Tag: landscape
TIME STRETCHED
TEXT & IMAGE: ANTON REPPONEN
(For English, press here)
Time Stretched เป็นการเดินทางสำรวทางทัศนะที่จะพาเราไปค้นหาความเกี่ยวเนื่องอันซับซ้อนของเวลา การเคลื่อนไหว และการรับรู้ของมนุษย์ แต่ละภาพในชุดนี้แช่แข็งช่วงเวลาไว้ในปฏิทรรศน์แห่งเวลา (temporal paradox) สภาพแวดล้อมล้วนถูกบิดเบือนไปในความโกลาหลจากการยืดตัวของเวลา ในขณะที่ตัวละครหลักของภาพกลับไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากโครงสร้างแห่งเวลาที่บิดเบี้ยว ผลลัพธ์ที่ได้คือภูมิทัศน์ที่ยืดออก สถาปัตยกรรมที่ผิดรูป และสภาพแวดล้อมเหนือจริงที่สร้างภาพบรรยากาศอันตราตรึง
ภาพแต่ละภาพถูกบันทึกไว้จากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ถนนที่วุ่นวายในนิวยอร์กจนถึงภูมิทัศน์ที่เต็มไปด้วยสีสันของโตเกียว บาร์เซโลนา และกรุงเทพฯ แต่ในโลกของ ‘Time Stretched’ ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์จางหายไปจนไม่เหลือความสำคัญ ผู้ชมจะถูกนำไปสู่ช่วงเวลาที่บิดเบี้ยวและเป็นนามธรรม ในโลกแห่งนี้ ตัวละครหลักปรากฏตัวอย่างโดดเดี่ยว หยุดนิ่งไม่ไหวติงภายในห้วงเวลาของตนเอง หลุดพ้นจากข้อจำกัดของสถานที่ และดื่มด่ำในปฏิสัมพันธ์ที่น่าหลงใหลและน่าค้นหาของปฏิทรรศน์เวลา
___________________
Anton Repponen เป็นนักออกแบบปฏิสัมพันธ์ (interaction design) ที่มีสำนักงานอยู่ในนิวยอร์ก เขาร่วมนำทีมสตูดิโอออกแบบชื่อ ‘Anton & Irene’ ที่ดูแลลูกค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันวัฒนธรรมชั้นนำเช่น M+ Museum ในฮ่องกงและ The Met Museum ในนิวยอร์ก ไปจนถึงยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Spotify Netflix และ Google แนวทางการออกแบบของเขาผสมผสานอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบปฏิสัมพันธ์ได้อย่างลงตัว สะท้อนถึงปรัชญาการออกแบบที่เน้นความเป็นมนุษย์และพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมของเขาอย่างชัดเจน
THE DEPARTMENT OF LANDSCAPE ARCHITECTURE, KASETSART UNIVERSITY
วิทยานิพนธ์ 7 เรื่อง จากนิสิตภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
NOT JUST LIBRARY
ห้องสมุดที่คงโครงสร้างและรูปแบบเดิมของ ‘ห้องอาบน้ำรวม’ ไว้ เกิดเป็นรูปแบบการอ่านหนังสือใหม่ๆ และพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนในการพบปะพูดคุยกัน ช่วยให้ห้องสมุดได้เป็นมากกว่า ‘แค่ห้องสมุด’
ASA 2023 HUMAN LIBRARY
เรียนรู้สิ่งใหม่ผ่านการพูดคุยกับ ‘หนังสือมนุษย์’ ในงานสถาปนิก’66 จาก 4 สาขาวิชาชีพทั้ง สถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม และผังเมือง พร้อมทั้งพบปะเหล่า Influencer มากความสามารถจากสาขาอื่นๆ ไปพร้อมกัน Read More
YELLOW MINI
ส่วนต่อเติมของ Yellow Submarine Coffee Tank ที่นำเสนอที่ว่างระหว่างระนาบด้านบนและภูมิประเทศเดิมด้านล่างอันตั้งคำถามว่าพื้นที่ใต้หลังคาลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกับการนั่งกินกาแฟอย่างไหนได้บ้าง
NANA COFFEE ROASTERS BANGNA
IDIN Architects และ TROP : terrains + open space ออกแบบ ร้านกาแฟ NANA Coffee Roasters Bangna ให้ตัวอาคารและสวนได้แทรกตัวกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน สร้างบรรยากาศฉากหลังเป็นร่มไม้ที่ช่วยให้คอกาแฟได้เพลิดเพลินไปกับรสชาติกาแฟตรงหน้ามากที่สุด
VERY TINY PALAZZO
บ้านหลังจิ๋วจาก Fala Atelier ที่ดูเรียบง่ายหากแต่เต็มไปด้วยรายละเอียดสุดขี้เล่น ทั้งผนังตกแต่งส่วนหัวอาคารที่เหมือนเป็นการสวมมงกุฎให้กับบ้าน ก้อนสีขาวก้อนใหญ่ในบ้านที่ดูหนักแน่นแต่ลอยตัว
LANA DESIGN STUDIO
TEXT & PHOTO COURTESY OF LANA DESIGN STUDIO
(For English, press here)
WHO
กลุ่มคนเล็กๆ ที่ตั้งใจทำงานออกแบบเพื่อการเติบโตของงานและภายในตัวเอง
WHAT
เริ่มต้นจากแลนด์สเคปงานเล็กจิ๋วจนต้องทำรับเหมาเองและไหลมามีโอกาสได้ทำพร้อพอินทีเรียบ้าง แลนด์สเคปกึ่งอินทีเรียบ้าง แลนด์สเคปร่วมกับ sculpture team บ้าง หรือจะเรียกว่าเราขายสไตล์กับงานได้มั๊ยนะ
WHEN
เริ่มรับงานตั้งแต่ปี 2014 ก่อนที่จะมีชื่อว่า ลาน่า
WHERE
เราอยู่กันคนละที่แต่ทำงานออนไลน์และออนไซท์งาน
WHY
มันอาจจะมาตั้งแต่ที่เด็กๆ ดูหนังอวกาศแล้วอยากออกแบบสเปซกับของเจ๋งๆเหมือนในหนัง และโตมากับพี่เลี้ยงที่รักการปลูกต้นไม้ แม่ที่ชอบนั่งกินไวน์ที่สนาม มันอาจจะเป็นส่วนผสมนี้ที่ทำให้เรากลายเป็นแลนด์สเคปดีไซเนอร์แล้วกลายมาเป็นลาน่าก็ได้
ส่วนความโตมาอย่างอิสระของเรา ก็เลยทำให้ลาน่าเป็นสตูดิโอในรูปแบบที่อิสระ ทั้งวิถีการทำงานและการค่อนข้างไร้รูปแบบของการรับงาน คือเราสนุกที่จะทำหมด
คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
การปล่อยความคิดไหลเข้าสู่ flow แบบลืมข้อจำกัดไปก่อน
อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
แรงบันดาลใจมันมาได้จากทุกอย่าง จากการใช้ชีวิต จากเสื้อผ้า จากเพื่อนที่เจอ หนังที่ไปดู อาจจะโผล่เข้ามาตอนขับรถ หรือแค่ตอนว่างๆ ซึ่งมันไร้ข้อจำกัด แค่เราอาจต้องใช้ชีวิตเพื่อพบเจอสิ่งต่างๆและอยู่กับตัวเองให้พอ … เพื่อให้มีช่องว่างให้มันโผล่เข้ามาได้ด้วย
โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
อะไรที่พามันมาถึงจุดที่ได้ออกแบบ หรือจนสร้างเสร็จ ซึ่งใช้ทั้งทีมเรา ทีมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ลูกค้าที่ลุยมาด้วยกันจนได้ออกมาเป็นผลงาน มันน่าภูมิใจที่มันส่งผ่านออกมาได้ ไม่ว่ามันเหมือนจุดเริ่มต้นหรือมันกลายร่างมาไกลแล้วก็ตาม แต่มันก็คือผลงานร่วมกันของทุกคน ซึ่งมันเจ๋งมากแล้ว
ต้นไม้อะไรที่คุณชอบที่สุด เพราะอะไร?
เปลี่ยนไปตลอดเลยค่ะ ตอบข้อนี้ไม่ได้ 555
มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
พี่ โน้ส อุดม ค่ะ แกเหมือนมีสีทุกสีอยู่ในตัวผสมกันจนเท่และลึกไปหมด เหมือนกล่องที่อัดแน่นและเรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุด และตอนนี้แกก็ดูผ่อนคลายเหมือนมีบทใหม่ของชีวิตที่น่าจะเป็นเหมือนหนังสือเล่มที่คงโชคดีจังถ้าเราได้อ่าน และถ้าย้อนกลับไปคำถามว่า แรงบันดาลใจจากไหน ตอนไปดูงานนิทรรศการแก ก็เหมือนได้สิ่งนี้มาแบบท่วมท้นเลยวันนั้น พี่โน้สคงเป็นคำตอบนี่ค่ะ
BINH DUONG HOUSE
บ้านที่เปลี่ยนให้ต้นไม้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเพื่อตอบคำถามว่า ‘สถาปัตยกรรมจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติในบริบทเดิมได้อย่างไร’