INFORMATION AS ART

FROM THE ARCHIVES THIS WEEK, TWO WORKS OF PUVANAI MON DARDARANANDA ARE BEING REVISITED TO ILLUSTRATE US HOW THE ‘ELECTRONIC ART’ WAS LIKE DURING THE 90s

art4d ARCHIVES สุดสัปดาห์นี้ เรากลับไปย้อนดูสองผลงานของ ภูวไนย ทรรทรานนท์ เพื่อทำความเข้าใจว่าในช่วงปี 1990s นั้น สิ่งที่เรียกว่า Electronic Art มันคืออะไรกันแน่

(For English, please scroll down)

Nam June Paik (1932-2006)

“I MADE A BIG PIECE OF 48 PROJECTIONS OR 500 TELEVISION SETS IN A SMALL ROOM WHICH BECOMES NOT ONLY A DISCO, BUT ALSO AN INTELLECTUAL EXPERIMENT ABOUT THE QUESTION OF HOW MUCH INFORMATION YOU CAN ABSORB” — NAM JUNE PAIK

นับแต่อดีตมา มีคนพยายามที่จะทำนายภาพของอนาคตกันอยู่เสมอ ถูกบ้าง ใกล้เคียงบ้าง หลุดมิดไปเลยบ้าง แต่มิวายที่จะคาดเดากันต่อไป เหตุผลหนึ่งนอกเหนือจากความสนุกที่จะคิดแล้วก็คือถ้าจับทางได้ก่อนชาวบ้านละก็ อาจเตรียมพร้อมก่อน ออกสตาร์ทก่อน และถึงเส้นชัยก่อน ถ้ามองจากภาพในวันนี้ที่ทุกคนพยายามจะกระโจนเข้ามาเล่นกับ multi media กันยกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นคนประเภทไหนก็หลบไม่พ้นเรื่องของข้อมูลและผลกระทบจากข้อมูล แม้แต่ศิลปินที่ไม่ได้มุ่งจะแย่งข้อมูลไปรวยก่อนใครก็ยังให้ความสนใจกับการผลิตงานจากข้อมูลในแนวต่างๆ Nam June Paik ศิลปินชาวเกาหลีเป็นผู้ที่แนะนำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและสื่อต่างๆ ในรูปแบบที่เรียกว่า “Electronic Art” เป็นคนแรก จนทุกวันนี้ศิลปะแบบนี้เริ่มแพร่หลายทั่วไป โดยเฉพาะใน MTV จะมีให้ดูกันอยู่จนแทบกระอักตลอด 24 ชั่วโมง แล้ววันหนึ่งก็มีคนไทยชื่อว่า ภูวไนย ทรรทรานนท์ (ม่อน) เดินเข้ามาที่ art4d พร้อมกับวิดีโอเทป 2 ม้วน และแนะนำกับเราว่างาน 2 ชิ้นนี้เป็นผลงานของเขาในแนว “Electronic Art” เราไม่รอช้าที่จะเปิดชมกันทันทีทั้ง 2 ชิ้น ชิ้นแรกเป็นงาน project ชื่อ The Zoo ส่วนอีกชิ้นเป็นงานทดลองซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง หลังจากที่ชมแล้วเราคิดว่าสมควรจะบอกกล่าวต่อชาว art4d ว่ามีคนไทยทำงานแบบนี้กับเขาด้วยเหมือนกัน

The Zoo

แนวความคิดหลักของ The Zoo เป็นการใช้ข้อมูลจาก dictionary ที่ให้ความหมายของคำต่างๆ ซึ่งบางคำมีหลายความหมายเหลือเกิน และบางคำความหมายใน dictionary ดูขัดแย้งกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง เช่นคำว่า trunk แปลว่ากล่องก็ได้ ท้ายรถก็ได้ งวงช้างก็ได้ แล้วถ้าเกิดช้างสูญพันธุ์ไป คนจะรู้ไหมว่าหน้าตาช้างเป็นอย่างไร Electronic Art มักจะเกี่ยวพันกับเรื่องอนาคตอยู่แล้ว งานของม่อนก็มีอยู่พอจะสัมผัสได้ ถ้าวันข้างหน้าเด็กจะมาดูสวนสัตว์ รูปแบบสวนสัตว์จะเป็นอย่างไร เป็นกล่องหรือเป็นทีวี แค่กดปุ่มดูแล้วมีสัตว์ออกมาทางจอไม่มีตัวตนจริงให้ดู แล้วถ้าเกิดไม่มีภาพเก็บไว้เลย ต้องนึกภาพเอาเองจากคำบรรยายใน dictionary จะนึกได้เหมือนกันหรือเป็นงานประชดประชันเล็กๆ มีข้อความขำๆ เจือปนอยู่ โดยรวมแล้วก็ไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายเกินไป ภาพที่บันทึกไว้เป็นภาพสัตว์ต่างๆ ในสวนสัตว์ แต่เป็นภาพตัดเร็วบ้าง รีเวิร์สบ้าง เสียงดนตรีเป็นเสียง effect ที่เกิดจากเสียงของม่อนล้วนๆ แต่เขาออกเสียงย้อนกลับแล้วให้เครื่องคอมพิวเตอร์เล่นกลับมาอีกที เช่นคำว่า zoo เขาออกเสียงเป็น ooz หรือ animal เป็น lamina พอเล่นกลับมาจะได้สำเนียง zoo หรือ animal ที่แปร่งๆ เป็นการแก้ไขสำเนียงกระเหรี่ยงของชาวไทยได้แบบแยบยลดีแท้

ส่วนงานอีกชิ้นหนึ่งเป็นงานทดลองที่ภูวไนยทำร่วมกันกับอาจารย์และเพื่อนๆ ที่ RPI แล้วนำมาตัดต่อพร้อมกับใส่เสียงดนตรีเอาเองภายหลัง งานชิ้นหลังนี้เริ่มต้นจากถ่ายวิดีโอเป็นภาพจากรถยนต์ขณะวิ่งผ่านทะเลทราย แล้วก็เอากล้องวิดีโอมาตั้งหน้าจออีกตัวเพื่อถ่ายสิ่งที่เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าก่อนที่กล้องจะถ่ายกลับไปบนจออีกที ได้ผ่านตัวปรับสัญญาณวิดีโอซึ่งสามารถปรับแต่งสีได้เล็กน้อย โดยที่ธรรมชาติของสัญญาณวิดีโอจะวิ่งเป็นวงกลมหรือเป็นจุดกระจายตัวอยู่ใน sphere หนึ่ง เมื่อบิดจากขาวเป็นชมพู พอชมพูวิ่งเข้าไปผลที่ออกมาที่จอจะเป็นชมพู พอกล้องเห็นแล้วว่าเป็นชมพูก็จะบิดอีกทีให้เป็นฟ้า เป็นสีอื่นๆ ที่เพี้ยนออกไปอีกเรื่อยๆ แล้วมันจะค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้นตามอะไรสักอย่าง (จริงๆ คงมีคนตอบได้) แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งตาของคนจะจับไม่ทันและตัวเฟรมของวิดีโอก็จับไม่ทัน เลยเกิดเป็นภาพต่างๆ มากมายลายตาไปหมด

Untitled Experiment

ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างงาน 2 ชิ้นในช่วงเวลาที่ต่างกันไม่กี่เดือนของม่อนนั้น ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันพอสมควร ในแง่ effect นั้น งานทดลองของเขาดูจะแรงกว่า The Zoo ซึ่งพยายามจะสื่อความคิดเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ภาพที่ปรากฏออกมานั้นมันสู้ effect ล้วนๆ ของงานทดลองไม่ได้ ตรงนี้เองทำให้ต้องวกกลับมาที่เทคนิคที่ใช้ในการผลิตงาน ม่อนเองก็พยายามโยงเทคนิคซึ่งต่างสถานะกันเข้าหากัน เช่น เทคนิคการตัดภาพ รีเวิร์สภาพ เทคนิคการแปลงเสียง เป็นต้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือผลที่ได้จากเทคนิคต้องกระทบต่อผู้ชมในระดับที่เรียกความสนใจได้ การที่ม่อนฟีดแบคภาพ ฟีดแบคเสียง กลับไปกลับมาจนกลายเป็นผลลัพธ์ที่วิ่งวนไปเรื่อยไม่รู้จบ แถมยังเป็น non-linear effect ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการที่จะนำไปปรับใช้กับงานชิ้นต่อไป ในขณะที่ The Zoo นั้นแตกต่างกันมหาศาล The Zoo ไม่ใช่งานทดลอง เป็นงานที่มีการวางกรอบวางรูปแบบไว้แล้ว และมีการเลือกใช้เทคนิคที่ม่อนมีทักษะอยู่แล้ว โดยเฉพาะม่อนมีพื้นฐานมาจากดีไซเนอร์มากกว่าด้าน fine art โครงสร้างของ The Zoo เลยดูค่อนข้างจะมีการควบคุมทิศทางอยู่อย่างเห็นได้ชัด ถ้าชอบความชัดเจนของรหัสต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ตีความกันพอสมควร The Zoo จะเด่นกว่าแน่นอน แต่ถ้านิยม effect ละก็ งานทดลองที่ม่อนนำมาฉายให้ดูวันนี้ใช้ได้เลยทีเดียว

ความคิดอ่านของคนและวิธีการนำเสนอความคิดผ่านทางสื่อต่างๆ เริ่มจะยุ่งยากขึ้นไปตามความก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ จริงๆ แล้วทุกสิ่งพึ่งพากันและกันอยู่เสมอ บางเรื่องเทคนิคอาจจะนำความคิดในบางอย่างอาจจะจำกัดเทคนิคไว้แต่พองาม แต่ให้ความพอใจสูงพอๆ กัน ไม่ว่าจะปล่อยให้สิ่งใดนำ สิ่งใดตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องไม่ปล่อยให้ความเจริญเป็นความก้าวหน้าที่ถดถอยด้อยค่าจนกลายเป็นความล้มเหลวทางภูมิปัญญา เราต้องคิดให้เท่าทันเสมอ มนุษย์สืบทอดมาได้จนทุกวันนี้เนื่องเพราะมนุษย์คิดเป็นและรู้จักคิด ความคิดเป็นอวัยวะที่สำคัญยิ่ง ภูวไนย ทรรทรานนท์ เป็นตัวอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่พยายามคิดให้ไกลออกไปอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งอาจจะดูแตกต่างไปจากคนอื่น art4d ยินดีสนับสนุนทุกคนที่รักจะคิด รักที่จะมองโลกในแง่มุมอื่นอีก เพราะเราเชื่อว่าทุกหนทุกแห่ง ชีวิตต่อเนื่องกันหมด ทั้งส่วนที่เป็นกายภาพและความรู้สึกภายใน

Untitled (1993), Nam June Paik

Living in this age, it’s hard for someone to avoid involving with information and its effect in some degrees. Many people is now making use of the multi-media technology to achieve their goals, even an artist like Nam June Paik. This Korean-born artist has introduced to the art world the art which relates to the age of information and multi medias subsequently known as, “Electronic Art”, which becomes widely spread today.

In Thailand, this art from is not yet popular. However, a young Thai named Puvanai Dardarananda recently walked in art4d’s office with two video cassettes of works which he classified as electronic art. The first one is the project called “The Zoo” and the other is an untitled experiment, Puvanai is now studying at Rensselaer Polytechnic Institute (RPI), Troy, New York, in Integrated Electronic Arts.

“The Zoo” records dite of different zoo animals in quick and reverse paces. Graphics of definitions of each animals run over each images. Its sound effects is produced from Puvanai’s voice reading “ooz” and “lamina” being played reversed as “zoo” and “animal” The concept of “The Zoo” is based on the use of the information from a dictionary. Some words have various different meanings, for example trunk can be either box for clothes, car’s boots or elephant’s propocis. Electronic art signifies something of the future. What the future zoo will look like? Will it be recorded in a video because there are no longer animals on earth? What if we have no visual records of these animals, how would we learn about them? Do we then have to guess about them from the definition in a dictionary? The questions pops up after viewing “The Zoo”.

The other work is a collaborative experiment by Puvanai and his professors and friends at RPI. It is a distortion of actual scenery of a desert video-taped from a moving car, through different technical process of video tuning, speed adjustment and reshooting. Throughout the process, the original image of the desert has turned into an abstract sphere of illusive colours moving and withdrawing indefinitely.

Puvanai Mon Dardarananda

Comparing the two works, the experiment piece seems to produce stronger effects on the synthesis of various different electro technics; from image editing, reversing and sound distortion. “The Zoo” on the other hand, emphasizes on a context and codes for individual’s interpretation more than the technical effects.

The means of representing man’s thoughts is getting more sophisticated along with the development of advance technology. Things are inter-dependent. Whether technology leads and man’s thoughts follow or vice versa, the most important thing is that we should not let the progress he an invaluable asset. Thought is an important function which helps men to compete and master over technology. Art4d will always support those who never stop thinking and we view that Puvanai Dardarananda is one among many.


Originally published in art4d #6 (August 1995)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *