CELLULOID FELLOWS

ONE HUNDRED YEARS OF SOLITUDE FOR THAILAND’S ART AND EXPERIMENTAL FILMS COMMUNITY. ONCE SEEN AS AN ALIENATING PRESENCE IN SOCIETY, THE COMMUNITY IS NOW SOMETHING PEOPLE ARE BEGINNING TO CARE ABOUT, WRITES GRIDTHIYA GAWEEWONG.

หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของวงการหนังอาร์ตและหนังทดลองในบ้านเรา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกมองเป็นเพียงแนวทางที่แปลกแยกแตกต่าง “เฉพาะทาง” ตรงกันข้ามกับความแพร่หลายและความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน—ลองย้อนกลับไปอ่านข้อเขียนว่าด้วยเทศกาลภาพยนตร์ศิลปะนานาชาติครั้งที่ 1 ในโอกาสครบรอบหนึ่งร้อยปีภาพยนตร์ในประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ฉายหนังในรูปแบบข้างต้น เขียนโดย กฤติยา กาวีวงศ์ ในปี 2540

(For English, please scroll down)

ผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ ขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์ได้มีความสะดวกสบาย และสามารถเพิ่มกระบวนการผลิตให้มากขึ้นกว่าเก่าหลายเท่า วิญญาณของยุคแสวงหาไม่ได้หยุดยั้งแค่บริเวณซีกโลกตะวันตก การแสวงหาอาณานิคมและวัตถุดิบทำให้คนตะวันตกเดินทางข้ามโลกมาเสาะแสวงหาดินแดนใหม่ๆ เผยแพร่ศาสนาและความเชื่อของพวกเขา ภาพยนตร์ซึ่งเป็นหนึ่งในผลพวงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นได้กลายเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่สร้างความบันเทิงให้กับชนชั้นกรรมาชีพที่มีชีวิตอยู่ในยุคการเปลี่ยนแปลง เมื่อพี่น้องลูเมียร์ได้เริ่มถ่ายภาพยนตร์ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895 ภาพยนตร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเดินทางและเผยแพร่วัฒนธรรมจากตะวันตกสู่ตะวันออก และจากเหนือสู่ใต้มานานถึงหนึ่งร้อยปี

ประเทศไทยหาได้หลุดจากกระแสนี้ไม่ ถัดมาอีกเพียงสองปีหลังจากพี่น้องลูเมียร์ได้คิดค้นภาพยนตร์ขึ้นจวบจนถึงวันนี้ เราฉลอง 100 ปีของภาพยนตร์ในประเทศไทย แม้ว่าจะมีความต่อเนื่องมานานถึงเพียงนี้ความเปลี่ยนแปลงกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้า ภาพยนตร์ที่สร้างและฉายกันในเมืองไทยนั้น มักมีข้อจำกัดอยู่หลายประการคือตลาดและทุน ส่วนภาพยนตร์นอกกระแส (non-mainstream films) ภาพยนตร์อิสระ (independent film) ศิลปะ (art film) หรือภาพยนตร์ทดลอง (experimental film) นั้นหาดูได้ลำบากและไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าที่ควร ช่องว่างระหว่างภาพยนตร์ คนดู และผู้สร้างจึงเกิดขึ้นอย่างไม่มีทางเลี่ยง

ในต่างประเทศภาพยนตร์ศิลปะสามารถหาดูได้ตามเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ หรือในหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะ โรงภาพยนตร์แบบอันเดอร์กราวน์ หรือ อัลเทอร์เนทีฟอาร์ตสเปซ ภาพยนตร์ประเภทนี้เป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งที่ใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์เป็นสื่อในการแสดงออกและสะท้อนถึงความคิดของผู้สร้างและยุคสมัย ในขณะที่ภาพยนตร์ตลาด เอ็มทีวี หนังฮอลลีวูดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างรั้งไม่อยู่ แต่ในเส้นทางนั้นมักมีงานภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่คอยประจันหน้ากับกระแสตลาดอยู่ตลอดเวลา คุณจะเรียกมันว่าหนังทดลอง หนังอะวองค์การ์ด หรือหนังโพสต์อะวองค์การ์ด แล้วแต่สะดวก


‘Me/we, Okay/gray/94’ Elja Lisa Antila, Finland 

มูลนิธิหนังไทย โปรเจ็ค 304 มูลนิธิหนังญี่ปุ่น และสมาคมฝรั่งเศส ได้ร่วมจัดเทศกาลภาพยนตร์ศิลปะนานาชาติครั้งที่ 1 ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โครงการนี้เป็นการฉลองครบรอบร้อยปีภาพยนตร์ในประเทศไทย ภาพยนตร์ศิลปะประมาณ 50 เรื่องจาก 14 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลี นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน สโลวัค สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย ฮังการี และประเทศไทย จะถูกนำสู่สายตาของผู้ชมในปลายเดือนมีนาคมที่มูลนิธิญี่ปุ่น และต้นเดือนเมษายนที่สมาคมฝรั่งเศส ผลงานส่วนใหญ่ที่เสนอผลิตขึ้นในช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบัน (1997) และถือว่าเป็น Bangkok premier บางเรื่องนั้นถือว่าเป็น World premier ก็ว่าได้ เช่นภาพยนตร์จากฮังการี Astral โดยทาเร็ค และ Triumph in his face โดย ไชย บุลกุล จากประเทศไทย ผลงานส่วนใหญ่ที่ฉายเป็นภาพยนตร์แนวศิลปะ ประกอบด้วยภาพยนตร์ทดลอง สารคดี fiction และแอนนิเมชั่น (animation) ความหลากหลายของรูปแบบนั้นเป็นประเด็นหลักส่วนเทคนิคและเนื้อหาของภาพยนตร์เป็นสิ่งสำคัญที่เรามองข้ามไปไม่ได้ ความยาวของภาพยนตร์ที่เข้าร่วมครั้งนี้มีตั้งแต่ 1:27 นาที ถึง 33: 15 นาที

ภาพยนตร์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจากฝีมือของผู้กำกับภาพยนตร์นานาชาติที่ แม้ว่าจะมีความต่างกันในแง่ของสถานที่ วัฒนธรรม และศาสนา แต่จุดร่วมของมันก็มีอยู่นั่นคือความสามารถของผู้กำกับที่ได้สะท้อนแสดงออกถึงความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์ประสบการณ์ของมนุษยชาติออกมา โดยใช้สื่อภาพยนตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้กำกับหลายคนนำเสนอเรื่องราวของเมืองใหญ่ สังคม และการเมือง ผ่านภาพยนตร์เชิงทดลอง เช่นงานของ ฮาราตะ อิปเปอิ ใน Escaping lights ถ่ายทอดสภาพความเจริญในเมืองใหญ่ของโตเกียวโดยใช้แสงไฟยามราตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญ ส่วนภาพยนตร์ไต้หวัน Ephemera โดย ฟอง ไล ชี และ From to โดย ยาชัน เคา สองผู้กำกับรุ่นใหม่เจ้าของรางวัล Golden Harvest Award ปี 2539 และ 2540 ตามลำดับ ใช้บรรยากาศของเมืองเป็นโครงสร้างสำคัญอีกเช่นกันภาพยนตร์ไทย Land of laugh โดย มานิช ศรีวานิชภูมิ และคณะ พูดถึงสังคมและการเมืองของไทยในช่วงพฤษภาทมิฬโดยการใช้ภาษิตของไทยมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์และบุคคลสำคัญในการเมืองและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับเหตุการณ์ช่วงนั้น

การปะทะกันของอิทธิพลทางวัฒนธรรมระหว่างโลกตะวันตกและออก ถูกนำเสนอโดย โอบิทานิ ยูริ ผู้กำกับญี่ปุ่นเรื่อง French cinema ผู้กำกับสืบค้นถึงคำว่า “ฝรั่งเศส” โดยเน้นประเด็นความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ ใช้แนวความคิดที่ว่าอะไรคือภาพยนตร์ฝรั่งเศสและอะไรคือความเป็นฝรั่งเศส เขาได้เปรียบเทียบภาษาญี่ปุ่นและฝรั่งเศสบางคำที่มีเสียงคล้ายกัน หากแต่เปลี่ยนความหมายเน้นให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันของมนุษย์ที่ปราศจากเขตแดนทางภูมิศาสตร์ ในขณะที่ผู้กำกับญี่ปุ่นได้นำเรื่องราวของชาวตะวันตกมาทำงาน ผลงานของผู้กำกับนอร์เวย์ Morphia โดย แอนเนต ฮาราล์ดเซ็น เป็นการบันทึก performance ที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการดิ้นรนจากอำนาจในการครอบงำทางเศรษฐกิจของคนญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศอื่นทั่วโลก ภาพของผู้หญิงตะวันตกใส่ชุดกิโมโนและแสดงท่าทางแพนโทไมน์ต่อต้านและชักคะเย่อกับอะไรบางอย่างที่มองไม่เห็นนั้น ถูกทิ้งให้เป็นคำถามต่อไปว่าเธอสามารถที่จะเอาชนะมันได้หรือไม่


‘The bugs’ Navajul Boonpaknawig, Thailand 

ผลงานอีกกลุ่มที่มีความหลากหลายในทางเทคนิคแต่คล้ายกันในแนวความคิดคืองานของ เกรต้า มอร์ตัน ผู้กำกับชาวออสเตรเลีย เธอแสดงออกถึงความมีเอกลักษณ์เฉพาะตน Teenage portrait เป็นภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่สะท้อนถึงภาพ snap shot ของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งในแดนจิงโจ้ที่ใช้เน้นถึงการนำเสนอภาพ เสียงเพลง และการแต่งกายของคนกลุ่มนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เคยได้รับรางวัลหลายครั้งเช่น Best Experimental Film (The Prize Filmkajan) จาก Uppsala International Film Festival ประเทศสวีเดนในปี 1994 และ Kino Award for Creative Excellence in an Australian Short Film จาก Melbourne International Film Festival ประเทศออสเตรเลียปี 1995 ในขณะเดียวกันงาน Tribal โดย คริสเตล อีกาล ศิลปินชาวฝรั่งเศสที่ขณะนี้มีผลงานแสดงที่ Museum of Modern Art กรุงปารีส ได้แสดงออกถึงเอกลักษณ์และความเชื่อของปัจเจกด้วยการบันทึกเรื่องราวของ รอน แอทธี ศิลปินเพอฟอร์แมนซ์ผู้อื้อฉาว ผู้ที่เขย่าวงการศิลปะสมัยใหม่ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทำให้ National Endowment of Art ตัดงบประมาณช่วยเหลืองานศิลปะในประเทศออกเกือบถึง 10% ในปีที่ผ่านมา

สำหรับการแสวงหาความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของมนุษย์ คือความรัก ได้บอกเล่าโดยภาพยนตร์อิสราเอลแนวฟิคชั้น Vision โดย รูธ กาดิช ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รางวัล Best Experimental Film Award จาก Palm International Short Film Festival คาลิฟอร์เนีย ปี 1996 ส่วน Am morah โดยผู้กำกับสาว เรวิทา วิคนิน นั้นได้เสนอถึงความขัดแย้งระหว่างความเป็นสมัยใหม่และความเป็นประเพณีของดินแดนแถบตะวันออกไกลได้อย่างน่าสนใจ ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องผ่านเทศกาลหนังมาเกือบทั่วโลก สำหรับ Ammorah ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านการถ่ายทำจากเทศกาลภาพยนตร์สั้นของอิสราเอลในปี 1995

นอกจากนี้ยังมีแนวอื่นๆ เช่น animation อีกประมาณ 11 เรื่อง โดยผู้กำกับชาวออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และฟิลิปปินส์ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติครั้งนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแก่วงการศิลปะและภาพยนตร์ในบ้านเราให้มีการตื่นตัวมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการเริ่มต้นเมื่อปีที่หนึ่งร้อยก็ตาม

The Industrial Revolution was a catalyst to the invention and mass production of apparatus geared towards people’s comfort. Entertainment is a comfort, and one by-product of the Industrial Revolution was the film industry. Colonization and the search for raw materials sent westerners to new lands where they spread their religions and beliefs. And when the Lumière brothers made the world’s first film in 1895, film was included in this spread of western culture.

Thailand now celebrates its 100th year anniversary of film making. The films that are made and shown in Thailand have many limitations, mainly markets and funding-non- mainstream films, independent films, art films or experimental films are rarely seen. The gap between the audience and the producer seems insurmountable.

Abroad, art films are shown at film festivals, galleries, art museums, underground cinemas or alternative art spaces. They emphasise the art of the film camera as a media to express and reflect the ideas of the producer and the period. While carefully marketed films such as MTV productions and Hollywood blockbusters are always on the move, there is a type of film that swims against the mainstream marketing current. You could call it the “test film”, “avant-garde film” or “post-avant-garde film”

The Thai Film Foundation, Project 304, Japanese Film Foundation and France Association have cooperated to set up Thailand’s first international art film festival to celebrate the 100th year anniversary of film-making in Thailand. Throughout April some 50 art films from 14 countries—Australia, Finland, Israel, Japan, Korea, Norway, Philippines, Taiwan, Slovak, USA, France will be shown. Most are recent productions created from 1990 onwards.

It’s a Bangkok premier, some films will even be world premiers such as ‘Astral’ by Tarek from Hungary and ‘Triumph in his Face’ by Chai Bulkul from Thailand. Most of the art films are test films, documentaries, fiction and animation. Ranging in length from 1.27 minutes to 33.15 minutes, the festival’s emphasis is on variety. These films are produced by international directors with differences in locations, cultures and religions. The unifying concept, however, is the capability of the directors in their use of film to reflect their ideas and their critiques on human experience. Many of the test films use social and political events in cities such as Harada Ippei’s ‘Escaping Lights’ which expresses the prosperity of Tokyo through the use of the capital’s night lights. The Taiwanese films, ‘Ephemera’ by Fong Chi Lal and ‘From-to’ by Yasun Kao, feature two new wave directors, winners of the Golden Harvest Award in 1996 and 1997, respectively.

Competition between western and eastern influences is introduced by Obitani Yuri, Japanese director of ‘French Cinema.’ The director played with the word “France” by emphasizing the individuality of the native people. He compared similar sounding Japanese and French words by changing their meanings to stress the similarity of human beings, irrespective of geographical borders. While Obitani Yuri focused on the west, Norwegian director, Annette Haraldsene produced ‘Morphia,’ a performance record which portrays the world’s escape from the economical power of Japan.


‘Vice Versa’ Chrystel Egal, France

Australian director, Greta Morton, shows her individualism through the use of a different technique, but a similar concept. Her ‘Teenage Portrait’ is a semi-documentary which reflects a snapshot of a group of Australian teenagers with an emphasis on the frame presentation, music and costumes. Teenage Portrait has won several awards, such as the Best Experimental Film (The Prize Filmkajan) from the Uppsala International Film Festival, Sweden, 1995 and the Kino Award for Creative Excellence in an Australian Short Film from Melbourne International Film Festival, Australia, 1995. French artist Chrystel Egal’s ‘Tribal’ was shown at the Museum of Modern Art, Paris. It expresses individuality and belief by recording Ron Athi, the controversial performance artist. Searching humanity’s fundamental need for love is Israeli Ruth Gadish’s film which won the Best Experimental Film Award at the Palm International Short Film Festival, California, 1996. Another Israeli female director, Revitah Vaknin, was awarded first prize in Israel Short-period Films, 1995, for ‘Ammorah’ which portrays the contradiction between contemporary times and the customs of the Far East.

Many more film styles are included in the festival, such as some eleven animation films from Australian, Japanese, French and Filipino directors.

If we can arouse both Thai audiences and director, this international film festival should serve as a catalyst for other art and theatre venues in Thailand. And hopefully, it will kick start the process of getting people out of our shopping centres and into our art and cultural activities, even though it is a process that’s already been 100 years in the making.

Originally published in art4d #25 (March 1997)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *