THE RECYCLING CENTER IN GUANG WU PRIMARY SCHOOL

the recycling center-featurePhoto courtesy of Design Movement On Campus

Meta House ปรับปรุงศูนย์รวบรวมขยะประจำโรงเรียนประถมศึกษากวางอู่ในไต้หวัน ซึ่งถูกทิ้งให้ทรุดโทรมให้กลายเป็นสเปซเปิดโล่งที่ระบายอากาศได้ สร้างความสะดวกต่อการรีไซเคิลขยะ


TEXT: HSIEN TZU WANG
PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

ป็นไปได้ไหมที่จะทำให้การทิ้งขยะเป็นเรื่องสนุกน่าสนใจ หรือกระทั่งกลายเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา 

เสียงสัญญาณดังขึ้นในเวลาบ่ายสามโมง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘ช่วงทำความสะอาด’ ยาวนาน 30 นาทีของนักเรียนไต้หวัน แต่เมื่อชั่วโมงทำความสะอาดสิ้นสุดลงกลับไม่มีใครต้องการเป็นคนรับผิดชอบขยะหรือขยะรีไซเคิลที่รวบรวมได้ เนื่องจากทุกคนต่างมองว่าโรงเก็บขยะเป็นพื้นที่เล็กๆ ห่างไกลอาคารโรงเรียน ที่มักทำได้แค่กลั้นหายใจปิดจมูก นำขยะไปทิ้งให้เสร็จแล้วรีบวิ่งกลับห้องเรียน

the recycling center

ศูนย์รีไซเคิลขยะก่อนทำการปรับปรุง | Photo courtesy of Design Movement On Campus

ณ โรงเรียนประถมศึกษากวางอู่ ในเมืองเกาสง ศูนย์รวบรวมขยะรีไซเคิลมีลักษณะเป็นอาคารชั่วคราวที่ถูกสร้างจากอิฐและเหล็ก สภาพภายในมืดมิดและไม่มีการระบายอากาศ รวมถึงไม่มีพื้นที่เก็บขยะที่เหมาะสม ทำให้กลายเป็นมุมอับในโรงเรียนที่เหล่านักเรียนต่างไม่อยากเฉียดกรายเข้าใกล้ อีกทั้งการจัดให้ทิ้งขยะหน้าประตูโรงเรียนเพื่อความสะดวกในการเก็บของรถขยะ นอกจากจะทำให้มีสภาพไม่น่าดูแล้ว ยังทำให้ชุมชนมักมาแอบทิ้งขยะบริเวณหน้าโรงเรียน กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการจัดการดูแลขยะที่เหมาะสม

the recycling center

ศูนย์รีไซเคิลขยะหลังได้รับการออกแบบใหม่ | Photo courtesy of Golden Pin Design Award

ด้วยโอกาสอันดีที่กระทรวงศึกษาธิการไต้หวันร่วมมือกับสถาบันวิจัยการออกแบบไต้หวันและโรงเรียนต่างๆ เพื่อดำเนินโครงการ ‘การพัฒนาการออกแบบในสถานศึกษา (Design Movement on Campus)’ โรงเรียนกวางอู่จึงได้เข้าร่วมในฐานะโรงเรียนตัวอย่าง โดยเชิญบริษัทออกแบบ Meta House มาช่วยวางแผนการดีไซน์พื้นที่โรงเรียนกวางอู่ ด้วยมุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงโรงเก็บขยะแบบปิดให้กลายเป็นสเปซที่เปิดโล่งเพื่อให้ผู้คนรู้สึกยินดีที่จะเข้าใกล้

the recycling center

พื้นที่เก็บขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไป | Photo courtesy of Design Movement On Campus

ในพื้นที่เก็บขยะรูปแบบใหม่นี้ บริเวณที่เก็บขยะรีไซเคิลจะใช้ตาข่ายเหล็กเป็นการแบ่งแยกพื้นทื่เก็บขยะ โดยมีเพดานเหล็กที่คลุมอยู่ข้างบนเป็นตัวช่วยบังลมและฝน นอกจากนี้ที่นี่ยังใช้พาเลทพลาสติกที่ถูกยกให้ลอยเพื่อลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ผ่านการระบายอากาศตามธรรมชาติ และการติดตั้งรางน้ำเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอีกด้วย

the recycling center

พื้นที่เก็บขยะ ก่อน และ หลัง ได้รับการปรับปรุง | Photo courtesy of Design Movement On Campus

ด้านการใช้สอยพื้นที่ได้ถูกจัดแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างการจัดเก็บขยะและขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท ทำให้ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และเครื่องมือต่างๆ สามารถถูกจัดวางหรือทำความสะอาดได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถดำเนินการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

the recycling center

แผนภาพแสดงพื้นที่ในศูนย์รีไซเคิล | Photo courtesy of Design Movement On Campus

the recycling center

พื้นที่เก็บและแขวนอุปกรณ์ทำความสะอาด | Photo courtesy of Design Movement On Campus

the recycling center

ในขั้นตอนสุดท้าย บริเวณรอบๆ ศูนย์ขยะก็ประดับด้วยต้นไม้ต่างๆ เพื่อให้กลมกลืนไปกับทิวทัศน์สีเขียวในโรงเรียน ทำให้การกำจัดขยะไม่ต้องถูกจำกัดความว่าเป็นการเดินทางไปยังสถานที่มืดมิดและมีกลิ่นเหม็นอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นพื้นที่โปร่งเข้าถึงได้และมีชีวิตชีวา

the recycling center

ภาพมุมสูงของศูนย์ขยะรีไซเคิลหลังได้รับการปรับปรุงใหม่ | Photo courtesy of Golden Pin Design Award

the recycling center

ศูนย์เก็บขยะหลังได้รับการปรับปรุงด้วยการออกแบบที่ผสมผสานความสวยงามกับการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกันนี้ ทำให้เกิดงานดีไซน์ที่มีลักษณะเรียบง่ายแต่ตอบโจทย์การจัดการพื้นที่ภายในโรงเรียนได้อย่างดี เป็นผลให้ได้รับรางวัล Good Design Award จากประเทศญี่ปุ่นในปี 2023 และยังคว้ารางวัล Golden Pin Design Award 2023 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชนชาติจีนอีกด้วย โดยบริษัทออกแบบ Meta House ได้กล่าวในงานพิธีมอบรางวัลว่า “ในผลงานนี้เราได้ทำลายกรอบเดิมๆ และเปลี่ยนภาพลักษณ์โรงงานรีไซเคิลขยะให้เป็นพื้นที่เปิด กลายเป็นอีกหนึ่งศูนย์การเรียนการสอน เราใช้ความกล้าหาญเป็นอย่างมากในการออกแบบเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง และอยากขอบคุณทางโรงเรียนที่เต็มใจลงทุนช่วยเหลือโครงการนี้ เรายังคาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่สวยงามให้เด็กๆ ผ่านทางการออกแบบที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมๆ”

the recycling center

ทีมออกแบบกล่าวสุนทรพจน์ในงานรับรางวัล Golden Pin Design ยอดเยี่ยมแห่งปีร่วมกับครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษากวางอู่ | Photo courtesy of Golden Pin Design Award

ซึ่งระหว่างการออกแบบทางทีมและโรงเรียนได้ทำการปรึกษาพูดคุยถึงปัญหาอย่างเต็มที่ รวมถึงวิเคราะห์ปริมาณขยะโดยเฉลี่ยเพื่อออกแบบพื้นที่ที่สามารถรองรับขยะได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งเชิญชวนเหล่านักเรียนในโรงเรียนมาช่วยกันตั้งชื่อสถานที่นี้ด้วย จนได้ชื่อว่า ‘保時潔 (เป่าฉือเจี๋ย)’ แปลว่าให้รักษาความสะอาดตลอดเวลา ซึ่งมีที่มาจากการเล่นคำของยี่ห้อรถ ‘Porshe’ ในภาษาจีนที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน คือ ‘保時捷 (เป่าฉือเจี๋ย)’ ทั้งนี้ การให้นักเรียนเป็นผู้มีส่วนในการตั้งชื่อ จะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกผูกพันและเป็นส่วนหนึ่งกับพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างแท้จริง ทางครูใหญ่เองก็กล่าวชมเชยทีมออกแบบในระหว่างการมอบรางวัลว่า “การเปลี่ยนแปลงพื้นที่มืดทึบในโรงเรียนให้กลายเป็นลานเปิดและศูนย์การเรียนการสอนด้านการรีไซเคิลที่สวยงาม เป็นการออกแบบที่เชื่อมโยงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน สิ่งของ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีสุนทรียภาพ”

โครงการพัฒนาการออกแบบในสถานศึกษา เป็นมากกว่าโปรแกรมที่เข้าไปสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แต่ละโรงเรียน โดยโครงการนี้มีการรวบรวมโปรเจ็กต์ทั้งหลายมาจัดทำเป็นคู่มือวิธีปฏิบัติ ที่ให้คำแนะนำด้านการพูดคุยเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่โรงเรียนตัวอย่างและทีมออกแบบพบเจอในพื้นที่ศึกษา รวมถึงวิธีการคิดเชิงออกแบบและการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้พื้นที่อื่นๆ สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของกรณีตัวอย่าง และนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาของแต่ละพื้นที่ได้ โดยโครงการเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าสุนทรียภาพและการออกแบบสามารถถูกนำมาผสมผสานเป็นพื้นที่รูปแบบใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เด็กๆ มีพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

facebook.com/TWMetaHouse
campusfield.design.org.tw/zh-TW

_

งานรางวัลการออกแบบ Golden Pin Design Award

Golden Pin Design Award เป็นงานรางวัลการออกแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดในตลาดการออกแบบแห่งไต้หวัน จีน มาเก๊า และฮ่องกง ซึ่งต้องการเปิดโอกาสและสนับสนุนงานออกแบบไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ ผลงานออกแบบหลากหลายประเภท ที่มีความโดดเด่นจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย

โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ในเวลา 17.00 (GMT+8)

ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ผ่านทาง https://www.goldenpin.org.tw/en/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *