ARCHITECTURE PROGRAM, KASETSART UNIVERSITY

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท้าทายให้นิสิตตั้งคำถามและแสดงทักษะการคิดวิเคราะห์ แล้วถ่ายทอดมุมมองทางสถาปัตยกรรม

Read More

CHANIDA VORAPHITAK

Chanida Voraphitak
Chanida Voraphitak

PASSCODE, THE DARK DAY

ชนิดา วรพิทักษ์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ ‘แกงค์กาไฟ’ เล่าถึงเบื้องหลังการทำงานแต่ละโปรเจ็กต์และนิทรรศการ โดยเฉพาะบทบาทของเทคโนโลยีในงานศิลปะ

Read More

MUEJA

mueja

ชื่อสตูดิโอที่เป็นภาษาเหนือของไทยสะท้อนประสบการณ์และความชำนาญที่มุ่งมั่นออกแบบผลงานให้มีความร่วมสมัย แต่คงรากเหง้าของความเป็นพื้นถิ่น

Read More

ARCHITECTURE ANOMALY

Architecture Anomaly
Architecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture Anomaly

TEXT & IMAGE: SAUL KIM

(For English, press here)  

จิตใจของเราถูกตั้งโปรแกรมให้ปฏิบัติตามแนวคิดที่สังคมกำหนดไว้ล่วงหน้า และแนวคิดใดๆ ที่ท้าทายข้อกำหนดนั้นมักจะถูกมองว่าเป็น ‘ความผิดปกติ (anomalous)’ Architecture Anomaly เป็นซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบที่ริเริ่มโดย Saul Kim ซึ่งทดลองกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในวิถีทางที่ผิดแผกไปจากปกติ เพื่อค้นหาวิธีการก่อร่าง ประกอบ และการอยู่อาศัยใหม่ๆ

แรงบันดาลใจของผลงานชุดนี้มาจากแทบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หากแต่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม สิ่งนี้ช่วยให้นักออกแบบสามารถหลีกเลี่ยงการสร้างสรรค์งานตามรอยเดิม การออกแบบนั้นไม่ควรมีกฎเกณฑ์ แต่คนเรามักจะเผลอตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ และเริ่มเชื่อว่าการทำสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้เป็นสิ่งที่ผิด ตัวอย่างเช่น เราได้รับการสอนในโรงเรียนสถาปัตยกรรมว่าแผ่นพื้นควรถูกวางในทางราบ มีความหนาระดับหนึ่ง และต้องวางอยู่เหนือคานเพื่อสร้างสเปซสำหรับอยู่อาศัย นี่คือความเข้าใจถึง ‘แผ่นพื้น’ ในมุมมองของมนุษย์ เพราะเราได้เรียนรู้มาช้านานผ่านวิวัฒนาการหลายร้อยปีว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างพื้นที่อยู่อาศัย แต่หากเราก้าวถอยออกมา และลองคลายคำจำกัดความที่ตายตัวของแผ่นพื้นดูว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร ถูกสร้างมาเพื่ออะไร ควรนำไปใช้ในอาคารอย่างไร เราจะเริ่มเห็นภาพแผ่นพื้นอย่างที่มันเป็นจริงๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว มันก็เป็นเพียงชิ้นของพื้นผิวบางๆ ชิ้นหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งอื่นได้อีก บางทีพื้นผิวนี้อาจต้องถูกพับ ถูกทำให้ยับย่น หรือถูกตัดบางส่วนออกไปเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ด้วยการตั้งคำถามเชิงอภิปรัชญาต่อองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เราจะสามารถหลุดพ้นจากจุดมุ่งหมายแรกเริ่มของการดำรงอยู่ เพื่อค้นพบความหมายใหม่ๆ ได้อย่างเสรี

_____________

Saul Kim เป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงโซล เขาเริ่มเส้นทางด้านสถาปัตยกรรมที่สิงคโปร์ ก่อนจะย้ายไปลอสแอนเจลิสเพื่อศึกษาระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สถาบันสถาปัตยกรรมแห่งเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (Southern California Institute of Architecture หรือ SCI-Arc) และปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี 2563 Saul Kim ได้เปิดตัวซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบ ‘Architecture Anomaly’ ที่ให้บริการด้านการวางแผนและการออกแบบ นอกจากนี้เขายังสอนที่มหาวิทยาลัยฮงอิก (Hongik University) ในฐานะศาสตราจารย์พิเศษและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเควอน (Kaywon University of Art and Design)

saulkim.com
instagram.com/saul_kim_

THE TOKYO TOILET

หนังสือซึ่งนำเสนอภาพถ่ายและดรออิ้งของห้องน้ำ ผ่านมุมมองที่น่าสนใจว่าห้องน้ำสาธารณะสามารถยกระดับเป็นงานศิลปะที่ใช้งานได้ ในขณะที่ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงและสุขอนามัยของผู้คนได้อย่างไร

Read More

SUGATSUNE | TRANSFORMING INTERIORS WITH LATERAL FLUSH CLOSING DOORS

ระบบบานเปิดด้านข้างรุ่น LIN-X1000 และ LIN-X800 เข้ามาช่วยให้สเปซเกิดประโยชน์ใช้สอยและสวยงามยิ่งขึ้น ด้วยการออกแบบตามหลักวิศวกรรมสมัยใหม่

Read More

MIG_MIG

mig mig-feature

ทำความรู้จัก มิก-ชมพูนุท ชมภูรัตน์ ผู้เป็นทั้งอาจารย์สอนสถาปัตย์และนักวาดภาพประกอบ เธอใช้รูปวาดถ่ายทอดสารของตัวเอง โดยมีสิ่งสำคัญคือการสร้างผลงานด้วยความสนุกและความสบายใจ

Read More

FLEX BY PODIUM

Podium FLEX sub-collection

PODIUM ร่วมกับ THINKK Studio สร้างสรรค์คอลเล็กชันย่อย FLEX ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ความเชี่ยวชาญ และทักษะฝีมือในการผลิตงานไม้ของแบรนด์ ผสานเข้ากับไอเดียในการออกแบบของดีไซเนอร์ที่เล็งเห็นศักยภาพและเสน่ห์ของวัสดุถักสาน

Read More

PHOTO ESSAY : THE ARCHITECTURE STUDIO ATLAS

Marc Goodwin
Marc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc Goodwin

TEXT & PHOTO: MARC GOODWIN / ARCHMOSPHERES

(For English, press here

‘The Architecture Studio Atlas’ เป็นเสมือนการเข้าไปสำรวจโลกของแต่ละสตูดิโอออกแบบที่มักซ่อนตัวอยู่หลังม่าน ซึ่งเผยให้เห็นถึงกระบวนการและหลักการทำงานของพวกเขา ผ่านเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่าง 20 เมืองในยุโรป รวมไปถึงมหานครทั่วโลกอย่าง โตเกียว โซล ไทเป ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ลอสแองเจลิส ปานามาซิตี เม็กซิโกซิตี และเซาเปาโล โดยให้ความสำคัญกับแนวทางการทำงานในแต่ละสตูดิโอ ตั้งแต่สตาร์ทอัพเฉพาะทางไปจนถึงสตูดิโอสถาปนิกที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง พร้อมกับภาพของผู้คนและบรรยากาศการทำงานที่สะท้อนทั้งแง่มุมที่จริงจังและสนุกสนาน ‘The Architecture Studio Atlas’ ทำให้เรื่องของสถาปัตยกรรมนั้นเปิดกว้าง สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเสมอภาคมากขึ้น

___________________

Marc Goodwin เป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Archmospheres นักเขียน และอาจารย์ เขาเกิดในลอนดอนและปัจจุบันแบ่งเวลาใช้ชีวิตในยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของเขาในหัวข้อ ‘การถ่ายภาพ, พื้นที่สนทนาของสถาปัตยกรรม’ (architecture’s discursive space, photography) ได้ศึกษาองค์ประกอบของการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมผ่านการเปรียบเทียบกับระบบของบรรยากาศ หลังจบปริญญาเขาเดินทางไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำงานให้ลูกค้าและทำหนังสือ The Architecture Studio Atlas

archmospheres.com
instagram.com/archmospheres

365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE

365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE

หนังสือโดย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ บันทึกและบรรยายลักษณะของ ‘สถาปัตยกรรม’ ที่สร้างสรรค์โดยคนเมืองในกรุงเทพฯ อันนำเสนอความระเกะระกะจากการดำเนินชีวิตที่ไม่เสมอภาค

Read More