ป้ายกำกับ: Guardian Glass

LA CASA DEL DESIERTO | GUARDIAN GLASS

LA CASA DEL DESIERTO | GUARDIAN GLASS

ท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุ บ้านพักตากอากาศ La Casa del Desierto โดย OFIS Architects กลับมีการออกแบบที่โดดเด่นด้วยการใช้วัสดุที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอย่างกระจก SunGuard eXtraSelective SuperNeutral 60 (SNX 60) และ ClimaGuard® Premium2 ที่มีคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารพร้อมทั้งเปิดรับแสงธรรมชาติเข้ามาได้พร้อมกัน

Read More

ROYAL PROJECT FOUNDATION | GUARDIAN GLASS

ROYAL PROJECT FOUNDATION | GUARDIAN GLASS

โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวงนี้เป็นอาคารแบบล้านน้าที่ซ่อนรายละเอียดของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยไว้ภายในผ่านใช้กระจกจาก Guardian Glass เพื่อตอบโจทย์ในด้านการกรองแสงแดดและถ่ายทอดอัตลักษณ์ของอาคาร

Read More

ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS

หลังจากได้นำเสนอเบื้องหลังแนวคิดการดีไซน์อาคาร ELBPHILHARMONIE HAMBURG กันไปในครั้งก่อน คราวนี้ไปเจาะลึกถึง façade กระจกของอาคารที่ประกอบด้วย Guardian ExtraClear®, Guardian ClimaGuard® และ Guardian SunGuard® ที่ก่อให้เกิดเส้นสายดั่งคลื่นน้ำและท่าเรือใกล้เคียง

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Façade กระจกดัดโค้งรูปร่างประหลาดตา กลายเป็นภาพจำของโปรเจ็คต์ Elbphilharmonie Hamburg ผลงานออกแบบจาก Herzog & de Meuron ที่นำคลังสินค้าเก่ามาออกแบบใหม่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง Hamburg ที่เต็มไปด้วยกิจกรรม ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ และ โรงแรม

จากแนวความคิดในการออกแบบที่มาจากคลื่นน้ำ นำมาสู่การพัฒนารูปร่างของกระจกให้เกิดความโค้งแบบ 3 มิติ ด้วยพื้นที่ของ Façade กว่า 21,800 ตารางเมตร โดยมีส่วนที่ถูกออกแบบให้เป็นกระจกโค้งกว่า 5,000 ตารางเมตร ที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันกับ Guardian Glass และโครงการ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่เคยมีการพัฒนากระจกในลักษณะนี้มาก่อน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของรูปลักษณ์เท่านั้น แต่แผงกระจกนี้ยังคงต้องคงคุณสมบัติต่างๆ ไว้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งความเข็งแรง ความปลอดภัย และ การลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร

สถาปนิกเลือกนำกระจก 3 ชั้นมาดัดโค้งและประกอบจนเกิดเป็นรูปแบบตามความต้องการ นอกจากที่จะตอบโจทย์ในแง่ของความสวยงามแล้ว กระบวนการผลิตก็ยังคงคุณสมบัติต่างๆ ของกระจกไว้ได้อย่างดีแม้ว่าจะนำไปดัดโค้ง ทำให้สามารถรักษาประสิทธิภาพของผิวกระจก Low-E ที่สามารถควบคุมความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อย่างครบถ้วน

กระจกที่เลือกมาใช้ในโครงการ Elbphilharmonie Hamburg นั้นประกอบไปด้วย Guardian ExtraClear® กระจกโฟลตใส ที่เลือกใช้เป็นกระจกหลักกับ Façade ของอาคาร เพื่อให้มีความโปร่งใส รวมถึง Guardian ClimaGuard® DT กระจกฉนวนความร้อน มีที่คุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิจากภายนอกสู่ภายในได้ดี  มีความแข็งแรงทนทาน และ Guardian SunGuard® Solar Light Blue 52 กระจกควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้าสู่ตัวอาคาร สามารถส่งผ่านแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคาร หรือ Visible Light Transmission (VLT) ที่ 47% และ ส่งผ่านความร้อนเพียง 36% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ และ ลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้

จากเทคโนโลยีในการก่อสร้างอาคาร Elbphilharmonie Hamburg นี้ ทำให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆ ในการนำกระจกมาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งหากเรานำการออกแบบ มาผสมผสานกับองค์ความรู้ในแง่ของวัสดุ และ กระบวนการผลิตนั้น ก็จะช่วยให้มองเห็นความเปิดกว้างในงานออกแบบมากขึ้นในอนาคต

และย้อนดูบทความเกี่ยวกับเบื้องหลังแนวคิดในการออกแบบอาคาร Elbphilharmonie Hamburg ได้ที่

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

CUBE BERLIN | GUARDIAN GLASS

CUBE BERLIN | GUARDIAN GLASS

3XN Architects นำเสนออาคาร Cube Berlin ที่ทำหน้าที่เป็นแลนด์มาร์คให้กับพื้นที่สาธารณะที่ผสมศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันทั้งงานสถาปัตยกรรม ศิลปะและเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง Façade จากกระจกรุ่น Climaguard Premium 2 และ Sunguard High Durable Diamond 66 ก็ได้สร้างความโดดเด่นและลดการใช้พลังงานในอาคารไปได้พร้อมๆ กัน

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: ADAM MØRK

(For English, press here)

จัตุรัสใจกลางเมืองเบอร์ลินเป็นที่ตั้งของอาคารรูปทรงทันสมัยอย่าง Cube Berlin ด้วยทำเลที่ตั้งที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหลักของเมือง อีกทั้งยังติดริมแม่น้ำ จึงทำให้อาคารนี้ทำหน้าที่เป็นเสมือน Landmark ให้กับพื้นที่สาธารณะในย่านนี้ ที่ไม่ใช่แค่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่นเท่านั้น แต่อาคารหลังนี้ยังเป็นการผสมผสานศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในแง่ของความเป็นงานสถาปัตยกรรม ศิลปะ และ เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

จากความตั้งใจของผู้ออกแบบ 3XN Architects มีแนวความคิดที่ต้องการให้มิติของตัวอาคารนั้นมีความหลากหลายมากกว่าเดิม แม้ว่าจะเป็น office แต่ก็ยังสามารถแสดงออกเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งได้ รวมไปถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับพื้นที่โดยรอบด้วยผนังกระจกรอบด้าน ที่สะท้อนทางเดิน บรรยากาศของเมืองได้ ด้วยมิติที่หลากหลายเมื่อมองจากทั้งภายในและภายนอก

อาคารพาณิชย์สูง 10 ชั้นที่ประกอบไปด้วยพื้นที่กิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งออฟฟิศ ตลาด ที่จอดรถ ดาดฟ้า เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบ และด้วยความสูงของเปลือกอาคาร 42.5 เมตร โดยรอบ ทำให้ฟอร์มทรงลูกบาศก์นั้นโดดเด่นชัดเจน ด้วยผิวอาคารกระจกที่เปิดโล่งทั้งอาคารเผยให้เห็นโครงสร้างอย่างชัดเจนและจากมุมมองพื้นที่ภายในที่ผนังกระจกสูงจากพื้นถึงเพดาน เปิดให้เห็นวิวโดยรอบอย่างชัดเจนและรับแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยภายในได้อย่างเต็มที่

Façade ถูกออกแบบให้เกิดเป็นมุมหักสะท้อนที่แตกต่างทิศทางกันออกไป คล้ายกับรูปทรงของปริซึม เกิดเป็นลูกเล่นสำหรับผู้คนที่พบเห็น เปลือกอาคารถูกออกแบบให้เป็น กระจก 2 ชั้นช่วยให้เกิดมิติของอาคารที่มากกว่าเดิม ครอบคลุมพื้นที่ใช้สอย และ ส่วนระเบียงที่เรียงตัวสลับกันไปมาในแต่ละชั้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดเป็นพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภายใน และ ภายนอก ซึ่งเมื่อมองจากภายนอกนั้น ผนังกระจกที่หุ้มอาคารนั้นเลือกใช้กระจกรุ่น Climaguard Premium 2 และ Sunguard High Durable  Diamond 66 ที่มีคุณสมบัติในการดักจับพลังงานความร้อนและมีการเคลือบสารสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์บนผิวของกระจก ทำให้สามารถตอบโจทย์ของการออกแบบที่ส่งเสริมเรื่องของอาคารอัจฉริยะที่เป็นอีกหนึ่งแนวความคิดหลักของโครงการนี้

ด้วยแนวความคิดของอาคารอัจฉริยะทำให้ผู้ออกแบบให้ความสำคัญถึงการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยประสิทธิภาพของกระจกนั้น ช่วยให้อาคารสามารถจัดการเรื่องความร้อนภายนอก และอุณหภูมิที่จะส่งเข้ามายังพื้นที่ภายใน ช่วยลดการใช้พลังงานภายในอาคารได้ ถึงแม้ว่าเปลือกอาคารจะเป็นผืนกระจกทั้งหมด แต่ไม่ส่งผลกับการจัดการพลังงานของอาคารหลังนี้ และเมื่อผนวกกับระบบการจัดการต่างๆ ทำให้อาคารหลังนี้ตอบโจทย์ความเป็นอาคารอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

CITÉ DU VIN | GUARDIAN GLASS

CITÉ DU VIN | GUARDIAN GLASS

XTU Architect ออกแบบโปรเจ็คต์​ Cité du Vin โดยนำแรงบันดาลใจจากแม่น้ำ Garome ในประเทศฝรั่งเศสและไวน์ที่เป็นเครื่องดื่มประจำชาติ มาสร้างสถาปัตยกรรมที่เต็มไปด้วยความโค้งมน พร้อมกรุด้วย façade กระจกรุ่น SunGuard® Solar Gold 20 และ Guardian UltraClear™ ที่บิดโค้งไปตามรูปทรงอาคาร

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO COURTESY OF GUARDIAN GLASS

(For English, press here)

คงน่าสนใจไม่น้อย หากงานสถาปัตยกรรมคอยบอกเล่าเรื่องราวของเมือง และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ผสมผสานทั้งเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่านการออกแบบที่เต็มไปด้วยวัสดุ รูปทรง และ เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ร่วมสมัย ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น รวมอยู่ภายในโครงการ Cité du Vin นี้แล้ว

โปรเจกต์ Cité du Vin นี้ตั้งอยู่ในเมือง Bordeaux ประเทศฝรั่งเศส พื้นที่ของโครงการตั้งอยู่ริมแม่น้ำ Garome แม่น้ำสายหลักที่ผ่านกลางใจเมือง ทำให้ตัวอาคารนั้นถูกออกแบบให้มีเอกลักษณ์ และเป็นเสมือน Landmark ของเมืองไปด้วยในเวลาเดียวกันผ่านอาคารรูปทรงโค้งมน ด้วยพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ฟังค์ชั่นของตัวอาคารนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ไวน์ที่ประกอบไปด้วย ร้านอาหาร ห้องจัดแสดง ห้องสำหรับการเรียนรู้ รวมไปถึง ห้องทดลองไวน์ โดยมีพื้นที่แสดงนิทรรศการมากถึง 22 ส่วน เพื่อจัดแสดงและบอกเล่าประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ในการรับชมอาคาร

XTU Architect ผู้ออกแบบโครงการนี้ตั้งใจนำแนวความคิดของไวน์ที่เป็นเครื่องดื่มทางวัฒนธรรมประจำชาติ ให้แสดงออกผ่านงานสถาปัตยกรรม จึงเกิดเป็นรูปทรงของอาคารที่บิดโค้ง ไร้มุม และสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงมากขึ้นระหว่างตัวอาคารและบริบทของพื้นที่โดยรอบ โดยเมื่อมองจากภายนอกจะเห็นถึงรูปทรงอาคารที่สอดคล้องไปกับแม่น้ำที่ไหลผ่านอยู่ด้านข้างตัวอาคาร นอกจากนี้ ภายนอกตัวอาคารยังสามารถมองเห็นพื้นผิวของ façade กระจกที่สะท้อนแสงธรรมชาติในมุมต่างๆ รอบทิศทาง โดยถูกออกแบบให้บิดตัวไปตามรูปทรงของอาคาร

แผงกระจกที่ถูกออกแบบให้เป็นไฮไลต์ของอาคาร เลือกใช้กระจกรุ่น SunGuard® Solar Gold 20 และ Guardian UltraClear™ นำมาดัดโค้งเพื่อใช้เป็น Façade ให้ช่วยส่งเสริมรูปทรงของอาคารมากขึ้น โดย SunGuard® Solar Gold 20 ที่ถูกออกแบบให้มีสีทองนั้นมีคุณสมบัติทั้งช่วยลดรังสีและกรองแสงที่ส่องผ่าน ซึ่งเมื่อนำมาใช้ใน Façade ก็สามารถสร้างลวดลายให้มีความน่าสนใจได้และเมื่อใช้ร่วมกับ Ultraclear ที่มีคุณสมบัติให้แสงส่องผ่านได้ดี ก็จะสามารถมองเห็นโครงสร้างภายในได้ชัดเจน ช่วยให้ตัวอาคารมีรายละเอียดที่น่าสนใจมากขึ้น

จากรูปฟอร์มภายนอกส่งเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน ที่เส้นสายต่างๆ ทำให้สเปซภายในสื่อถึงแนวความคิดของไวน์ ของสายน้ำออกมาได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ห้องนิทรรศการหลัก ที่เลือกใช้ไม้ในการออกแบบเป็นพื้นที่ภายใน โดยใช้แนวความคิดของโครงสร้างเรือมาสร้างเพื่อสื่อถึงการเดินทางของไวน์และเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับผู้เข้าชม

การเลือกใช้วัสดุอย่างพิถีพิถันจะช่วยส่งเสริมให้งานสถาปัตยกรรมสื่อสารออกมาได้อย่างเติมที่ ควบคู่ไปกับข้อมูลที่น่าสนใจของอาคารนั้นๆ Cité du Vin จึงเป็นอีกหนึ่งงานสถาปัตยกรรมที่แสดงเรื่องราวออกมาได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

MARAYA CONCERT HALL | GUARDIAN GLASS

MARAYA CONCERT HALL | GUARDIAN GLASS

Maraya Concert Hall คืออาคารกระจกเงาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งแฝงตัวอยู่ท่ามกลางทะเลทราย Arabian พื้นผิวอาคารถูกห่อหุ้มด้วยกระจกเงา UltraMirror ที่พัฒนาโดย Guardian Glass ซึ่งสะท้อนภาพทิวทัศน์โดยรอบลงบนพื้นผิวภายนอกของอาคาร สร้างภาพลวงตาเสมือนอาคารหายไปในสภาพแวดล้อม

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO COURTESY OF GUARDIAN GLASS

(For English, press here)

มองแล้ว ต้องมองอีกที สำหรับโปรเจ็คต์ Maraya Concert Hall ที่มองผ่านๆ ถ้าไม่ทันสังเกตเราอาจจะเห็นเป็นทิวทัศน์ของภูเขาท่ามกลางทะเลทราย Arabian เพราะตัวอาคารนั้นปิดผิว Façade ทั้งหมดด้วยกระจกเงา จนเกิดเป็นทิวทัศน์โดยรอบ ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมของตัวอาคาร จนคล้ายกับว่าจะหายไปจากการมองเห็นในบางครั้ง สร้างความรู้สึกเหมือนภาพลวงตาให้เกิดขึ้นสำหรับคนที่พบเห็น

สำหรับห้องจัดแสดงขนาด 500 ที่นั่ง และ ด้วยพื้นที่กว่า 9740 ตารางเมตร ทำให้ Maraya Concert Hall นั้นกลายเป็นอาคารกระจกเงาที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยบันทึกลงใน Guinness Book ซึ่งด้วยสเกลของอาคารนั้นทำให้ภาพที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสภาดแวดล้อมโดยรอบอย่างชัดเจน ซึ่งคำว่า Maraya นั้นหมายถึง ‘กระจก’ ในภาษาอาหรับ ซึ่งหลายมาเป็น Concept Idea หลักของโปรเจ็คต์นี้

ในตอนเริ่มต้นนั้น Façade ถูกออกแบบให้ดูคล้ายผนังเหล็กขนาดใหญ่ ที่สะท้อนให้เป็นภาพทิวทัศน์โดยรอบแบบเลือนราง และ ไม่ชัดเจน เนื่องด้วยความกังวลในการใช้กระจกจริงสำหรับการออกแบบอาคารในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลทรายเช่นนี้ ที่ทั้งความร้อน และ รังสี UV จะส่งผลถึงสารเคลือบกระจกต่างๆ จนทำให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษาในอนาคต รวมถึงผลลัพธ์ของการสะท้อนที่ไม่ชัดเจนมากพอ จนถึงการผิดเพี้ยนของสี ที่อาจะส่งผลให้การใช้กระจกไม่ได้ผลดีเท่าที่คิด 

แต่ด้วยเทคโนโลยีจาก Guardian Glass ที่ได้พัฒนากระจกหลากหลายรูปแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งาน ซึ่งทางทีมก็ได้เลือก UltraMirror ที่เป็นกระจกเงาสำหรับงานออกแบบภายใน เพื่อพัฒนาให้มีคุณสมบัติมากพอสำหรับการใช้งานในโครงการที่มีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ 

โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ทาง Guardian Glass ไม่ใช้เพียงแต่ผลิตกระจกเท่านั้น แต่ยังสามารถร่วมพัฒนาผลงาน ค้นคว้า และ หาทางออกที่เหมาะสม และตอบโจทย์ที่สุดสำหรับงานกระจกในงานสถาปัตยกรรม แม้ว่าจะเป็นแนวความคิดที่ยากจนเกือบเป็นไปไม่ได้ก็ตาม เพราะกระจกทุกรูปแบบ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อยู่ที่การทำความเข้าใจ คัดสรร และ ประยุกต์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

นอกจากเรื่องคุณสมบัติของกระจกแล้วยังมีความท้าทาย ในการขนส่ง และ ติดตั้ง เนื่องจากกระจกเงาที่ใช้นั้นมีความแตกต่างจากกระจกเงาปกติ เพราะต้องนำไปตัด อบความร้อน และ เคลือบสารเคมีต่างๆ ที่มาก และ ซับซ้อนกว่าปกติ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งหากมองในภาพรวม ทั้งวิธีการติดตั้ง ขนาดของกระจก และ พื้นผิวโดยรวม รวมไปถึงประสิทธิภาพในการสะท้อนสภาพแวดล้อมโดยรอบนั้น ส่งผลให้ Maraya Concert Hall เป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอย่างมาก จนได้รับรางวัล Popular winner จาก Architizer A+Awards ปี 2020 ในสาขา สถาปัตยกรรม และ กระจก เป็นรางวัลที่การันตีการประสบความสำเร็จของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

FJORDENHUS | GUARDIAN GLASS

Photo: David de Larrea Remiro

FJORDENHUS | GUARDIAN GLASS

Fjordenhus คืออาคารที่มีรูปร่างคล้ายทรงกระบอกออกแบบโดยศิลปิน Olafur Eliasson และสถาปนิก Sebastian Behmann ที่โดดเด่นด้วยผิวอาคารที่สร้างจากอิฐดั้งเดิมของเดนมาร์กตัดกันกับวัสดุกระจก Sunguard High Performance Neutral 60/40 Coated Glass จาก Guardian Glass

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: ANDERS SUNE BERG EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Olafur Eliasson ศิลปินชาวเดนมาร์ก – ไอซ์แลนด์ ผู้ที่มีผลงานชื่อดังมากมาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของงาน Sculpture และ Installation Art อย่างผลงาน The Weather Project ที่ Tate Modern ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า นอกเหนือจากงานศิลปะแล้ว Olafur Eliasson ยังทำงานออกแบบสถาปัตยกร ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นแรก ที่เขามีโอกาสได้ร่วมงานกับ Sebastian Behmann ในการออกแบบอาคารหลังนี้

Fjordenhus ตั้งอยู่บนแม่น้ำข้างเกาะ Havneøen ที่เป็นเกาะที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับแนวความคิดของเมืองแบบใหม่ โดยเป็นสำนักงานใหญ่ของ Kirk Kapital ในส่วนบนของอาคาร ส่วนชั้นล่างนั้นเปิดให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เ เพื่อให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้ามาชมผมงานศิลปะแบบ Site – Specific ของ Olafur Eliasson ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เป้นส่วนหนึ่งของอาคารโดยเฉพาะได้

ตัวอาคารถูกออกแบบให้มีรูปร่างแบบทรงกระบอก มีความสูงกว่า 28 เมตร โดยแบ่งตัวอาคารออกเป็น 4 ส่วน ซ้อน และ เหลื่อมกัน จนเกิดเป็นกลุ่มก้อนของอาคารที่น่าสนใจ โดยเลือกใช้ก้อนอิฐแบบดั้งเดิมของเดนมาร์กในการปิดผิวอาคารทั้งภายใน และ ภายนอก ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาคาร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอาคารแบบสมัยก่อน หรือประภาคารที่ตั้งอยู่กลางน้ำ ซึ่งหากมองจากระยะไกลเราจะมองเห็นเป้นพื้นผิวอิฐแบบทั่วไป แต่ในรายละเอียดนั้น หากมองในระยะที่ใกล้ขึ้น จะสามารถเห็นความหลากหลายรูปแบบของลักษณะก้อนอิฐ และ โทนสีที่แตกต่างกันออกไปถึง 15 รูปแบบ กลายเป้นรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ภายในงานชิ้นนี้

จากเปลือกนอกของอาคาร พื้นที่ภายใน และ ช่องเปิดต่างๆ ถูกออกแบบให้เหมือนการคว้านพื้นที่ออกไปอย่างอิสระ ด้วยเส้นสายที่โค้งมนทั้งในแนวดิ่ง และ แนวราบ ก่อให้เกิดเป็น Space ย่อย ๆ  ที่ถูกโอบล้อมด้วยโครงสร้าง ช่องเปิดต่างๆ ทำหน้าที่เป้นทั้งโถงที่เชื่อมห้องแต่ละส่วนเข้าไว้ด้วยกัน เป็นช่องว่างของอาคารที่สร้างมุมมองไปยังอ่าว และ ทัศนียภาพเมืองโดยรอบ และ เป็นช่องเปิดที่ติดตั้งกระจกสองชั้นขนาดพิเศษที่ดัดโค้งเพื่อให้สอดคล้องไปกับเส้นสายของตัวอาคาร

สำหรับกระจกที่เลือกมาใช้นั้น คือ Sunguard High Performance Neutral 60/40 Coated Glass ที่ผสมผสานคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิ และ ป้องกันความร้อนจากภายนอก โดยได้พัฒนาร่วมกับ Guardian เพื่อสร้างให้เกิดความโค้งมน และ สร้างรูปร่างตามแบบที่ทาง Olafur Eliasson ตั้งใจไว้ จนเกิดเป็นช่องเปิดหน้าต่างมีมีความสวยงามรวมกับเป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ส่งเสริมให้ภาพรวมของงานสถาปัตยกรรม มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น

ไม่บ่อยนักที่เราจะมีโอกาสได้เห็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกับงานศิลปะออกมาได้อย่างลงตัว บวกกับเทคโลโลยีของการก่อสร้าง และ การเลือกวัสดุที่พิถีพิถัน ทำให้ออกมาเป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่โดนเด่นเช่นนี้

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

Herzog & de Meuron สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ ‘Elbphilharmonie Hamburg’ ปรับปรุงคลังสินค้าเก่าให้กลายเป็นแลนด์มาร์กของเมือง Hamburg ประเทศเยอรมนี ด้วย façade กระจกผิวโค้งมน 3 มิติ ที่เกิดจากการร่วมพัฒนากับ Guardian Glass เป็นครั้งแรก

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Elbphilharmonie Hamburg เป็นหนึ่งในอาคารที่ได้ชื่อว่ามีความสวยงาม และมีระบบการออกแบบ Acoustic ที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลกอย่าง Herzog & de Meuron เจ้าของรางวัล Prizker Prize เมื่อปี 2001 ที่มีแนวทางการออกแบบในการประยุกต์ การผสมผสานสิ่งเก่าและสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในงานสถาปัตยกรรมของพวกเขาอยู่เสมอ

ความน่าสนใจของโครงการนี้ไม่ใช่เพียงแค่หน้าตาของอาคาร และเทคโนโลยี แต่ยังแสดงถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่ รวมทั้งอาคารหลังเก่าก็ช่วยสร้างให้เกิดความพิเศษขึ้นมา เดิมที่พื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งคลังสินค้าหลวง (Kaispeicher) โดยทางรัฐบาลมีแนวคิด ที่จะพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายในพื้นที่สาธารณะการออกแบบจึงเริ่มต้นจากการรักษาอาคารคลังสินค้าเก่าและสร้างโครงสร้างใหม่ต่อยอดขึ้นไปด้านบน เกิดเป็นการผสมผสานระหว่างอาคารก่ออิฐและอาคารผิวกระจกที่มีความน่าสนใจอย่างมาก จากด้านล่างที่พื้นที่ต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน ห้อมล้อม และผ่านตัวอาคารคลังสินค้าเก่านี้ ก่อนที่จะขึ้นไปพบกับฟังก์ชั่นที่หลากหลายด้านบน ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ โรงแรม รวมถึงดาดฟ้าที่สามารถชมวิวท่าเรือของเมือง Hamburg ได้

ใจความสำคัญของโครงการคงหนีไม่พัน ส่วนขยายต่อเติมที่เป็นอาคารกระจกด้านบนที่ถูกออกแบบให้มีความสุนทรียศาสตร์เพื่อให้สอคล้องไปกับฟังก์ชั่นที่เป็นโรงแสดงดนตรี โดยนำเส้นโค้งและการบิดตัวของพื้นผิวต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้งาน สื่อถึงความเป็นท่าเรือโดยได้แรงบันดาลใจมากจากผ้าใบเรือ และรูปลักษณ์ของคลื่นบนพื้นผิวของ façade ขนาดพื้นที่กว่า 5,000 ตารางเมตร ไม่บ่อยครั้งนักที่วัสดุที่เราคุ้นชินอย่างกระจกจะถูกนำมาดัดโค้งบิดรูปจนเกิดเป็นพื้นผิวที่โค้งมน 3 มิติ ทำให้สถาปนิกนั้นสามารถออกแบบได้อย่างอิสระเพื่อให้ใกล้เคียงกับแนวความคิดมากที่สุด โดยได้พัฒนาร่วมกัน Guardian Glass เพื่อมองหาความเป็นไปได้นี้

ความน่าสนใจคือการสร้างกระจกที่บิดตัวเป็นแบบ 3 มิติ ที่ได้ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในโครงการนี้ ผ่านการวิจัยอย่างละเอียดเพื่อที่จะรักษารูปแบบของกระจกพร้อมกับคงคุณสมบัติของกระจกแต่ละประเภทไว้ ทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร การป้องกันความร้อนเข้าสู่พื้นที่ภายใน โดยในโครงการนี้ได้เลือกใช้กระจกอย่างรุ่น Extra Clear, ClimaGuard®, SunGuard® มาผสมผสานกันเพื่อให้งานออกแบบนั้นสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งสำหรับงานสถาปัตยกรรมแล้ว การพัฒนาในแง่ของวัสดุครั้งนี้ช่วยให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดในงานออกแบบต่างๆ ในอนาคต

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

LEGO HOUSE | GUARDIAN GLASS

LEGO HOUSE | GUARDIAN GLASS

BIG ออกแบบโปรเจ็คต์ LEGO House โดยได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของตัวต่อเลโก้ ทั้งรูปลักษณ์ภายนอก และภายในบริเวณห้องนิทรรศการที่มีการใช้ SunGuard® Extra Selective SNX 60/28 ดึงแสงธรรมชาติเข้ามายังพื้นที่จัดแสดง เผยรายละเอียดและสีสันของผลงานตัวต่อ LEGO ให้เด่นชัดมากขึ้น

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: IWAN BAAN

(For English, press here)

หลายคนเติบโตมากับ LEGO และคุ้นเคยกับการประกอบตัวต่อต่างๆ ที่เป็นระบบ modular ที่สามารถต่อประกอบกันได้ไม่รู้จบ และในหลายครั้งของเล่นที่ชื่อนี้ LEGO กลายเป็นงานสถาปัตยกรรมขนาดย่อม ที่เราสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้โดยง่ายจากการประกอบตัวต่อไปเรื่อยๆ อย่างอิสระ ซึ่งนี่เป็นเหมือนที่มาของแนวความคิดในการออกแบบ LEGO House โดยผู้ออกแบบ BIG ได้สร้างอาคารเสมือนกับว่า ถูกประกอบร่างขึ้นมาจากตัวต่อ LEGO จริงๆ

อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Billund ประเทศ Denmark ที่เป็นจุดกำเนิดของ LEGO ซึ่งมุ่งหวังให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางของเยาวชนในอนาคต LEGO House ทำหน้าที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง ไปพร้อมกับพื้นที่ภายในกว่า 12,000 ตารางเมตร ที่บอกเล่าเรื่องราวทุกแง่มุม จากของเล่นชิ้นโปรดตลอดกาลของใครหลายคน ตลอดจนสามารถเห็นถึงเอกลักษณ์ที่ชัดเจนได้ตั้งแต่ รูปร่างอาคารที่ถูกออกแบบให้เหมือนตัวต่อสีขาวขนาดใหญ่ถูกนำมาประกอบ ตั้งซ้อนเรียงกัน จนเกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความโดนเด่นเช่นนี้

จากภายนอก หากมองจากระดับปกติ ผู้ใช้งานจะมองเห็นอาคารสีขาวที่เป็นเสมือนกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายสัดส่วนของตัว LEGO ตั้งเรียงกัน ไล่ระดับขึ้นไป โดนมีทั้งส่วนที่ปิดทึบด้วยผนังสีขาว และส่วนที่เปิดมุมมองจากภายในสู่ภายนอกด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ แต่หากมองจากด้านบน บนดาดฟ้าของอาคารแต่ละก้อน ถูกออกแบบให้มีสีสันที่แตกต่างกันคล้ายกับสีของตัวต่อ LEGO เพื่อรองรับกิจกรรมกลางแจ้งที่เป็นสนามเด็กเล่น และสีต่างๆ ก็นำเสนอผ่านการแบ่งโซนของกิจกรรมการเรียนรู้ของแต่ละส่วนใน Museum ส่วนพื้นที่ภายในอาคารนั้นประกอบไปด้วย ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านขายของ ห้องนิทรรศการ พื้นที่การเรียนรู้และเล่นที่สามารถลำดับการเรียนรู้ได้ตาม สีต่างๆ ที่ถูกออกแบบไว้เป็นอย่างดี

โถงกลางของอาคารถูดจัดแสดงด้วย LEGO ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกโอบล้อมด้วยบันได และแสงธรรมชาติที่ถูกส่องผ่านลงมาจาก skylight เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับโถงอาคาร และอีกจุดหนึ่งที่เป็นไฮไลต์สำคัญ คือห้องจัดแสดงงาน LEGO คอลเลคชั่นพิเศษต่างๆ โดยภายในห้องได้ถูกออกแบบให้มีช่องแสง skylight วงกลม จำนวน 8 จุด เปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของตัวต่อ LEGO ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านบนที่เป็นดาดฟ้า โดยกระจกที่เลือกใช้นั้นคือ SunGuard® Extra Selective SNX 60/28 ที่สามารถรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารได้ถึง 60% และยังป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ให้ผ่านเข้ามาในอาคารเพียง 28% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้พื้นที่ภายในนั้นมีความสว่าง โปร่ง เย็นสบาย รวมทั้งให้ความชัดเจนในการจัดแสดงชิ้นงานภายในอาคาร

ซึ่งกระจกนั้นถูกผสานเข้ามาในหลายๆ ส่วน ทั้งผนังอาคาร ราวกันตก ที่เลือกใช้กระจกเพื่อความโปร่งของพื้นที่ แต่ยังคงความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานที่ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ช่วยให้พื้นที่ส่วนๆ ต่างเชื่อมโยงถึงกันเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ภายในได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

THEPPANYA HOSPITAL | GUARDIAN GLASS

THEPPANYA HOSPITAL | GUARDIAN GLASS

LEARN MORE ABOUT THE PROPERTY AND THE APPLICATION OF SOLAR CONTROL SERIES GLASS AND SUNGUARD® FROM GUARDIAN GLASS IN THEPPANYA HOSPITAL IN CHIANG MAI THAT ACCENTUATES THE DESIGN WHILE EFFORTLESSLY FULFILLING THE REQUIRED INTERIOR FUNCTIONALITIES

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: THANANUPHONG KAMMERUU

(For English, press here)

กระจกโค้ท หรือกระจกเคลือบเป็นกระจกรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ทั้งที่พักอาศัย อาคารสาธารณะ และอาคารสูงต่างๆ จนชินตา แต่หลายครั้งเราอาจจะไม่รู้ว่าผิวกระจกที่เรามองเห็นอยู่นั้น มีความหลากหลาย และมีคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่อย่างไรบ้าง 

อาคารหลังใหม่ของโรงพยาบาลเทพปัญญาที่ตั้งอยู่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ตัดกับถนนเชียงใหม่-ลำปาง ผ่านการออกแบบ จาก Prompt Architect ตัวอาคารตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของชุมชนโดยรอบด้วยฟอร์มที่เรียบง่าย แต่โดดเด่นด้วย façade จากกระจกโค้ทตัดกับตัวอาคารทึบสีเทาอ่อน ซึ่งแสดงออกถึง ภาพลักษณ์ ของโรงพยาบาล ที่น่าเชื่อถือและทันสมัยได้อย่างดี โดยหากมองจากภายนอก จะสามารถมองเห็นโทนสีของกระจกที่แตกต่างกันออกไป ถึง 3 เฉด ที่ถูกออกแบบจัดวางเพิ่มมิติของตึกทำให้ façade มีความน่าสนใจมากขึ้น และยังสอดคล้องกับฟังก์ชั่นภายในได้แบบไม่ต้องพยายาม

ทีมออกแบบได้เลือกผลิตภัณฑ์สามรายการจาก Guardian SunGuard® Solar Series และ Guardian High Durable Series สำหรับเฉดสีต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ นอกจากสีแล้ว กระจกเคลือบแต่ละอันยังมีลักษณะทางกายภาพที่น่าสนใจและโดดเด่นอีกด้วย 

High Durable Colours Series (สี HD Blue) ให้โทนสีที่สดใสกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ ทำให้ภายนอกดูสะดุดตามากขึ้น ในขณะที่ยังคงพื้นที่ภายในให้โล่งและกว้างขวางด้วยความโปร่งใส ประสิทธิภาพและสุนทรียภาพที่ดีของ HD Blue ทำให้ได้เปรียบเมื่อเทียบกับกระจกไพโรไลติกและกระจกย้อมสีอื่นๆ

นอกจากนี้ Royal Blue 20 และ Solar Natural 67 จาก Guardian SunGuard® Solar Series ยังให้ความสามารถในการสะท้อนความร้อนออกไปด้วยการเคลือบระดับโมเลกุลที่เกิดจากเทคนิค Sputtering ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นของ Guardian Glass ซึ่งสร้างลักษณะทางกายภาพเฉพาะสำหรับแต่ละประเภทกระจกได้ SunGuard® Solar Series ยังมาพร้อมกับสีสันที่หลากหลาย ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนการออกแบบได้ตอบโจทย์มากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับกระจกสี หรือกระจกติดฟิล์มอื่นๆ

กระจกเคลือบภายใต้ Solar Series และ High Durable Colours Series นี้สามารถผ่านเทคนิคการแปรรูป เช่น การอบชุบด้วยความร้อน (เทมเปอร์ หรือ ฮีสเสตรงเทน) และทำเป็นกระจกนิรภัยหลายชั้น (ลามิเนต) และนำไปดัดโค้งเพื่อให้การออกแบบเป็นไปได้มากขึ้น

โรงพยาบาลเทพปัญญาแห่งนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งในการเลือกใช้ศักยภาพของกระจกอย่างเต็มที่ เพิ่มมุมมองจากอาคาร โรงพยาบาลที่ดูเรียบๆ ให้เป็นโครงการที่มีความทันสมัยทั้งในแง่ของเฉดสี การจัดวางขนาดกระจกที่หลากหลาย ทั้งกระจกแผ่นเล็กไปจนขนาดใหญ่ที่กว้างกว่า 2 เมตร ทำให้วัสดุที่เราคุ้นชินอย่างกระจกนั้นถูกออกแบบให้เกิดเป็น ลวดลาย เพิ่มองค์ประกอบที่น่าสนใจให้กับโครงการโรงพยาบาล และกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่น่ามอง

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Offical Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com