PLAYING WITH CLICHÉ

‘PLAY WITH THE CLICHÉ,’ PUBLISHED IN ART4D #64 BACK IN 2000, TALKS US THROUGH ‘FAH TALAI JONE’ (OR ‘TEARS OF THE BLACK TIGER’), THE FIRST FEATURE FILM OF WISIT SASANATIENG WHO UTILIZED A TRADITIONAL STYLE OF THAI FILMS IN ORDER TO CREATE THE SENSE OF “THAI COWBOY—TOM YUM KUNG STYLE.”

‘Play with the cliché ตีพิมพ์ใน art4d ฉบับที่ 64 ในปี 2000 เป็นบทความที่พูดถึง “ฟ้าทลายโจร” ภาพยนตร์เรื่องแรกของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ที่เขาดึงเอาองค์ประกอบของหนังไทยเก่าๆ มาใช้ในภาพยนตร์ เพื่อสร้างความรู้สึกที่เขาเรียกมันว่า “คาวบอยไทย สไตล์ต้มยํากุ้ง”

(For English please scroll down)

“น้ําเน่าในหนังไทย กลิ่นอายที่เคยคุ้น”

“นั้นเพราะเมื่อผมพบคุณ ผมกลับปวดร้าวใจยิ่งกว่าเมื่อรู้ความจริงว่าคนต่ําต้อยอย่างผมมิสมควรอาจเอื้อมถึงสิ่งสูงค่าอย่างคุณ แม้แต่เพียงคิด ก็เป็นไปไม่ได้แล้ว”


“ไม่เป็นความจริงเลย …  ฉันฉันรักเธอ ได้ยินมั้ย ฉันรักเธอรักยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดในชีวิต”

ประโยคลักษณะนี้เจนหูเจนตาคนดูหนังไทย หากมันถูกบรรจุไว้ในหนังไทยสักเรื่องหนึ่งสมัยก่อน คนดูก็คงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเรื่องไหน เหมือนจะเลือนลางในความทรงจําแต่ก็แจ่มชัดอยู่ในความรู้สึก คุ้นเคยเหมือนได้เจอของเล่นตอนเด็กๆ ขณะที่กําลังเพลิดเพลินกับความรู้สึกแบบนี้อยู่ เราก็อดที่จะขนลุกเกรียวไม่ได้เมื่อนึกขึ้นมาได้ว่าความคุ้นเคยดังว่านั้นอยู่ในหนังไทย มากมายหลายร้อยเรื่องอีกทั้งยังเป็นสํานวนวิธีที่ดูเก่าล้าและแสนเชย

บรรยากาศและกลิ่นเก่าที่เป็นรากเหง้าหนังไทยถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเสียงเพลง “ใครจะเมตตา” ของสุนทราภรณ์ดังก้อง ขึ้นประกอบภาพยนตร์ตัวอย่างที่เต็มไปด้วยสีสันฉูดฉาดบาดตาได้เห็นดาราเก่าอย่าง สมบัติ นัยนา ไพโรจน์ ครรชิต ผสมด้วยนักแสดงรุ่นใหม่แต่มีใบหน้า เก่าแก่คลาสสิกอย่าง ชาติชาย งามสรรพ์  และสเตลล่า มาลูกี้

หน้าโรงหนังก็มีโปสเตอร์สีสันสดใสในสไตล์ดั้งเดิมซึ่งหนังไทยเลิกทําโปสเตอร์แบบที่ใช้ช่างวาดมานานแล้ว ลองมองดูที่มุมภาพด้านซ้ายก็จะเห็นลายเซ็นของอาจารย์เปี๊ยกโปสเตอร์ประทับอยู่

ทั้งหมดนี้ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกแปลกใจและเกิดคําถามขึ้นในหมู่นักดูหนังว่าเหตุใดกันที่ทําให้คนใน พ.ศ. นี้หันมาทําหนังที่ เชยระเบิดเช่นนี้…

ฟ้าทะลายโจร” เป็นหนังที่อยู่ในหัวของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง มากว่า 3 ปีแล้วหลังจากที่เขาเขียนบทหนัง “2499 อันธพาลครองเมือง” เสร็จสิ้นก็เริ่มต้นทําบทหนังเรื่องหนึ่งขึ้นมาโดยหยิบไอเดียที่ผุดขึ้นมานานแล้วหลังจากฟังเพลง “ฝนสั่งฟ้า” ของ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ภาพที่ปรากฏในจินตนาการของเขาเป็นภาพของชายหนุ่มสองคนดวลปืนกันกลางสายฝน เขานําภาพดังกล่าว มาผนวกรวมกันเข้ากับรสชาติของหนัง ไทยยุค 40 ปีก่อน ผลที่ได้ก็คือหนังที่เป็นผลพวงของความเก่าในพื้นที่ใหม่

เรื่องราวในหนังเป็นเรื่องของ เสือดํา ผู้ตํ่าต้อยกับ รําเพย หญิงสาวสูงศักดิ์ ความรักของทั้งสองไม่อาจลงเอยกันได้ด้วยมีอุปสรรคทางด้านฐานะอีกทั้งชะตากรรมก็เล่นตลกซ้ําแล้วซ้ําเล่า


เรื่องราวแบบนี้คุ้นเคยเป็นอย่างดีสําหรับคนไทย วิศิษฏ์  หยิบเอาขนบที่ถูกเรื่องราวแบบนี้ที่ถูกใช้กันจนเบื่อในหนังไทยหรือที่เรียกกันว่า cliché ในหนังไทยมาใช้ใน  “ฟ้า ทะลายโจร” เขามองว่าสิ่งเหล่านี้คือสไตล์ของหนังไทยที่หนังชาติไหนๆ ก็ไม่มีทางเหมือน ไม่ว่าจะเป็นบทหนัง สไตล์การถ่ายทํา โครงเรื่อง การจัดฉาก การแสดงรวมไปถึงสีสันที่ปรากฏในภาพล้วนมีเอกลักษณ์อยู่ในตัว “มันเป็นสไตล์ของเราแต่เราลืมมันไปแล้ว รู้สึกว่ามันเชยเราก็ไปรับของเมืองนอกมา ทุกวันนี้หนังไทยพยายามจะเป็นหนังฮ่องกง หนังฝรั่ง ลืมไปว่าเรามีสไตล์ของเราเป็นสไตล์ที่ค่อนข้าง unique เลย มันโดดเด่นมากแต่ว่าเรากลับทิ้งมันไป ซึ่งถ้าหากเราพัฒนามันมาทุกวันนี้ เราก็คงมีสไตล์หนังเป็นของตัวเองเหมือนกับหนังญี่ปุ่น ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่เฉพาะกับหนังหรอกแต่รวมถึงเพลงด้วย อย่างเพลงยุคสุนทราภรณ์ ซึ่งถึงจะใช้เครื่องดนตรีสากลแต่ก็มีกลิ่นของความเป็นไทยอยู่” 

วิศิษฏ์ได้พูดถึงตัวอย่างของความเชยจนเกิดสไตล์ไว้ว่า “โฆษณาเมืองนอกนี้มันจะมีอยู่เยอะมาก เขาเรียกว่าเอาความ เชยมาถล่มความเท่ ถ้าดูหนังโฆษณา ดีเซลยีนส์คือเขาจะเป็นคู่แข่งของลีวายส์ แล้วลีวายส์นี้โฆษณาจะเท่มาก ถ่ายขาวดําเท่ๆ ดีเซลก็ใช้วิธีเชยสะบั้นเลย เชยจนเกิดสไตล์จนทําให้ลีวายส์มันดู เชยไปเลยน่ะส่วนดีเซลกลายเป็นเท่ไป เชยจนเกิดสไตล์จนทําให้ลีวายส์มันดูเชยไปเลยน่ะ ส่วนดีเซลกลายเป็นเท่ไป เราก็เคยทดลองมาแล้วกับหนังโฆษณา แรงเลอร์ของเราโดยเอาหนังไทยยุคเก่ามาทําถ่ายให้เหมือน … ”

“ระเบิดภูเขาเผากระท่อม”

ดังนั้น“ ฟ้าทะลาย โจร” จึงไม่เพียงเป็นหนังย้อนยุคที่เล่าถึงเรื่องรักของหนุ่มสาวในอดีตสัก 40-50 ปี ที่ผ่านมาแต่หนังเรื่องนี้ยังยกสไตล์ย้อนยุคของหนังไทยรุ่นนั้นมาใช้อีกด้วย วิศิษฏ์ยืนยันว่างานนี้ไม่ใช่การล้อเลียนหนังไทยในอดีตแต่เป็นการ “บูชาหนังไทยรุ่นเก่า” หลายคนคิดว่าหนังเรื่อง “ฟ้าทะลายโจร” จะออกมา ในแนวตลกโปกฮาเพราะคงจะเลียนล้อความเชยของหนังไทย แต่ไม่เลยเขาดําเนินเรื่องตามขนบที่หนังไทยแท้เคยกระทํา โดยยึดต้นแบบและได้แรงบันดาลใจหลายส่วนจากหนังของ รัตน์ เปสตันยี ผู้กํากับหนังไทยที่มีแนวทางการทําหนังที่ล้ํายุคอย่างน่าทึ่ง

“มันเกิดจากการที่เราได้ไปดูหนังของคุณรัตน์ ที่เฉลิมกรุง (งานมหกรรมทั้งหนังไทย) แล้วเราชอบ อีกทั้งพริ้นต์ที่เราดูนี้ มาจากเนกาทีฟที่โอเคมาก สีสวยมาก เลยเราดูแล้วเราก็ตะลึง เล่าให้ใครฟังก็ไม่มีใคร get น่ะ บอกใครก็ไม่มีใครเชื่อว่าหนังไทยสมัยก่อนมันมีสีแบบนี้ เพราะว่าเราไม่เคยเห็นเราก็เลยเอาตรงนี้มาเป็นสไตล์ของเรา พวกโทนสี จัดๆ แล้วก็วิธีการจัดแสงหรือองค์ ประกอบต่างๆ ทุกอย่างเราก็เลียนสไตล์ จัดๆ แล้วก็วิธีการจัดแสงหรือองค์ ประกอบต่างๆ ทุกอย่างเราก็เลียนสไตล์หนังคุณรัตน์แต่เราไม่ได้เลียนเรื่องราวนะเราเอามาแต่สไตล์เท่านั้นเหมือนกับเราทําหนังเก่าขึ้นมาใหม่น่ะ”

อย่างที่กล่าวแต่ต้น หนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังตลก หากเป็นหนังชีวิต เศร้า เคล้าน้ําตา บู๊ ประทับใจ เพลงไพเราะ ครบรสตามหลักสูตรหนังไทยในอดีต เมื่อมีบู๊ร่วมอยู่ด้วย cliché อย่างหนึ่งในหนังบู๊ที่พอพูดถึงหนังไทยรุ่นเก่าทีไรมักจะเป็นทํานองเปรียบเปรยด้วยน้ําเสียงดูแคลนว่าเป็นพวกหนัง“ ระเบิดภูเขา เผากระท่อม” จุดนี้วิศิษฏ์กลับมองว่าเป็นเสน่ห์ของมันอีกเช่นกัน และเขาก็ใส่ฉากระเบิดภูเขาเผากระท่อมไว้ในหนังอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งกลิ่นอายแบบลิเกก็ถูกนํามาประยุกต์ใช้กับฉากอย่างการสร้างฉากเพ้นต์พระอาทิตย์ดวงกลมโตที่ดูเหนือจริงซึ่งปรากฏในฉาก ดวลปืนกลางตะวันระหว่างเสือดํา พระเอกและเสือมเหศวรคู่ปรับ

ไม่เพียงเท่านี้ภาพวาดกระท่อมลอมฟางและทุ่งนาสีจัดจ้านที่ปรากฏอยู่ท้ายรถบรรทุกจนเจนตาลูกทุ่งก็ถูกจําลองมาไว้เป็น ฉากบ้านของเสือดําอีกด้วย ซึ่งเดิมที่ฉากนี้ได้รับการวางแผนไว้ว่าจะทําเป็นฉากเพ้นต์อีกฉากหนึ่ง ทว่างบไม่พออีก ทั้งถ้าจะทําฉากนี้เป็นภาพเพ้นต์ด้วยจะต้องเป็นฉากที่ใหญ่โตมโหฬารและกินเงินทุนหนังไปอีกหลายตังค์เลยทีเดียว

“คาวบอยไทย สไตล์ต้มยํากุ้ง”

แม้ว่าจะเป็นเรื่องของเสือหรือโจรไทย แต่กลิ่นอายของความเป็นเสื้อแบบไทยๆ กลับถูกพรีเซนต์ตามรูปลักษณ์ในอุดมคติอันมีต้นกําเนิดมาจากหนังคาวบอย ไม่ว่าจะเป็นการที่กําหนดให้ตัวละครสวมเสื้อเชิ้ตใส่บู๊ทหมวกปีก และม้ามาอย่างเท่ทั้งที่เสือไทยจริงๆ “ก็จะนุ่งผ้าขาวม้า เสื้อม่อฮ่อมถือดาบ แต่แต่งแบบนี้ไปปล้นแล้วมันไม่เท่น่ะ (ในนิยายของ) ป. อินทรปาลิตเขาได้ อิทธิพลมาจากหนังคาวบอยเขาก็เลยจะประยุกต์ให้เป็นคาวบอยแบบไทยด้วยการให้แต่งตัวแบบนี้ ซึ่งหนังไทยยุคเก่าก็จะเป็นแบบนั้นหนังยุค มิตรชัย บัญชา ก็จะแต่งตัวแบบนี้ ตอนนั้นเราลองถ่ายเทสต์ก่อนที่ “เสือโจรพันธุ์ เสือ” จะทําออกมาเสียอีก”

ที่นี้เมื่อมาเป็นหนัง “ฟ้าทะลายโจร” วิศิษฏ์ยอมรับว่ากลิ่นอายแบบคาวบอยที่ปรากฏอยู่บ้างในหนังเรื่องนี้มีเชื้อมาจากหนังสปาเก็ตตีคาวบอยของต้นตํารับอย่าง เซอร์จิโอ เลโอเน่ เจ้าของงานชิ้นดังอย่าง For a Few Dollars More, A Fistful of Dollar แต่เมื่อส่าของงานเหล่านี้ตกมาถึง “ฟ้าทะลายโจร” วิศิษฏ์เรียกหนังคาวบอยแบบไทยแท้ของเขาว่า “ต้มยํากุ้ง คาวบอย” “เลโอเน่เขาทําคาวบอยเป็นอิตาเลียนแต่ของเราทําเป็นคาวบอยไทย ก็เรียกว่า “ต้มยํากุ้งคาวบอย” แต่ ในภาษาอังกฤษที่ใช้กับหนังเรื่องนี้เขา ใช้ว่า Classic Thai Western”

“ไทย แท้แต่ไฮเทค”

องค์ประกอบสําคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทําให้หนังเรื่องนี้คงรูปและรสของกลิ่นอายแบบโบราณได้ดีก็คือสีสันอันจัดจ้านของหนัง

วิศิษฏ์ ยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่าสีเข้มข้นแบบนี้แหละคือสีแบบไทยแท้ หนังไทยสมัยก่อนมีสีแบบนี้ไม่ใช่สีซีดๆ หรือสีน้ําตาลเก่าคร่ํา แบบซีเปีย แต่เป็นสีจัดจ้านเต็มรสชนิดที่เรียกว่าถ้าฟ้าก็ต้องฟ้าเข้มเทอร์คอยต์ แดงสดชมพูแป๋น ทว่ากรรมวิธีที่จะ ทําให้หนังออกมามีสีสันแบบนี้ต้องผ่านขั้นตอนหลายด่าน พื้นที่สุดก็คืออาร์ตไดเร็กเตอร์ต้องเตรียมการ วางแผนการใช้สีในหนังแต่ละฉากไว้ก่อนล่วงหน้า ตามมาด้วยกํากับภาพก็ต้องถ่ายทําให้ได้ความละเอียดและมีความชัดลึกตามต้องการเพื่อรองรับ ารตกแต่งสีที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนของโพสต์โปรดักชั่น

หนังเรื่องนี้บินไปทําโพสต์โปรดักชั่นที่ ATLAB ประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นแล็บที่ทางฟ็อกซ์สตูดิโอในออสเตรเลียใช้งานเป็นประจํา นัยนา ธนบดีพร ผู้ดูแลในส่วนของงานโพสต์โปรดักชั่นของหนังได้เล่าขั้นตอน คร่าวๆ ถึงการทําโพสต์ฯ ของหนังเรื่องนี้ไว้ว่า “เราจะมีการเทเลซีนจากฟิล์ม คร่าวๆ ถึงการทําโพสต์ฯ ของหนังเรื่องนี้ไว้ว่า “เราจะมีการเทเลซีนจากฟิล์ม เป็นวิดีโอเพื่อแก้ไขสีเป็นจุดๆ ตามต้องการ”

ซึ่งปกติการแก้ไขสีในขั้นตอนของการล้างฟิล์มนั้นไม่สามารถทําได้ละเอียดเช่นนี้และพอเราได้ภาพที่สมบูรณ์แล้ว เราก็นํามาตัดต่อร้อยเข้าในตัวเรื่องด้วยเครื่อง D1 (เครื่องตัด ต่อดจิตอล) สําเร็จออกมาเป็นมาสเตอร์เทปจากนั้นก็นําไป ทรานสเฟอร์ออกมาเป็นฟิล์มอีกครั้งหนึ่ง”

นอกจากนี้ “มันยังมีที่ซับซ้อนกว่านั้นคือในส่วนของการทําเทคนิคพิเศษซึ่งเราทําบนเครื่องเฮนรี่วี 6 (Henry V6) เครื่องนี้จะช่วยในการแม็ตต์ภาพหรือตกแต่งให้สมจริงยิ่งขึ้น อย่างตัวแสดงถูกปืนยิงทะลุปากก็จะมี ขั้นตอนดังที่เห็นในภาพ..”


“งานกํากับแรกของนักเขียนบทหนัง 200 ล้าน”

มาถึงบรรทัดนี้ความเป็น “ฟ้าทะลายโจร” คงปรากฏเป็นภาพที่ชัดขึ้นแต่บางคนอาจจะรู้จักตัวผู้กํากับหนังน้อยมาก ที่รู้กันอยู่ก็คือเขาเป็นคนเขียนบท “2499 อันธพาลครองเมือง” และ “นางนาก” วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยงกว่าจะมาเป็นผู้กํากับหนัง จริงๆ ในวันนี้เขาเป็นมาแล้วหลายตําแหน่งในแวดวงโฆษณา หลังจบจากคณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร อาชีพแรกที่ประกอบก็คือวิชวลไลเซอร์ (คนวาดสตอรีบอร์ด) ที่ดินตาส จากนั้นก็มาเป็นจูเนียร์อาร์ตไดเร็กเตอร์ เปลี่ยนมาทํามิวสิกวิดีโอที่ ดีตา เรคคอร์ด ในยุคเริ่มแรก แล้วกลับมาทําโฆษณาเหมือนเดิมในตําแหน่งอาร์ต ไดเร็กเตอร์ ขยับมาเป็นครีเอทีฟไดเร็ก เตอร์ที่โอกิลวี่ ได้ทํางานร่วมกับ เป็นเอก รัตนเรือง มาตลอดจน เป็นเอก ชักชวนเขาไปเขียนบทหนังที่ฟิล์มแฟ็กทอรี่ ซึ่งในเวลานั้นขยับจะเปิดแผนกภาพยนตร์ แต่ปรากฏว่าแผนกดังกล่าวเกิดแท้งกลางทางวิศิษฏ์จึงต้องเปลี่ยน อาชีพมาเป็นผู้กํากับหนังโฆษณา ประจําอยู่ที่นั้นแทน

ก่อนหน้าที่วิศิษฏ์จะเขียนบทหนัง “2499 อันธพาลครองเมือง” นั้นเขาเคยเขียนบทหนังเรื่อง “มาห์” มาก่อนหนังไซไฟแบบไทยๆ เรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ตามมาด้วยหนังที่ไม่ประสบความสำเร็จเอาเสียเลย แม้แต่ตอนเริ่มงานสร้างคือเรื่อง “2029 เครื่องครัวล้างโลก” เพราะถ่ายเสร็จแต่ไม่มีเงินไปเอาฟิล์มออกจากแล็บ ส่วนนายทุนก็เตลิดไป จนบัดนี้ชะตากรรมของฟิล์มชุดนั้นก็ยังไม่มีใครคาดเดาได้

และก่อนหน้านั้นกว่า 10 ปีล่วงมาแล้ว วิศิษฏ์เคยเป็นนักเขียนเรื่องตลกมาก่อน ในสมัยเรียนมหาวิทยาลัยเขาเขียนเรื่องสั้นแนวตลกตีพิมพ์ในนิตยสารเปรียวด้วยนามปากกา “สม วารีพักตร์” ซึ่งเจ้าตัวไม่อยากจะพูดถึงเพราะ “อายครับ เรื่องมันไร้สาระมาก” วันนี้วิศิษฏ์ทำหนังออกมาได้สำเร็จจริงๆ หลังจากผ่านวิบากกรรมในการนำโปรเจ็คต์หนังเรื่องนี้ไปขายถึง 3 สตูดิโอ ในระยะเวลา 3 ปี

ภาพอดีตที่เลือนลางในความทรงจำถูกนำมาถ่ายทอดอีกครั้งในพื้นที่ของปัจจุบัน คงจะต้องรอพิสูจน์กันในโรงหนังแล้วว่า หนังโพสต์โมเดิร์นเรื่องนี้ จะออกมาดีจริงสมดังความตั้งใจของคนทำงานหรือไม่

“Fah Talai Jone” is the latest release and the first film by TV commercial director Visit Sasanatieng which has a retro look in style and technic colour.

Visit said he wanted to recreate the traditional style of Thai films which were full of “cliché” a unique style indeed. He believes that if we had continued to develop this style, we would have had our own identity by now.

His film also features the Western style and he’d rather call it a “classic Thai Western” or “Thai cowboys -Tom Yum Kung style”. The plot is simple, featuring a love triangle, betrayal and twists of fate.

“My impression of the old song, ‘Fon Sang Fah’ (When the Rain Bids the Sky Farewell), sung by Pensee PumChusee, inspired me. I do love those ‘rain’ songs. I keep picturing a beautiful frame of two guys shooting each other in the rain. And that sparked it all! Initially, I chose ‘Fon Sang Fah’ as the title. But it sounded too much like a period piece,” he laughs. “Finally, we chose ‘Fah Talai Jone’ (The Heavens Strike the Thieves), for it can convey either a sense of obsoleteness or the feel of great chic, depending on the film’s context. In fact, it’s the name of a herbal plant. However, in terms of the film, it refers to predestination, in which most Thais believe. To put it frankly, the main reason is simply because I like this name.”

In fact, the idea of playing with outdated stuff has been enticing for a long time, Visit added.

“As we can see in foreign advertisements, it’s called the ‘out-beats- in’ style. Have you seen a commercial of Diesel Jeans, Levis’ archrival? In Levis’ commercial, all the male and female models are beautiful and are very chic. But Diesel’s commercial goes to the opposite extreme. The look of their model is very, very obsolete. That creates a unique style. A new chic style. Ironically, it’s Levis’ commercial that has become obsolete.

I experimented in my Wrangler commercial, in which the style of Thai films in the past was used.

All was obsolete — shooting, the model’s posture and the model’s face. I had experimented with it before and I had found it attractive. At that time, Oui was making Dang Bireley and the Young Gangsters in which the same period style was used. That interested my Wrangler account, so I asked him to sponsor the film. Besides being a script writer, I am a salesman, too!”, said Visit with a smile.

The post production process of ‘Fah Talai Jone’ was meticulously carried out at each level.

“In producing this film in the same style of vivid colours as those films in the past, we, in addition to ordinary settings and decorations, needed a colour modifying technique called ‘telecine’ in the final stage.

Through this technique, we simply turn blue to green, which was the favourite colour at that time. In those days, the colour of the skies in Thai films was not just a usual blue but rather turquoise, which can be acquired by means of the telecine technique. In addition, we used the ‘Dl’ digital process instead of

an ordinary optical one, which has less special functions, to create and modify all colours and special effects, even though a time consuming series of transfers between videotape and print signals had to be carried out afterwards…”

Well, there is no way of knowing if that unique style of Thai films was fully developed and what it would have looked like because it doesn’t exist. The only way to know is to go back to the transitional point where the influence began. Hopefully, have an individual style. can one day Thai films will again have an individual style.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *