ป้ายกำกับ: Guardian Glass

A TALK ABOUT WELLADEE WELLNESS WITH SURAT NIRUNSITTIRAT | GUARDIAN GLASS


A TALK ABOUT WELLADEE WELLNESS WITH SURAT NIRUNSITTIRAT | GUARDIAN GLASS

ART4D TALKS WITH SURAT NIRUNSITTIRAT, THE OWNER OF WELLADEE WELLNESS, ABOUT THE PROJECT’S BACKGROUND, DESIGN PROCESS AS WELL AS HER INTENTION TO CREATE THE ACCOMMODATION TO HEAL VISITOR’S PHYSICAL AND MENTAL HEALTH

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: THANANUPHONG KAMMERUU

(For English, press here)

จากบทความ Welladee Wellness ที่ได้พูดถึงแนวความคิดและบรรยากาศการออกแบบเบื้องต้น ไปแล้ว ในบทความนี้จะมาทุกท่านมาสู่ถึงเบื้องหลัง ความเป็นมาของโครงการตลอดถึงรูปแบบการทำงาน และความตั้งใจในการสร้างที่พักสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและสุขภาพใจนี้ กับ คุณแอร์ สุรัติ นิรันต์สิทธิรัชต์ เจ้าของโครงการโรงแรมเวลาดี เวลเนส เชียงใหม่

art4d: ความตั้งใจและจุดเริ่มต้นของโครงการ
Surat Nirunsittirat: 
จริงๆ เราเป็นคนที่ทำงานในสายโรงแรมอยู่แล้ว มีหลายโครงการที่เราซื้อมาแล้วนำมา rebranding ใหม่ โดนส่วนใหญ่อยู่ในทำเลที่ดีด้วย แต่ยังพบปัญหาในแง่ของการตลาดอยู่ ด้วยหลากหลายปัจจัย จึงเหมือนเป็นคำถามที่คาใจ ผนวกกับประสบการณ์ของตัวเอง ที่เริ่มมองเห็นว่าการดูแลตัวเองมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการทำงาน จึงมองว่าหากเอาความถนัดในการทำงานมารวมกับแนวความคิดนี้ จะสามารถสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ได้ แล้วให้มันมีคุณค่าในแง่ wellness ด้วย จึงศึกษา ใช้ชีวิตตามรูปแบบนั้นเพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้น และเริ่มมีไอเดียในการสร้างโรงแรมที่ตอบโจทย์ สำหรับคนกลุ่มที่สนใจในการดูแลตัวเองโดยเฉพาะ

art4d: แนวความคิดที่ส่งต่อให้สถาปนิก
SN: เราได้ทำงานกับ สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) ที่เริ่มพูดคุยกันจากความตั้งใจว่า อยากให้ที่นี่เป็นที่พักที่แตกต่างจากที่อื่น เพราะด้วยความที่เราไม่ได้มีวิว หรือ สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ ซึ่งถ้าคนรู้สึกอยากพักผ่อนขึ้นมา ก็ควรที่จะเริ่มต้นจากภายในห้อง ภายในโครงการเองเลย เราพยายามมุ่งเน้นให้ออกแบบถึงความสบาย ความน่าอยู่จากภายใน จึงมีพื้นที่อย่างสวน ลำธาร ภูเขา เข้ามาเป็นไอเดียภายในโครงการ ซึ่งพื้นที่ที่ออกแบบมานั้น ก็ได้มีหน้าต่างกระจกทั้งหมด เพื่อให้รู้สึกถึงบรรยากาศรอบๆ ด้วย

art4d: ปัญหาที่พบเจอและดีเทลที่น่าสนใจ
SN: 
ในตอนนั้นเราพูดคุยกันถึงเรื่องของเสียง เพราะด้วยความที่โครงการติดถนน การเดินทางมาสะดวกแต่เราจะทำยังไงให้เวลาอยู่ภายในห้องพัก มันรู้สึกเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน อันนี้จึงเป็นที่มาของการได้ร่วมงานกับ การ์เดียนกลาส โดยเราได้เลือกใช้กระจกที่เป็น กระจกลามิเนต ความหนา 8.76 มม. โดยใช้ฟิล์มอคูสติก เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอกช่วยให้เวลาปิดบานกระจกห้องพัก เสียงภายในจะเงียบทันที ซึ่งในส่วนของกระจกอื่นๆ เราเลือกกระจกโฟลต ซึ่งเราก็ได้พยายามออกแบบให้สีของกระจกที่เลือกมานั้นมีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศของอาคารให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

