Tag: Japanese Designer

NOT JUST A CUP

nendo สตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นชวนหนูๆ ไปทำความรู้จัก ‘การออกแบบ’ ผ่านหนังสือภาพสุดน่ารักที่มีตัวละครหลักคือถ้วยแก้วกาแฟใบหนึ่ง Read More

TAKANAO TODO DESIGN

PHOTO COURTESY OF TAKANAO TODO DESIGN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
TAKANAO TODO DESIGN

WHAT
สถาปัตยกรรม/เครื่องปั้นดินเผา/คำปรึกษาด้านการออกแบบ

Bak Bodhi Pavilion l Photo: Chaiyaporn Sodabunlu Noted: Bak Bodhi Pavilion is a project in collaboration with the International Program in Design and Architecture, Chulalongkorn University (INDA) – The design team consists of Ann-pavinee Langenskioeld (Ann), Methawadee Pathomrattanapiban (Sincere), Napapa Soonjan (Luktarn), Natalie Pirarak (Tang), Natcha Thanachanan (Plern), Pheerapitch Phetchareon (Ode), Pitchaya Tangtanawirut (Pizza), Praewrung Chantumrongkul (Ping), Prima Rojanapiyawong (Pie), Slin Smakkamai (Kana), Tanon Theerasupwitaya (In), Thanapat Limpanaset (Than) and Yuhunny Baka (Hunny)

Bak Bodhi Pavilion l Photo: Chaiyaporn Sodabunlu

Bak Bodhi Pavilion l Photo: Chaiyaporn Sodabunlu

WHEN
ตั้งแต่ปี 2017 เราได้รับรางวัลจากงานประกวดด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมนานาชาติหลายงานในสเกลที่แตกต่างกันไป ซึ่งนั่นนำไปสู่การก่อตั้งบริษัทออกแบบของตัวเอง งานในส่วนการผลิตเซรามิคนั้นเริ่มขึ้นในปี 2015 โดยเริ่มจากภาชนะสำหรับทำสาเก ต่อมาเราก็ได้พัฒนาความเชี่ยวชาญการออกแบบและผลิตสำรับ อุปกรณ์ชงชา หลังจากที่ได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับพิธีชงชา Omote-Senke

Koto Tea Space l Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

Koto Tea Space l Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

Koto Tea Space l Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

WHERE
เราเบสอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย แต่เรามีโครงการด้านสถาปัตยกรรมอื่นๆอยู่ที่เชียงใหม่และญี่ปุ่นด้วย ส่วนงานเซรามิคของเราถูกจัดแสดงอยู่ที่ Central Embassy, Open House, Central : The Original Store และ The Kolophon เนื่องจากว่าเราไม่มีเตาเผาเป็นของตัวเอง เราก็เลยเอาชิ้นงานไปเผาตามที่ต่างๆ โดยใช้วิธีการตั้งแต่เตาเผาไฟฟ้า แก๊ส ไปจนถึงการเผาแบบ Raku

WHY
ประเทศไทยมีพื้นที่และเวทีที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนที่มีความสามารถหลากหลายมากมายโดยไม่มีเส้นอะไรมาแบ่งมากนัก ผ่านการทำงานร่วมกันนี้นี่เองที่ศักยภาพของสาขาวิชาต่างๆของการออกแบบจะได้เติบโตขยับขยาย ในขณะเดียวกัน การได้สอนและมีโครงการร่วมกับ International Program in Design and Architecture (INDA) ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เปิดโอกาสให้เราได้ทำการทดลองอะไรหลายๆอย่างด้วยเช่นกัน

Lighthouse in Yokohama l Photo: Takeshi Noguchi

Lighthouse in Yokohama l Photo: Takeshi Noguchi

คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
การปะทะกันของความเชี่ยวชาญรูปแบบต่างๆ ความสามารถที่จะหาความเชื่อมโยงของความรู้ทักษะที่ยังไม่ได้ถูกเผยตัวออกมา ความสามารถที่จะตีความประสบการณ์ในระดับปัจเจก และความรู้ภายในความงดงามของผลงานคลาสสิคชิ้นเอก

อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
การทำงานร่วมกัน I ความสมัยใหม่ที่เหนือกาลเวลา I ความสุข

 

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
กินมัทฉะสักแก้ว นอน เดินเล่นเรื่อยเปื่อย หรือไม่ก็นั่งสมาธิ

โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
ผลงานที่ชื่อว่า Tea X Tech มันเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง FabCafe, Midori-kai และ TAKANAO
TODO Design โดยตัวงานเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมของโรงน้ำชาที่ถูกสร้างและถอดประกอบใหม่ได้ มันเป็นการนำเทคนิคการผลิตแบบดิจิทัล (Digital Fabrication) มาใช้กับการสร้างโรงน้ำชา และอุปกรณ์ชงชา ตัวงานสะท้อนแรงบันดาลใจที่มาจากงานออกแบบของไทย และพิธีขั้นตอนการชงชาโดยทุกอย่างถูกนำมาควบรวมผสมผสานกัน งานชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนเล็กๆน้อยจาก Japan Foundation

Tea X Tech: Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

Tea X Tech: Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

Tea X Tech: Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
เราอยากพบคุณสมลักษณ์ ปันติบุญ ช่างปั้นเครื่องดินเผา เขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักปั้นเครื่องดินเผาชาวไทยรุ่นใหม่หลายๆคนที่มีความหลงไหลในวัฒนธรรมชงชาและงานเซรามิคที่เกี่ยวพันกับมัน เรายังไม่มีโอกาสได้เจอตัวจริงเขาเลย

fb.com/takanao