All posts by Ketsiree Wongwan
PHOTO ESSAY : PRATEEP’S VISION III
TEXT & PHOTO: DR. PRATEEP TANGMATITHAM
(For English, press here)
ระหว่างการเดินทาง เราหลุดพ้นเป็นอิสระจากรอบกฎเกณฑ์ของภาระหน้าที่ เป็นช่วงเวลาพิเศษให้ได้ทบทวนสิ่งที่ผ่านมา และทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ต่อชีวิต หลายๆ ครั้ง เราเกิดความรู้สึกว่าภาพทิวทัศน์รอบกายเด่นชัดขึ้นกว่าเดิม เป็นไปได้ว่าแสงอาทิตย์ของเมืองที่เราไปเยือนทำปฏิกิริยากับนัยน์ตาของเราต่างจากแดดในบ้านเกิด และก็เป็นไปได้เช่นกัน ว่ามันไม่ใช่เพราะแดด หากแต่เป็นสายตาของเราต่างหากที่เห็นโลกรอบข้างได้ชัดเจนมากขึ้นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
.
ประทีปทัศน์ III คือหนังสือภาพและนิทรรศการภาพถ่าย โดย ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม นำเสนอภาพถ่ายจากการเดินทางท่องเที่ยวใน 16 ประเทศ ที่สะท้อนบางสิ่งบางอย่างซึ่งมากไปกว่าความงามของภูมิประเทศ สถาปัตยกรรม และผู้คน แต่คือข้อคิดและมุมมองต่อชีวิต ของดร. ประทีป ในฐานะช่างภาพ สถาปนิก นักบริหาร และหัวหน้าครอบครัวศุภาลัย
WHICH ONE?
SUMANATSYA VOHARN WALKS US THROUGH ‘WHICH ONE?,’ THE LATEST EXHIBITION HELD AT TCDC CHIANG MAI THAT KICKED OFF DURING THE CHIANG MAI DESIGN WEEK 2019, AND GIVES US HER VIEW ON THE VALUE OF EVERYDAY OBJECTS WE USUALLY FIND AT THE LOCAL MARKET
PHOTO ESSAY : ALUM-NILE
TEXT & PHOTO: PEERAPAT WIMOLRUNGKARAT
(For English, press here)
บันทึกความทรงจำระหว่างทริปที่เกิดจากการกระโดดไปแจมทัวร์ของเพื่อนแบบคนใจง่าย
ครั้งที่ 2 ของ พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ (ADDCANDID)
กับเพื่อนแล้ว ชีวิตเรามักไม่มีอะไรซับซ้อน
แค่เพื่อนพูดคำว่า ‘อียิปต์’
เราก็ตอบทันทีว่า ‘ไปด้วย…’
แผนทุกอย่างเขาก็ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่เราจะเดินทางไปกัน ไฟลท์เครื่องบิน เที่ยวรถไฟ ยันตั๋วเรือสำราญ เมื่อกล้าชวน ก็กล้าไป การเดินทางครั้งนี้ของผมเลยเริ่มต้นจากความเป็นคนใจง่าย ที่ทำให้ผมได้ไปตระเวนล่องแม่น้ำไนล์ เดินทอดน่องตามร่องอารยธรรมกับเพื่อน ได้บันทึกบางมุมมองไว้ในภาพ ให้มันเป็นความทรงจำที่ล้อไปตามเนื้อเพลงที่ว่าไว้ ต่อจากนี้ จะมีเรา…
#เราและไนล์
_____________
ADDCANDID – พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์
ช่างภาพผู้ชื่นชอบเก็บบันทึกภาพนิ่ง
ที่มีความเคลื่อนไหวในความทรงจำ
Leica Ambassador (Thailand)
Architecture photography @somethingarchitecture
Pocketbook A(dd)perture @abookpublishing
WHEN DIVERSITY TURNS OVERABUNDANCE
THE 2ND EDITION OF SPECTROSYNTHESIS ORGANIZED BY SUNPRIDE FOUNDATION IN COLLABORATION WITH BACC FOCUSING ON THE TOLERANCE OF THE LGBTQ COMMUNITIES IN SOUTHEAST ASIA IS NOW ON VIEW. IS THE SPOTLIGHT ON THE DIVERSITY OF THIS EXHIBITION TOO BRIGHT? QUESTIONS THANOM CHARPAKDEE
WELCOME TO THE VILLAGE
FIND OUT HOW TIDTANG STUDIO HAS DEVELOPED A NEW WAY TO INCORPORATE ‘THAI-NESS’ INTO THE ARCHITECTURAL ELEMENTS USED IN THE MOST COMPREHENSIVE MANNER AT THE LATEST SHOPPING OUTLET IN TOWN
ONE AND A HALF ARCHITECTS
WHO
One and a half architects founded by Wichan Kongnok and Jarupong Ng-Sirisakul.
WHAT
Design services without boundaries.
PUEY UNGPHAKORN CENTENARY HALL
Location: Bangkok, Thailand
Building Type: Multi-Purpose Building
Owner: Thammasat University
Architect: Arsom Silp Institute Of The Arts
Interior Designer: Dimensional Interpretation
Landscape Designer: LANDPROCESS
Structural Engineer: Degree System Co., Ltd
System Engineer: TPM Consultants Co., Ltd
Contractor: CM49
Building Area: 60,000 sq.m
TEXT: JAKSIN NOYRAIPHOOM
PHOTO: KETSIREE WONGWAN EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันหนึ่งจากจำนวนหลายสถาบันการศึกษา ที่ได้นำแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัยจนเกิดเป็น “อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี” ซึ่งถือเป็นผลงานที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ที่แสดงออกถึงมุมมองต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และแสดงอัตลักษณ์ความเป็นธรรมศาสตร์อยู่อย่างเต็มเปี่ยม อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี แห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินด้านฝั่งถนนพหลโยธิน ระหว่างอาคารยิมเนเซียม 2 และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึงเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงให้เป็นอาคารใหม่และสวนสาธารณะที่ผสานเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นพื้นที่ใช้งานทั้งของนักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป
รูปแบบของสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นเป็นการผสมผสานระหว่าง “งานสถาปัตยกรรม” และ “งานภูมิสถาปัตยกรรม” จนยากที่จะระบุได้ว่าเป็นงานประเภทใด สัณฐานของอาคารเป็นอาคารที่มีผังเป็นรูปตัว H เมื่อมองด้านข้างมีลักษณะคล้ายภูเขาขนาดใหญ่ด้านบนปกคลุมด้วยสวนและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ โดยที่มาของรูปทรงนี้มาจาก ชื่อของ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยคำว่า “ป๋วย” นั้น หมายถึง “พูนดิน” กลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างรูปทรงอาคารแห่งนี้ที่ผู้ออกแบบทั้ง สถาบันอาศรมศิลป์ สถาปนิก และ LANDPROCESS ภูมิสถาปนิก ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น
รูปแบบของสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นเป็นการผสมผสานระหว่าง “งานสถาปัตยกรรม” และ “งานภูมิสถาปัตยกรรม” จนยากที่จะระบุได้ว่าเป็นงานประเภทใด
โครงสร้างของอาคารเป็นโครงสร้างที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อรองรับรูปทรงพูนดิน โดยส่วนใหญ่ใช้ระบบการก่อสร้างแบบเสาคาน โครงสร้างพื้นบริเวณชั้น 1-3 จะเป็นระบบ posttention ภายในอาคารประกอบด้วยพื้นที่ใช้สอยที่หลากหลายประเภททั้ง ห้องประชุมชนาดใหญ่ หอสมุด และพื้นที่กิจกรรมต่างๆ ส่วนของพื้นหลังคาที่ปลูกต้นไม้ด้านบนจะเป็นพื้นคอนกรีตหล่อในที่ โดยมีพื้นหลังคาหนา 35 เซนติเมตร ยกเว้นส่วนหลังคาห้องประชุม ที่จะเป็นโครงสร้างแบบ cellular beam
ในส่วนของพื้นที่ใช้งานสำคัญอย่าง หอจดหมายเหตุ ที่จะย้ายมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องป้องกันความชื้นอย่างยิ่งยวด ทำให้พื้นที่ในส่วนนี้ต้องมีการออกแบบโครงสร้างพิเศษ คือมีหลังคาคอนกรีตสองชั้นในรูปแบบของ double slab เพื่อป้องกันความชื้นจากพืชพรรณด้านบนไม่ให้สร้างความเสียหายกับเอกสารสำคัญด้านล่าง ช่องว่างระหว่างพื้นคอนกรีตสองชั้นมีขนาดประมาณ 1.50 เมตร เพื่อให้คนสามารถเข้าไปซ่อมบำรุงได้สะดวก หรือตรวจสอบการรั่วซึมได้โดยไม่รบกวนพื้นที่ใช้งานข้างใต้ ช่องว่างนี้ยังมีส่วนช่วยในการลดความร้อนที่เข้าสู่อาคารจากทางด้านบน ช่วยให้อาคารแห่งนี้ใช้พลังงานในการปรับอากาศน้อยลงอีกด้วย
งานภูมิสถาปัตยกรรม ถือเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญต่ออาคารแห่งนี้ ช่วยสร้างให้อาคารมีเอกลักษณ์และความพิเศษเฉพาะตัว “โครงการนี้น่าสนใจตรงที่ว่างานแลนด์สเคปได้ถูกนำมาคิดตั้งแต่ต้น ทำให้กลายเป็นเนื้อเดียวกันกับสถาปัตยกรรมอย่างแยกไม่ออก” กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกแห่ง LANDPROCESS กล่าวถึงการออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมของอุทยานการเรียนรู้แห่งนี้ ซึ่งในการก่อสร้างจำเป็นต้องมีเทคนิคพิเศษ เพื่อให้หลังคาของอาคารสามารถปลูกพืชพรรณต่างๆ ได้ โดยหลังจากเทพื้นคอนกรีตปกติแล้ว จะต้องมีการปูแผ่นกันความชื้น (Waterproofing Membranes) ทับบนพื้นคอนกรีต และจะมีการทดสอบด้วยการใช้เหล็กทิ่มเพื่อจำลองการชอนไชของรากของพืช หากแผ่นกันความชื้นมีการเสียหายจะต้องทำการปูใหม่ เพราะแสดงว่ารากของต้นไม้สามารถชอนไชได้ เมื่อทำการปูแผ่นกันความชื้นแล้วเสร็จ จะทำการวางท่อระบายน้ำ จากนั้นจึงนำดินมาใส่ โดยชั้นดินที่อยู่บนหลังคาของอาคารจะมีความหนา 1 เมตร เพื่อให้สามารถปลูกต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางได้ และเป็นพื้นที่ที่สามารถซึมซับน้ำและระบายน้ำได้ดี
พืชพรรณไม้ที่ถูกเลือกมาปลูกด้านบนหลังคาเขียวทั้งหมดเป็นพืชที่สามารถรับประทานได้ ที่ปลูกขึ้นที่นี่ทั้งหมดโดยไม่มีการย้ายมาจากที่อื่นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ต้องการผลิตอาหารเองได้ ด้านล่างจะเป็นพื้นที่สีเขียว ทั้งสวน พื้นที่พักผ่อน พื้นที่ออกกำลังกายสำหรับคนทั่วไป และสระน้ำขนาดใหญ่ 4 สระ ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ให้กับย่านนี้และยังช่วยบำบัดน้ำด้วยวิธีธรรมชาติก่อนจะปล่อยคืนกลับสู่ธรรมชาติ
กชกรยังได้กล่าวทิ้งท้ายเกี่ยวกับอาคารหลังนี้ว่า “อยากให้อาคารนี้เป็นตัวอย่างให้คนได้เห็นว่า สิ่งก่อสร้างกับเมือง สามารถเกื้อกูลกันได้ สามารถอยู่กันได้อย่างพึ่งพากัน โดยมีภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมที่เป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น อาคารนี้จะไม่ใช่ตึกที่เป็นแค่ตึก แต่จะเป็นอาคารที่สอดประสานแนวความคิดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมุมมองที่มีต่อสังคมและธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกัน”