CRIMSON ROOM

TIDA AWARDS 2019
BEST OF CREATIVE EATERY DESIGN
PARADIGM SHIFT +

(For English, press here)

จากโจทย์ที่ผู้ออกแบบได้รับจากเจ้าของโครงการนั่นคือเพลลิสต์เพลงสวิงแจ๊สชุดหนึ่ง นำมาสู่การจินตนาการถึงโรงละครแบบวินเทจ ความหรูหราตระการตา ม่านสีแดงกำมะหยี่ และคอนเซ็ปต์การทำงานออกแบบครั้งนี้ “year 1920 – The Roaring Twenties”

ผู้ออกแบบเปลี่ยนพื้นที่ห้องกระจกขนาดมาตรฐานของคอมมูนิตี้มอลล์ Velaa Sindhorn Village บนถนนหลังสวน ให้กลายมาเป็นห้องทึบ เก็บเสียง ขนาด 120 ตารางเมตร ก่อนจะออกแบบโดยคำนึงถึงลำดับการเห็นของผู้ใช้งานเป็นหลัก จากห้องแรกคือ ส่วนต้อนรับที่แขกจะยังไม่เห็นพื้นที่โถงด้านในและขึ้นบันไดไปยังพื้นที่ส่วนกลาง และเจอเข้ากับ main bar ที่ถูกออกแบบให้คล้ายกับเป็นจุดขายตั๋วโรงละครในสมัย 1920 และจะมองเห็นโถงกลางของบาร์ ที่เปิดกว้าง เห็นถึงความอลังการที่สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์การออกแบบหลัก

main bar เดียวกันนี้ถูกกำหนดให้เป็นจุดรวมสายตาของพื้นที่ด้วยการใช้วัสดุสีทองสูงชลูดขึ้นไปถึงฝ้าที่มีความสูงกว่า 5 เมตร นอกจากนั้นยังเป็นพื้นที่ฟังก์ชั่นการใช้งานหลัก คือ บาร์ปรุงค็อกเทล ซึ่งทั้งแขกและโอเปอเรตจะสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ถัดมาจากตัว main bar จะเป็นพื้นที่นั่งซึ่งถูกออกแบบให้เป็น booth seat ซึ่งจะค่อยๆ ลดหลั่นต่อเนื่องไปยัง stage บริเวณปลายสุดของพื้นที่ การออกแบบ booth seat แบบนี้จะช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวให้แก่ลูกค้า อีกทั้งยังช่วยนำสายตาไปสู่ตัวเวที ทำให้ไม่เกิดการบังสายตาแก่ลูกค้าเวลาชมการแสดง อีกทั้งสามารถสื่อได้ถึงความเป็นโรงละคร ตามคอนเซ็ปต์การออกแบบหลักอีกด้วย

ในด้านการใช้วัสดุ สถาปนิกเลือกวัสดุที่ให้อารมณ์หรูหรา เหมือนงานเลี้ยงและมีกลิ่นอายความวินเทจแบบ Gatsby ไม่ว่าจะเป็นทองเหลือง ผ้ากำมะหยี่สีแดงเข้ม หินอ่อนสีเขียว งานไม้ที่ทำสีดำมันเงา และกระจกเงาที่ถูกติดตั้งบนเพดานเพื่อเอื้อกับการออกแบบ lighting design ที่สร้าง effect infinity นอกจากนั้นทาง lighting designer ได้ช่วยออกแบบไฟให้แสงสว่างในตัวบาร์มีความนุ่มและสร้างเส้นนำสายตาไปยัง stage อีกด้วย

paradigmshiftstudio.com
fb.com/paradigmshift.studio

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *