Category: PICKS

INSTANT SCULPTURE


TEXT & PHOTO: CAN SUN

(For English, press here

ผลงานชุด Instant Sculpture โดย Can Sun มุ่งความสนใจไปที่การแปลงรูปและผสมผสานวัตถุในชีวิตประจำวันและสำเร็จรูปขึ้นมาใหม่ ก่อนจะสร้างขึ้นเป็นประติมากรรมหน้าตาขี้เล่นที่ล้อเลียนตัวเอง วัตถุหลากชนิดกลายเป็นเป็นอุปมาอุปมัยของแต่ละงาน ละม้ายคล้ายคลึงกับการเขียนบทกวี หากแต่ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้จากการสร้างงานประติมากรรมเหล่านี้ได้รับการบันทึกเอาไว้ในรูปแบบของภาพถ่าย ศิลปินควบรวมเอาสัญลักษณ์และวัตถุหลายชนิดเพื่อสร้างภาพจำและการเชื่อมโยงที่ท้าทายความคิดแบบเดิมๆ เกี่ยวกับศิลปะประติมากรรมและการถ่ายภาพ

ภาพถ่ายในผลงานชุดนี้แสดงมุมมองอันเป็นเอกลักษณ์ของ Can Sun ต่อโลกใบนี้ ผ่านการสร้างบริบทให้วัตถุในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการที่แปลกใหม่และคาดไม่ถึง เขาชวนเชิญผู้ชมให้มองโลกด้วยสายตาที่สดใหม่ และเห็นถึงความไร้สาระไม่สมเหตุสมผลที่อยู่รอบๆ ตัวเราทุกคน

อารมณ์ขันคือองค์ประกอบหลักของผลงานชุดนี้ โดยที่ Can Sun ใช้มันเพื่อเป็นทั้งการยอมรับและต่อต้านความไร้สาระในโลกใบนี้ในคราวเดียวกัน ประติมากรรมล้อเลียนตัวเองเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นผ่านการผสมผสานสัญลักษณ์และวัตถุต่างๆ ที่กระตุ้นความขี้เล่น เพ้อฝัน แปลกประหลาด ในขณะที่ก็ยังทำหน้าที่วิพากษ์สังคมรอบๆ ตัวเรา

_____________

Can Sun เกิดในปี 1992 ที่จีนแผ่นดินใหญ่ จบปริญญาศิลปะบัณฑิตและปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์จากประเทศจีนก่อนจะไปเรียนต่อด้านการถ่ายภาพในระดับปริญญาโทจาก Royal College of Art ในปี 2022 ปัจจุบันทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในลอนดอน ผลงานของเขาให้ความสำคัญหลักๆ อยู่ที่ความไร้สาระในโลกและความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน และการนำพาเอาข้าวของในชีวิตประจำวันที่มักถูกลืมมาเป็นโจทย์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

instagram.com/suncannot

 

CALL ME NABET

TEXT & PHOTO: THANABET CHANPREECHAYA

(For English, press here

ระหว่างที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศก็เกิดความคิดถึงประเทศไทย จึงมีไอเดียสร้างฉากรวบรวมเสน่ห์ของบ้านเกิด แต่สิ่งที่สร้างไม่อยากให้เป็นสถาปัตยกรรมหรือวัดไทยทั่วไป แต่เป็นสิ่งที่คนไทยผูกพันและคุ้นเคยในทุกๆ วัน 

จากกระบวนการลองผิดลองถูก ผลงานชิ้นแรกที่ออกมาคือตู้โทรศัพท์สาธารณะจำลองที่เล่าเรื่องราวผ่านคราบความเก่า พื้นฟุตบาทที่ขรุขระ และความยุ่งเหยิงของสายไฟบนเสาไฟฟ้า 

นอกจากนั้นยังมีผลงาน ‘ห้างทองฮั่วเซ่งเฮง’ ห้างทองที่อยู่คู่คนไทยมาช้านานใจกลางเยาวราช ผลงานนี้ใช้หลากหลายวิธีการริเริ่มสร้างสรรค์ ตั้งแต่การถ่ายภาพ การบินโดรน ไปจนถึงการสแกนแบบ 3 มิติ ทั้งภายในและภายนอกเพื่อเก็บข้อมูล หวังว่าผลงานทั้งหมดนี้พาผู้ชมเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ ความทรงจำ และจินตนาการไปว่าตัวเองกำลังสำรวจภายในผลงานสร้างสรรค์นี้อยู่

_____________

ธนเบศร์ ชาญปรีชญา คือศิลปินผู้ชื่นชอบการสร้างสรรค์โมเดลจิ๋ว ธนเบศร์ จบการศึกษาปริญญาตรีด้านแอนิเมชัน จากประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นเจ้าของเพจ ‘CALL ME NABET’

facebook.com/callmenabet
instagram.com/callmenabet

 

THE ART OF TRAVEL POSTERS

TEXT & PHOTO: ARTHUR VERGNE

(For English, press here

โปสเตอร์โปรโมตการท่องเที่ยวนั้นถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในฐานะของสื่อโฆษณาชนิดหนึ่งที่มีพลังในการจูงใจผู้คนให้ออกเดินทางไปยังที่ต่างๆ ด้วยสีสันสดใสและพลังในการสร้างความรู้สึกของการผจญภัยและการออกสำรวจค้นหาอะไรใหม่ๆ ผมจึงอยากนำเสนอความสวยงามของประเทศไทยในฐานะประเทศที่ผมได้เลือกลงหลักปักฐานผ่านคอลเลคชั่นโปสเตอร์ที่ผมได้สร้างขึ้น ในมุมมองของสถาปนิก ผลงานชุดนี้ก็เป็นเหมือนการสำรวจและถ่ายทอดความงามและความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของวัดวาอารามต่างๆ ด้วยแรงบันดาลใจจากการ์ตูนแอนิเมชั่นญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา อาร์ทเวิร์คเหล่านี้มุ่งหมายที่จะแสดงออกถึงความหลากหลายของประเทศไทยด้วยมุมมองที่มีความโรแมนติค จากทั้งเจดีย์ที่ดูลึกลับน่าค้นหาภายใต้แสงจันทร์ ทุ่งข้าวสีเหลืองทองพริ้วไหวสายลม หรือถนนหนทางอันวุ่นวายภายใต้ท้องฟ้าสีสดใส…

_____________

Arthur Vergne เป็นสถาปนิกและนักวาดภาพประกอบที่ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่มาเกือบสิบปีแล้ว นอกเหนือไปจากการทำงานสถาปัตยกรรม เขายังกำลังออกแบบคอลเลคชั่นโปสเตอร์ที่ฉายภาพความสวยงามของประเทศไทยอีกด้วย

instagram.com/arthur.illustration

NEW KHMER ARCHITECTURE

TEXT & ILLUSTRATION: POUM MEASBANDOL

(For English, press here

ด้วยพื้นฐานทางการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ผมได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของสถาปนิกกัมพูชาและต่างชาติหลายท่านที่สร้างขึ้นในยุคสังคมราษฎร์นิยม ที่รุ่งโรจน์อยู่ในช่วงระหว่างทศวรรษ 1960 และ 1970 ในกัมพูชา ผมเริ่มทำการศึกษาวิจัยและสะสมภาพถ่ายเก่าของอาคารแนวโมเดิร์นนิสต์ในกัมพูชา และแชร์สิ่งที่ผมพบเจอบนโซเชียลมีเดีย ผมยังพบว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนน้อยที่รู้จักเหล่าสถาปนิกจากช่วงยุค 1960 ยิ่งไปกว่านั้น งานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาสมัยใหม่ในกัมพูชายังปรากฏให้เห็นไม่มากนักในขณะที่มรดกทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้กำลังถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ การได้เห็นความเสื่อมถอยนี้ด้วยตาตัวเองเป็นแรงผลักดันให้ผมเข้าไปมีส่วนร่วมในประเด็นปัญหาดังกล่าวมากขึ้นและเริ่มทำการบันทึกมันเอาไว้ในรูปแบบของ illustration

ในซีรีย์ภาพกราฟิก New Khmer Architecture นี้ ผมให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของอาคารที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกระดับชาติของกัมพูชาอย่าง Vann Molyvann, Lu Ban Hap, Mam Sophana, Ung Krapum Phkar ไปจนถึงผลงานของสถาปนิกต่างชาติอย่าง Henri Chatel, Leroy & Mondet, Georg Lippsmeier และอื่นๆ

การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายคือการระลึกถึงความสำเร็จรุ่งเรืองในอดีตและเพื่อให้มันเป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมกัมพูชาสมัยใหม่ในภาพที่แปลกใหม่และน่าจดจำ ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบอันเป็นเอกลักษณ์ของอาคารแต่ละหลัง ผลลัพธิ์ที่ได้คือผลงานที่แสดงความคารวะต่อเหล่าผู้บุกเบิกงานสถาปัตยกรรมกัมพูชาสมัยใหม่ ผู้สร้างสิ่งอันเป็นมรดกตกทอดที่กำลังสุ่มเสี่ยงต่อการจางหาย ที่แม้จะเป็นไปอย่างช้าๆ หากแต่ว่าแน่นอน

_____________

Poum Measbandol ทำงานเป็นสถาปนิกอยู่ในกรุงพนมเปญ เขาจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบแห่งมหาวิทยาลัย Pannasatra University of Cambodia

ASA EXPERIMENTAL DESIGN COMPETITION 2020: THE EVERYDAY HERITAGE

ไขข้อข้องใจอะไรคือ Everyday Heritage : ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ชวนสถาปนิก-ดีไซเนอร์ร่วมส่งไอเดียประกวดแบบสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง ณ งานสถาปนิก’63 ในหัวข้อ The Everyday Heritage

จับเข่าคุยกับ ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ศิลปินดีเด่นรางวัลศิลปาธร 2561 สาขาสถาปัตยกรรม และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสถาปนิก Department of ARCHITECTURE ถึงการประกวดแบบระดับชาติ ASA Experimental Design Competition 20 ในหัวข้อ ‘The Everyday Heritage’ ที่เธอเป็นโต้โผดูแล

หลายคนบอกว่าโจทย์ปีนี้กำกวมทีเดียว ในฐานะผู้ดูแลการประกวดคุณช่วยไขข้อข้องใจตรงนี้หน่อยได้ไหม

ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ: “Everyday Heritage มันเป็นสิ่งที่กำกวมถูกต้องแล้วค่ะ (หัวเราะ) ดังนั้นใครที่รู้สึกไม่มั่นใจ หรือตั้งคำถามว่ามันคืออะไรกันแน่ นั่นคือคุณมาถูกทางแล้ว เพราะโดยทั่วไปสิ่งที่เรามั่นใจแน่ว่ามันเป็น heritage ของชาติ เช่นวัด เช่นวัง หรือของที่ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์แล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยเป็นปัญหา ส่วนใหญ่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ในโลกปัจจุบันเรายังมีของอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจจะมีคุณค่าในฐานะมรดกสถาปัตยกรรม แต่เป็นสิ่งที่พวกเราลืมมอง หรือมองแล้วก็ผ่านไป ทั้งที่มันก็อาจมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ หรือทางจิตใจ หรือทางใดทางหนึ่งที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน นี่คือสิ่งที่การประกวดปีนี้ต้องการชวนคุณออกตามหา อยากให้มาช่วยกันมอง และช่วยกันคิดว่าเราสามารถจะตีความ สร้างคุณค่า หรือสร้างความหมายใหม่ให้กับ everyday heritage เหล่านี้อย่างไรผ่านการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม”

หมายความว่า Everyday Heritage ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เก่าเป็นร้อยๆ ปีก็ได้รึเปล่า

ทวิตีย์: นี่ล่ะคือสิ่งที่การประกวดปีนี้อยากให้คุณตั้งคำถาม เป็นคำถามสำคัญเลยนะคะ อะไรที่ทำให้สถาปัตยกรรมหนึ่งๆ มีคุณค่าพอที่เราจะเรียกว่า everyday heritage หรือที่ทำให้มันควรค่าแก่การอนุรักษ์ หรือเก็บรักษาไว้ในทางใดทางหนึ่ง บางทีมันอาจจะเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เก่าเป็นร้อยปีก็ได้รึเปล่า แต่ถ้ามันมีองค์ประกอบบางอย่างที่ทำให้มันมีคุณค่าในความรู้สึกของคุณล่ะ นั่นคือสิ่งที่คุณต้องหาคำตอบมาให้กรรมการ โจทย์ปีนี้แม้จะเป็นเรื่อง heritage แต่เราไม่ได้ตีกรอบมันด้วยอายุนะคะ ถ้าสถาปัตยกรรมหนึ่งมีอายุ 30 ปี หรือ 40 ปี แต่คุณเห็นนัยสำคัญบางอย่างที่มันสื่อถึงพลวัติทางวัฒนธรรม ทางรสนิยม หรือทางเทคโนโลยีในยุคสมัยนั้นๆ  มันก็อาจจะมีคุณค่าพอที่จะเป็นมรดกก็ได้ อันนี้เราเชื่อว่าแต่ละคนจะมีมุมมองไม่เหมือนกัน”

“ของบางอย่างบางคนก็ให้คุณค่า บางคนก็ไม่ให้คุณค่า
ปัญหาเรื่องมรดกสถาปัตยกรรมมันมักจะอยู่ในพื้นที่ก้ำกึ่งแบบนี้”

ฟังดูท่าทางคณะกรรมการจะตัดสินยาก

ทวิตีย์: “ก็ท้าทายล่ะค่ะ (หัวเราะ) เพราะมันไม่มีเงื่อนไขเป็นข้อๆ ที่เราจะบอกว่านี่คือถูกหรือนี่คือผิด เราถึงได้เรียกมันว่า Experimental Design Competition ไงคะ เพราะมันคือการก้าวเข้าไปในโลกที่เรายังไม่รู้ กรรมการก็ยังไม่รู้ คนตั้งโจทย์ก็ยังไม่รู้ ไอเดียสำคัญอยู่ที่การตั้งคำถามที่ดี และจะไม่มีคำตอบไหนที่ถูกหรือผิด ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณจะตีความโจทย์ที่คุณเลือกมาอย่างไร และจะใช้การออกแบบเข้าไปทำงานกับสถาปัตยกรรมนั้นให้มันมีพลังขึ้นมาได้แค่ไหน

“กรรมการไม่ได้ตามหาการบูรณะสถาปัตยกรรมเก่าคืนสู่สภาพเดิม (restoration) แต่เราตามหาการออกแบบที่จะเปลี่ยนแปลงมรดกสถาปัตยกรรมนั้นอย่างสร้างสรรค์มากกว่า (architectural intervention)”

ถ้าผลงานใดสามารถจะไขประตูความคิดหรือสร้างมุมมองใหม่ๆ ให้คณะกรรมการรู้สึกทึ่งได้ นั่นคือคำตอบที่ใช่ และเราเชื่อมั่นว่าด้วยความหลากหลายของคนที่เข้าประกวด เราน่าจะได้เห็นไอเดียที่เปิดกว้างมาก และจะได้เห็นโซลูชั่นแปลกใหม่ที่เราคาดไม่ถึงแน่นอน”

_____________

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญสถาปนิก นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ASA Experimental Design Competition 20 ในหัวข้อ “THE EVERYDAY HERITAGE” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 285,000 บาท โดยสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2563  ข้อมูลเพิ่มเติมที่: https://www.asacompetition.com

WOMANIFESTO 2019

GENDER IN SOUTHEAST ASIAN ART HISTORIES AND VISUAL CULTURES: ART, DESIGN AND CANON-MAKING?
20TH – 27TH APRIL 2019 

นิทรรศการศิลปินหญิงนานาชาติ (Womanifesto) เป็นงานกิจกรรมศิลปะที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยเกิดขึ้นจากการริเริ่มของกลุ่มศิลปิน ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมงานศิลปะของศิลปินหญิงจากที่ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อสนับสนุนให้เครือข่ายของศิลปินหญิงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคง แม้ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างกันแบบส่วนตัวฉันท์เพื่อนเป็นหลัก การรวมตัวครั้งแรกเริ่มขึ้นในงานนิทรรศการ “ประเวณี-ประเพณี” (Tradisexion) เมื่อปี พ.ศ. 2538 ต่อมาโครงการก็ได้เงียบหายไป ภายหลังการจัด Residency Program ที่จังหวัดศรีสะเกษเมื่อปี 2551 กระทั่งการกลับมาจัดนิทรรศการอีกครั้งในปีนี้ ที่เราได้ยินมาว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์ของเทศกาลแบบ biennale จำนวนมากที่เกิดขึ้นในบ้านเราเมื่อปีที่ผ่าน Womanifesto จึงกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งหนึ่ง พร้อมไปกับการทบทวนถึงบทบาทและพันธกิจของเทศกาลเอง ในการขยับขยายกรอบความคิดเรื่อง ‘gender’ ในวงการศิลปะ นิทรรศการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 27 เมษายน 2562 ที่ Design Center อาคารโวฒยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ภายในงานมีกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ Gender in Southeast Asian Art Histories and Visual Cultures: Art, Design and Canon-making? และกิจกรรมสาธารณะ ในวันที่ 19 – 20 เมษายน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง bit.ly/wmnft2019

The   biannual art activity   is initially conceived from an artist initiative whose aim is to promote the works of female artists from around the world. It also set off to consistently expand and sustain the female artist network although most of the interactions are something along the line of the kind of discussion one can expect from a group of friends of mutual interests and passion. The first exhibition, Tradisexion, took place in 1995. The project then went into a long hiatus after the Residency Program in Srisaket province of Thailand in 2008 before finally resuming its activity this year. We’ve heard that one of the main reasons behind Womanifesto’s return to the art scene is the rise of the biennale  festivals that Thailand had hosted last year. This return is also an opportunity for Womanifesto to rethink their role and missions revolving the broadening of the art community’s mindset about ‘gender’. The exhibition will be held on 20th – 27th April 2019 at Design Center, Votayakorn building, Chulalongkorn University. The exhibition will also feature the lecture, ‘Gender in Southeast Asian Art Histories and Visual Cultures: Art, Design and Canon-making?’ and   public event, scheduled to take place on 19th – 20th April 2019. For more information, visit   bit.ly/wmnft2019

PHOTO COURTESY OF WOMANIFESTO

REFLECTIONS ON JAPANESE VERNACULAR ARCHITECTURE

KLAUS ZWERGER | REFLECTIONS ON JAPANESE VERNACULAR ARCHITECTURE

กิจกรรมเลคเชอร์ในหัวข้อ “Reflections on Japanese Vernacular Architecture” โดยศาสตราจารย์ Klaus Zwerger จาก Vienna University of Technology (TU WIEN) ประเทศออสเตรีย ในวันพุธที่ 17 เมษายน 2019 เวลา 16:00 – 19:00 น. ที่ห้องประชุมทองพันธุ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง http://tinyurl.com/y39zjfwh

The lecture “Reflections on Japanese Vernacular Architecture” by Professor Klaus Zwerger from Vienna University of Technology (TU WIEN), Austria will tale place at the Thongpan Meeting Room, Faculty of Architecture, Kasetsart Univeristy, on 17th April 2019, 16.00-19.00. For more information, visit http://tinyurl.com/y39zjfwh.

THE ARCHITECTURE BI/TRI-ENNIALS 2019

THE SCHEDULE OVERLAPPING OF THE ARCHITECTURE BI/TRI-ENNIALS 2019
September – December 2019

เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย เมื่อจู่ๆ นิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติหลายแห่งทั่วโลก ต่างก็เลือกวันเปิดงานในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันภายในปีนี้ ตั้งแต่ Chicago Architecture Biennial (19 กันยายน 2019 – 5 มกราคม 2020ที่มาพร้อมกับธีม “…and other such stories” ด้วยความพยายามที่จะใช้วิธีคิดแบบใหม่ๆ ในการศึกษาเมือง หรือ International Architecture Biennale of São Paulo (19 กันยายน – 19 ธันวาคม 2019) ซึ่งเน้นไปยังหัวข้อเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกัน Oslo Architecture Triennale (26 กันยายน – 29 พฤศจิกายน 2019) ก็มาพร้อมกับโจทย์อันท้าทายอย่าง The Architecture of Degrowth ไปจนถึง Tallinn Architecture Biennale ที่เอสโตเนีย (11 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2019) และ Lisbon Architecture Triennale ที่จัดขึ้นหลังใครเพื่อน (3 ตุลาคม – 2 ธันวาคม 2019) ช่วงเวลาของการจัดงานที่คาบเกี่ยวกันนี้ บีบให้ผู้ที่สนใจเดินทางตามไปเก็บครบทุกงานได้ยาก (เว้นแต่ว่าชีพจรการเงินจะเต้นแรงพอ)

อย่างไรก็ตาม Phineas Harper หนึ่งในทีมคิวเรเตอร์ของ Oslo ก็แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่าการจัดงานลักษณะนี้ นับเป็นการเอื้อให้กับคนในพื้นที่มากกว่าการคาดหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เมื่อลองหันกลับมามองดูเทศกาลในภูมิภาคเอเชียอย่าง Seoul Biennale of Architecture and Urbanism (กันยายน – พฤศจิกายน 2019) หรือ Bi-City Shenzhen Biennale of Urbanism / Architecture (ปลายปี 2019 – ฤดูใบไม้ผลิปี 2020) ซึ่งต่างก็มุ่งเน้นไปยังความพยายามสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชนทั่วไป ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอลที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตคนในเมืองและชุมชน ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของนิทรรศการสถาปัตยกรรมในปีนี้ ที่ต้องการสร้างบทสนทนากับคนในพื้นที่เป็นสำคัญ ส่วนจะทำได้มากน้อยแค่ไหนกันนั้น คงต้องติดตามดูกันต่อไป


What does one think when the Architecture Bi / Triennials around the world have selected opening dates very close to each other this year? Firstly, the    Chicago Architecture Biennial  (SEP 19, 2019 – JAN 5, 2020) comes with a theme “…and other such stories” in an attempt to take on new approaches toward the studying of the city while the   International Architecture Biennale of São Paulo  (SEP 19 – DEC 19, 2019) focuses on everyday architecture. Meanwhile,   Oslo Architecture Triennale  (SEP 26 – NOV 29, 2019) takes on a challenging topic, ‘The Architecture of Degrowth.’ Then the   Tallinn Architecture Biennale, Estonia (SEP 11 – NOV 30, 2019) and the  Lisbon Architecture Triennale  hold the last positions in the calendar (OCT 3 – DEC 2, 2019). The overlapping schedule of these festivals forces their visitors to decide to visit just some of the programming as it will be hard to see every single event within the time given (assuming you’re a jet-setter).

However, one of the Oslo curatorial team members,   Phineas Harper           made an interesting comment stating that by having these kinds of festivals all start so close to each other this year, they are more conducive to local consumption. When we look back at the festivals in Asia, the    Seoul Biennale of Architecture and Urbanism            (SEP – NOV 2019) and   Bi-City Shenzhen Biennale of Urbanism / Architecture  (Late 2019 – Spring 2020), both focused all efforts on creating awareness for the general public amid the changes in the digital age which affect the ways of life in the city and also the local community. They can serve as showcases to demonstrate some tendencies of architectural exhibitions this year which are eager to create a dialogue with locals. So, please stay tuned and check out how they strive to meet their goals as we wait to see what unfolds.

PHOTO COURTESY OF TÕNU TUNNEL

DRAWING, DESIGNING, THINKING

DRAWING, DESIGNING, THINKING: 150 YEARS OF TEACHING ARCHITECTURE AT MIT
February, 14th – August, 25th 2019
MIT MUSEUM, USA

นิทรรศการเนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปีของภาควิชาสถาปัตยกรรมสถาบัน MIT โดยความร่วมมือกันระหว่าง MIT Museum และภาควิชาสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นแหล่งการสอนวิชาสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

นิทรรศการได้รับการออกแบบทั้งหมดเป็น 5 ธีม ประกอบไปด้วย สตูดิโอ พร็อกซี่ การวิจัย สหวิทยากร และอนาคต ทั้งหมดนี้เน้นไปที่ผลงานของนักเรียนและคณาจารย์ในหลักสูตรประวัติศาสตร์ของภาควิชา ภายใต้วัตถุประสงค์หลักของนิทรรศการที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าภาควิชามีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในการสอน เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการออกแบบในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สำหรับไฮไลท์ภายในนิทรรศการเป็นการเปิดกรุจัดแสดงผลงานศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงอย่าง Robert R. Taylor, I.M. Pei และ Charles Correa ที่พวกเขาได้ทำขึ้นในขณะเป็นนักเรียนที่สถาบัน

นิทรรศการ Drawing, Designing, Thinking: 150 Years of Teaching Architecture at MIT จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 25 สิงหาคม 2562 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง http://bit.ly/2GV9wlh

This exhibition celebrates the 150-year anniversary of MIT  Department of Architecture  as a collaboration between MIT Museum and the Department of Architecture, the oldest architectural program in the United States.

Curated into 5 themes: Studio, Proxy, Research, Multidiscipline and Future, the exhibition focuses entirely on the works of students and professors from the department’s History program with the main objective being to showcase the faculty’s consistent and innovative educational contributions designed and developed to prepare students for the rapidly changing world. The exhibition’s highlight features a showcasing of the works that the department’s reputable alumni such as Robert R. Taylor, I.M. Pei and Charles Correa created during their student years.

Drawing, Designing, Thinking: 150 Years of Teaching Architecture at MIT will be held between the 14th of February and the 25th of August 2019. For more information, visit   http://bit.ly/2GV9wlh.

PHOTO COURTESY OF  MIT DEPARTMENT OF ARCHITECTURE
mitmuseum.mit.edu

 

 

BODW 2018

BODW 2018
3-8 December 2018
Hong Kong Convention and Exhibition Centre

This year’s central theme of Business Of Design Week is ‘Think  Collaborate  Create.’ This design event will hold 14 talk sessions by more than 70 speakers from the design scene and businesses from 15 countries. The talks will concern various aspects of design and innovation and include those of branding, space, communication, product and culture. Apart from the talks and conference, this year’s BODW will also feature the ‘BODW City Program,’ which is a creative community activation program designed to engage with a larger audience.

กลับมาอีกครั้งกับงานอีเวนต์ด้านการออกแบบบนเกาะฮ่องกง Business of Design Week ประจำปีนี้มาในธีม “Think  Collaborate  Create” โดยจะประกอบไปด้วยงานทอล์คกว่า 14 ช่วง มีสปีคเกอร์มาร่วมงานกว่า 70 คน จาก 15 ประเทศ ประเด็นที่กำลังจะถูกหยิบมาถกกันในงานนี้เกี่ยวกับ หลายๆ แง่มุมของงานออกแบบ และนวัตกรรมที่มีผลต่อภาคธุรกิจ และวัฒนธรรม นอกจากงานทอล์ค ในปีนี้ยังมีกิจกรรม BODW City Programme ที่จะจัดกระจายตามจุดต่างๆ ของเมือง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้เข้าถึงงานออกแบบมากขึ้น

bodw.com/ar