จากภาพแรกที่ตั้งใจ สู่การอกกแบบก่อสร้าง จนตอนนี้โรงแรมเวลาดี เวลเนส เชียงใหม่ ใกล้ที่จะเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นอีกจุดหมายหนึ่งสำหรับคนที่มองหาโรมแรมที่มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ถูกออกแบบมาอย่างดี ใช้วัสดุคุณภาพ และยังได้ดูแลสุขภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Offical Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

WELLADEE WELLNESS | GUARDIAN GLASS

WELLADEE WELLNESS | GUARDIAN GLASS

BY USING ACOUSTIC GLASS FROM GUARDIAN GLASS, WELLADEE WELLNESS CHIANGMAI HOTEL WELCOMES THE NATURAL SURROUNDING INTO THE INTERIOR SPACE WHILE RETAINING ITS CALM AND RELAXED ATMOSPHERE

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: THANANUPHONG KAMMERUU

(For English, press here)

หากใครต้องการหาที่ผ่อนคลาย ทั้งพักผ่อนร่างกาย พักผ่อนสมอง กับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่อาจก่อให้เกิดความเครียด เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ชายหาดสวยๆ ริมทะเล ชมวิวและดึ่มด่ำบรรยากาศดีๆ บนเขา หรือยอดดอย น่าจะเป็นทางเลือกแรกๆ แต่หากต้องการทิ้งความวุ่นวายและยังคงได้รับการดูแลร่างกายและจิตใจเป็นพิเศษ คงจะดีไม่น้อยหากมีสักที่ ที่สามารถฟื้นฟูทั้งสองด้าน ไปพร้อมๆ กัน เปรียบเสมือนเป็นการพักอย่างแท้จริง 

นั่นคือสิ่งที่จุดประกายให้เกิดโครงการโรงแรมเวลาดี เวลเนส เชียงใหม่ คิดเริ่มต้น เพื่อสร้างบรรยากาศสำหรับการพักผ่อน โดยคำนึงถึงการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นทั้งกายและใจ หรือที่เรียกว่า รีทรีท กันอย่างจริงจัง โดยได้มอบหมายให้ ทีมสถาปนิกจาก สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) ดูแลด้านออกแบบ วางแผนการพัฒนาสถานที่จากจุดประสงค์แรกเริ่ม

ที่ตั้งของโครงการอยู่บนถนนสายวัฒนธรรมสันกำแพง-เชียงใหม่ ที่ห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก และเต็มไปด้วยธรรมชาติจากต้นจามจุรีขนาดใหญ่สองข้างทาง ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ให้กับโครงการได้ดี ด้านหน้าของอาคารถูกออกแบบให้เป็นพื้นสีเขียวด้วยกำแพงต้นไม้ และสวนหย่อม เพื่อช่วยบรรเทาเสียง และมลพิษที่จะเข้ามาสู่พื้นที่ภายใน ช่วยทำให้คนที่เข้ามานั้นรับรู้ถึงบรรยากาศสงบที่สัมผัสได้ตั้งแต่ก้าวเข้ามาเยือน

ฟังก์ชั่นของอาคารถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือพื้นที่พักอาศัย และพื้นที่กิจกรรมต่างๆ ที่ประกอบได้ด้วย คาเฟ่ ร้านอาคาร สปา ฟิตเนส และส่วนบริการนวดเพื่อสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งพื้นที่ออกได้ชัดเจน โดยส่วนอาคาร 2 ชั้นล่าง เป็นพื้นที่กิจกรรมต่างๆ และอาคารด้านบนเป็นพื้นที่ห้องพักทั้งหมด 34 ห้อง

พื้นที่กิจกรรมด้านล่างถูกออกแบบให้มีความเปิดโล่งด้วยบานกระจกที่สูงจากระดับพื้นถึงฝ้าเพดานโดยสามารถรองรับการถ่ายเทอากาศได้ดีในช่วงหน้าหนาว ด้วยขนาดของกระจกนี้ ทำให้สามารถรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารและมองเห็นบรรยากาศสวนที่อยู่โดยรอบได้เป็นอย่างดี 

ซึ่งรายละเอียดที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงการออกแบบเลือกใช้กระจกสำหรับการมองเห็นวิวรอบๆ เท่านั้น บานกระจกยังมีหน้าที่อื่นที่โดดเด่น ตอบรับโจทย์ได้อย่างดี เช่น การเลือกใช้กระจกอะคูสติกลามิเนต ซึ่งเป็นกระจกนิรภัยทั้งเพิ่มความปลอดภัยและช่วยกรองเสียงจากภายนอก กระจกอะคูสติกลามิเนต จากการ์เดียนกลาส ซึ่งเป็นนวัตกรรมกระจกนิรภัยลดเสียง ผลิตด้วยแผ่นฟิล์ม PVB พิเศษที่ติดคั่นอยู่ระหว่างแผ่นกระจกแผ่นเดี่ยว 2 แผ่น รวมความหนาถึง เกือบ 9 มม. ถูกเลือกใช้สำหรับโครงการนี้เพื่อช่วยให้ผู้มาเยือนรู้สึก สงบ ผ่อนคลายสบาย และปลอดภัยมากขึ้นเมื่ออยู่ภายในอาคาร

จากพื้นที่ชั้น 1 เราสามารถมองเห็นสวน บ่อน้ำ ที่แทรกตัวอยู่ในผังอาคารโดยมีบันไดวนที่เป็นเสมือน จุดศูนย์กลางเพื่อเชื่อมไปยังห้องต่างๆ บนชั้น 2 ขณะเดียวกัน พื้นที่ของฟิตเนสที่อยู่ชั้นเดียวกันนี้เอง ก็สามารถมองผ่านบานกระจกลงมายังสวนด้านล่างได้เช่นกัน ในส่วนของห้องพักนั้น ถูกออกแบบ ให้มีความโปร่ง สบาย เพื่อให้รู้สึกเสมือนอยู่บ้านมากที่สุด ด้วยบรรยากาศของงานออกแบบภายใน และการเปิดระเบียงกระจกขนาดใหญ่ ทำให้สามารถมองเห็นบรรยากาศภายนอก และรู้สึกผ่อนคลายได้เมื่ออยู่ภายในห้องพัก

ด้วยความตั้งใจที่แตกต่างออกไป ทำให้โรงแรมเวลาดี เวลเนส เชียงใหม่ นั้นมีเอกลักษณ์และความพิเศษ ที่ดึงดูด ให้อยากไปพักผ่อนรวมถึงฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจมากกว่าที่จะเป็นเพียงที่พักสำหรับการท่องเที่ยวเท่านั้น

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Offical Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

SMG | GUARDIAN GLASS

SMG | GUARDIAN GLASS

LEARN MORE ABOUT SMG (SOLAR MANAGEMENT GLASS), ARCHITECTURAL GLASS FOR SOLAR HEAT FILTRATION AND ENERGY EFFICIENCY IN THE BUILDING FROM GUARDIAN GLASS

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART

(For English, press here)

กระจกที่พบเห็นนั้นมีอยู่หลายประเภทและหลากหลายรูปแบบที่รองรับการใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งในหลายๆ ครั้ง งานออกแบบก็ขึ้นอยู่กับความสวยงามและคุณภาพของวัสดุที่เลือกใช้ เรามักจะเห็นอาคารสูงมากมายในเมืองใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นเปลือกอาคาร คอยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ภายใน และในหลายๆ ครั้ง กระจกก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่สื่อถึงแนวความคิดของงานสถาปัตยกรรมได้เช่นกัน

Photo courtesy of Shigeru Ban Architects

Tainan Art Museum ที่ออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลก Shigeru Ban เป็นหนึ่งในโปรเจ็คต์ที่ออกแบบให้มีคอร์ตกลางอาคารเพื่อรับแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายใน ด้วยโครงสร้างที่น่าสนใจและการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อให้วัสดุต่างๆ สื่อสารออกมาได้ดีที่สุด กระจก SMG (Solar Management Glass) จาก Guardian Glass กระจกโฟลตประหยัดพลังงานถูกเลือกให้เป็นส่วนประกอบหลักของงานชิ้นนี้ ที่คอยเปิดรับแสงธรรมชาติ แต่ยังคงช่วยสร้างสมดุลเรื่องของการใช้พลังงานและควบคุมอุณหภูมิภายในได้

Photo courtesy of Shigeru Ban Architects

ด้วยคุณสมบัติในการกรองความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้สูง ที่ยืนยันได้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ (SHGC) เท่ากับ 0.54 หมายถึงความร้อนจากแสงอาทิตย์สามารถผ่านได้เพียง 54% เท่านั้น ซึ่งดีกว่ากระจกโฟลตเขียวที่เราพบเห็นกันทั่วไป นอกจากนี้ยังกรองรังสี UV ให้ผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้เพียง 22 % ทำให้ป้องกันความเสียหาย ความเสื่อมของวัสดุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเฟอร์นิเจอร์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการลดการใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงเมื่ออุณหภูมิภายในไม่สูงจนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ยังคงให้แสงสว่างส่องเข้ามาภายในอาคารได้ถึง 70% ไม่เหมือนกับการติดฟิลม์แบบที่พบเห็นได้ทั่วไป ทำให้ยังคงมองเห็นทิวทัศน์ได้ชัดเจนมากกว่าการติดฟิล์มกันความร้อนและทดแทนการใช้กระจกโฟลตใสแบบปกติได้

*หมายเหตุ: ตัวเลขแสดงประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนข้างต้น เป็นคุณสมบัติของกระจก SMG 6 มิลลิเมตร

นอกจากนี้บางประเภทอาคารที่ต้องการความปลอดภัยพิเศษ เช่น อาคารสำนักงาน อาคารสูงสำหรับพักอาศัย กระจก SMG นั้น สามารถนำไปทำเป็นกระจกนิรภัยแบบลามิเนต (Laminated Glass) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในกรณีที่กระจกแตกได้รับความเสียหาย หรือสามารถทำเป็นกระจกเทมเปอร์ (Temper Glass) หรือฮีทสเตรงเทน (Heat Strengthened Glass) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวกระจกได้ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในกรณีอาคารสูงที่มีกฎหมายควบคุมได้เป็นอย่างดี

จากคุณสมบัติที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ด้วยมาตรฐานของค่า LSG (Light to Solar Gain) และ SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) ทำให้กระจก SMG ผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ด้านการประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ทำให้มั่นใจได้ว่าอาคารที่เราออกแบบนั้น หากเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติอย่าง SMG แล้ว จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่าเดิม และนี่เป็นเพียงหนึ่งในผลิตภัณฑ์คุณภาพจาก Guardian Glass ที่ยังคงมีกระจกหลากหลายรูปแบบที่น่าสนใจให้ติดตามในบทความถัดๆ ไป

และในบทความฉบับหน้าจะพาทุกท่านเจาะลึกการสัมภาษณ์สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ผู้ออกแบบโปรเจ็คต์ Tainan Art Museum ในไต้หวัน พร้อมพาชมส่วนต่างๆ ในอาคารอีกมากมายที่น่าสนใจ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.guardianglass.com