Tag: Culture
PHOTO ESSAY : JAPAN WAY
TEXT & PHOTO: THANACHAI TANKVARALUK
(For English, press here)
‘Japan way’ คือ การออกเดินทางในดินแดนอาทิตย์อุทัยเพื่อตามหาความบกพร่องหรือความสมบูรณ์แบบ ที่กำลังเปล่งประกายระยิบระยับราวกับดอกไม้ที่กำลังเบ่งบานส่งกลิ่นหอมเย้ายวนดึงดูดคนแปลกหน้าเพื่อนำพาไปพบกับช่วงเวลาพิเศษที่เกินกว่าจะจินตนาการได้
ภาพถ่ายในสถานการณ์ต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้สะท้อนถึงความหลากหลายของยุคสมัยที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นผ่านบริบททางสังคมที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างเงียบๆ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและมุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีจารีตประเพณี วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เป็นแนวทางและรากฐานมาแต่อดีตคอยเป็นเงาติดตามมาอยู่ห่างๆ
_____________
ธนะชัย ตั้งวราลักษณ์ เกิดที่จังหวัดอุดรธานี จบการศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันประกอบธุรกิจส่วนตัว มีความสนใจเรื่องราวรอบๆ ตัว รักการเดินทาง และการถ่ายภาพ
facebook.com/profile.php?id=100031795672130
instagram.com/thanachai_diary
PHOTO ESSAY : SALT FIELDS
TEXT & PHOTO: WAN CHANTAVILASVONG
(For English, press here)
ความสงบสงัดของปากน้ำผนวกกับท้องฟ้าสีหม่นในหน้าฝนขับให้เถียงนาเกลือ ยุ้งเกลือ และคันนาเกลือโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางบรรยากาศโทนเดียวในฉากหลัง ความนิ่งเงียบไร้ซึ่งผู้คนอาจเป็นสัญญะสำคัญที่ชี้นำว่าพื้นที่แห่งนี้อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของอดีตที่จางหายไปจากวิถีชีวิตคน
_____________
ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ นักวางแผนเมืองและนักวิจัย ผู้มีการถ่ายภาพเป็นการเล่นที่จริงจัง ภาพถ่ายของว่านมักเป็นการถ่ายทอดความคล้ายและความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของผู้คนจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก
wanc.space
facebook.com/wan.chtvlv
instagram.com/wan.chtvlv
SUPAVEE SIRINKRAPORN
art4d พูดคุยกับสุภาวี ศิรินคราภรณ์ถึงโปรเจ็คต์ล่าสุดที่เธอร่วมมือกับ ขจรศักต์ นาคปาน ในการออกแบบเครื่องประดับร่างกายโดยใช้ดินในพื้นที่โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ และคุยถึงกระบวนการออกแบบผลงานที่นำตัวตนแห่งอดีตมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน
掃除 CLEANING
พลิกดูหนังสือภาพจาก MUJI ที่พาเราสำรวจทุกแง่มุมของกิจกรรมธรรมดาๆ อย่างการทำความสะอาด ทั้งผู้คนที่อุทิศตัวตนให้โลกสะอาดขึ้น วัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ และความลึกซึ้งที่อยู่เบื้องหลังการทำความสะอาด
TAKANAO TODO DESIGN
PHOTO COURTESY OF TAKANAO TODO DESIGN EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
WHO
TAKANAO TODO DESIGN
WHAT
สถาปัตยกรรม/เครื่องปั้นดินเผา/คำปรึกษาด้านการออกแบบ
WHEN
ตั้งแต่ปี 2017 เราได้รับรางวัลจากงานประกวดด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมนานาชาติหลายงานในสเกลที่แตกต่างกันไป ซึ่งนั่นนำไปสู่การก่อตั้งบริษัทออกแบบของตัวเอง งานในส่วนการผลิตเซรามิคนั้นเริ่มขึ้นในปี 2015 โดยเริ่มจากภาชนะสำหรับทำสาเก ต่อมาเราก็ได้พัฒนาความเชี่ยวชาญการออกแบบและผลิตสำรับ อุปกรณ์ชงชา หลังจากที่ได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับพิธีชงชา Omote-Senke
WHERE
เราเบสอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย แต่เรามีโครงการด้านสถาปัตยกรรมอื่นๆอยู่ที่เชียงใหม่และญี่ปุ่นด้วย ส่วนงานเซรามิคของเราถูกจัดแสดงอยู่ที่ Central Embassy, Open House, Central : The Original Store และ The Kolophon เนื่องจากว่าเราไม่มีเตาเผาเป็นของตัวเอง เราก็เลยเอาชิ้นงานไปเผาตามที่ต่างๆ โดยใช้วิธีการตั้งแต่เตาเผาไฟฟ้า แก๊ส ไปจนถึงการเผาแบบ Raku
WHY
ประเทศไทยมีพื้นที่และเวทีที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนที่มีความสามารถหลากหลายมากมายโดยไม่มีเส้นอะไรมาแบ่งมากนัก ผ่านการทำงานร่วมกันนี้นี่เองที่ศักยภาพของสาขาวิชาต่างๆของการออกแบบจะได้เติบโตขยับขยาย ในขณะเดียวกัน การได้สอนและมีโครงการร่วมกับ International Program in Design and Architecture (INDA) ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เปิดโอกาสให้เราได้ทำการทดลองอะไรหลายๆอย่างด้วยเช่นกัน
คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
การปะทะกันของความเชี่ยวชาญรูปแบบต่างๆ ความสามารถที่จะหาความเชื่อมโยงของความรู้ทักษะที่ยังไม่ได้ถูกเผยตัวออกมา ความสามารถที่จะตีความประสบการณ์ในระดับปัจเจก และความรู้ภายในความงดงามของผลงานคลาสสิคชิ้นเอก
อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
การทำงานร่วมกัน I ความสมัยใหม่ที่เหนือกาลเวลา I ความสุข
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
กินมัทฉะสักแก้ว นอน เดินเล่นเรื่อยเปื่อย หรือไม่ก็นั่งสมาธิ
โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
ผลงานที่ชื่อว่า Tea X Tech มันเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง FabCafe, Midori-kai และ TAKANAO
TODO Design โดยตัวงานเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมของโรงน้ำชาที่ถูกสร้างและถอดประกอบใหม่ได้ มันเป็นการนำเทคนิคการผลิตแบบดิจิทัล (Digital Fabrication) มาใช้กับการสร้างโรงน้ำชา และอุปกรณ์ชงชา ตัวงานสะท้อนแรงบันดาลใจที่มาจากงานออกแบบของไทย และพิธีขั้นตอนการชงชาโดยทุกอย่างถูกนำมาควบรวมผสมผสานกัน งานชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนเล็กๆน้อยจาก Japan Foundation
ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
เราอยากพบคุณสมลักษณ์ ปันติบุญ ช่างปั้นเครื่องดินเผา เขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักปั้นเครื่องดินเผาชาวไทยรุ่นใหม่หลายๆคนที่มีความหลงไหลในวัฒนธรรมชงชาและงานเซรามิคที่เกี่ยวพันกับมัน เรายังไม่มีโอกาสได้เจอตัวจริงเขาเลย
SCENIC ARCHITECTURE OFFICE
กุลธิดา ทรงกิตติภักดี และ Jenchieh Hung พาเราไปดู ‘รูปทรง’ ที่ปรากฏในผลงานของ Scenic Architecture ผ่านส่วนหนึ่งของบทวิเคราะห์ผลงานทั้ง 12 ชิ้นในหนังสือ The Rebirth of Form-Type อันชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการและจุดเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมในประเทศจีนตั้งแต่ยุค 2000s
DÉJÀ VU: WHEN THE SUN RISES IN THE WEST
ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าปรากฏตัวในวัฒนธรรมกรีกโบราณ นที อุตฤทธิ์ ร้อยเรียงวัฒนธรรมและความทรงจำขึ้นใหม่ในนิทรรศการ Déjà vu: When the Sun Rises in the West ที่ตั้งคำถามสำคัญว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากอารยธรรมและความเจริญของโลกมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เอเชีย แทนที่โลกตะวันตกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”
THAI PAVILION : FROM THE 1930S
ชมชน ฟูสินไพบูลย์ ชวนสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์แห่งชาติไทยในงานศิลปะ กับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ผ่านการวิเคราะห์ ‘ศาลาไทย’ ที่ร่วมแสดงในงานเอ็กซ์โปในช่วงทศวรรษที่ 1930 ที่ชวนเราตั้งคำถามว่าในปี 2021 นี้มีอะไรเปลี่ยนไปและมีอะไรที่ยังคงอยู่
CITIZEN TEA CANTEEN OF NOWHERE
Citizen Tea Canteen of nowhere โชว์รูมสินค้าหัตถกรรมกึ่งโรงน้ำชาสไตล์โกปิ๊โดย ศรัณย์ เย็นปัญญา ที่เป็นดั่งตัวกลางเชื่อมงานออกแบบและชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมหยิบยืมวัฒนธรรมไทย-จีนเก่าแก่มาปัดฝุ่นอีกครั้ง