ILLUSION IS PLEASURE

ARWUT ANKAWUT’S DRAWINGS CONTAIN BOTH SCIENTIFIC AND HUMANISTIC ASPECTS. ART4D FINDS OUT WHAT THEY’RE ABOUT  24

ภาพวาดทางสถาปัตยกรรมของ อาวุธ อังคาวุธ นั้นมีส่วนผสมระหว่างมุมมองทางวิทยาศาสตร์และมนุษยนิยม ย้อนกลับไปในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2540 art4d ได้ค้นหาคำตอบว่าทำไมภาพวาดของเขาถึงเป็นอย่างนั้น
(For English, please scroll down)
 
 
อาวุธ อังคาวุธ เป็นสถาปนิก นักคิด และศิลปิน แต่ชื่อของอาวุธ คงจะเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในฐานะนักเขียนทัศนภาพทางสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย
 
จากวันที่งานเขียนทัศนภาพของอาวุธเริ่มได้รับทัศนภาพทางสถาปัตยกรรมการเผยแพร่เป็นที่รู้จักมาเป็นเวลาเกือบยี่สิบปี ต้องนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน อาจจะยาวนานกว่านักเขียนทัศนภาพอาชีพคนอื่นๆ เท่าที่เมืองไทยเคยมีมา ความน่าสนใจของงานเขียนของอาวุธ ไม่ได้อยู่ที่ประสบการณ์ จำนวนปี หรือภาพที่ผ่านฝีแปรงของเขา แต่เป็นความคิดอ่านเบื้องหลังการเขียนทัศนภาพ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของปรัชญา ศิลปะหรือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ถูกสังเคราะห์รวมกันอยู่ในรูปๆ หนึ่ง
 

การใช้ลูกเล่นของสีสัน เมื่อเกิดการสะท้อนของแสงบนถนนที่เปียก
 
อาวุธเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่เราเห็นเป็นตัวตนอยู่ในโลกนี้ล้วนแล้วแต่เป็น “มายา” มันมีปรากฏอยู่เพราะความเชื่อของจินตภาพที่เราเห็นอยู่เป็นสิ่งต่างๆ มาจากคลื่นแสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนเข้ามากระทบดวงตาซึ่งรับภาพและส่งสัญญาณต่อไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย ความสัมพันธ์ของดวงตา จิต และสมอง เกี่ยวกับการเห็นและการรับรู้ เป็นแนวทางที่อาวุธใช้คิดพิจารณาในการเขียนทัศนภาพทางสถาปัตยกรรม
 
รูปภาพทัศนภาพทางสถาปัตยกรรมที่ดีอาจเปรียบได้ง่ายๆ คล้ายกับภาพที่เกิดขึ้นจากการถ่ายรูป รูปที่เขียนออกมาควรจะดูแล้ว “เหมือนจริง” ไม่มีอะไรทำให้รู้สึกว่าผิดปกติ คนที่เขียนทัศนภาพโดยทั่วๆ ไปจึงต้องทำให้รูปที่ออกมาเป็นธรรมชาติที่สุด ดูสบายตาที่สุดโดยภาพรวม ในขณะที่ลักษณะเด่นในรูปทัศนภาพของอาวุธที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางอยู่ที่การให้แสงของรูป แต่อาวุธคิดว่าแสงเป็นเพียงเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งของระบบรวมของภาพทั้งหมด เหมือนกับเวลาถ่ายรูปที่ช่างภาพอาจต้องตั้งกล้องรอเพื่อให้ได้จุดที่แสงเข้าพอดีตามที่ต้องการ แม้ว่ารูปทัศนภาพที่ดีจะถูกเปรียบเทียบกับภาพจากการถ่ายภาพ
 
อย่างไรก็ตาม อาวุธเชื่อว่าสมองหรือจิตของเราทำงานแตกต่างจากกล้องถ่ายรูปแบบเหนือชั้นกว่ากันมาก โดยการเปรียบเทียบง่ายๆถึง “ภาพเพียงชั่วขณะหนึ่ง” ซึ่งเป็นความหมายของภาพที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายรูปโดยกดชัตเตอร์เปิดเฟรมหน้ากล้องให้แสงผ่านเลนส์ไปกระทบเพื่อบันทึกลงบนแผ่นฟิล์ม เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งต่างกันกับการรับรู้ของสมองคนเราในกรณีที่บริเวณๆ หนึ่งมีสิ่งของหรือวัตถุรายรอบใกล้ไกลกระจายกันออกไป การบันทึกด้วยกล้องถ่ายภาพจะเก็บข้อมูลของวัตถุทุกชิ้นในบริเวณนั้น ขณะที่กระบวนการทำงานของสมองและจิดในการรับรู้ของคนเราจะถ่ายทอดให้เราเห็นภาพของวัตถุเหล่านั้น ตามเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบเช่น ความใหญ่ ความใกล้ไกลแสง ฯลฯ ไม่ได้เป็นการบันทึกข้อมูลของวัตถุทุกชิ้นพร้อมกันหมดในชั่วขณะเดียวเหมือนกล้องถ่ายภาพ
 

ฝ้าเพดานในศูนย์การค้าซึ่งในความเป็นจริงเป็นสีขาวนวล แต่เราสามารถรับรู้ได้แม้ว่าภาพที่เห็นจะปรากฏแสงเป็นสีเหลือง
 
แม้ว่าในช่วงเวลาของการเขียนรูปทัศนภาพทางสถาปัตยกรรมของอาวุธจะผ่านการทดลองใช้อุปกรณ์และเทคนิคต่างๆ มาแล้วมากมาย แต่ดูเหมือนว่าการเขียนด้วยสีโปสเตอร์จะเป็นสื่อที่เขาถนัดและใช้เวลากับมันยาวนานที่สุด และด้วยการเขียนรูปด้วยสีโปสเตอร์นี้เองที่อาวุธได้เก็บเกี่ยวและสะสมความชำนาญและลูกเล่นต่างๆ จากการศึกษาและสังเกตทดลอง จนได้แนวทางของเทคนิคในการเขียนรูปให้ดีจากทฤษฎีของแสงและการรับรู้ของสมอง ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในเรื่องของการเคลื่อนที่ของสายตา ทิศทางการมองของภาพ ความเข้มของแสง จุดสนใจ รวมทั้งการให้ข้อมูลของภาพให้อยู่ในระบบความสัมพันธ์เดียวกัน ความรู้เหล่านี้อธิบายได้ว่าการสร้างความประทับใจให้กับรูปทัศนภาพไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องของศิลปะเท่านั้น สำหรับอาวุธ เรื่องราวเหล่านี้คือสุนทรียภาพที่สามารถอธิบายได้ด้วยตรรกะทางวิทยาศาสตร์ประกอบ จากการศึกษาและค้นคว้ามาตลอดหลายปีในชีวิตการเขียนทัศนภาพทางสถาปัตยกรรมของเขา
 
สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ว่าทฤษฎีต่างๆ ที่อาวุธค้นคว้าศึกษา ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการทำให้ภาพ ‘ถูกต้อง’ หรือ ‘ไม่ผิดปกติ’ เสียทั้งหมด เพราะความเชื่อในทฤษฎีและธรรมชาติการรับรู้ของสมองที่ไม่เหมือนกับเครื่องจักรกลใดๆ การรู้เท่าทันธรรมชาติและการรับรู้ของจิตมนุษย์ ยังทำให้อาวุธสามารถประยุกต์ทฤษฎีเหล่านี้ในการสร้างสุนทรียภาพของรูปที่เขาเขียน จากการผสมผสานของ “ความเป็นจริง” และ “ภาพที่เราเห็น” ซึ่งอาวุธเรียกว่า “มายา” นั่นเอง
 
แม้ว่าโลกเราทุกวันนี้กำลังก้าวเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยี ซึ่งมีบทบาทอยู่ในทุกๆ เรื่องราวและในสังคมรอบๆ ตัวเรา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในการสร้างสรรค์งานศิลปะ รวมทั้งศิลปะในการเขียนรูปทัศนภาพทางสถาปัตยกรรมอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ตั้งแต่การขึ้นมุมของภาพ การร่าง ไปจนถึงการทำรายละเอียดและตกแต่งภาพ ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ภาพเหมือนจริงมากที่สุด
 

การให้แสงของภาพในตอนโพล้เพล้ และภาพที่เกิดเงาสะท้อนลงน้ำและแสง back light
 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรับเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการเขียนรูปในระดับใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอสำหรับรูปทัศนภาพทางสถาปัตยกรรมคือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและความน่าประทับใจของภาพยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญของภาพที่ดี เป็นองค์ประกอบที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของการรับรู้ของจิตมนุษย์ซึ่งนำไปสู่ความพึงพอใจ เป็นคุณค่าที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้งเกินกว่าเทคโนโลยีใดๆ จะหยั่งถึงได้ เมื่อมองในแง่นี้งานเขียนทัศนภาพของอาวุธ อังคาวุธ จึงเต็มไปด้วยสัมผัสของชีวิตและจิตวิญญาณที่สร้างขึ้นมาได้ด้วยความรู้สึกของมนุษย์เท่านั้น เป็นงานที่พิสูจน์ให้เห็นว่ามนุษย์ยังคงรับรู้และสัมผัสสิ่งที่เห็นด้วยความรู้สึกและ ‘ความเป็นจริง’ ทั้งหมด ไม่ได้ทำให้มนุษย์เราพึงพอใจได้เสมอไป

ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ The Pleasure of Illusion architectural illustrations by Arwut Ankawut

Arwut Ankawut is an architect, thinker and artist. He is best-known, however, as Thailand’s most famous architectural illustrator. It has been 20 years since his drawings were first publicized, which is fairly long time in the life-span of artistic careers. His experience, length of time in the industry and skills aside, his drawings are more interesting for their synthesis of art philosophy and rules of nature. Ankawut believes that anything tangible in our world is an “illusion”. They appear due light reflecting in our eyes; our eyes function as receptors and the messages are sent to our brain for interpretation. The visual and cognizant relationship between the eye and brain is of great concern to Ankawut in his architectural drawings.

These drawings can be compared with photographs. The drawn picture should seem real and should not look unsual it should be at its most natural. The most renowned aspect of Ankawut’s drawings is the use of light. Ankawut, however, considers the placement of light as only one aspect of the drawing system, just as photographers have to set the camera’s location to control the amount of light. Although the visual drawings are compared with the photos, Ankawut believes that the human brain works far better than the camera. For example, the photographs are only moment pictures’. They are very different from the brain’s ability to observe objects from a mobile perspective, taking into account a variety of factors such as distance, light etc. Unlike the camera, the brain does not freeze these different aspects into one moment.
 
มุมมองของฟอร์มอาคารที่มีรูปทรงกลมมาเกี่ยวข้อง ซึ่งอาวุธเห็นว่าภาพที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงจะให้ความรู้สึกว่าลวงตาหรือผิดปกติ
 
Ankawul has experimented with many tools and techniques, and has acquired a vast library of skills. Many of his skills were acquired through a long period of time spent painting posters when he learnt particular methods by studying and observing until he understood the theories of light and the brain’s acknowledgment. These theories encompass visual movement, visual orientation of the pictures light intensity, important focal points and providing cohesive and consistent information within a picture. For Ankawut, the visual impression of a picture is concerned, not only with art, but also with the aesthetic of scientific logic and experience. This doesn’t mean that every drawing need to be “correct” or “right”, each image is dependent on the belief in the theories and natural acknowledgment of the brain.
 
Although our world is moving into a period of technology which plays a great role in all our lives, we can’t deny that this technology is involved with artistic creativity, from the setting of views to draughts and detalling. These processes make the pictures real. Although we use technology, architectural illustrations still require true information and an emphasis on the most important point of the picture is still crucial to creating a drawing with impact. It is this factor that has its origins in the mind’s acknowledgment and leads to aesthetic satisfaction. Ankawut’s drawings are full of liveliness and soul, elements that can only be created by the human hand and mind.
 
Arwit Ankawut’s book, The Pleasure of Illusion will be available in March, 1997.
 
 
 
Originally published in art4d #24 February, 1997

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *