PIYALADA DEVAKULA ANALYZES THE GRACEFUL, REFINED AND ENTICING NATURE IN THAI ARCHITECTURE
ย้อนกลับไปในปี 2544 art4d มีโอกาสได้พูดคุยกับ ม.ล. ปิยลดา ทวีปรังษีพร ถึงแนวคิดเบื้องหลังบทความ Ruan Thai: An Aesthetic of Femininity? โดยแนวคิด femininity เป็นหนึ่งในลักษณะ 5 ประการของเรือนไทยภาคกลางที่ อ. ปิยดลาใช้ในการศึกษา นั่นคือการมองว่าความอ่อนช้อยอ่อนหวาน (ที่ปรากฏในรูปแบบทางสถาปัตยกรรม) มันมีรากยังไงในวัฒนธรรมของเรา
(For English, please scroll down)
บทความชุด Ruan Thai: An Aesthetic of Femininity? ที่ตีพิมพ์ในวารสารสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างความสนใจให้กับ art4d จนต้องนัดคุยกับ ม.ล. ปิยลดา เทวกุล (ทวีปรังษีพร) ผู้เขียนบทความชุดนี้สักครั้ง อ. ปิยลดาจบปริญญาตรีจากสถาปัตย์จุฬาฯ ก่อนจะเดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอกที่ University of Michigan ที่ Ann Arbor ประเทศสหรัฐอเมริกา “area ที่เรียนปริญญาเอกเป็น architectural history and theory แต่มันก็กว้างมาก ถ้าเกิดจะให้ชัดๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตีความการมองเรือนไทยภาคกลางจากมุมมองของคนปัจจุบัน คือ มองในแง่ที่ว่าเรือนไทยมันน่าจะมีคาแรกเตอร์อะไรที่จับใจเรา แล้วก็ความหมายจากมุมมองของเรา เช่นว่า ไม่ได้มองไปว่าบ้านลมตัวเหงาหมายถึงอะไรในอดีต ซึ่งอันนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แล้วก็ต้องเข้าใจ ต้องศึกษาด้วยอยู่แล้ว แต่ว่าสิ่งที่สนใจก็คือว่า ไม้ที่สูงๆ อย่างนี้เป็นไม้อย่างนี้ ยอดแหลมๆ อย่างนี้ มันทำให้เรารู้สึกอย่างไร และความรู้สึกเหล่านี้มันมีความหมายอย่างไรกับตัวเราในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเนื้อหาสาระมันก็เป็นเรื่องของการตีความสถาปัตยกรรม เป็นเรื่องศึกษาเชิงวัฒนธรรม รวมทั้งเชิงปรัชญานิดหน่อยด้วย”
ย้อนกลับไปช่วงราวๆ ปี 2536 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสหวนกลับคืนถิ่นมาแรงมาก และความสนใจส่วนตัวเกี่ยวกับคาแร็คเตอร์ของอาคาร ทำให้ อ. ปิยลดาเสนอหัวข้อในการเรียนปริญญาเอกไปว่าจะศึกษาเรื่องเรือนไทย “ประกอบกับตอนนั้นก็ได้เรียนวิชา phenomenology ซึ่งมันเป็นเรื่องของมุมมองทางประสบการณ์ของคน เรื่องของจิตวิญญาณหรือ sense of place อะไรบางอย่าง มันจะวนๆ อยู่กับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งในการวิจัยการศึกษาอะไรต่างๆ ทุกคนจะบอกว่าเราจะต้องเน้น objectivity สิ่งที่จับต้องได้ สิ่งที่มันรับได้ พิสูจน์ได้ เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล แต่ของ phenomenology บอกว่าตัวคนเรามีความน่าเชื่อถืออยู่ระดับหนึ่งแล้ว คนเราทุกคนเชื่อมั้ยว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่เวลาเรารู้สึกอะไรบางทีเราไม่รู้สึกคนเดียวหรอก มันเป็นความรู้สึกร่วม ถ้ามีห้องแคบห้องหนึ่งแล้วมันมีหน้าต่างอยู่บานนึง เชื่อมั้ยคนส่วนใหญ่จะมุ่งเข้าไปนั่งหรือทำอะไรอยู่ใกล้แสงอันนั้น ปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านี้มันเป็นสิ่งที่คนเรามีร่วมกัน แน่นอนมันก็มีบริบททางวัฒนธรรมหรือว่าเส้นทางทางวัฒนธรรมที่มาหลอมคนเข้าไปอีกชั้นนึง แต่ว่าโดยรวมๆ แล้วก็เลยรู้สึกว่าวิธีที่มันมองอะไรที่เชื่อในตัวบุคคลแล้วก็มองผ่านผิวหน้าของสิ่งต่างๆ ลงไปหาความหมายที่ซ่อนอยู่ข้างล่าง มันเข้ากับวิถีทางตะวันออกอยู่จำนวนหนึ่ง”
จากวิธีคิดดังกล่าวนี้เอง อ. ปิยลดาได้นำมาใช้เป็นฐานในการศึกษาเรือนไทยและนำมาซึ่งลักษณะ 5 ประการของเรือนไทย และเรื่อง femininity ที่เขียนในบทความนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ของเธอนั่นเอง “femininity เป็นลักษณะหนึ่งใน 5 ประการของเรือนไทยที่ได้ศึกษามา คือความอ่อนช้อยอ่อนหวานมันมีรากยังไงในวัฒนธรรมเรา แต่กรุณาอย่าโยงไปเป็น feminism เพราะว่าจะโดนพวก feminist ตีแหลก ไปพูดที่ไหนคนจะบอกให้ระวังตลอดเพราะว่าเค้าต่อต้านการแบ่งผู้หญิงผู้ชาย หรือการที่เอาผู้หญิงไปอยู่ในลักษณะที่เป็นการยอมรับ เขาบอกว่ามันไม่ใช่ แต่ทีนี้เราก็ไม่สามารถพูดแทน feminist ได้อีก เพราะว่าเรายังไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้พอรู้แค่เบสิคเท่านั้น” แต่อย่างไรก็ตาม อ. ปิยลดากล่าวว่าความเป็นผู้หญิงนั้นเป็นลักษณะทางวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้วในสังคมไทย “มันบอกเป็นคำอย่างคำว่า ‘แม่น้ำ’ และ ‘แม่ทัพ’ มันมีลักษณะที่ปฏิเสธไม่ค่อยได้ในรากของวัฒนธรรมเราเอง และเรื่องของสังคมเกษตรมันมีหลายระดับ เราไปดูพวกรายละเอียดเส้นสายของพวกจิตรกรรมฝาผนังอะไรต่างๆ เส้นสายของเราออกประณีต แล้วลักษณะที่มันเห็นกล้ามเนื้อมันไม่ค่อยมี ทีนี้อธิบายได้สองทาง ทางแรกมันดูเหมือนผู้หญิง แต่อีกทางมันอาจจะเป็นเรื่องของกระแสศิลปะตะวันออกที่มองในลักษณะที่เป็นแบบอุดมคติ ไม่เน้นความเหมือนจริงในด้านของกายวิภาค มันก็เป็นได้ แต่ภายในเรื่องของสังคมอันนี้ไม่ได้ประสบเอง แต่ว่าเอกสารที่เราศึกษาเขาบอกว่าสังคมเราเป็นสังคมเกษตร เรื่องของแรงงานในนามันก็มีความหมายมาก แล้วผู้หญิงไทยในสมัยก่อนมันมี power ในแง่ของการเป็นแรงงานสำคัญจริงๆ แล้วเป็นผู้จัดสรรแรงงานด้วยซ้ำ ในขณะที่บทบาทของผู้ชายมันเป็นเหมือนกับลักษณะที่เป็นศักดิ์ศรีของบ้าน โดยลักษณะเป็นหน้าเป็นตาออกไปรับราชการ แต่ผู้หญิงจะเป็นกำลังสำคัญที่ backup อยู่มากเลย เช่น ลักษณะที่เป็นการดูแลเรื่องของเศรษฐกิจ”
“เป็นเพราะว่าเราเอาคอนเซ็ปต์ฝรั่งมาสวมล้วนๆ หรือเปล่าเลยทำให้มีความคิดอย่างนั้น เราก็เกิดไม่ทันนะ มันเหมือนกับตอนนี้เรื่องของความไม่ลงกันระหว่างแนวคิดใหม่กับแนวเดิมมันปรากฏเยอะไปเหลือเกิน มีใครไม่รู้บอกว่าแต่ก่อนเป็นเพราะอาชีพทำนา เพราะฉะนั้นลักษณะบ้านกับงานมันใกล้กัน แต่ปัจจุบันผู้หญิงสูญเสียอำนาจในการจัดการแรงงานไป เพราะฉะนั้นการอยู่กับบ้านเฉยๆ เกิดเสียคุณค่าก็ออกไปทำงานนอกบ้าน พอออกไปทำงานนอกบ้านก็เป็นโลกของผู้ชายอีก บทบาทจริงๆ ของเขาที่อยู่ตรงนั้นคืออยู่ในสังคมเกษตร เพราะฉะนั้นมันกลายเป็นสังคมเมืองไป มันกลายเป็นโลกของผู้ชาย แต่ตัวเราไม่ได้คิดอย่างนี้นะอันนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจในอดีต แต่ปัจจุบันจริงๆ แล้วยังไปเถียงฝรั่งอยู่เลยู่ในห้องที่เรียนเรื่อง feminism คนตะวันออกผู้หญิงก็มีบทบาทของเขาและเขาเข้าใจบทบาท และจะไม่เรียกร้องให้เท่าเทียมผู้ชาย มันต้องควบคู่กันไป”
สำหรับบทบาทในฐานะนักวิชาการนั้น อ. ปิยลดาคิดว่าตัวเองยังอยู่ในช่วงของการค้นหา แต่ขณะนี้มีความสนใจในเรื่องสุนทรียภาพเป็นพิเศษ “โรงเรียนสถาปัตย์ของเรานี้เราไม่ได้สอนเรื่องความงามกันเลย เราสอนแต่ไม่พูดถึงเป็นประเด็นดีกันตรงหน้า ตอนนี้ช่วยรองศาสตราจารย์ ดร. สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ พัฒนาวิชาหนึ่งขึ้นมาซึ่งเปิดอยู่เทอมนี้คือวิชาสุนทรียศาสตร์” นอกจากนี้ยังมีอีกบทบาทหนึ่งซึ่งเป็นความพยายามของเธอที่จะเก็บเรื่องเก่าๆ รอบๆ ตัวมาผสมผสานกับทิศทางสมัยใหม่ของงานออกแบบ เป็นการสานอดีตกับอนาคตเข้าทำนองเพื่อให้รู้เขารู้เราให้มากที่สุดนั่นเอง
The article entitled Ruan Thai: An Aesthetic of Femininity? turned our attention to the writer M.L. Piyalada Devakula (Thaveeprungsriporn). Devakula graduated from The Faculty of Architecture, Chulalongkorn University and finished her masters and doctorate degree at University of Michigan at Ann Arbor. “My doctorate was in architectural history and theory which is rather wide. To be more specific, it is about the interpretation of Central Traditional Thai house to find meaning of architecture in terms of cultural aspects as well as some philosophical aspects.”
In 1993, thoughts about tradition and trend were very strong, add to this her personal interest about building characteristics, and we can see why Devakula notified the school that her doctorate study would be on the Ruan Thai (The Traditional Thai House). “I also took the phenomenology course which is about individual experience, about spiritual matters, about sense of place and sort of things. Generally in every research and study they tell us that we should focus on objectivity, which concerns tangible, perceivable, provable and rational things. But phenomenology says otherwise… Sometimes, we have common feelings. For example, on entering a small room with a window, do you believe that most people tend to sit near the window, to get closer to the light? It is light sensitivity. This is how people share experiences. Of course, there are cultural context shaping our notions of things. But this approach attempts to seek the hidden agenda behind the facet which suits the eastern way.”
Devakula has summed up the five essential patterns that characterise the traditional house, including femininity. “Femininity is a part of my thesis. The graceful and refined nature constitutes a salient characteristic of our culture. Please do not connect this idea with feminism because they are very different concepts.” By the way, Devakula believes that femininity is a cultural characteristic that has existed in Thai society for a long time. “We have many expressions, for example Mae Nam (Mother water river) and Mae Tup (The army commander) Take a look at Thai paintings or murals, we hardly find muscle lines. There are two explanations. First, it is a feminine characteristic, the other is the Asian art style which is idealistic rather than realistic anatomy. Another supporting information I studied from a number of papers is that in an agricultural society, women play a powerful role in labour management while men’s role is to maintain the dignity of the family by working in the public sector. This means that the man is the public figure backed up by the woman.” Perhaps, we look this issue through the western frame. That is why we believe that women are treated badly in Thai society. “It seems to me that there are many conflicts between old and new thinking. In the past, the living and working place are close because we are farmers. But today women have lost their power in labour management. When they leave their home to work outside, it is a man’s world. But I don’t have such an attitude. I used to debate with my peers in the feminism class that eastern women understand their roles and do not want the same role as men. Both have to go together hand in hand.”
As an instructor, Devakula is still seeking her way but at the moment she is specifically interested in esthetics. “Our architectural schools rarely teach about the aesthetics. We do but we don’t go straight to the point. Along with professor Santi Chantawilaswong, I have developed an Aesthetic course…” Moreover, she attempts to collect traditional things and juxtapose them with innovative design directions. Let wait and see how she combines them in the very near future.
Originally published in art4d #69 (March, 2001)