณ์ ธีระวรชาติ และ อนุรักษ์ อ่วมธรรม มาช่วยแก้ปัญหางานสถาปัตยกรรมที่เขาไม่ถนัด 

ด้วยวิธีการทำงานแบบลูกทุ่ง ที่ดูง่ายๆ แต่ได้ผล ทั้ง 4 คน เริ่มต้นโครงการไปด้วยกันในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ลงเดินสำรวจพื้นที่เปล่า วางตำแหน่งเสาเข็ม ดึงตลับเมตร ร่างแบบบนกระดาษ ตัดสินใจร่วมกันด้วยระบบยกมือโหวต จากการที่ได้เห็นศักยภาพของพื้นที่และได้แลกเปลี่ยนไอเดียกันมากเข้า ขนาดของโครงการก็เริ่มขยายขึ้น ไอเดียในการสร้างพื้นที่ส่วนกลางที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันชัดเจนยิ่งขึ้น พื้นที่ริมน้ำแม่กลองจุดชมวิวที่สวยที่สุดของโครงการถูกวางให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้สอยร่วมกันได้ คุณอาจจะพาครอบครัวเข้ามาเดินเล่น วิ่งเล่น เยี่ยมชมทุ่งนา ให้อาหารควายเผือกที่เป็นเสมือนไอคอนของโครงการได้ ทีมออกแบบตั้งใจดูแลความเรียบร้อยในทุกมุมมอง การวางตำแหน่งอาคารที่เป็นแลนด์มาร์ค พื้นที่กิจกรรมสันทนาการ ผลงานประติมากรรม รวมถึงงานศิลปะตกแต่งแบบกรกต ที่กระจายตัวไปทั่วอาณาบริเวณสามารถรองรับนักท่องเที่ยว และบรรจุตัวเองลงไปในพื้นที่สวยๆ ได้อย่างทั่วถึงและไม่จำเจ

ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งของโครงการที่เหมือนเป็นมุมอับ ก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นโรงแรมที่พักที่มีความเป็นส่วนตัว พื้นที่พักอาศัย ห้องพัก VIP ขนาดใหญ่ ห้องประชุมที่รองรับการสัมนาเป็นหมู่คณะ สระว่ายน้ำสีเขียวสีเดียวกับท้องน้ำแม่กลอง ทั้งหมดนี้ถูกซ่อนตัวอยู่ในโครงการที่ดูจะมีกิจกรรมคึกคักตลอดเวลา หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่นี่มีโรงแรม ในส่วนของห้องพักถูกออกแบบให้พอดี รู้สึกโปร่งโล่งด้วยเพดานสูง ข้าวของเครื่องใช้ชิ้นไม่ใหญ่เกินความจำเป็น ประดับด้วยผลงานศิลปะจากกรกต และศิลปินรับเชิญที่เน้นให้สะท้อนบรรยากาศแบบอัมพวา ในรูปแบบภาพวาดและภาพถ่าย งานก่อสร้างเน้นใช้ ปูน เหล็ก และไม้ ที่มาจากธุรกิจดั้งเดิม วงกบประตู บานประตู หน้าต่าง ทำได้เองจากโรงงานร้านวัสดุก่อสร้างที่อยู่ด้านหน้าโครงการ บรรยากาศทั้งหมดจึงอบอวลไปด้วยงานคราฟต์และการลงมือทำ เป็นผลมาจากการขับเคลื่อนงานด้วยบุคลากรทางด้านศิลปะเป็นหลัก อุปกรณ์หลายอย่างหลีกเลี่ยงการซื้อของสำเร็จรูปแต่จะถูกประดิษฐ์ขึ้นเองอย่างน่ารัก เช่น โอ่ง และถ้วยกาแฟรูปควาย แม้แต่ที่มาของชื่อ The Buffalo Amphawa ก็ดูจะถูกคิดขึ้นง่ายๆ โดยมาจากบุคลิกของเจ้าของที่เป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์แบบเอาจริงเอาจัง รวมถึงเป็นชื่อที่เรียกง่ายจดจำง่ายไม่ซับซ้อนเกินไป ลายมือรูป ค.ควาย บนโลโก้ก็เกิดจากอารมณ์มันๆ ในการให้เจ้าของเขียนขึ้นเอง

ทัศนคติที่เรียบง่ายที่ถูกใช้เป็นอาวุธหลักสำหรับลงรายละเอียดทางการออกแบบของ The Buffalo Amphawa ก็คือการ “ทำให้คนมีความสุข” แต่ความสุขของผู้คนสมัยนี้ซับซ้อนกว่าแต่ก่อนมาก น่าสนใจว่าอะไรคือความสุขที่นักท่องเที่ยวควรได้จากการมาพักผ่อนที่นี่ การถ่ายรูปเซลฟี่เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นที่ทีมงานให้น้ำหนักค่อนข้างสูง สัมพันธ์กับคติของสังคมโซเชียลทำนองว่า ‘กิจกรรมใดที่ได้ทำขึ้นแต่ไม่ได้ถูกโพสต์ลงในอินเทอร์เน็ตจะถือว่ามันไม่ได้เกิดขึ้น’ เป็นที่แน่นอนแล้วว่าผู้คนใส่ใจที่จะสื่อสารในสิ่งที่ตัวเรามีตัวเราได้ ไปสู่สังคมเพื่อนฝูงหรือแม้แต่ชาวโลกให้ได้รับรู้ ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องตลก ปัจจุบันเรายังไม่เห็นตำรารวบรวมหลักการออกแบบเพื่อเกื้อหนุนคนยุคใหม่ในพฤติกรรมการเซลฟี่ แต่ตอนนี้นักออกแบบทั่วโลกต่างบรรจุหัวข้อนี้ลงในเช็คลิสต์การทำงานของตัวเองเรียบร้อย ในอีกทางหนึ่งการเอาใจใส่ในเรื่องนี้น่าจะถือว่าเป็นเสน่ห์ เป็นน้ำใจจากคนทำงานสร้างสรรค์ที่มอบให้กับผู้คนก็ว่าได้

TEXT : PITI AMARANGA
PHOTO : KETSIREE WONGWAN
thebuffaloamphawa.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *