ห้องสมุดที่คงโครงสร้างและรูปแบบเดิมของ ‘ห้องอาบน้ำรวม’ ไว้ เกิดเป็นรูปแบบการอ่านหนังสือใหม่ๆ และพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนในการพบปะพูดคุยกัน ช่วยให้ห้องสมุดได้เป็นมากกว่า ‘แค่ห้องสมุด’
TEXT: GOLDEN PIN DESIGN AWARD
PHOTO CREDIT AS NOTED
(For English, press here)
โปรเจ็กต์ Not Just Library ที่ได้รับรางวัลงาน Golden Pin Design Award ยอดเยี่ยมแห่งปี 2021 เป็นแนวคิดการออกแบบที่ได้รับมาจากห้องอาบน้ำสำหรับพนักงานหญิงที่โรงงานยาสูบแถวเขตซงชานในช่วงที่ไต้หวันตกอยู่ใต้อาณานิคมของญี่ปุ่น สถาบันวิจัยและออกแบบไต้หวัน (Taiwan Design Research Institute) ได้ทำการเชิญบริษัทสถาปัตยกรรม J.C. Architecture & Design และบริษัทสถาปัตยกรรมการออกแบบ Landscape Motif Planning & Design Consultants มาเพื่อช่วยออกแบบเปลี่ยนแปลงบริเวณห้องอาบน้ำเก่าให้กลายเป็นพื้นที่อ่านหนังสือสไตล์โมเดิร์น โดยยังคงรูปแบบสถานที่ประวัติศาสตร์เดิมที่มีอายุมากกว่า 80 ปีไว้ มิให้โครงสร้างเดิมต้องถูกทำลายไป
แรงบันดาลใจในการออกแบบห้องสมุดแห่งนี้มาจากประสบการณ์การใช้ห้องอาบน้ำรวมของญี่ปุ่นที่ผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายค่าเข้าที่บริเวณทางเข้า จากนั้นเปลี่ยนชุดและแช่ตัวลงในบ่อแช่น้ำเพื่อขจัดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและนำมาสู่การผ่อนคลาย เช่นเดียวกับห้องสมุดที่บูรณะขึ้นใหม่นี้ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้เริ่มสัมผัสถึงบรรยากาศที่เปลี่ยนไปตั้งแต่มาถึงเนินหน้าประตูทางเข้า และค่อยๆ สงบใจได้มากขึ้นในแต่ละก้าวซึ่งช่วยทำให้มีจิตใจสงบพร้อมสำหรับการอ่านหนังสือมากขึ้น เมื่อเข้ามาในห้องสมุดแล้วจะพบบ่ออาบหนังสือ (Book bath) ในทางขวามือ โดยบริเวณนั่งอ่านหนังสือถูกจัดให้เหมือนอยู่ในบ่อน้ำโดยทำให้พื้นยุบตัวลงไป มีโต๊ะและเก้าอี้ในบ่อที่รายล้อมไปด้วยชั้นวางหนังสือที่บรรจุหนังสือออกแบบ ศิลปะ สถาปัตยกรรมมากกว่า 1 หมื่นเล่ม
ภายในบริเวณบ่ออาบหนังสือ (Book bath) ยังมีโต๊ะกลาง ที่ถูกออกแบบให้เหมือนรันเวย์ในงานแฟชันโชว์ แต่ถูกใช้สำหรับเป็นการแสดงนิทรรศการหนังสือหรือผลงานต่างๆ ที่แตกต่างหมุนเวียนกันไปในแต่ละซีซัน ในส่วนของข้างหลังเป็นบริเวณของโซนอาบน้ำมีบ่อครึ่งวงกลมติดกับผนัง โดยใช้บ่ออาบน้ำ กระเบื้องเซรามิก และหน้าต่างที่มีมาตั้งแต่โบราณ
หน้าต่างขนาดใหญ่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้แสงแดดส่องผ่านได้อย่างพอเหมาะ และช่วยให้ผู้อ่านสัมผัสถึงทัศนียภาพสวนภายนอกได้อย่างเต็มที่ โดยหากไฟธรรมชาติจากภายนอกไม่เพียงพอ ยังมีโคมไฟหลอดลักษณะวงกลมแขวนไว้ด้านบน โดยยึดด้วยเหล็กเส้นขนาดเล็กมากกว่า 100 เส้น รั้งไว้กับเพดานโดยไม่ได้ทำการเจาะหรือทำลายตัวอาคารเดิม ทำให้หลอดไฟชิ้นนี้กลายเป็นอีกหนึ่งผลงานศิลปะในหอสมุดแห่งนี้นอกจากนี้ พื้นที่ภายนอกรอบๆ ห้องสมุดเองก็ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดีจากบริษัท Motif Planning & Design Consultants ซึ่งเดิมเป็นเพียงแค่พื้นที่รอบๆ โรงอาบน้ำแต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงปลูกต้นไม้เพิ่มมากกว่าร้อยชนิด ที่แม้เมื่อมองแล้วให้ความรู้สึกเป็นสวนจากธรรมชาติ แต่ที่จริงแล้วผ่านการออกแบบมาอย่างละเอียดและใส่ใจเพื่อให้ทั้งต้นไม้สายพันธุ์เฉพาะในไต้หวันและต้นไม้จากชาติต่างๆเติบโตมาเป็นทัศนียภาพที่สวยงามแปลกใหม่ได้อย่างลงตัว
“ตอนนี้พวกเราอยู่ในยุคดิจิทัลที่ไม่สามารถปฏิเสธได้จริงๆ ว่าสื่อประเภทกระดาษทางกายภาพมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ เรามุ่งหวังว่าจะได้ใช้พื้นที่แห่งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกิจกรรมหรือการแลกเปลี่ยนความรู้กับศาสตร์แขนงต่างๆ และหวังว่าเราจะสามารถส่งต่อความรู้เหล่านี้ออกไปได้ผ่านวีธีการที่หลากหลาย” ผู้จัดการดูแลห้องสมุดกล่าว
ในฐานะสถาบันสำคัญด้านการโปรโมทการออกแบบ สถาบันวิจัยและออกแบบไต้หวันได้ทำการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์เดิมๆ ของห้องสมุดที่เป็นภาพจำของห้องเงียบๆ มีโต๊ะเยอะๆ และติดไฟสว่างๆ ผ่านทางกิจกรรมการออกแบบและงานศิลปะ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนในการพบปะพูดคุยกัน และช่วยให้ห้องสมุดได้เป็นมากกว่า “แค่ห้องสมุด”
johnnyisborn.com
motifla.com.tw
_
งานรางวัลการออกแบบ Golden Pin Design Award
Golden Pin Design Award เป็นงานรางวัลการออกแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดในตลาดการออกแบบแห่งไต้หวัน จีน มาเก๊า และฮ่องกง ซึ่งต้องการเปิดโอกาสและสนับสนุนงานออกแบบไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ ผลงานออกแบบหลากหลายประเภท ที่มีความโดดเด่นจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย
โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนใบรอบล่วงหน้า (Early Bird) ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2566 และสามารถลงทะเบียนรอบปกติได้จนถึงวันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2566
ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ผ่านทาง https://www.goldenpin.org.tw/en/