PLASTICIZING THE WORLD II

AMIDST THE TIME WHEN PLASTIC TECHNOLOGY WAS WAITING FOR THE MOMENT TO KNOCK ON THE DOOR OF PEOPLE’S HOUSE. STAYING BETWEEN THE REALITY AND THE ILLUSION, THE IMAGE OF SMITHSON’S HOUSE OF THE FUTURE IS GRADUALLY TRANSFORMED FROM THE IMAGERY OF PEOPLE LIVING IN A PLASTIC HOUSE – IN WHICH IS FULL OF LIGHTWEIGHT BELONGINGS WITH A SMOOTH SURFACE WAXY TO TOUCH – INTO THE REALITY.

TEXT: KANOKWAN TRAKULYINGCHAROEN

(For English, please scroll down)

ท่ามกลางช่วงเวลาที่เทคโนโลยีพลาสติกกำลังรอเวลาเคาะประตูบ้านคนทั่วไป ภาพบ้านที่อยู่ระหว่างความจริงกับภาพลวงแบบในงาน House of the Futureของ Alison และ Peter Smithsonก็ค่อยๆ กลายร่างจากภาพจินตนาการถึงผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านพลาสติกที่ภายในบ้านเต็มไปด้วยข้าวของเครื่องใช้เนื้อเรียบลื่นผิวมัน น้ำหนักเบาเข้ามาสู่โลกของความเป็นจริง

การแตกตัวออกเป็นสิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ในเวลาไม่นานหลังจากนั้น ก็ชวนให้เราย้อนคิดไปถึงข้อความที่ โรลองด์ บาร์ธส์ (Roland Barthes) เขียนถึง ความเป็นพลาสติก ไว้ว่า “พลาสติกไม่ได้เป็นแก่นสารในตัวมันเองมากไปกว่าตัวความคิดที่ว่าด้วยเรื่องของการก่อตัวของรูปร่างอย่างไร้จุดจบ (Plastic is not so much a substance as the notion of infinite remodeling.)” [1] บาร์ธส์มองว่า พลาสติกทำให้การมีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง (omnipresence) ปรากฏตัวชัดเจนขึ้นมา และทำให้มันเป็นสสารที่ชวนให้คนฉงนสงสัยและแปลกใจไปกับการพร้อมที่จะแปรรูปเปลี่ยนร่างไปตลอดเวลา มันจึงไม่ใช่แค่สิ่งของที่เป็นชิ้นเป็นอันอย่างที่เห็น แต่เป็นร่องรอยของความเคลื่อนไหว ฉะนั้นเวลาเรามองข้าวของรอบตัวเราที่ทำจากพลาสติก มันก็เหมือนกับว่า เราได้นั่งมองมหรสพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไหลออกมาจากต้นทางเดียวกัน หรือก็คือความเป็นพลาสติก ของหนึ่งชิ้นคือร่องรอยของหนึ่งชั่วขณะของการเคลื่อนไหวที่เข้าไปประกอบร่างอยู่ในใจคนดู

“พลาสติกไม่ได้เป็นแก่นสารในตัวมันเองมากไปกว่าตัวความคิดที่ว่าด้วยเรื่องของการก่อตัวของรูปร่างอย่างไร้จุดจบ” – โรลองด์ บาร์ธส์

 

ไม่นานจากนั้นภาพที่บาร์ธส์เขียนถึงก็ได้แทรกตัวเข้ามาในชีวิตประจำวันของเราจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันไปเรียบร้อย จินตนาการกับความจริงที่แยกจากกันไม่ออก มาถึงตรงนี้แล้ว เราคงจะจบบทความไม่ได้ถ้าเราไม่พูดถึงหนึ่งในตัวแทนของข้าวของเครื่องใช้มากมายที่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว คงไม่มีครัวบ้านไหนที่จะไม่มีสิ่งประดิษฐ์ชิ้นสำคัญของกลางศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามากอย่าง Tupperware หรือกล่องพลาสติกทัพเพอร์แวร์ที่พ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายของเรารู้จักกันเป็นอย่างดี

United States Patent Office, no. 2780385, “Bread Server,” Patented February 5, 1957.  

เอิร์ล เอส ทัพเพอร์ (Earl S. Tupper) เริ่มคิดจดสิทธิบัตรงานออกแบบกล่องถนอมขนมปัง(Bread Server) หรือที่เรารู้จักกันต่อมาในชื่อ ทัพเพอร์แวร์ขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ.1950 แต่มาสมบูรณ์เป็นกล่องแบบที่เรารู้จักกันดีในปี 1957 [2] จะมีสักกี่คนในหมู่คนทั่วทั้งโลกที่ใช้กล่องชนิดนี้เก็บอาหารในครัวจะนึกไปถึงว่า ใจความสำคัญของสิทธิบัตรนอกจากจะอยู่ที่การออกแบบรอยต่อผนึกปิดกันน้ำระหว่างตัวกล่องกับฝาปิดอย่างที่เรานึกกันได้ในแว่บแรกแล้ว มันยังอยู่ที่การใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ในการเปิดปิดฝากล่องซ้ำไปมา นอกจากนั้นแล้วคำบรรยายในตัวสิทธิบัตรก็ยังสะท้อนถึงการใส่ใจให้ความสำคัญกับความสะอาดและสุขอนามัยในการถนอมอาหารยุคนั้น เพราะการปิดผนึกนั้น ทำขึ้นมาเพื่อป้องกันการเติบโตของเชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆ ภายในภาชนะ

แน่นอนว่า ภาพกองทัพทัพเพอร์แวร์ถล่มออกมาจากตู้ เวลาเราเปิดตู้เก็บของของพ่อแม่เราออกมาจัดบ้านตามสไตล์ Marie Kondo ที่นิยมกันมาพักใหญ่คงจะไม่เกิดขึ้น ถ้านัตต้าไม่ได้คิดค้นโพลีเมอร์ตัวแรกขึ้นมาในปี 1953 และคุณทัพเพอร์ไม่รับบอลต่อไปคิดกล่องถนอมขนมปังขึ้นมาแล้วล่ะก็ วันนี้เราคงไม่ได้เห็นกล่องขนมปังออกลูกออกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง จนหันไปทางไหนเราก็เห็นร่องรอยของการกลายร่างของพลาสติกอยู่ร่ำไป

(จบตอน)

Amidst the time when plastic technology was waiting for the moment to knock on the door of people’s house. Staying between the reality and the illusion, the image of Smithson’s House of the Future is gradually transformed from the imagery of people living in a plastic house – in which is full of lightweight belongings with a smooth surface waxy to touch – into the reality.

 

Not long after that, the different final shapes of object and furnitures invite us to reflect on the text that Roland Barthes wrote about plasticity: “Plastic is not so much of a substance as the notion of infinite remodeling.” [1] According to him, plastic makes the omnipresence visible and renders it “a miracle being a sudden conversion of nature every time.” That’s how it invites people to wonder about being ready to transform and change over time. “It is not so much an item as the trace of a movement.” So when we look at things around us that are made of plastic, it’s like we sat at “the spectacle of its final products.” that flows from the same mouth of a spring or being plastic. One plastic piece is a trace of a movement in a fraction of time that assembles piece by piece in the audience’s mind.

 

Not long after that, the image that Barthes wrote entered into our everyday life and turns out to be a part of it. Imagination and reality become inseparable. Here we can’t come to an end if we don’t talk about one of the too well-known appliances that have become part of our daily life. There is no kitchen in which there will be no presence of such important artifacts from the middle of the 20th century. It is very close to us, Tupperware or plastic boxes that our parents, grandparents, brothers, and sisters know it very well.

 

   United States Patent Office, no. 2780385, “Bread Server,” Patented February 5, 1957.

Earl S. Tupper began to patent the design of the “Bread Server,” so-called Tupperware, since 1950. But it came to perfection as a box that we know in 1957 (US Patent 2780385, February 5, 1957). [2] Not so many people who use this kind of box to store food in the kitchen would think: besides being the design of the seal-tight and removable nonmetallic lids and the box, the essence of the patent resides in using the thumb and index finger to open and close the box repeatedly. Moreover, the box itself also reflects a certain level of attention to the importance of cleanliness and hygiene in preserving food of that period as the sealing was designed specifically to prevent the development of “mildews, micro-organisms and insects.”

Of course, the pictures of the Tupperware army that are coming out of the cabinet – when we opened our parents’ cabinets and tried to arrange their place according to Marie Kondo’s style for organizing a house -would not have been happened, if Prof. Natta had not invented the first polymer in 1953. If Earl S. Tupper didn’t receive and pass the ball with his “Bread Server,” we would not have a chance to witness the parades of plastic transformation today.

[1] Roland Barthes, Mythologies, New York: Noonday, 1991, p.97-99

[2] United States Patent Office, no. 2780385, “Bread Server,” Patented February 5, 1957.  

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *