WASINBUREE SUPANICHVORAPARCH

IN THE EXHIBITION ‘DIN CLAY TON’ HELD RECENTLY AT BACC, ART4D GOT A CHANCE TO SPEAK WITH WASINBUREE SUPANICHVORAPARCH ABOUT THE COMMON GROUND BETWEEN THE TWO PRACTICES — PHOTOGRAPHY AND CERAMIC AND HIS COLLABORATION WITH STEFANIE HERING, THE GERMAN CERAMIC ARTIST 


(For English please scroll down)

หลายๆ คนคงรู้จักชื่อของ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินศิลปาธรสาขาการออกแบบ ประจำปี 2553 ในฐานะผู้จัดเทศกาลศิลปะระดับเมือง ‘ปกติศิลป์’ และ ‘ติดศิลป์บนราชบุรี’ ที่ทำให้ราชบุรี (ในบางช่วงเวลา) กลายเป็นจุดหมายปลายทางของผู้สนใจศิลปะทั่วไป และเป็น “เมืองศิลปะ” ก่อนหน้าเทศกาลศิลปะระดับนานาชาติอย่าง Bangkok Art Biennale ในกรุงเทพฯ เสียอีก มาในปีนี้ วศินบุรี มีนิทรรศการร่วมกับศิลปินเซรามิกระดับตำนานอย่าง Stefanie Hering ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเขารับบทบาทเป็นผู้บันทึกกระบวนการทำงานของช่างไทย – ช่างเยอรมัน เป็นชุดภาพถ่ายที่จัดแสดงอยู่ในโซนเดียวกับจานพอร์ซเลนของ Hering

art4d ถามวศินบุรี เกี่ยวกับจุดร่วมของการทำงานภาพถ่ายกับการปั้นเซรามิก และเขาตอบกลับมาเรียบๆ ว่า จริงๆ แล้ว ถ้ามองไปที่กระบวนการทำงานมันจะค่อนข้างแตกต่างกันมาก “ภาพถ่ายมันเร่งได้ ส่วนเซรามิกมันต้องทำไปตามขั้นตอน คือคุณเร่งมันไม่ได้ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมเลือกเซรามิกเป็นอาชีพและให้การถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกไป แต่ถ้าถามถึงจุดร่วมของ pracitce ทั้งสองอย่างนี้ ผมคิดว่ามันคือการรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิด” สิ่งที่ไม่คาดคิดที่ศิลปินกล่าวถึงเป็นได้หลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น แสงของช่วงเวลาที่ทำให้วิวถนนที่เราเดินผ่านทุกวันพิเศษขึ้นมา หรือจะเป็นหัวแก๊ซที่บังเอิญตันพอดีระหว่างการเผาเซรามิก วศินบุรีกล่าวว่าสิ่งนี้นำไปสู่ความจริงที่ว่า ความสวยงามมันไม่ใช่ความเพอร์เฟ็คของผลงานเพียงอย่างเดียว

นอกจากเรื่องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทย – เยอรมัน ผ่านกระบวนการทำงานของ Stefanie Hering ที่ครั้งนี้ เป็นช่างราชบุรีที่เป็นคนขึ้นรูปด้วยเทคนิคการปั้นท้องถิ่น หรือการที่ Hering เผาแม่พิมพ์ด้วยดินราชบุรี ก่อนจะนำกลับไปหล่อด้วยวัสดุอย่างพอร์ซเลนที่เยอรมนี เสร็จออกมาเป็นผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้ อีกประเด็นที่วศินบุรีต้องการสื่อสารผ่านผลงานภาพถ่ายของเขาก็คือ “ผมไม่ได้ต้องการถ่ายภาพให้มันกลายเป็นภาพที่คนอีก 10-20 ปีมาเห็นแล้วพบว่า สมัยก่อนเขาใช้มือปั้นกันด้วยนะ! เพราะอนาคตตอนนั้นวิธีการปั้นด้วยมือได้หายไปแล้ว แต่ผมอยากจะบอกคนที่มาดูตอนนี้ ให้เขารู้ตัวว่า ยังไม่สายเกินไปที่จะอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไว้ เพราะไม่แน่ว่าในอนาคตคนไทยอาจจะต้องบินไปเรียนเทคนิคการปั้นท้องถิ่นของเราเองกับช่างเยอรมัน”

อ่านต่อบทความรีวิวนิทรรศการฉบับเต็มได้ใน art4d SELECTED 

Many know of the name Wasinburee Supanichvoraparch, the 2010’s Silpathorn award-winning artist, as the key figure behind the art festivals ‘Art Normal’ and ‘We are the city’, which put Ratchaburi on an art map as an art town, a destination of art enthusiasts and interested individuals, way before the birth of the art festival such as Bangkok Art Biennale. This year, Supanichvoraparch puts together another collaboration with legendary ceramic artist, Stefanie Hering. For the exhibition taking place at Bangkok Art and Culture Centre, he documents the work process of Thai and German artisans into a series of photographs displayed in the same area as  Hering’s porcelain creations.

art4d asks Supanichvoraparch  about the common ground between the two practices — photography and ceramic — in which the artist simply states the stark difference in the two work processes. “For photography, you can rush. But ceramics has its own steps, and you can’t rush any of them. It’s one of the reasons I choose ceramics as my profession and photography as a hobby. But if we were to talk about the common ground between the two practices, I think it would be dealing with the unexpected.” By the term ‘unexpected,’ he says it can be a number of things ranging from the light of a specific time of day that makes the view of the street we walk everyday becomes somehow more special or a gas nozzle that failed to work while the kiln was firing certain pieces of ceramics. From his point of view, these things lead to the fact that beauty isn’t always about perfection.

The cultural exchange between Thailand and Germany took place through Stefanie Hering’s work process. With the use of Ratchaburi clay, the sculpture was made by the local craftsmen with an incorporation of locally inherited techniques. Moreover, in contrary way, Hering brought the molds made of Ratchaburi clay back to Germany where she finished the casting process of the porcelain pieces that would be featured in the exhibition. There’s also another issue that the artist wishes to convey through this particular series of photographs. “I didn’t want the photos to be something that people will see 10-20 years from now and all they can say is ‘Oh, these pieces are handmade!’, simply because there will be no such thing as handcrafted ceramics left. I would rather have the work speaking with the people who come and see this exhibition and making them realize that it isn’t too late to preserve the things that are ours. Otherwise, there’s a chance that, in the future, Thai people may have to go learn about our own local techniques from some German artisans.”

Read a full review of the exhibition in art4d SELECTED.

www.goethe.de/ins/th/th/ver.cfm?fuseaction=events.detail&event_id=21490013

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *